ตัวชี้วัด ร้อยละของผู้รับบริการผู้ป่วยนอกได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้ มาตรฐาน (เท่ากับ ๑๔)
ร้อยละ ๑๔.๐๘ ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด ผลการดำเนินงาน ร้อยละ ๑๔.๐๘ ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด
แสดงจำนวน และร้อยละประชาชนที่ได้รับบริการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพด้านการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ รายอำเภอ จังหวัดยโสธร อำเภอ ต.ค.55-ม.ค.56 ก.พ.56-พ.ค.56 ผู้รับบริการผู้ป่วยนอกที่มารับการรักษาทั้งหมด(คน) ผู้รับบริการผู้ป่วยนอกที่มารับบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก(ร้อยละ) เมือง 81,411 2,689 (3.30) 94,994 7,639 (8.04) ทรายมูล 17,999 2,161 (12.01) 16,796 2,751 (16.38) กุดชุม 19,000 3,251 (17.11) 19,313 3,784 (19.59) คำเขื่อนแก้ว 17,738 1,379 (7.77) 74,749 11,133 (14.89) ป่าติ้ว 16,391 2,689 (16.41) 20,994 8,417 (40.09) มหาชนะชัย 18,645 2,210 (11.85) 30,431 3,752 (12.33) ค้อวัง 15,322 860 (5.61) 16,177 2,738 (16.93) เลิงนกทา 34,917 3,374 (9.66) 35,524 4,386 (12.35) ไทยเจริญ 14,693 702 (4.77) 14,290 960 (6.34) รวม 236,116 19,315 (8.18) 323,268 45,506 (14.08)
ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ จากข้อมูล ผู้รับบริการผู้ป่วยนอกที่มารับบริการแพทย์แผนไทยแพทย์ทางเลือกเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ ๑๕.๐๘ จากการดำเนินการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร และพัฒนาสถานบริการสู่มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน แต่ปัญหาที่พบ คือ จังหวัดยโสธร ยังขาดบุคลากรผู้ให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยโดยเฉพาะผู้ประกอบโรคศิลปะด้านการแพทย์แผนไทย รวมทั้งปัญหาการแบกรับภาระของสถานบริการในการจ้างบุคลากรแพทย์แผนไทย การลาออกของบุคลากร ซึ่งส่งผลต่อการบริการที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ดังนั้นควรให้มีการสนับสนุนการจ้างผ่านกลไกของกระทรวงสาธารณสุข หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไป