หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การจัดการแสดงและการวิจารณ์การแสดง จัดทำโดย ครูเสาวภาคย์ ณ ร้อยเอ็ด โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1
นักแสดง คือ ผู้ที่สวมบทบาทเป็นตัวละคร เพื่อ ถ่ายทอดเรื่องราวและความคิดในบทละครให้ผู้ชม ได้รับรู้ ซึ่งการปฏิบัติตนเป็นนักแสดงที่ดีนั้น จะต้องตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อ อาชีพของตนและผู้ชม รวมถึงผู้ร่วมงานทุกฝ่าย เพราะถ้าไม่ตั้งใจแสดงให้ดีก็เท่ากับเป็นการทำลาย ผลงานของผู้สร้างสรรค์ที่ร่วมทำงานกับเราให้ เสียหาย รวมทั้งเป็นการทำลาย ความศรัทธาของผู้ชม และต้องรู้จัก แสวงหาความรู้เพื่อพัฒนารูปแบบ การแสดง เพื่อที่จะได้เป็นนักแสดง ที่มีคุณภาพ
นักแสดงที่เราเห็นในปัจจุบันตามละครโทรทัศน์ นั้นถือเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการโน้มน้าว อารมณ์และความคิดผู้ชมเป็นอย่างมาก เห็นได้ จากวัยรุ่นสมัยนี้จะมีพฤติกรรมและค่านิยมต่าง ๆ เลียนแบบนักแสดงที่ตนเองชื่นชอบ ดังนั้น นักแสดงจะต้องประพฤติและปฏิบัติตนเป็น แบบอย่างที่ดีต่อผู้ชม เช่น มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ของตน รู้จักนอบน้อมผู้ใหญ่ ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่น เดือดร้อน เป็นต้น
ผู้ชม คือ องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการ จัดการแสดงต่าง ๆ เพราะถ้าขาดผู้ชม การแสดง ต่าง ๆ ที่จัดขึ้นก็จะไม่มีความหมาย เพราะผู้ชม จะบอกให้ผู้สร้างสรรค์และนักแสดงรู้ว่าการแสดง ที่จัดขึ้นนั้นดีหรือไม่ อย่างไร และสิ่งที่ผู้ชมควร ปฏิบัติคือมีมารยาทที่ดีในการชมการแสดง เช่น การชมการแสดงด้วยความตั้งใจ ไม่พูดคุยหรืส่ง เสียงดังขณะชมการแสดง ไม่ส่งเสียง โห่ร้องเมื่อไม่ชอบใจการแสดงที่นักแสดง กำลังแสดง และควรให้เกียรติผู้แสดงโดย การปรบมือให้นักแสดงเริ่มและเมื่อจบ การแสดง เป็นต้น
การวิจารณ์การแสดง 1. ผู้วิจารณ์จะต้องมีความเที่ยงตรง ไม่มีอคติกับนักแสดง และมีเหตุผลในการรองรับข้อติที่ตนเองกล่าวด้วย 2. การวิจารณ์จะพิจารณาถึงคุณค่าการแสดงของนักแสดง คือ บทบาทการแสดงที่สมจริงและเป็นธรรมชาติ ไหวพริบปฏิภาณที่ดีเวลาแสดงหรือไม่ และมีจังหวะการพูด การเคลื่อนไหวร่างกายที่ดีหรือไม่ มีการเปล่งวาจาด้วยคำพูดที่ชัดเจน ถูกต้อง และใช้น้ำเสียงได้สัมพันธ์กับอารมณ์ ความรู้สึกที่แสดงออก และเหมาะสมกับวัยของตัวละคร มีความคุ้นเคยกับฉาก อุปกรณ์ประกอบการแสดงและเครื่องแต่งกาย 3. ให้เกียรตินักแสดงด้วยกัน และความร่วมมือความสนใจที่จะทำให้ละครที่ตนแสดงออกมาอย่างความสมบูรณ์
การจัดการแสดงไม่ว่าจะเป็นการแสดงระบำ รำ ฟ้อน ละคร โขน ในสถาบันการศึกษาจะมีการจัดแบ่งหน้าที่ หรือผู้รับผิดชอบออกเป็น 3 ฝ่าย คือ 1) ฝ่ายอำนวยการแสดง ได้แก่ ผู้อำนวยการแสดง ผู้กำกับการแสดง ผู้กำกับเวที คือ ผู้ช่วยผู้กำกับเวที 2) ฝ่ายจัดการแสดง ได้แก่ คณะกรรมการพิจารณาการแสดง ผู้ดูแลด้านเทคนิค ผู้ดูแลเครื่องแต่งกาย ผู้ดูแลบทเพลงและดนตรี 3) ฝ่ายธุรการ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ประสานงาน เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เหรัญญิก เจ้าหน้าที่สวัสดิการ ผู้รับผิดชอบสถานที่
การดำเนินงานในการจัดการแสดง จะเริ่มจาก 1) การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในฝ่ายต่าง ๆ 2) การคัดเลือกนักแสดง 3) ผู้กำกับการแสดงเรียกประชุม 4) จัดประชุมเพื่อติดตามการทำงานของทุกฝ่าย 5) ฝึกซ้อมการแสดง 6) การจัดการแสดงจริง 7) สรุปและประเมินผลการจัดการแสดง
ชุดการแสดงรูปแบบต่างๆ ภาพตัวอย่าง ชุดการแสดงรูปแบบต่างๆ
เซิ้งแหย่ไข่มดแดง
ให้เป็นแบบอย่างที่ดี 1. นักเรียนคิดว่านักแสดงควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมอย่างไร นักเรียนคิดว่า นักแสดงควรปฏิบัติตน ให้เป็นแบบอย่างที่ดี ต่อสังคมอย่างไร?
นักแสดงที่นักเรียนชื่นชอบ ให้เป็นแบบอย่างที่ดี 1. นักเรียนคิดว่านักแสดงควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมอย่างไร ยกตัวอย่าง นักแสดงที่นักเรียนชื่นชอบ ซึ่งปฏิบัติตน ให้เป็นแบบอย่างที่ดี ต่อสังคมมา 1 คน
สวัสดี