การทำทบทวนวรรณกรรมหรือวรรณกรรมปริทัศน์
วัตถุประสงค์ของการทำทบทวนวรรณกรรม การทำวรรณกรรมปริทัศน์ เป็นการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราจะทำวิจัย ซึ่งมีทั้งเกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ป้องกันการทำวิจัยซ้ำซ้อนในเรื่องที่มีการทำมาแล้ว 2) ช่วยบ่งชี้พรมแดนแห่งความรู้ในสาขานั้น 3) ช่วยให้เกิดความคิดและมีทิศทางเกี่ยวกับเทคนิคในการทำวิจัย แหล่งที่มาของข้อมูล และวิธีการที่ใช้ในการศึกษา 4) ช่วยพัฒนาความคิดเกี่ยวกับการออกแบบการศึกษา เพราะจากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมา ทำให้ผู้วิจัยทราบว่าวิธีการวิเคราะห์ใดใช้ได้ วิธีใดล้มเหลว 5) อาจช่วยให้เกิดความคิดแนวปัญหาในการทำวิจัย และ/หรือให้พื้นฐานในการตั้งสมมุติฐานในงานวิจัยที่จะทำ
ประโยชน์ของการทำทบทวนวรรณกรรม ช่วยให้เกิดความคิดในปัญหาที่จะทำ ช่วยบ่งชี้จุดแข็งและจุดออ่นในงานวิจัยอื่นๆ ช่วยบ่งชี้กรอบแนวคิดทฤษฏีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาของตัวเราได้ ช่วยเสนอแนะวิธีการที่จะใช้ในการศึกษา ช่วยอธิบายเทคนิคการเก็บ การแบ่งประเภท และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ช่วยชี้แนะวิธีการนำเสนอตารางสถิติและกราฟ วิธีตีความผลงานวิจัย และวิธีการเสนองานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์
ในการทำทบทวนวรรณกรรมนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องดึงออกกมาให้ได้คือ -งานวิจัยหรืองานศึกษานั้นเขาทำอะไร (what) -ทำอย่างไร (how) -ผลการศึกษา (finding ) คืออะไร เพื่อจะได้เปรียบเทียบงานต่างๆซึ่งกันและกัน และเปรียบเทียบกับงานที่ผู้วิจัยจะทำด้วย เพื่อดูว่างานที่เราจะทำนั้นจะช่วยเสริมงานที่มีผู้ทำมาแล้วให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอย่างไร