ผู้สอน ครูวาสนา พลทองมาก โรงเรียนบ้านบึงสามัคคีกำแพงเขต

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
Advertisements

3. วิธีทำให้ข้อมูลเป็นสารสนเทศมีกี่วิธีอะไรบ้าง
เรื่อง ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ใบความรู้ 3 ระบบคอมพิวเตอร์.
ส่วนประกอบหลักและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดเล็กไปถีงคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการทำงาน.
เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS )
หน่วยแสดงผลข้อมูลออก (Output)
โรงเรียนวัดสิตาราม สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
คลิก เข้าสู่การเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
ประเภทของโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ชุดที่ 2 Hardware.
ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)
เรื่อง องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ จำทำโดย นาย เดชฤทธิ์ ร้อยพรหมมา
1.
การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์.
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
Surachai Wachirahatthapong
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
มารู้จักคอมพิวเตอร์กันเถอะ มารู้จักคอมพิวเตอร์กันเถอะ
Computer Programming I
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ขั้นตอนการทำงานและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบ อุปกรณ์ และคุณสมบัติที่ดีของคอมพิวเตอร์
หน่วยนำข้อมูลเข้าและออก Input Unit And Output Unit
องค์ประกอบทางด้านซอฟต์แวร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
เรื่ององค์ประกอบคอมพิวเตอร์
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ครูสุวรรณ์ พิมเสน ครู คศ
หน่วยส่งออกข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ครูสุวรรณ์ พิมเสน ครู คศ
กิจกรรมที่ 1 ซอฟต์แวร์ระบบ จุดประสงค์ 1. บอกความหมายของซอฟต์แวร์
คอมพิวเตอร์.
ส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง
กิจกรรมที่ 1 ซอฟต์แวร์ระบบ จุดประสงค์ 1. บอกความหมายของซอฟต์แวร์
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
อธิบายหลักการทำงาน บทบาท และประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
นาย กตัญญู ใจอารีย์ นาย ณัฐพงศ์ สองทอง ระบบคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์
บทที่ 1 ระบบคอมพิวเตอร์.
สร้างสรรค์โดย เด็กชายทวีลาภ สุวัฒนพันธุ์กุล Taweelap Suwattanapunkul เด็กชายทวีลาภ สุวัฒนพันธุ์กุล Taweelap Suwattanapunkul.
“หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์"
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ระบบคอมพิวเตอร์ (computer system)
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ชื่อสมาชิก น.ส.วิไลพร ยะใจมั่น เลขที่ 4 ชั้น 4.12
นาย เกียรติศักดิ์ แสนนวล โรงเรียนจักรคำคณาทรลำพูน
โปรแกรมสำเร็จรูปในงานอาชีพ
จัดทำโดย เด็กหญิง พัทธนันท์ ริบแจ่ม เลขที่ 7 มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4/5 เสนอ อาจารย์ สายฝน เอกกันทา โรงเรียนจักรคำคณาทร จ. ลำพูน.
Integrated Network Card
ระบบคอมพิวเตอร์ และ การสื่อสาร กนกวรรธน์ เซี่ยงเจ็น สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขต สารสนเทศพะเยา.
นายณัฐพล นาคะป่า เลขที่ 36 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7
แผนภูมิองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ รหัสวิชา Computer Technology and Operating System บทที่ 1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ อ.รจนา วานนท์ Master.
ซอฟต์แวร์ (software) จัดทำโดย นาย ยุทธพงศ์ คำยอง
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ (computer system)
ระบบสารสนเทศ อ.วรพจน์ พรหมจักร.
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ผู้สอน ครูวาสนา พลทองมาก โรงเรียนบ้านบึงสามัคคีกำแพงเขต บทเรียนช่วยสอน เรื่อง องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ผู้สอน ครูวาสนา พลทองมาก โรงเรียนบ้านบึงสามัคคีกำแพงเขต

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ Hardware Software Peopleware Data

Hardware (ฮาร์ดแวร์) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด Mouse Scanner โอซีอาร์ (OCR)

1. แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 1. แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบคอมพิวเตอร์ โดยส่งคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้ไปสู่หน่วยประมวลผลในระบบคอมพิวเตอร์ ภายในแป้นพิมพ์จะมีแผงวงจรหลักที่จะประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ที่ถูกฉาบด้วยหมึกที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เมื่อถูกกดจนติดกันก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในตัววงจร เมื่อผู้ใช้กดแป้นใดแป้นหนึ่ง ข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าจากแป้นกดแต่ละแป้นจะถูกเปรียบเทียบรหัส (Scan Code) กับรหัสมาตรฐานของแต่ละแป้นที่กด เพื่อเปลี่ยนให้เป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ไปแสดงบนจอภาพ

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 2.Mouse คือ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้งานง่ายและสะดวกกว่าแป้นพิมพ์มาก เนื่องจากไม่จ้องจดจำคำสั่งสำหรับป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ มีรูปร่างโค้งๆ งอๆ เหมือนก้อนสบู่ กลไกภายในจะมีลูกกลิ้งกลมสำหรับหมุนใช้กำหนดตำแหน่ง เพื่อเลือกคำสั่งหรือวาดลายเส้นบนจอภาพ ตำแหน่งจุดตัด X และ Y จากเครื่องมือนี้จะสัมพันธ์กับจุดตัด X และ Y บนจอภาพ ทำให้สามารถกำหนดคำสั่งหรือตำแหน่งลายเส้นตามเงื่อนไขในโปรแกรมได้สะดวก

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 3.Scanner เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลประเภทที่ไม่สะดวกในการป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ทางคีย์บอร์ดได้ เช่น ภาพโลโก้ วิวทิวทัศน์ ภาพถ่ายรูปคน สัตว์ ฯลฯ เราสามารถใช้สแกนเนอร์สแกนภาพเพื่อแปลงเป็นข้อมูลเข้าไปสู่เครื่องได้โดยตรง หน่วยประมวลผลจะนำข้อมูลที่ได้รับมานั้นแสดงเป็นภาพให้ปรากฏอยู่บนจอภาพ เพื่อนำมาแก้ไขสี รูปร่าง ตัดแต่ง และนำภาพไปประกอบงานพิมพ์อื่นๆ ได้ การทำงานของสแกนเนอร์อาศัยหลักของการสะท้อนแสง โดยเมื่อเราวางภาพลงไปในสแกนเนอร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะวิธีการใช้งานของสแกนเนอร์แต่ละแบบว่าจะใส่ภาพเข้าไปอย่างไร สแกนเนอร์จะทำการฉายแสงไปกระทบกับวัตถุให้สะท้อนไปตกบนตัวรับแสงทีละแถว ข้อมูลในแถวนั้นๆ ก็จะถูกแปลงเป็นจุดเล็กๆ ในลักษณะสัญญาณดิจิตัลเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ เมื่อต้นกำเนิดแสงและตัวรับแสงเลื่อนไปยังภาพแถวต่อไป สัญญาณที่ได้จากแถวต่อมาก็จะถูกส่งต่อเนื่องกันไปจนสุดภาพ

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 2. Wand Readers เป็นอุปกรณ์ที่ใช้มือควบคุม

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 4. Bar Code Reader

หน่วยประมวลผลกลาง หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมและประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กมาก ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ประกอบกันเป็นวงจรหลายล้านตัว โดยมีหน่วยวัดความเร็ว (Speed) เป็น เมกะเฮิรตซ์ (MHz = MegaHertz) ถ้าค่าตัวเลขยิ่งสูงแสดงว่ามีความเร็วมาก เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้เป็นรุ่น Pentium II 450 MHz แสดงคอมพิวเตอร์เครื่องนี้มีความเร็วในการประมวลผล450 เมกะเฮิรตซ์ เป็นต้น

(Application Software) 1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software) DOS Windows Unix Linux Basic Fortran Cobol C คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) 2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ User’s Program โปรแกรมการทำสินค้า 2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) 2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป MS-Office Internet Explorer Program สำเร็จรูป Adobe Photoshop 2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานมราขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น อื่นๆอีกมากมาย กลับเมนู

หน่วยแสดงผลข้อมูล จอภาพ (Monitor) อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) อุปกรณ์เสียง (Audio Output) เครื่องพิมพ์ (Printer)

หน่วยแสดงผลข้อมูล จอภาพ (Monitor) จอภาพสี (Colour) จอภาพที่มีสีเดียว (Monochrome) จอภาพ (Monitor) จอภาพเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงข้อมูลที่มนุษย์จับต้องไม่ได้ (Softcopy Output Device) ในลักษณะของข้อความและรูปภาพ โดยเป็นการแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้น ก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลสำรองในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage จอภาพที่มีสีเดียว (Monochrome) เป็นจอภาพที่ใช้กันทั่วไปในสมัยก่อน แต่ปัจจุบันใช้เฉพาะในบางที่ เช่น เครื่องคิดเงินในร้านค้า หรือตู้ ATM ของบางธนาคาร เป็นต้น มีลักษณะการแสดงผลเป็นสีเดียว เช่น สีขาว สีเขียว หรือ สีส้ม และแสดงได้เฉพาะตัวอักษรเท่านั้น โดยจอประเภทนี้จะได้รับสัญญาณในลักษณะของสัญญาณดิจิตัล คือ 0 และ 1 ว่าในขณะที่มีการกวาดลำแสงอิเล็กตรอนไปยังพื้นผิวจอ แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสงให้มองเห็นนั้น ตรงไหนสว่าง ตรงไหนดับบ้าง จอภาพสี (Colour) เป็นจอภาพที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งลักษณะการแสดงผลจะอาศัยสัญญาณดิจิตัล เช่นกัน แต่จะแยกออกเป็น 3 สัญญาณ ตามแม่สีของแสง คือ แดง เขียว และน้ำเงิน (Red, Green, Blue : RGB) ซึ่งจะทำให้เกิดสีต่างๆ มากมายตามหลัการผสมของแม่สีนั่นเอง จอภาพสี (Colour)

หน่วยแสดงผลข้อมูล อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ์นั้นเป็นแผ่นใส่แผ่นหนึ่ง อุปกรณ์ฉายภาพจะมีข้อแตกต่างกันมากในเรื่องของกำลังส่องสว่าง เนื่องจากยิ่งมีกำลังส่องสว่างสูง ภาพที่ได้ก็จะชัดเจนมากขึ้น กำลังส่องสว่างมีหน่วยวัดค่าอยู่ 3 แบบ คือ LUX , LUMEN และ ANSI LUMEN โดยการวัดค่าแบบ LUX จะวัดค่าความสว่างที่จุดกึ่งกลางของภาพ จึงได้ค่าความสว่างสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 แบบ การวัดแบบ จะแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ บน กลางและล่าง และแต่ละส่วนจะถูกแบ่งออกเป็น 3 จุด คือ ริมซ้าย กลาง และริมขวา รวมจุดภาพทั้งหมด 9 จุด แล้วจึงใช้ค่าเฉลี่ยของความสว่างทั้ง 9 จุดคิดออกมาเป็นค่า LUMEN ส่วนการวัดแบบ ANSI LUMEN จะมีมาตรฐานสูงสุด โดยใช้วิธีเดียวกับ แต่จะกำหนดขนาดจอภาพไว้คงที่คือ 40 นิ้ว (หากไม่กำหนด การวัดค่าความสว่างจะสูงขึ้นเมื่อจอภาพมีขนาดเล็กลง)

หน่วยแสดงผลข้อมูล อุปกรณ์เสียง (Audio Output) คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ มักจะมีหน่วยแสดงเสียง ซึ่งประกอบขึ้นจาก ลำโพง (speaker) และ การ์ดเสียง (sound card) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทำงาน หรือให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเป้นเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ไม่มีกระดาษในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น รวมทั้ง สามารถเล่นเกมส์ที่มีเสียงประกอบได้อย่างสนุกสนาน โดยลำโพงจะมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นเสียงเช่นเดียวกับลำโพงวิทยุ ส่วนการ์ดเสียงจะเป็นแผงวงจรเพิ่มเติมที่นำมาเสียงกับช่องเสียบขยายในเมนบอร์ด เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถส่งสัญญาณเสียงผ่านลำโพง รวมทั้งสามารถต่อไมโครโฟนเข้ามาที่การ์ดเพื่อบันทึกเสียงเก็บไว้ด้วย

หน่วยแสดงผลข้อมูล เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องพิมพ์แบบหมึกพ่น (Ink Jet Printer)

หน่วยแสดงผลข้อมูล เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer)

จบบทเรียนแล้วค่ะ.... แบบฝึกหัด

แป้นพิมพ์หรือ Keyboard คือ อุปกรณ์ในการรับข้อมูล True False

Moniter Mouse Printer Speaker ให้นักเรียนทำการต่อจับคู่คำศัพท์ ภาษาไทย-อังกฤษต่อไปนี้ให้ถูกต้อง Moniter เครื่องพิมพ์ Mouse จอภาพ Printer ลำโพง Speaker เมาส์

ให้บอกชื่ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ที่นักเรียนรู้จักมาคนละ 1 ชื่อ

ให้นักเรียนวาดภาพอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่นักเรียนรู้จักคนละ 1 ชิ้น

1. อุปกรณ์ในข้อใดเป็นอุปกรณ์ในหน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ? Timer 1. อุปกรณ์ในข้อใดเป็นอุปกรณ์ในหน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ? A B C D