AEC กับโอกาสในธุรกิจท่องเที่ยว

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด 4 ปี (พ.ศ – 2561) ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2556.
Advertisements

การพยาบาลผู้ป่วยและผู้ใช้บริการจากกลุ่มประเทศอาเซียน
เกษตรกรรุ่นใหม่ และ Smart Farmer
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับ AEC มุมมองภาครัฐ ( )
แผนยุทธศาสตร์เพื่อการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
วิสัยทัศน์จังหวัดพะเยา “เมืองเกษตรปลอดภัย การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน”
วิกฤต-โอกาส กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
รอบรู้อาเซียน.
ภาพรวมแผนผังเชิงกลยุทธ์ (Strategy Map)
การจัดการตลาด ความหมายการจัดการตลาด กระบวนการการจัดการตลาด
เศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานวัฒนธรรม
บรรยาย เรื่อง AEC Asean Economic Community
บรรยายองค์ความรู้เรื่อง AEC สมาคมอาเซียน
สรุปสาระสำคัญโดยสังเขปของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
การขับเคลื่อนภาคการเกษตร สู่ประชาคมอาเซียน
ดร. นิลสุวรรณ ลีลารัศมี
การถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับองค์กร ส่วนแผนงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศักยภาพความพร้อมเพื่อการแข่งขัน
วันพุธที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๔. ๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๑ ศาลาว่าการ กระทรวงมหาดไทย การประชุมคณะกรรมการเตรียม ความพร้อมของ กระทรวงมหาดไทยในการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน.
อุตสาหกรรมเด่นของไทย มูลค่าส่งออก (ล้านบาท)
ภารกิจและนโยบาย 6 ยุทธศาสตร์ 35 กลยุทธ์ ของ ส.อ.ศ. บัญญัติ สมสุพรรณ
กรอบความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป
ประชาคมอาเซียน.
แผนปฏิบัติราชการการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
ปฏิญญาการศึกษา: รากฐานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ผลสรุปการแบ่งกลุ่มย่อยประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ
องค์ประกอบของแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ ระดับกระทรวง และกรม
กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังแรงงาน
การเตรียมความพร้อมของสาขาบริการสุขภาพ
การพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ “ยั่งยืน”. การพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ “ยั่งยืน”
AEC กับระบบหลักประกันสุขภาพไทย
นางสาวสุนันท์ อังเกิดโชค หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มูลค่าการส่งออก-นำเข้าสินค้าไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ปี
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community: AEC )
แผนหลัก สรุปทิศทาง. สสส. เปรียบเสมือน “น้ำมันหล่อลื่น” ที่ช่วยให้ ฟันเฟืองของกลไกสร้างเสริมสุขภาพทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด.
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ASEAN ECONOMIC COMMUNITY
AEC WATCH จับตาเปิดเสรีภาคบริการ สาขาการศึกษา
การบริหารงานจังหวัดลพบุรีแบบ บูรณาการ กพร.- TRIS 18/05/2549.
การเตรียมการของคณะครุศาสตร์ สู่การเป็นประชาคมอาเซียน
จุดเริ่มต้นของอาเซียน
วัตถุประสงค์ และผลผลิตหลักโครงการ
พลังชุมชน สู่สุขภาพดีในยุคประชาคมอาเซียน : บทบาทสถานศึกษา
น.สพ.ไพรัช ธิติศักดิ์ 27 มกราคม 2553
สมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทย
“การพัฒนาสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง”
โดย ดร. นิวัตร ตันตยา นุสรณ์
บทที่ 8 นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(ร่าง) แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2553 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ภายใต้ความตกลงอาเซียน
ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ความไม่แน่นอนปี 2554
เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
ยุทธศาสตร์กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
กรอบยุทธศาสตร์กระทรวงในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ พ. ศ ของ วท
กลุ่มที่ 3 หัวหน้าฝ่าย / เจ้าหน้าที่
จุดเน้น/กลยุทธ์ ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555
หลักการ และแผนงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2551 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 20 กรกฎาคม 2550.
รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
A E C โครงการเตรียมความพร้อมเส้นทางสนับสนุนโลจิสติกส์และการท่องเที่ยว
แนวทางการเชื่อมโยง “อาเซียน” สู่ระบบการศึกษาของ ประเทศไทย และ นโยบายการขับเคลื่อน การศึกษาสู่ประชาคม “อาเซียน” จัดเผยแพร่ โดย กองร้อยตำรวจตระเวรชายแดนที่
แม้อาเซียนจะมิได้มีสนธิสัญญาหรือกฎบัตรมา ตั้งแต่ต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาเซียนก็ได้ พัฒนาความร่วมมือโดยอาศัยฐานในทาง กฎหมายระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น.
แผนธุรกิจ (Business Plan)
ถอดบทเรียน ยุทธศาสตร์การค้าอาเซียน
Welcome.
ครูศรีวรรณ ปานสง่า การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ผู้สอน อ. ศรีวรรณ ปานสง่า โรงเรียนวังไกลกังวล.
กฎบัตรอาเซียน และ อาเซียนบลูปรินส์
เรื่องที่นักส่งเสริมการเกษตรควรรู้
หน่วยที่ ๗ แนวโน้มสังคมไทย และแนวทางเลือก.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

AEC กับโอกาสในธุรกิจท่องเที่ยว

สถานการณ์ท่องเที่ยวในปัจจุบัน

ในสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวมีการแข่งขันที่รุนแรงในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะมีการเติบโตด้านการท่องเที่ยวสูงในภูมิภาคเอเชีย และมีการแข่งขันสูงด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการที่แต่ละชาติ ได้นำการท่องเที่ยวเป็นจุดขาย นำเสนอ Brand ที่ชัดเจนของตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งคู่แข่งเก่า อย่างเช่น มาเลเชีย สิงค์โปร์ และคู่แข่งที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น เวียดนาม เกาหลี จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น การแข่งขันด้านมูลค่าและสัดส่วนการลงทุนโฆษณา จากปี 2007-2009 มาเลเซีย ถือครองสัดส่วนมากที่สุด ที่ 44.26% สิงคโปร์ 21.72% เกาหลี 9.35% ไทย 7.65%

แนวโน้มของจำนวนนักท่องเที่ยวในโลก ตั้งแต่ปี 2538 – 2573 (ล้านคน) สถานการณ์การท่องเที่ยวของโลก จากแนวโน้มการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยว ปี 2538 - 2573 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากปี 2538 ถึงปัจจุบันมีอัตราการ เติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวโดยเฉลี่ยร้อยละ 4 และมีแนวโน้มในอีก 19 ปีข้างหน้า จำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,676 ล้านคน แนวโน้มของจำนวนนักท่องเที่ยวในโลก ตั้งแต่ปี 2538 – 2573 (ล้านคน) ปี 2555 1,676 983 CAGR = 3.3% CAGR = 4.0% การเเข่ขันที่สูงขึ้น เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกมากขึ้น ในปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเกือบ 1,000 ล้านคนทั่วโลก (สถิติ WTO) มีอัตราการเจริญเติบโตโดยเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อปี กระจายตัวไปตาม 5 ทวีป ภูมิภาคที่จะมีความสำคัญด้านการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น คือเอเชียตะวันออก/แปซิฟิก และตะวันออกกลาง เมื่อถึงปี 2020 คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยว 1,600 ล้านคน โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวสูงสุด เนื่องจากกลุ่มนี้มีวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ และหลากหลาย แหล่งท่องเที่ยวที่ยังคงธรรมชาติ เอเชียตะวันออกมีนักท่องเที่ยวมากที่สุด รองลงมาคือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเติบโตของนักท่องเที่ยวคาดการณ์ว่าในปี 2563 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกจำนวน 1.6 พันล้านคน เป็นการเดินทางเข้ามาในเอเชียเเละเเปซิฟิกราว 400 ล้านคนเเละอาเซียน 160-200 ล้านคน 19 ปี ที่มา: World Tourism Organization (UNWTO)

สัดส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวในอาเซียน ปี 2554 ข้อมูลการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ปี 2554 ประเทศ จำนวนนักท่องเที่ยว (พันคน) สัดส่วนจำนวนนักท่องเที่ยว รายได้จากนักท่องเที่ยว (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยว มาเลเซีย 24,741 32.1% 19,599 23.6% 2. ไทย 19,098 24.8% 26,256 31.6% 3. สิงคโปร์ 10,390 13.5% 17,990 21.7% 4. อินโดนีเซีย 7,650 9.9% 7,982 9.6% 5. เวียดนาม 6,014 7.8% 5,620 6.8% 6.ฟิลิปปินส์ 3,917 5.1% 3,125 3.8% 7.กัมพูชา 2,882 3.7% 1,616 1.9% 8.ลาว 1,786 2.3% 406 0.5% 9.พม่า 391 73* 0.1% 10.บรูไน 242 0.3% 391* รวม 77,111 100% 83,058 สัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวในอาเซียน ปี 2553 จากการศึกษาพบว่า ภูมิภาคอาเซียนมีจำนวนนักท่องเที่ยวในอันดับต้นๆของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย แต่เมื่อเปรียบเทียบรายได้จากนักท่องเที่ยวพบว่าประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ที่มา: World Tourism Organization (UNWTO) หมายเหตุ: * ข้อมูลปี พ.ศ.2553 ;World Tourism Organization (UNWTO)

Growth of Total International Visitor Arrival to ASEAN 2011-2012 No Member Country Month 2011 2012 Growth (%) 1 Brunei Darussalam Jan-Dec 242,061 209,108 -13.61 2 Cambodia 2,881,862 3,584,307 24.37 3 Indonesia 7,649,731 8,044,462 5.16 4 Lao PDR 2,723,564 3,330,089 22.27 5 Malaysia 24,714,324 25,032,708 1.29 6 Myanmar 816,369 1058995 29.72 7 Philippines 3,917,454 4,272,811 9.07 8 Singapore 13,171,303 14,400,000 9.33 9 Thailand 19,098,323 22,303,065 16.78 10 Viet Nam 6,014,031 6,847,678 13.86   TOTAL 81,229,022 89,083,223 9.67 สถานการณ์ท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ในปี 2555 จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในภูมิภาคมีจำนวน 89 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 จำนวน 7.9 ล้านคน หรือร้อยละ 9.67

Total International Arrival to ASEAN มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในภูมิภาคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งเเต่ปี 2546 เป็นต้นมา

Share of International Visitor Arrival to ASEAN 2011 มีข้อสังเกตว่า สัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในภูมิภาคส่วนใหญ่คือ คนอาเซียนด้วยกัน

ผลกระทบของ AEC

ASEAN (Association of South East Asian Nations) อาเซียน : สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ CAMBODIA ปี 2540 ปี 2540 ปี 2510 ปี 2538 ปี 2510 ปี 2510 อาเซียนได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 โดยเริ่มแรกเป็นการรวมตัวกันเพื่อสร้างเสริมความมั่นคงในภูมิภาค ต้านภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ ณ แรกเริ่ม กล่าวได้ว่าเป็นจุดประสงค์ทางการเมืองเป็นหลัก เริ่มด้วย 5 ประเทศผู้ก่อตั้ง (ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์) เมื่อปี 2510 ต่อมาบรูไนเข้าร่วม ในปี 2527 จากนั้น เวียดนาม (2538) ลาว พม่า (2540) และกัมพูชา(2542) จึงเข้าร่วมตามลำดับ ปี 2542 ปี 2527 ปี 2510 ปี 2510

กฎบัตรอาเซียน ปี 2558 ประชาคม ประชาคม ความมั่นคง เศรษฐกิจ ASEAN Charter ประชาคม ความมั่นคง อาเซียน (ASC) ปี 2558 ประชาคม เศรษฐกิจ อาเซียน (AEC) ประชาคม สังคม-วัฒนธรรม อาเซียน (ASCC) ประชาคมอาเซียน คือ ชุมชนอาเซียน เป็นเป้าหมายที่อาเซียนต้องการมุ่งไปให้ถึงในปี 2558 โดยมีธรรมนูญ หรือกฎบัตร ร่วมกันเพื่อได้กำหนดกรอบโครงสร้างกลไกการดำเนินงานของอาเซียนออกเป็น 3 เสาหลัก รองรับการดำเนินงานไปสู่ประชาคมอาเซียน ได้แก่ 1) ประชาคมความมั่นคงอาเซียน 2) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และ 3) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในส่วนของเสาเศรษฐกิจ หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้มีการจัดทำ พิมพ์เขียว AEC One Vision , One Identity, One Community หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม 11

AEC 2015 4 เป้าหมายภายใต้ AEC Blueprint เพื่อประสานกลายเป็นหนึ่งเดียว คือ อาเซียน 1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว 2. การสร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน เคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี นโยบายการแข่งขัน เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี AEC 2015 การคุ้มครองผู้บริโภค เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี โครงสร้างพื้นฐาน นโยบายภาษี เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น e-ASEAN พิมพ์เขียว AEC (AEC Blueprint) คืออะไร ถ้าเปรียบกับการสร้างบ้าน AEC Blueprint ก็เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของบ้าน ที่กำหนดว่าบ้านที่สร้างเสร็จแล้วนั้น จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร มีห้องนอนกี่ห้อง ห้องน้ำกี่ห้อง มีหน้าต่างที่ไหน ห้องครัวอยู่ตรงไหน เป็นต้น องค์ประกอบสำคัญภายใต้ AEC Blueprint AEC Blueprint ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนให้เป็นรูปธรรม 2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น กรอบนโยบายการแข่งขันของอาเซียน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน) 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค โดยการพัฒนา SMEs และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI) เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่ายภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก สนับสนุนการพัฒนา SMEs ปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจ ลดช่องว่างการพัฒนา IAI สร้างเครือข่ายการผลิต จำหน่าย จัดทำ FTA กับประเทศนอกภูมิภาค การมีส่วนร่วมภาครัฐ-เอกชน PPE 12

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นเป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Economic Integration) เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี เคลื่อนย้ายบริการเสรี เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น “อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจ โดยจะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (single market and production base) และจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี” ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

กฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยว ด้านการประกอบธุรกิจ พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 พรบ. โรงแรม พ.ศ. 2547 สัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติให้เป็นไปตาม พรบ.การประกอบธุรกิจฯ พรบ. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 สัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติให้ได้ไม่เกิน 49% มัคคุเทศก์ต้องมีสัญชาติไทย ด้านการทำงานของคนต่างด้าว พรบ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พรบ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 พรก. กำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522

กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว บัญชี 3 สีข้าวและผลิตแป้ง การเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำป่าไม้จากป่าปลูก ผลิตไม้อัด ผลิตปูนขาว บริการบัญชี บริการกฎหมาย บริการสถาปัตยกรรม บริการวิศวกรรม ก่อสร้าง (ยกเว้นก่อสร้างขนาดใหญ่) กิจการนายหน้าบางประเภท กิจการขายทอดตลาดบางประเภท บัญชี 3 (ต่อ) ค้าผลิตผลการเกษตรพื้นเมือง ค้าปลีกสินค้า ที่มีทุนขั้นต่ำน้อยกว่า 100 ล้านบาท กิจการโฆษณา กิจการโรงแรม (ยกเว้นจัดการโรงแรม) นำเที่ยว ขายอาหารหรือเครื่องดื่ม ขยายหรือปรับปรุงพันธ์พืช ธุรกิจอื่น ๆ ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง

กฎหมายกำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ 39 อาชีพ 1. งานกรรมกร (ยกเว้นบนเรือประมง) 2. งานกสิกรรม เลี้ยงสัตว์ 3. งานก่ออิฐ งานช่างไม้ งานแกะสลักไม้ 4. งานแกะสลักไม้ 5. งานขับขี่ยานยนต์ (ยกเว้นเครื่องบิน) 6. งานขายของหน้าร้าน 7. งานขายทอดตลาด 8. งานควบคุมให้บริการบัญชี 9. งานเจียรไนพลอย 10. งานตัดผม ดัดผม เสริมสวย 11. งานทอผ้าด้วยมือ 12. งานทำกระดาษสา 13. งานทำเครื่องเขิน 14. งานทอเสื่อ 15. งานทำเครื่องดนตรีไทย 16. งานทำเครื่องถม 17. งานทำเครื่องทอง เงิน นาก 18. งานทำเครื่องลงหิน 19. งานทำตุ๊กตาไทย 20. งานทำที่นอนหรือผ้าห่มนวม 21. งานทำบาตร 22. งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ 23. งานทำพระพุทธรูป 24. งานทำมีด 25. งานทำร่มกระดาษหรือผ้า 26. งานทำรองเท้า 27. งานนายหน้าในธุรกิจระหว่างประเทศ 28. งานทำหมวก 29. วิศวกรรมโยธา 30. สถาปัตยกรรม 31. งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย 32. งานปั้นทำเครื่องปั้นดินเผา 33. งานมวนบุหรี่ด้วยมือ 34. งานมัคคุเทศก์หรือจัดนำเที่ยว 35. งานเร่ขายสินค้า 36. งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ 37. งานสาวไหม 38. งานเสมียนพนักงานหรือเลขานุการ 39. งานบริการกฎหมาย 1. งานกรรมกร  2. งานกสิกรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้น งานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา หรืองานควบคุมดูแลฟาร์ม  3. งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น  4. งานแกะสลักไม้  5. งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้น งานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ  6. งานขายของหน้าร้าน  7. งานขายทอดตลาด  8. งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการทางบัญชี ยกเว้น งานตรวจสอบภายในเป็นครั้งคราว  9. งานเจียรไน หรือขัดเพชรพลอย  10. งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย  11. งานทอผ้าด้วยมือ  12. งานทำกระดาษสาด้วยมือ  13. งานทำเครื่องเขิน  14. งานทอเสื่อ หรืองานทำครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่  15. งานทำเครื่องดนตรีไทย  16. งานทำเครื่องถม  17. งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก  18. งานทำเครื่องลงหิน  19. งานทำตุ๊กตาไทย  20. งานที่นอนหรือผ้าห่มนวม  21. งานทำบาตร  22. งานทำผลิตภัณฑจากผ้าไหมด้วยมือ  23. งานทำพระพุทธรูป  24. งานทำมีด  25. งานทำร่มกระดาษหรือผ้า  26. งานทำรองเท้า  27. งานนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้น งานนายหน้าหรือตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ  28. งานทำหมวก  29. งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธาที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวน จัดระบบวิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมงานที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ  30. งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับการออกแบบ เขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ 31. งานประดิษฐเครื่องแต่งกาย  32. งานปั้นหรือทำเครื่องดินเผา  33. งานม้วนบุหรี่ด้วยมือ  34. งานมัคคุเทศก์ หรือจัดนำเที่ยว  35. งานเร่ขายสินค้า  36. งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ  37. งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ  38. งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ  39. งานให้บริการทางกฏหมายหรืออรรถคดี

ความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ของไทย ผลกระทบ เชิงบวก เกิดกระแสการเดินทางท่องเที่ยวในภูมิภาคมากขึ้น 1. การใช้ Single Visa การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ เอื้อต่อการเดินทางข้ามประเทศ ความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ของไทย East Corridor West Corridor North Corridor South Corridor ปริมาณและความหลากหลายนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ทั้งจากในและนอกอาเซียน

ผลกระทบ เชิงบวก 2. สร้างโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ ร้านอาหารไทย Spa - แหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้น จากการเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 70 - ขยายเครือข่ายธุรกิจโรงแรม และการรับจ้างบริหารธุรกิจโรงแรม ไปยังประเทศในอาเซียน อาทิ ลาว กัมพูชา เวียดนาม

3. ผลกระทบ เชิงบวก เกิดการลงทุนในลักษณะ Mega Project ในไทย Marina ห้างสรรพสินค้า Marina ศูนย์ประชุม

ผลกระทบ เชิงลบ ธุรกิจไทยที่มีความสามารถในการแข่งขันต่ำ เกิดความเสียเปรียบ 1. SME Over Supply ปัญหา ผู้ประกอบการนำเที่ยว 90 % เกิดการแข่งขันสูง จากการถือหุ้นเพิ่มขึ้นของนักลงทุนต่างชาติ และอาจเกิดการซื้อหรือควบรวบกิจการของคนไทย รวมทั้งนำแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานมากขึ้น New Investment โรงแรมขนาดเล็ก 60-70 %

แรงงานฝีมือของไทย ไหลออกนอกประเทศ ผลกระทบ เชิงลบ แรงงานเคลื่อนย้ายเสรี 2. แรงงานฝีมือของไทย ไหลออกนอกประเทศ แรงงานไร้ฝีมือ...ขาดศักยภาพ....ถูกต่างชาติเข้ามาแย่งงาน เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติที่มีความพร้อมด้านเงินทุนและเทคโนโลยี เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมไทย การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีคุณภาพไป ปท.เพื่อนบ้านมากขึ้น ภาษา คุณภาพ มาตรฐาน

ผลกระทบ เชิงลบ 3. อัตลักษณ์ของไทยลดน้อยลง คุณภาพ มาตรฐาน ความดั้งเดิมเปลี่ยน

จุดแข็ง ของไทยในบริบทการท่องเที่ยวอาเซียน 1. ความหลากหลายของสินค้าและบริการ และส่วนใหญ่เป็นที่รู้จัก เเละมีเอกลักษณ์ Thainess

จุดแข็ง ของไทยในบริบทการท่องเที่ยวอาเซียน 2. ความเป็นไทย คนไทยมีอัธยาศัยไมตรีและจิตใจบริการที่ดี สร้างความประทับใจ

จุดแข็ง ของไทยในบริบทการท่องเที่ยวอาเซียน 3. ความสามารถในการแข่งขันด้านราคา เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน 4. โครงสร้างพื้นฐานมีความพร้อมรองรับการท่องเที่ยวเช่น เชิงธุรกิจ (MICE)

จุดอ่อน ของไทยในบริบทการท่องเที่ยวอาเซียน 1. ขาดเเคลนบุคลากรด้านภาษา โดยเฉพาะมัคคุเทศน์ภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษ เช่นภาษาของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ภาษากลุ่มอาหรับ

จุดอ่อน ของไทยในบริบทการท่องเที่ยวอาเซียน 2. ผู้ประกอบการท่องเที่ยว SMEs มีมาก เเละต้องการการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ในด้านการบริหารจัดการ การวางเเผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ 3. สินค้าเเละบริการขาดมาตรฐานควบคุมราคาสินค้าเเละบริการ เเละมีการใช้นวัตกรรมเเละความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสินค้าเเละบริการให้โดดเด่นค่อนข้างน้อย

จุดอ่อน ของไทยในบริบทการท่องเที่ยวอาเซียน 4. ภาพลักษณ์ของประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การเมือง ปัญหาอาชญากรรม ความไม่ปลอดภัยของนักท่องเที่ยว รวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ

จุดอ่อน ของไทยในบริบทการท่องเที่ยวอาเซียน 5. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ขาดการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวในเเต่ละพื้นที่ เเละเชื่อมโยงระหว่างประเทศ

อุปสรรค ของไทยในบริบทการท่องเที่ยวอาเซียน 1. ด้านสินค้าเเละบริการ เเหล่งท่องเที่ยวของประเทศเพื่อนบ้านยังคงความเป็นธรรมชาติ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีการพัฒนาที่รวดเร็วเเละต่อเนื่อง 2. ทักษะด้านภาษาของคนไทยค่อนข้างต่ำ รวมถึงทัศนคติในการบริการของคนไทย

อุปสรรค ของไทยในบริบทการท่องเที่ยวอาเซียน 3. ต้นทุนพลังงานเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางระยะไกล (Long-Haul) ไม่เดินทางมาท่องเที่ยวอาเซียน

โอกาส ของไทยในบริบทการท่องเที่ยวอาเซียน 1. เเนวโน้มของนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งนักท่องเที่ยวอาเซียน ที่เดินทางในภูมิภาคมเเนวโน้มสูงขึ้น 2. การเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ MICE เพิ่มขึ้น 15-20 ต่อปี 3. พฤติกรรมการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเฉพาะทางมากขึ้น 4. การใช้เทคโนโลยีสื่อสารเเละสื่อสังคมออนไลน์ 5. การขยายเส้นทางของสายการบินต้นทุนต่ำ

การขยายตัวของเส้นทางบินภายในภูมิภาค 362 International Destinations excluding ASEAN 34 Destinations intra ASEAN สายการบินต้นทุนต่ำในเอเชียขยายตัว เป็น 63 Destinations ในปี 2550 ครองส่วนแบ่งที่นั่งเพิ่มขึ้นเป็น 15% (LCC 100 ล้านที่นั่ง และ Full Service Airlines 543 ล้านที่นั่ง) การขยายตัวของเส้นทางบินภายในภูมิภาค อาเซียนได้จัดทำความร่วมมือด้านการขนส่งทางอากาศในด้านการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ โดยตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุการเป็นตลาดการบินร่วมอาเซียนภายในปี 2015 เฉพาะสายการบินไทย สิงคโปร์แอร์ไลน์ มาเลเซียแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสายการบินหลัก ของภูมิภาค ขณะนี้มีเส้นทางบิน International Destination 362 แห่ง (ไม่รวมอาเซียน) และเส้นทางบินภายในอาเซียน 34 จุดบิน สายการบินต้นทุนต่ำในเอเชีย ขยายตัวจาก 17 Destinations ในปี 2544 เป็น 63 Destination ในปี 2550 ตัวเลขในปี 2552 สายการบินต้นทุนต่ำ ครองส่วนแบ่งที่นั่งเพิ่มเป็น 15 % (LCC 100 ล้านที่นั่ง และ Full Service Airlines 543 ล้านที่นั่ง) ซึ่งส่งผลให้การเดินทางภายในภูมิภาคมีความถี่เพิ่มมากขึ้น และขยายไปสู่กลุ่มตลาดระดับกลางมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีโอกาสในการส่งเสริม Weekend Destination ภายในภูมิภาคเดียวกันเพิ่มขึ้นด้วย

ทิศทางความร่วมมือด้านท่องเที่ยวของอาเซียน

ทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน กรอบความร่วมมือด้านท่องเที่ยวอาเซียน เเบ่งออกเป็น 4 คณะทำงานสำคัญได้เเก่ คณะทำงานด้านการตลาดเเละการสื่อสาร (Marketing and Communicating Working Group) คณะทำงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยว (Product Development Working Group) คณะทำงานด้านคุณภาพสินค้าเเละบริการท่องเที่ยว (Quality Tourism Working Group) คณะกรรมการด้านงบประมาณเเละการบูรณาการ (Integration and Budget Committee) ความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการตลาดของประเทศไทยในเวทีอาเซียนที่ผ่านมานั้น ททท. โดยนายสรรเสริญ เงารังษี รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียเเละเเปซิฟิกใต้ ทำหน้าที่เป็นประธานคณะทำงานด้านการตลาดและการสื่อสารของอาเซียน ในปี 2554-2555 



ASEAN Tourism Marketing Strategy: ATMS 2011-2015 ASEAN Tourism Strategic Plan : ATSP 2011-2015 “ภายในปี 2015 อาเซียนจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในภูมิภาคมากขึ้นด้วยสินค้าบริการที่เป็นเอกลักษณ์ และมีความหลากหลาย จะเกิดการปรับปรุงการเชื่อมโยงทางคมนาคม สร้างสภาวะแวดล้อมที่มั่นคง ปลอดภัย และเพิ่มคุณภาพการให้บริการ ในขณะเดียวกัน จะต้องเพิ่มคุณภาพชีวิตและโอกาสให้แก่ ผู้มีถิ่นฐานในภูมิภาค โดยพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบด้วยความ ร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพของผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ” ASEAN Tourism Marketing Strategy: ATMS 2011-2015 การสร้างอาเซียนให้เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่รู้จักในระดับโลก ดึงดูดนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเข้ามาในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียน “ASEAN for ASEAN” ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงอาเซียนเข้า ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดทำ แผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2554-2558 (ASEAN Tourism Strategic Plan 2011-2015 : ATSP) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. พัฒนาสินค้าบริการด้านการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของภูมิภาคและสร้างกลยุทธ์การลงทุนและการตลาดที่สร้างสรรค์ 2. เพิ่มคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ การให้บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในภูมิภาค 3. เร่งปรับปรุงการอำนวยความสะดวกในการเดินทางและการเชื่อมโยงทางคมนาคมของอาเซียน ทั้งนี้ คณะทำงานด้านการตลาดและการสื่อสารอาเซียน ซึ่งประเทศไทยเป็นประธาน ได้จัดทำยุทธศาสตร์ด้านการตลาดท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Marketing Strategy : ATMS 2012-2015) เพื่อสอดรับกับมาตรการสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2554-2558 (ASEAN Tourism Strategic Plan 2011-2015 : ATSP) โดยได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน เมื่อเดือนมกราคม 2555
 เป็นผลจากการระดมสมองร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อนำเสนอแนวทางเชิงกลยุทธ์ในการสร้างอาเซียนให้เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่รู้จักในระดับโลก และดึงดูดนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเข้ามาในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียน “ASEAN for ASEAN” ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงอาเซียนเข้าด้วยกัน

www.aseantourism.travel นอกจากการผลักดันให้มีการพัฒนาและใช้โลโก้ท่องเที่ยวอาเซียน Southeast Asia : Feel the Warmth แล้ว คณะทำงานยังได้ดำเนินภารกิจตามกรอบที่กำหนดในยุทธศาสตร์ด้านการตลาดท่องเที่ยวอาเซียน โดยได้มีการพัฒนาเว็บไซต์ท่องเที่ยวอาเซียนใหม่ www.aseantourism.travel พร้อมทั้งเผยเเพร่บทความ บทความ press releases เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน ในเว็บไซต์ท่องเที่ยวเว็บไซต์ใหม่ของอาเซียนนี้ โดยได้เปิดตัวไปในงาน ASEAN Tourism Forum) 2013 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว

ส่วนการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวในตลาดศักยภาพด้วยช่องทางดิจิทัล ได้แก่ จัดทำเว็บไซต์ท่องเที่ยวภาษาจีน www.dongnanya.travel โดยร่วมมือกับ ASEAN-China Center การพัฒนาโซเชียลมีเดียมาร์เก็ตติ้งบนเว็บไซต์ Weibo.com เพื่อส่งเสริมการทำตลาดนักท่องเที่ยวจีน www.dongnanya.travel

ASEAN Tourism Product Development Working Group (PDWG) Grouping of ASEAN Tourism Products Nature-based tourism product Cultural and heritage tourism product Community-based tourism product Cruise and river-based tourism product Health and Wellness Tourism นอกจากนี้ หนึ่งในมาตรการสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2554-2558 (ASEAN Tourism Strategic Plan 2011-2015 : ATSP) ได้แบ่งสินค้าและบริการท่องเที่ยวอาเซียนออกเป็นสี่กลุ่มหลัก (Core Products) ภายใต้คณะทำงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวอาเซียน (Product Development Working Group) ได้แก่ 1. Nature-based tourism product 2. Cultural and heritage tourism product 3. Community-based tourism product Cruise and river-based tourism product โดยในปีนี้ ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนมีมติเพิ่มสินค้าและบริการท่องเที่ยวอีกหนึ่งกลุ่ม ได้แก่ Health and Wellness Tourism โดยมอบหมายให้ประเทศไทย กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เป็นผู้ประสานงานหลัก

ASEAN Quality Tourism Working Group (QTWG) กำหนดมาตราฐานสินค้าเเละบริการ รวมถึงมาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเเหล่งท่องเที่ยว มาตรฐานโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Hotel) มาตรฐานด้านอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverages Services) มาตรฐานด้านห้องนํ้าสาธารณะ (Public Restroom) มาตรฐานที่พัก แบบ Home Stay มาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) มาตรฐานสถานที่ท่องเที่ยวมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ (Tourism Heritage) ยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนง่ึของแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2554-2558 (ASEAN Tourism Strategic Plan 2011-2015 : ATSP) ได้เเก่ การจัดทํา มาตรฐานการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Standards) เพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวของแต่ละประเทศในอาเซียนให้มีความใกล้เคียงและมีความเป็นสากลมากขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการเเข่งขันของธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ระกอบการธุรกิจท่องเที่ยวของไทยจึงควรเร่งพัฒนาและปรับปรุง คุณภาพธุรกิจของตนให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดทำมาตรฐานการท่องเที่ยว มาตรฐานอาเซียน ซึ่งเเบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้เเก่ มาตรฐานโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Hotel) อาทิ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม การใช้ระบบการบริหารจัดการขยะ ที่มีประสิทธิภาพ การใช้อุปกรณ์ช่วยประหยัดพลังงาน ฯลฯ 2. มาตรฐานด้านอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverages Services) อาทิ การออกแบบพื้นที่เละการใช้วัสดุสามารถทําความสะอาดได้ง่าย 3. มาตรฐานด้านห้องนํ้าสาธารณะ (Public Restroom) อาทิ การใช้ระบบการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ การอํานวยความสะดวกให้เเก่ผู้พิการเเละผู้สูงอายุ การรักษาความสะอาด ฯลฯ 4. มาตรฐานที่พัก แบบ Home Stay อาทิ การออกแบบและตกแต่งห้องพักโดยใช้วัดุท้องถิ่น การจัดกิจกรรมท้องถิ่นให้นักท่องเที่ยวเข้าร่วม อาทิ การประดิษฐ์ของพื้นเมือง ฯลฯ 5. มาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) อาทิ การทำป้ายบอกเส้นทางท่องเที่ยวที่ชัดเจน การจัดกิจกรรมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ 6. มาตรฐานสถานที่ท่องเที่ยวมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ (Tourism Heritage) อาทิ การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับสถานที่ การจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว การติดตามและประเมินผลผลกระทบจากนักท่องเที่ยวในสถานที่ดังกล่าว ฯลฯ

ASEAN Tourism Professional Monitoring Committee (ATPMC) เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 ประเทศไทยได้ลงนาม “ข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน" (MRA on Tourism Professionals) เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน (MRA on Tourism  Professionals) โดยไทยเป็นประเทศสุดท้ายที่ลงนามหลังจากประเทศอื่นๆ ในอาเซียนลงนามไปเมื่อมกราคม 2009 MRA จะช่วยลดขั้นตอนการตรวจสอบและรับรองวุฒิการศึกษาหรือความรู้ทางวิชาชีพนั้นๆ และประโยชน์สำคัญที่ด้านหนึ่งก็คือ MRA จะช่วยให้การศึกษา/ฝึกอบรมบุคลากรวิชาชีพในประเทศสมาชิกอาเซียนสอดคล้องกันรวมถึงมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มประเทศสมาชิกได้ ซึ่งโดยรวมแล้วคาดว่าจะทำให้มาตรฐานสูงขึ้นนั่นเอง ทั้งนี้ ผู้ผ่านการรับรองคุณสมบัติและได้รับใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพดังกล่าวมีสิทธิในการเดินทางไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนได้ แต่ยังต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของประเทศที่เข้าไปทำงาน การลงนามของไทยทำให้ MRA สาขาท่องเที่ยวนี้มีการลงนามครบทุกประเทศ และส่งผลให้แต่ละประเทศต้องดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องภายใน 180 วัน  การเตรียมการรองรับด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (Foreign Tourism Professional) จำเป็นต้องมีการกำหนดคุณสมบัติในแต่ละตำแหน่งงานให้มีมาตรฐานเดียวกัน และต้องมีหน่วยงานในระดับชาติที่รับผิดชอบดำเนินงานตาม MRA เพื่อดูแล กำกับ ประเมิน รับรองและลงทะเบียน ตลอดจนมีหน่วยกำกับระดับภูมิภาค ดังนั้นในข้อตกลง MRA ของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียนจึงกำหนดโครงสร้างภายในของประเทศสมาชิกที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการรับรองสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพท่องเที่ยวได้จัดตั้งและปฏิบัติงานได้ ทั้งนี้ตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN MRA) กำหนดให้มีคณะกรรมการ 3 ชุด ไทยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ 2 ชุดแรกเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่คณะกรรมการชุดที่ 3 เป็นคณะกรรมการในระดับอาเซียนที่ทุกประเทศจะต้องร่วมจัดตั้ง คือ  1. คณะกรรมการวิชาชีพการท่องเที่ยวแห่งชาติ (National Tourism Professional Board : NTPB) 2. คณะกรรมการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพการท่องเที่ยวแห่งชาติ (Tourism Professional Certification Board :TPCB) 3. คณะกรรมการติดตามตรวจสอบวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Professional Monitoring Committee : ATPMC

ยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของททท. ททท. ได้ทำการศึกษาวิจัย เเละวิเคราะห์สถานการณ์ทิศทางเเนวโน้มในการพัฒนาเเละส่งเสริมด้านการตลาดท่องเที่ยวของประเทศในกลุ่มอาเซียน ระหว่างปี 2556- 2559 โดยระหว่างการศึกษา รวบรวมดังกล่าว สามารถวางแนวทางการเตรียมความพร้อมและการส่งเสริมตลาด สำหรับรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทย เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไปพร้อมกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของทุกประเทศในกลุ่ม ASEAN

แผนกลยุทธ์ด้านการตลาดของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กลยุทธ์ที่ 1) ส่งเสริมการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวร่วม กับเครือข่ายธุรกิจท่องเที่ยวในภูมิภาค (Connecting Thailand-ASEAN Tourism Activities) กลยุทธ์ที่ 2) ขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ (Leverage Thailand-ASEAN Tourism through Bi-lateral & Multi-lateral Agreement) กลยุทธ์ที่ 3) ประชาสัมพันธ์ และ สร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวใน ภูมิภาค (Promote Thailand’s Image as Tourism Capital of ASEAN) กลยุทธ์ที่ 4) ส่งเสริมการจัดการแหล่งท่องเที่ยว และโครงสร้างสนับสนุนท่องเที่ยวในประเทศเพื่อเชื่อมโยง การท่องเที่ยวภายในภูมิภาค (TAT as Tourism Architect for Destination Development) แผนกลยุทธ์ด้านการตลาดการท่องเที่ยวของ ททท. เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นแผนที่กำหนดขึ้นเพื่อขยายโอกาสในการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นการแสวงหาประโยชน์และเตรียมความพร้อมด้านการตลาดการท่องเที่ยวจากการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศอาเซียน ผ่านกรอบความร่วมมือประเทศและความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ของไทย โดยวางตำแหน่งทางการท่องเที่ยวไทย กลุ่มเป้าหมาย และกลยุทธ์การดำเนินงาน ดังนี้

ขอบคุณครับ