ตัวอย่างการทำ และการเขียน PDCA ในเรื่องของการเรียน การสอน โดยได้รับความอนุเคราะห์จากท่าน ผศ. ดร. ไพศาล มงคลวงศ์โรจน์
การจัดการเรียนการสอน วิชาฝึกงานจุลทรรศน์คลินิก
Planning (P) Review การดำเนินงานที่ผ่านมา -Automation แทนที่ manual method ตามโรงพยาบาลต่างๆ -มาตรฐานวิชาชีพกำหนดจำนวนชม.ฝึกงาน -การฝึกงานที่ภาควิชานับจำนวนชม.ไม่ได้ -Expertise จากอาจารย์แต่ละกลุ่ม
Automation practice รพศรนครินทร์ Process redesign รูปแบบเดิม รูปแบบใหม่ Automation practice รพศรนครินทร์ Problem solving Lab practices
Do (deployment/implememt) วัน วันที่ 9.00-12.00 น. 13.00-16.00 น. อาจารย์ผู้ดูแล จันทร์ 5 กย.54 Pre-test/body fluid Coag ภานุทรรศน์/วรวรรณ อังคาร 6 กย.54 Rbc Urine/stool กนกวรรณ/กนกวรรณ พุธ 7 กย.54 WBC WBC +Body fluid ภานุทรรศน์/ภานุทรรศน์ วัน วันที่ Automated UA Automated Hematology Automated Coagulation Flow เจาะเลือด เช้า บ่าย ทั้งวัน พฤหัส 8กย.54 1 2 3 4,5 6,7 ศุกร์ 9กย.54 8 9 10 จันทร์ 12กย.54 4 5 6 7 1,2 3,8 อังคาร 13กย.54 16 3,10 พุธ 14กย.54 11 8,9 12,13 Discussion ระหว่างอาจารย์ อาจารย์พิเศษ นศ. 1-8 เวลา 15.00-16.30 น.ที่หน่วยจุลทรรศน์วินิจฉัย
Check © ผลการดำเนินการจัดการเรียนการสอนวิชาฝึกปฏิบัติการจุลทรรศน์คลินิก ผศ.ไพศาล มงคลวงศ์โรจน์ ได้สรุปผลการดำเนินการจัดการเรียนการสอนวิชาฝึกปฏิบัติการจุลทรรศน์คลินิกในปีการศึกษานี้ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว 1 กลุ่ม พบว่ามีจุดอ่อนในหลายประเด็นซึ่งได้นำข้อเสนอแนะจาก อ.ที่คุมฝึก อ.พิเศษ มาปรับปรุงไปและได้ใช้ในกลุ่มที่ 4 ซึ่งได้ผลดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นสำคัญที่จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา 4 ประเด็น คือ
รูปแบบการฝึกปฏิบัติการหลังจากการปรับปรุง รศ รูปแบบการฝึกปฏิบัติการหลังจากการปรับปรุง รศ.กนกวรรณ แสนไชยสุริยา ได้ให้ข้อสังเกตต่อที่ประชุมว่า ที่ผ่านมานักศึกษามีโอกาสดู urine sediment น้อยมากและที่คณะได้ปรับรูปแบบใหม่ ทำให้ได้ฝึกดูตะกอนรายเดียวซึ่งอาจน้อยเกินไป จึงขอให้ที่ประชุมพิจารณาเพิ่มการดู urine sediment ขณะเดียวกันต้องขอปรับการทบทวนให้น้อยลง เพื่อให้มีเวลา 1 คาบ (3 ชม) สำหรับให้ อ.ยศสมบัติและเกศรินทร์ ได้สรุปเรื่องระบบ LIS และ immunophenotype ให้นักศึกษาทั้งกลุ่มก่อนไปฝึกที่หน่วย
มติที่ประชุม เพิ่มการดู urine sediment โดยส่งเป็น routine urinalysis เพิ่มอีก 3 ตัวอย่าง/คนในจุด LP1 และให้นักศึกษาจัดรูปแบบและการทำ Lab ต่างๆ ให้เป็นระบบ รวมทั้งจัดที่รับส่งสิ่งส่งตรวจ จุดลงผล จุดออกผล และการเก็บและทำลายสิ่งส่งตรวจอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ให้กำหนดวัตถุประสงค์หลักในการไปฝึกงานที่หน่วยจุลทรรศน์วินิจฉัยให้ชัดเจน แจ้งให้นักศึกษาได้ทราบและสามารถตรวจสอบได้ว่านักศึกษาได้บรรลุวัตถุประสงค์จากการไปฝึกมากน้อยเพียงใดด้วย นอกจากนี้สำหรับกลุ่มที่ 5 ให้ใช้เวลา review coagulation ของ อ.วรวรรณ วันที่ 5 กย. 54 เวลา 13-16 น.ไปให้เป็นเวลาทบทวนของ อ.ยศสมบัติและ อ.เกศรินทร์ โดย อ.วรวรรณจะไปสอนในวันอาทิตย์ที่ 4 กย.54 แทน ส่วนกลุ่มที่ 1 และ 2 ให้ อ.ประสานวิชาประสานกับอ.ในกลุ่มทั้งสองต่อไป
Act การฝึกปฏิบัติการจุลทรรศน์คลินิก โครงการพิเศษ 2554 ใช้แนวทางการฝึกเช่นเดียวกับภาคปกติตามมติที่ประชุมครั้งที่ผ่านมา ดังนี้ การฝึกงานที่หน่วยจุลทรรศน์ ปรับ immunophenotype จาก 1 วัน เหลือ ครึ่งวัน ไม่มีการไปเจาะเลือด Discussion ครั้งเดียว Review ปรับลดเวลา เหลือ 1.5 ชม
สรุปผลการประเมิน:โครงการปกติ
สรุปผลการประเมิน:โครงการพิเศษ
ข้อสังเกตจากอาจารย์ประสานวิชา -เนื่องจากนักศึกษาโครงการพิเศษมีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้วค่อนข้างมากเป็นส่วนใหญ่ การฝึกปฏิบัติการอาจออกแบบเป็น tailored-made ที่แตกต่างจากนักศึกษาโครงการปกติ โดยเน้นการ validate/แปลผล/problem solving นักศึกษากลุ่มนี้มีความตั้งใจในการเรียน และมีความรับผิดชอบสูง แต่ควรมีการกระตุ้นในเรื่องการศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากขึ้น -ฝ่ายวิชาการได้นับเวลาการฝึกที่หน่วยจุลทรรศน์.ในปีนี้แล้ว มีจำนวนชม.การฝึกเป็นไปตามมาตรฐานของสภาวิชาชีพ ดังนั้น หากจะมีการปรับลดจำนวนชม.การฝึกที่หน่วย จะต้องเสนอขอไปยังฝ่ายวิชาการก่อนว่าจะอนุมัติหรือไม่และมีผลกระทบต่อมาตรฐานหลักสูตรหรือไม่ ควรได้มีการปรึกษาและมองหาแนวทางในการประเมินผลการฝึกปฏิบัติการ เพื่อให้วัดประเมินคุณภาพของนักศึกษาจริงๆ -ควรนำ content รายวิชาใหม่ ในหลักสูตรปรับปรุงใหม่ และการฝึกงานในโรงพยาบาลมาพิจารณาร่วมกับการออกแบบการฝึก สภาพปัจจุบันการบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งการฝึกที่หน่วยและคณะภายใต้เวลาที่จำกัดนี้เป็นไปได้ยาก