การพัฒนาการจัดเรียนการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการนำเข้าและการส่งออกของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการตลาด โดยใช้แบบฝึกด้วยเทคนิคการเขียนแผนผังความคิด.
Advertisements

ผู้เสนอ นางประภัสสร แก้วประสาน สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
การใช้ชุดการสอนวิชาบัญชีเบื้องต้น 2 เรื่องการปรับปรุงบัญชี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาพณิชยการ และการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว โรงเรียนโปลิเทคนิคลานนา.
พัฒนศักดิ์ จิณะวงค์ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่
ปี 2 ห้อง 1 โรงเรียนเทคโนโลยีชลบุรี ”
สุนันทา โสรณสุทธิ์ ผู้วิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชย การ.
วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
โดย นางสาวนิภาพร เถาคำแก้ว วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค.)
นางลัดดาวรรณ คงพูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาสามัญและพื้นฐาน
ผู้เสนอ นางสาวนิภาพร วิริยะประกอบ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
ผู้วิจัย : นางสาวสุรีรัตน์ ขันคำ
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
นางสาวทศพร ปินตาสม วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่

นางสาวรัฏฐภรณ์ เหล็กไหล
การพัฒนาทักษะการคำนวณเรื่องระบบเลขฐาน โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา.
ชื่อเรื่อง ผลการใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนวิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ของนักศึกษาชั้น ปวช.2 สาขางานยานยนต์ โรงเรียนโปลิเทคนิคลานนา.
ชื่อเรื่อง : ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาการบัญชีบริหาร ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองการวางแผนงบประมาณในธุรกิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา
วิทยาลัยเทคโนโลยีวิศวกรรม บริหารธุรกิจ
อาจารย์อัครชัย ปัญญาคม
นางนุชจรินทร์ แก้ววงวาล วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
วิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาธุรกิจทั่วไป
สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
The Students’ Opinion on Learning Management of Report Financial Analysis Course นายวิทยา ยิ่งนคร ผู้วิจัย บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ( การบัญชี ) วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรบริหารธุรกิจ.

กิตติญา ยังเจริญ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
อาจารย์ประจำสาขาบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ รายบุคคลทางการคำนวณและ การใช้สูตรฟังชั่นอย่างง่ายโดย โปรแกรม Microsoft Excel ในวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่องานอาชีพ ผู้วิจัย.
กิจกรรมการเรียนการสอน ที่หลากหลาย เพื่อเพิ่ม ผลสัมฤทธิ์ในการเรียน วิชา กฎหมายแรงงานและ การประกันสังคม ของนักศึกษาระดับชั้น ปวส.2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์
ประชิด เกิดมาก ผู้วิจัย. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียน การสอนด้วยจิกซอว์ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนก่อนเรียน.
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน วิชาการจัดเก็บเอกสารของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์กับการสอนแบบปกติ
วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษร บริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษร บริหารธุรกิจ จังหวัดระยอง จังหวัดระยอง ชื่อผู้วิจัย / สถาบัน นายวัชรพล พรมโคตร.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิชาการใช้โปรแกรมตาราง งานโดยวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อน ช่วยเพื่อนช่วยเพื่อนของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น ปีที่
นางจินดาพร พูล สวัสดิ์ วิทยาลัยเทคโนโลยี วิมลบริหารธุรกิจ ชื่อเรื่องวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการจัดการ สำนักงาน ของ นักศึกษาระดับ ปวส. 1 เรื่อง.
การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อการออกแบบของ นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สาขางาน คอมพิวเตอร์กราฟิค วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ.
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยใช้รูปแบบการ
วัตถุประสงค์การวิจัย
วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลศรีย่าน
เรื่อง ความพึงพอใจต่อการให้บริการห้องสมุด
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
ทำการวิจัยโดย นางรุ่งนภา ทินช่วย
ชื่อผู้วิจัย นางสาวศุวรีย์ จำปามูล
ผู้วิจัย นายอภิสิทธิ์ แก้วฟู วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี
ชื่อผลงานวิจัย การพัฒนาความสามารถด้านการพูดนำเสนอโปรแกรมท่องเที่ยวโดยใช้การสอนแบบบทบาทสมมุติ วิชาการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นปีที่
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสมวิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
การพัฒนาบุคลิกภาพด้านการแสดงออกของผู้เรียน
โดย นางสาวนิรมล บุรกรณ์
วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม
นางนพรัตน์ สุวรรณโณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาบริหารธุรกิจวิทยาสงขลา
นางสาวสุภาวดี นุกุลเสาวลักษณ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตรดิตถ์ 2559
การนำเสนอผลงานการวิจัย
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัย ศุภลักษณ์ พูลเกษม วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ 8
การนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมสื่อการสอนทางอาชีวศึกษา ครั้งที่ 8
ว่าที่ร้อยตรีศิริพงษ์ สายหยุด ผู้วิจัย
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 6
นายเกียรติศักดิ์ คนธสิงห์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัย นางสาวนนทกานต์ ลีอุดมวงษ์ .
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
วิทยาลัยอาชีวศึกษาดุสิตพณิชการ
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา การบัญชี อุตสาหกรรมและระบบใบสำคัญ ของนักศึกษาระดับ ปวช. 3 สาขาการบัญชี ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้
ผู้วิจัย นายณัฐภูมิ จาระธรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร จังหวัดเชียงใหม่
โดย นางสาววิมลรัตน์ ยอดคำแปง
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การพัฒนาการจัดเรียนการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด ชื่องานวิจัย การพัฒนาการจัดเรียนการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา พลังงานและสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ นางสาวแววดาว บุญตา แผนกสามัญ วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ

ที่มาและความสำคัญ การปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนทุกคน สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และในการพัฒนาคนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม ตามที่สังคมต้องการ จากการที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้สอนวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิชาในหลักสูตรของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 เนื้อหาในรายวิชาที่มีค่อนข้างมาก ผู้เรียนไม่สามารถจดจำในสิ่งที่ตนเองได้เรียนไปได้หมด หรือจำได้น้อย ทำให้ผู้เรียนขาดความกระตือรือร้นเอาใจใส่ในการเรียน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังไม่ดีเท่าที่ควร จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาการจัดเรียนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ในรายวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองและมีความเข้าใจในบทเรียนและจดจำในสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้ได้มากที่สุด

วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. หาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้วิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ห้อง TI201 และ ห้อง TI202 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ในรายวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ห้อง TI201 และ ห้อง TI202 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ในรายวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ

แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) กรอบแนวคิดตัวแปรการวิจัย ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม - ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ห้อง TI201 และ ห้อง TI202 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ในรายวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม การจัดการเรียนรู้ แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ห้อง TI201 และ ห้อง TI202 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ในรายวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ขอบเขตการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่เรียนวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ จำนวน 5 ห้อง จำนวน 141 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ห้อง TI201 และ ห้อง TI202 ที่เรียนวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ จำนวน 67 คน ขอบเขตเนื้อหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน-หลังเรียน และความพึงพอใจในของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ห้อง TI201 และ ห้อง TI202 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ในรายวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ในรายวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจำนวน 3 แผนการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการิเคราะห์ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ใช้สูตรคำนวณหาค่า E1/ E2 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 30 ข้อ โดยเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ถ้าตอบถูกให้ 1 คะแนน ถ้าตอบผิดได้ 0 คะแนน (แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน เป็นข้อสอบชุดเดียวกัน แต่นำมาสลับข้อ เพื่อป้องกันการจดจำข้อสอบ) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ดัชนีประสิทธิผล (การหาพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นของนักศึกษา) (Effectiveness Index : E.I) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า t – test แบบ dependent 3. แบบสอบถามความพึงพอใจทางการเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ในรายวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (ต่อ) การหาคุณภาพของแบบทดสอบ แบบทดสอบ นำแบบทดสอบเสนอผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบคุณภาพและความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ซึ่งผลการตรวจสอบได้สัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.98 นำแบบทดสอบไป (Try out) เพื่อหาคุณภาพของข้อสอบกับนักศึกษาที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน นำผลการทดสอบมาวิเคราะห์รายข้อ เพื่อหาความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.20-0.80 และอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20-1.00 พบว่าข้อสอบทุกข้อผ่านคุณภาพ โดยมีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.20-0.33 และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.48 ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยนำข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 30 ข้อ นำมาหาค่าความเชื่อมั่นของ แบบทดสอบ โดยใช้สูตร KR 20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) ผลการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นของ แบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.99 มีความเชื่อมั่นสูง นำแบบสอบถามเสนอผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบคุณภาพและความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เสนอต่อคณะผู้เชี่ยวชาญชุดเดิมโดยใช้แบบประเมินค่าความสอดคล้อง IOC (Index of Item-Objective Congruence) นำผลจากการวิเคราะห์ค่า IOC มาหาสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง ซึ่งผลการตรวจสอบได้สัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.97 นำแบบสอบถามที่ทดลองใช้กับกลุ่มนักศึกษาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ในวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ค่าสัมประสิทธ์แอลฟา (α-Coefficient) เท่ากับ 0.90

ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ (ต่อ) ตารางที่ 4.1 วิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ จากตารางที่ 4.1 พบว่านักศึกษาที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) วิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบย่อยหลังเรียน (E1) เท่ากับ 24.60 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82 ของคะแนนเต็ม และคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (E2) เท่ากับ 25.63 คิดเป็นร้อยละ 85.42 ของคะแนนเต็ม ตารางที่ 4.2 การวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ จากตารางที่ 4.2 พบว่าดัชนีประสิทธิผลแผนการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) วิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม มีค่าเท่ากับ 0.75 แสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนมีคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 75

ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ (ต่อ) ตารางที่ 4.3 วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จากตารางที่ 4.3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ห้อง TI201 และ ห้อง TI202 จากการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) วิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อมก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ (ต่อ) ตารางที่ 4.4 วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) วิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อมก่อนเรียน

ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ (ต่อ)

สรุปผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ (ต่อ) ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) วิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 82/85.42 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2. ดัชนีประสิทธิผลแผนการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) วิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม มีค่าเท่ากับ 0.75 แสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนมีคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 50 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

สรุปผลการวิจัย (ต่อ) ข้อเสนอแนะ 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ห้อง TI201 และ ห้อง TI202 จากการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) วิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.63 ค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 12.51 และผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 4. ความพึงพอใจในวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชา การโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ห้อง TI201 และ ห้อง TI202 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 1. ผู้สอนควรศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ให้สอดคล้องกับกลุ่มของผู้เรียนและลักษณะของกิจกรรมการเรียนการสอนก่อนการนำแผนที่ความคิดไปใช้ 2. ครูผู้สอนควรอธิบายให้ผู้เรียนทราบถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ก่อนให้ผู้เรียนได้ลงมือทำผลงาน 3. ในการจัดการเรียนการสอนครูผู้สอนควรมีการแบ่งกลุ่มผู้เรียน โดยกำหนดให้มีทั้งกลุ่ม เก่ง ปานกลาง และอ่อน เพื่อให้ผู้เรียนได้ช่วยเหลือกันระหว่างการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ข้อเสนอแนะ (ต่อ) ผลกระทบที่เกิดขึ้น ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ในการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่น ๆ ได้ทั้งในวิชาที่เป็นวิชาสามัญทั่วไปและวิชาชีพ เพราะการทำกิจกรรมแผนที่ความคิดทำให้ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้ และจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้ได้รวดเร็วและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น 2. ควรมีการศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ในรายวิชาอื่น ๆ ทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและด้านความคิดสร้างสรรค์ ผลกระทบที่เกิดขึ้น ผลกระทบด้านบวก 1. ผู้วิจัยสามารถนำวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ไปบูรณาการกับรายวิชาอื่น ๆ ได้ เช่น วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต 2. จากผลการวิจัยทำให้ผู้วิจัยสามารถกำหนดสัดส่วนของการให้คะแนนในรายวิชาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติได้อย่างเหมาะส ผลกระทบด้านลบ 1. ในการจัดการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) นักศึกษาบางคนยังไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้สอนจัดขึ้นในชั้นเรียนได้ หรือถ้าทำได้จะทำได้ค่อนข้างช้า ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากนักศึกษายังขาดทักษะในการสรุปความคิดรวบยอดในการเรียนในแต่ละเรื่องในรายวิชา จึงส่งผลทำให้นักศึกษาบางคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียนน้อยเกินไป 2. ผู้เรียนไม่ชอบการวาดรูป วาดแผนภาพแสดงความคิดรวบยอด จึงควรเพิ่มสัดส่วนคะแนนด้านทักษะพิสัยในกับนักศึกษาให้มากขึ้น

บรรณานุกรม