พัฒนาระบบบริการคัดกรองเบาหวาน ขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน เบาหวานตาไม่หวาน.. พัฒนาระบบบริการคัดกรองเบาหวาน ขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มงานผู้ป่วยนอก
จอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวาน Moderate to severe nonproliferative (NPDR) Proliferative diabetic retinopathy (PDR) Macular edema Sever proliferative diabetic retionpathy Mild nonproliferative Non-proliferation (DR)
ปัญหาและสาเหตุ การคัดกรองภาวะแทรกซ้อนได้ไม่ครอบคลุม ปี2558 คัดกรองได้ 981คน อัตราร้อยละ45.05 ปี2559 คัดกรองได้ 1824 คน อัตราร้อยละ 46.88 รอตรวจตานาน / ขาดการติดตามการรักษา ผู้ป่วยและชุมชนขาดความรู้ ความตระหนัก พื้นที่ห่างไกล เดินทางลำบาก ผู้ป่วยสูงอายุการเข้ารับบริการลำบาก จากปัญหาทางเศรษฐกิจและขาดคนดูแล และในกลุ่มอายุน้อยไม่ทราบความสำคัญถึงภาวะแทรกซ้อนทางตา
เป้าหมาย 1.อัตราการคัดกรองเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ≥ 60% 2.อัตราผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้รับการส่งต่อ 100% 3.ความพึงพอใจในการรับบริการ >80%
กิจกรรมการพัฒนา การพัฒนากระบวนการให้บริการ การพัฒนาระบบงานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาระบบสารสนเทศ
การพัฒนากระบวนการให้บริการ 1 ประชุมชี้แจง/จัดทำแผนการคัดกรองให้กับเครือข่ายบริการสุขภาพ คป.สอ บ่อพลอย 2 ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยเบาหวานเห็นความสำคัญของการมาตรวจคัดกรองจอประสาทตาในคลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลบ่อพลอยและ รพ.สตทุกแห่ง 3 จัดมหกรรมการคัดกรองจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน
3.1 ลงปฏิบัติเชิงรุกในชุมชนทุก รพ.สต จำนวน 10 แห่ง โดยมีการทำงานเป็นทีมเครือข่าย ทำให้ผู้ป่วยสะดวกในการเข้าถึงบริการการคัดกรองมากขึ้น 3.2 จัดกิจกรรมการคัดกรอง ที่โรงพยาบาลบ่อพลอย ทุกวันพุธที่3 ของเดือน เริ่มตั้งแต่ ตุลาคม 2559 ถึง มีนาคม 2560
3.3 One stop service โดยจักษุแพทย์จากโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา มาตรวจภาวะแทรกซ้อนที่ โรงพยาบาลบ่อพลอย เดือน มีนาคม และเดือน เมษายน 2560 3.4 แจ้งผลการตรวจให้กับผู้ป่วยเบาหวานทุกราย และแนะนำการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตา และเน้นย้ำให้ความรู้ ความสำคัญในการคัดกรองปีละ1 ครั้ง
3.5 กรณีตรวจพบความผิดปกติจอประสาทตามีระบบส่งต่อ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา โดยทันที 3.6 พัฒนาระบบส่งต่อ - Eye Nurse ตรวจพบความผิดปกติจอประสาทตา ส่งพบจักษุแพทย์ โดยเขียนใบส่งตัวพบจักษุแพทย์ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ทันที - มีการติดตาม ผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ ทั้งในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลและประสานงานรพ.สต ติดตามหลังการส่งต่อ
2.การพัฒนาระบบงานที่เกี่ยวข้อง 2.1 พัฒนาบุคลากร - พยาบาลวิชาชีพอบรมหลังสูตร Eye nurse จำนวน 2 คน/2 สัปดาห์ โดยสามารถถ่ายภาพจอประสาทตา และแปลผลขอพยาธิสภาพที่จอประสาทตาจากเบาหวานเบื้องต้นได้ - การฟื้นฟูหลังการอบรมและสนับสนุนให้เข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพต่อเนื่อง โดยฝึกตรวจตาภายใต้การดูแลของทีมจักษุแพทย์ และระบบConsultแพทย์จากทีม โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
2.การพัฒนาระบบงานที่เกี่ยวข้อง 2.2 ระบบสิ่งแวดล้อมและเครื่องมือ - จัดระบบ One stop service ให้ผู้ป่วยสะดวก และรวดเร็ว โดยจัดจุดตรวจและคัดกรองที่ตึกชายเก่า - โรงพยาบาลจัดซื้อเครื่องถ่ายภาพจอประสาทตา Fundus cameraพร้องคัดกรองตามแผน
3.ระบบสารสนเทศ พัฒนาแบบคัดกรองภาวะแทรกซ้อนจอประสาทตาให้ครบถ้วน เพื่อนำข้อมูลลง Hos XP และHDC ได้สองคล้องกับDATA Center สสจ. ทำให้สะดวกในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล
การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง
อัตราความพึงพอใจผู้มารับบริการ
ตารางที่1 เปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนจอประสาทตา ตารางที่1 เปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนจอประสาทตา เรื่อง เป้าหมาย ปีงบประมาณ 2558 2559 2560 1.อัตราการคัดกรองเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ≥ 60 % 45.05% 46.88 % 67.32% 2.จำนวนผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรอง 981คน 1,824คน 2,112คน 3 . จำนวนระดับความรุนแรง 3.1 non-proliferation DR 91.13% 92.21% 93.23% 3.2 moderate to severe nonproliferative 9.17% 6.85% 5.21% 3.3 proliferative diabetic retinopathy 0.41% 0.66% 0.99% 3.4 sever proliferative diabetic retinopathy 0.10% 0.27% 0.57% 4.อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยรายใหม่ < 12% NA 5คน 28คน 1.33% 5. อัตราการส่งต่อผู้ป่วยเบาหวานที่พบความผิดปกติ 100% 56คน
การติดตามผู้ป่วยส่งต่อ ปี2560ตรวจพบความผิดปติทางตาส่งพบจักษุแพทย์ทั้งหมด 56 ราย - จอประสาทตาผิดปกติ 4 ราย - ต้อเนื้อและต้อกระจก 52 ราย
นวัตกรรม - แบบฟอร์มคัดกรองเบาหวานขึ้นจอประสาทตาแบบใหม่ เพื่อความครอบคลุมของการคัดกรองและการลงข้อมูล - ตราปั้มผลการคัดกรองเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเพื่อลดการคัดกรองซ้ำในผู้ป่วยสูงอายุ - จัดทำตารางการลงข้อมูลคัดกรองเบาหวานขึ้นจอประสาทตาขึ้นใหม่เพื่อแยกประเภทผู้ป่วยตาม HDC
บทเรียนที่ได้รับ 1 การมีเครื่องถ่ายภาพจอประสาทตาทำให้สะดวกในการตรวจคัดกรองได้ครอบคลุม 2 การจัดมหกรรมการคัดกรองจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานโดยทำงานเป็นภาคีเครือข่ายร่วมกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา และ คปสอ.บ่อพลอย ส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย 3 การตรวจคัดกรองใน รพ.สต และโรงพยาบาลชุมชนทำให้ผู้ป่วยสะดวกในการมารับบริการมากขึ้น 4 ผู้ปฏิบัติงานเกิดการเรียนรู้และพัฒนา ทักษะอย่างต่อเนื่อง