โครงงานกระปุกออมสินจากกะลามะพร้าว
ที่มาและความสำคัญ
ประเภทโครงงาน โครงงานสิ่งประดิษฐ์ ชื่อผู้จัดทำ 1.นางสาวจุฑารัตน์ มัคราช เลขที่ 20 2.นางสาวปิยนุช กาฬรัตน์ เลขที่ 26 3.นางสาวศิริรัตน์ ทองสงค์ เลขที่ 40 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์อุไรวรรณ โสภา
เนื่องจากกะลามะพร้าวเป็นเศษวัสดุที่มีมากในชุมชนจากการใช้ทำกิจกรรมต่างๆมีมากขึ้นเรื่อยๆและสามารถนำมาแปรรูปได้ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้และสามารถนำมาเป็นเครื่องประดับในบ้านได้กลุ่มพวกเราจึงได้คิดจัดทำกระปุกออมสินจากกะลามะพร้าว คณะผู้จัดทำได้เห็นความสำคัญของกะลามะพร้าวจึงมีความคิดทำให้เกิดประโยชน์โดยการนำกะละมะพร้าวมาทำเป็นกระปุกออมสินซึ่งใช้วัสดุจากกะลามะพร้าว
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประดิษฐ์กระปุกออมสินจากกะลามะพร้าว 2. เพื่อเป็นการการอนุรักษ์ภูมิปัญญาในท้องถิ่น 3. เพื่อได้นำความรู้ทางด้านวิชาการงานอาชีพเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
ขอบเขตของโครงงาน ระยะเวลาการศึกษา 24 พฤศจิกายน 2558 – กุมภาพันธ์ 2559 ระยะเวลาการศึกษา 24 พฤศจิกายน 2558 – กุมภาพันธ์ 2559 ดำเนินการทำงานที่โรงเรียนและบ้าน งานที่ได้สามารถใช้งานได้ทั่วไป
วัสดุที่ใช้ในการทำโครงงาน 1. กะลามะพร้าว 2 ลูก 2. เศษไม้ 1 ชิ้น 3. แลกเกอร์ 1 กระป๋อง 4. กระดาษทราย 3 แผ่น 5. เลื่อย 1 อัน 6. สว่าน 1 อัน 7. กาวตราช้าง 1 หลอด
ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน 1. รวมกลุ่มและกำหนดหัวข้อการทำโครงงาน 2. ค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ 3. ออกแบบผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว 4. จัดเตรียมวัสดุในการดำเนินงาน 5. ลงมือปฏิบัติทำโครงงาน 6. เขียนรายงาน พร้อมสรุปผลและอภิปราย
ระยะเวลาการดำเนินงาน การเขียนเค้าโครงโครงงาน แผนการดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลาการดำเนินงาน การเลือกโครงงาน 24 พฤศจิกายน 2558 การเขียนเค้าโครงโครงงาน 1 ธันวาคม 2558 ลงมือทำ 14 ธันวาคม – กุมภาพันธ์ 2559 นำเสนอผลงาน 26มกราคม– กุมภาพันธ์ 2559
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้กระปุกออมสินจากกะลามะพร้าว 2. ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. ได้นำความรู้ทางด้านวิชาการงานอาชีพมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
งบประมาณ คาดว่าคงใช้จ่ายที่ซื้ออุปกรณ์ในการทำมีรายละเอียดดังนี้ 1. กระดาษทราย 5 บาท 2. แลคเกอร์ 80 บาท 3. กาว 15 บาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 100 บาท
บูรณาการ 8 กลุ่มสาระ 1. กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ นำทักษะความรู้ในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์มาคิดคำนวณในการจัดระยะห่างของกะลามะพร้าวได้ 2. กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ออกแบบรูปทรงและการตกแต่งของกระปุกอออมสิน 3. กลุ่มสาระภาษาไทย อธิบายขั้นตอนการทำหรือการบรรยายต่างๆได้ 4. กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ เพ้นท์คำศัพท์ลงบนกระปุกออมสิน
บูรณาการ 8 กลุ่มสาระ 5. กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา 5. กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา ประยุกต์ได้เช่น การทำกระปุกออมสินจากกะลามะพร้าวเป็นกิจกรรมนันทนาการและช่วยทำให้เกิดการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 6. กลุ่มสาระศิลปะ การลงสีและการตกแต่งกะลามะพร้าว 7. กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ นำความรู้มาประดิษฐ์กะปุกออมสิน 8. กลุ่มสาระสังคมศึกษา ประหยัด มีวัสดุเหลือใช้หาง่ายจากท้องถิ่น
บทที่2 เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง บทที่2 เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำโครงงาน เรื่อง กระปุกออมสินจากกะลามะพร้าวนี้ ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้ โครงงานกระปุกออมสินจากไม้ไอติม บทคัดย่อ โครงงาน การประดิษฐ์ไม้ไอติมเป็นโครงงานที่คิดค้นเพื่อให้นักเรียนสามารถวางแผนและออกแบบการทำไม้ไอศกรีมให้ได้ประโยชน์ สามารถบอกขั้นตอนการประดิษฐ์ไม้ไอติมสารพัดประโยชน์ นำเศษวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีความสามัคคีในหมู่คณะ เรียนรู้ตามความสนใจและเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตน โครงงานชิ้นนี้จะเป็นสื่อการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
โครงงานกระปุกออมสินากกระบอกไม้ไผ่ บทคัดย่อ โครงงานเรื่อง การทำกระปุกออมสินจากกระบอกไม้ไผ่ จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมให้มีความหลากหลายให้กับสินค้า และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปบูรณาการกับวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ในเรื่องของการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังนำไปบูรณาการได้อีกหลายวิชา จากการศึกษาพบว่าการทำกระปุกออมสินจากกระบอกไม้ไผ่ซึ้งเราสามารถเก็บหรือออมเงินที่เราอยากไว้เพื่อให้คนที่เรารักหรือเก็บไว้เพื่อใช่ในอนาคตข้างหน้าและประหยัดค่าใช่จ่ายหรือเรานำมาตกแต่งบ้านก็ได้
บทที่ 3 วิธีการจัดทำโครงงาน วัสดุอุปกรณ์
วิธีการจัดทำโครงงาน วิธีการจัดทำโครงงานมีขั้นตอนดังนี้ 1.นำมะพร้าวที่หาได้มาปอกเปลือกให้หมด 2.นำมะพร้าวที่ปอกเปลือกแล้วมาขัดกับกระดาษทรายให้มีเนื้อที่ละเอียด
3. นำกะลามะพร้าวที่ขัดกระดาษทรายแล้วไปทาแลคเกอร์ 4 3.นำกะลามะพร้าวที่ขัดกระดาษทรายแล้วไปทาแลคเกอร์ 4. เมื่อทาแลกเกอร์แล้วให้ทิ้งกะลามะพร้าวใว้ให้แห้ง
5. นำชิ้นส่วนที่แกะไว้มาประกอบกันกับกะลามะพร้าวที่ทาแลคเกอร์แล้วมาประกอบกับชิ้นส่วนที่วางแผนไว้ 6.ได้ผลงานสำเร็จเป็น กระปุกออมสินรูปมังคุด
บทที่4 ผลการศึกษา จากการศึกษาการสร้าง กระปุกออมสินจากกะลามะพร้าว ในการจัดทำโครงงานครั้งนี้ ผู้จัดทำได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องต่างๆดังนี้ จากการประดิษฐ์กระปุกออมสินจากกะลามะพร้าวทำให้ได้กระปุกออมสินจากกะลามะพร้าวและได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาในท้องถิ่น นอกจากนี้เราสามารถนำความรู้ที่ได้จากการประดิษฐ์กระปุกออมสินมาประยุกต์ใช้กับวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
บทที่5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ