การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (DHS) จังหวัดเพชรบุรี ปี 2558
ระบบสุขภาพระดับอำเภอ (รสอ.) District Health System (DHS) เป็นการทำงานสุขภาพโดยใช้อำเภอเป็นฐาน มองทุกส่วนอำเภอเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสาธารณสุข ส่วนราชการ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายภาคประชาชน โดยมีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพของคนทั้งอำเภอ ผสมผสานทั้งงาน ส่งเสริม ป้องกัน รักษาฟื้นฟูเข้าด้วยกัน ระบบสุขภาพอำเภอจึงเป็นมุมมองสุขภาพในมุมกว้าง และเน้นการทำงานร่วมกัน ทั้งภาคีในเครือข่าย และนอกเครือข่ายสาธารณสุข
เป้าหมายในการดำเนินงาน DHS ๑.ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น สามารถพึ่งตนเองและดูแลสุขภาพตนเองได้ดีเพิ่มมากขึ้น ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน ๒.สถานะสุขภาพ (health status) ของประชาชนในอำเภอดีขึ้น สามารถจัดการปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และมีศักยภาพพอที่จะเผชิญกับปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
เป้าหมายในการดำเนินงาน DHS ๓.เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการสุขภาพที่เข้มแข็ง มีพลังในการขับเคลื่อนการสร้างสุขภาวะในอำเภอและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ๔.ทำให้การบริการสุขภาพมีคุณภาพ ได้มาตรฐานผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ผู้ให้บริการมีความสุขในการทำงาน
ตัวชี้วัด
คุณภาพคือ 1. มีระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System : DHS) ที่เชื่อมโยงระบบบริการปฐมภูมิกับชุมชนและท้องถิ่น ตามองค์ประกอบ UCARE และมีผลลัพธ์การพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอที่สามารถยกระดับขึ้นหนึ่งระดับทุกขั้น หรือตั้งแต่ระดับสามขึ้นไปทุกข้อ ตามแนวทางการพัฒนา DHS – PCA 2. มีการบูรณาการ แผนการจัดการบริการ 10 เรื่อง คือ (1) โรคเรื้อรัง (2) ฟื้นฟูสภาพ 3) พัฒนาการเด็ก 4) ทันตสาธารณสุข 5) การแพทย์แผนไทย 6 สุขภาพจิต 7 อุบัติเหตุ ฉุกเฉิน และส่งต่อ (เน้น FR) 8 Long Term Care 9 Palliative Care 10 ปัญหาของพื้นที่
คุณภาพคือ 3. มีการจัดการให้มีการดูแลสุขภาพร่วมกัน เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทั้ง Acute & Chronic care ไม่น้อยกว่า 3 เรื่อง (essential care เช่น อุบัติเหตุฉุกเฉินและส่งต่อ การเยี่ยมบ้าน Home care & LTC บริการแพทย์แผนไทย สุขภาพจิตชุมชน การฟื้นฟูสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เป็นต้น) 4. มีระบบบริหารจัดการ การแก้ปัญหาสุขภาพระดับพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของทุก ภาคส่วน
การขับเคลื่อนการดำเนินงาน การพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ (DHS) ระดับจังหวัด : 1. มีการทบทวนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการปฐมภูมิจังหวัดและมีการประชุมวางแผนยุทธศาสตร์ / แผนปฏิบัติการ 2, ติดตามความก้าวหน้า ในการประชุม กวป. 3. พัฒนาศักยภาพทีมเครือข่าย/รพ.สต ในการประเมิน DHS-PCA (5 มี.ค. 2558) 4. นิเทศ ติดตาม DHS/FCT (เดือน เม.ย. 2558) 5. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ DHS/FCT ( เดือน มิ.ย 2558)
การขับเคลื่อนการดำเนินงาน การพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ (DHS) 1. มีการแต่งตั้ง /ทบทวนคำสั่งคณะกรรมการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ 2. กำหนดปัญหาที่สำคัญของพื้นที่และแก้ไขปัญหาร่วมกันกับภาคีเครือข่าย อย่างน้อย 3 เรื่องและมีการวางแผนยุทธศาสตร์ / แผนปฏิบัติการ 3. บูรณาการ แผนการจัดบริการในระดับปฐมภูมิ Core package 10 เรื่อง 4. ประเมินตนเองตามแนวทาง DHS-PCAและประเมินความต้องการ ความพึงพอใจของ ผู้รับบริการ ตามกลุ่มเป้าหมาย 5. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ / นำเสนอ Good Practice ในระดับเครือข่าย /ตำบล 6. พัฒนาศักยภาพของบุคลากร เรียนรู้ในสิ่งที่ทำ 7. นิเทศติดตามการดำเนินงาน
สวัสดี