งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

  การสนับสนุนการดำเนินงาน LTC ผ่าน "ศูนย์" ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "  การสนับสนุนการดำเนินงาน LTC ผ่าน "ศูนย์" ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1   การสนับสนุนการดำเนินงาน LTC ผ่าน "ศูนย์" ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ พ.ศ. 2560 การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงแรมดิเอ็มเพร็ส เชียงใหม่ ศศิธร ไชยสิทธพร หัวหน้างาน นพ.กฤช ลี่ทองอิน ที่ปรึกษา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

2 ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ พ.ศ. 2560 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 31 และมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ประกอบข้อ 7(3) และข้อ 14 ของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

3 ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ พ.ศ. 2560 ข้อ 1 ให้ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่น ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน ที่มีสิทธิขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ต้องเป็นศูนย์ที่มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) จัดตั้งและกำกับ หรือดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐ (2) บริหารจัดการโดยคณะกรรมการ ซึ่งอาจบริหารเป็นอิสระจากหน่วยงานที่จัดตั้งหรือดำเนินการก็ได้ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการมีองค์ประกอบจากภาคส่วนต่างๆ ในท้องถิ่นหรือพื้นที่ เช่น บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัคร ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น (3) มีที่ทำการหรือสถานที่ติดต่อ เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงาน

4 ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ พ.ศ. 2560 ข้อ 2 กรณีศูนย์ตามข้อ 1 ขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามข้อ 7/1 ของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.๒๕๕๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นอกจากมีคุณลักษณะตามข้อ 1 แล้ว ต้องมีคุณลักษณะเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ (1) มีผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของหน่วยบริการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความรู้ในการจัดทำแผนการดูแลรายบุคคล มาช่วยปฏิบัติงานเป็นผู้จัดการระบบตามความเหมาะสม (2) มีผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในการให้บริการดูแลตามแผนการดูแลรายบุคคล ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงให้เข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เว้นแต่ ศูนย์ที่จัดตั้งโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

5 ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ พ.ศ. 2560 ข้อ 3 กรณีศูนย์ตามข้อ 1 ขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายตามข้อ 7(3) ของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๕๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ต้องมีคุณลักษณะเพิ่มเติมตามข้อ 2 (1) และ (2) ด้วย ข้อ 4 ให้ศูนย์ที่ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย ตามข้อ 2 หรือข้อ 3 แล้วแต่กรณี มีหน้าที่ ดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมหรือแผนการดูแลรายบุคคลที่คณะกรรม การกองทุนอนุมัติจัดทำบัญชีพร้อมจัดเก็บหลักฐานการรับเงิน การจ่ายเงิน เพื่อรับการตรวจสอบ ข้อ 5 บรรดาหลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการที่ออกโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ความในประกาศนี้บังคับแทน ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป (วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2560 เป็นต้นไป )

6 สรุปคุณลักษณะของศูนย์และเงื่อนไข
1.ศูนย์ ที่มีสิทธิได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก 2.ศูนย์ ที่มีสิทธิได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวฯ ตามข้อ 7/1 ของ ประกาศคณะกรรมการฯพ.ศ.2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3. ศูนย์ ที่จัดทำแผนงาน/โครงการจัดบริการดูแลระยะยาวฯ และขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายตามข้อ 7(3) ของ ประกาศคณะกรรมการฯพ.ศ.2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 1) จัดตั้งและกำกับ หรือดำเนินการโดย อปท.หรือหน่วยงานของรัฐ 1 ) จัดตั้งและกำกับ หรือดำเนินการโดย อปท.หรือหน่วยงานของรัฐ 1 ) จัดตั้งและกำกับ หรือดำเนินการโดย อปท.หรือหน่วยงานของรัฐ 2 ) บริหารจัดการโดยคณะกรรมการ ที่มีองค์ ประกอบจากภาคส่วนต่างๆ ในท้องถิ่นหรือพื้นที่ซึ่งอาจบริหารเป็นอิสระจากหน่วยงานที่จัดตั้งหรือดำเนินการก็ได้ 2 ) บริหารจัดการโดยคณะกรรมการ ที่มีองค์ ประกอบจากภาคส่วนต่างๆ ในท้องถิ่นหรือพื้นที่ซึ่งอาจบริหารเป็นอิสระจากหน่วยงานที่จัดตั้งหรือดำเนินการก็ได้ 2 ) บริหารจัดการโดยคณะกรรมการ ที่มีองค์ ประกอบจากภาคส่วนต่างๆ ในท้องถิ่นหรือพื้นที่ซึ่ง อาจบริหารเป็นอิสระจากหน่วยงานที่จัดตั้งหรือดำเนินการก็ได้ 3 ) ที่ทำการหรือสถานที่ติดต่อ เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงาน 3 ) ที่ทำการหรือสถานที่ติดต่อ เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงาน 3 ) ที่ทำการหรือสถานที่ติดต่อ เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงาน 4 ) มี CM หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของหน่วยบริการหรืออปท.ที่มีความรู้ในการจัดทำCP มาช่วยปฏิบัติงานเป็น CM ตามความเหมาะสม 4 ) มี CM หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของหน่วยบริการหรืออปท.ที่มีความรู้ในการจัดทำCP มาช่วยปฏิบัติงานเป็น CM ตามความเหมาะสม 5 ) มี CG ในการให้บริการดูแลตาม CP 5 ) มี CG ในการให้บริการดูแลตาม CP

7 เงื่อนไขที่ศูนย์จะต้องดำเนินการ หากได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย ตามข้อ 2 หรือ 3 มีดังนี้
ต้องดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมหรือ แผนการดูแลรายบุคคล ตามชุดสิทธิประโยชน์เอกสารแนบท้าย ประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อ สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหาร จัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 ที่คณะอนุกรรมการ LTC เห็นชอบ และ คณะกรรมการกองทุนฯท้องถิ่นอนุมัติเบิกจ่าย เนื่องจาก ค่าใช้จ่ายเพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวฯ ตามข้อ 7/1 รวมถึง เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เป็น ค่าใช้จ่ายที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ จึงกำหนดให้ศูนย์ ต้องจัดทำบัญชีและจัดเก็บหลักฐานการรับเงิน การจ่ายเงิน พร้อมรับการตรวจสอบ โดยรูปแบบบัญชีรายรับ-รายจ่ายเป็นไป ตามรูปแบบที่หน่วยงานจัดตั้งศูนย์กำหนดหรือเห็นชอบ

8 ข้อเสนอแนะ การจัดตั้งศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

9 1) กฎหมายและหนังสือที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะการจัดตั้งศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 1) กฎหมายและหนังสือที่เกี่ยวข้อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 71 รัฐพึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญของสังคม จัดให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีจิตใจเข้มแข็ง... รัฐพึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ... มาตรา 250 ได้บัญญัติให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอํานาจดูแลและจัดทําบริการสาธารณะ และกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น... ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ...

10 1) กฎหมายและหนังสือที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (6) องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (7) มาตรา 51 (6) มาตรา 53 (1) (4) มาตรา56 (1) เทศบาลมีหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ... ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (10) (19) ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตําบล มีอํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ... การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรีคนชรา และ ผูดอยโอกาส... การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

11 1) กฎหมายและหนังสือที่เกี่ยวข้อง
หนังสือกระทรวงมหาดไทย หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท /ว ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2550 เรื่อง แจ้งหลักเกณฑ์แนวทาง การจัดสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้สูงอายุและคนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท /ว.1129 ลงวันที่ 27 เมษายน 2555 เรื่อง โครงการเสริมสร้างเครือข่ายงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท /ว.742 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 เรื่อง การสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท /ว.3329 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2558 เรื่อง ขอความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท /ว.403 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 เรื่อง แจ้งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครอง ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559

12 2) การจัดตั้งและดำเนินการศูนย์
1. การจัดตั้งศูนย์หรือสนับสนุนให้ศูนย์จัดบริการดูแลระยะยาวฯ อปท.หรือหน่วยงานของรัฐควรหารือและขอการสนับสนุนดำเนินการจากหน่วยบริการ/สถานบริการด้วย ดังนี้ ชักชวน ส่งเสริม สนับสนุน ร่วมมือกับแกนนำชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ อาสาสมัคร องค์กรเอกชน ภาคเอกชน หน่วยบริการ หน่วยงานรัฐ ฯลฯ เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวฯ โดยศูนย์ จัดทำประกาศหรือคำสั่งจัดตั้งศูนย์ พร้อมสนับสนุนสถานที่ทำการ จัดทำประกาศหรือคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ อาจจัดทำระเบียบ วิธีการทำงาน รวมถึงการรับ-จ่ายเงิน หรือดำเนินการตามระเบียบ วิธีปฏิบัติของอปท. จัดให้มีพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ปฏิบัติงานเลขานุการและธุรการของศูนย์และคณะกรรมการ จัดให้มีค่าใช้สอยและวัสดุ หรือระดมทุนสนับสนุนจากชุมชน เพื่อการปฏิบัติงานของศูนย์ จัดให้มี CM หรือประสานขอการสนับสนุน CM จากหน่วยบริการ/สถานบริการ จัดให้มีและทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ และฐานข้อมูล CG ที่ปฏิบัติงานภายใต้ศูนย์ ออกแบบการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์และบริการดูแลระยะยาวฯ

13 2. ข้อคำนึงถึงในการจัดตั้งศูนย์
อปท. คณะอนุกรรมการ LTC รวมทั้งหน่วยบริการควร เห็นพ้องต้องกันและมีความพร้อมที่จะจัดบริการดูแล ระยะยาวฯภายใต้การดำเนินการของศูนย์ โดยการมี ส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ อปท.หรือหน่วยงาน ควรศึกษาทำความเข้าใจรูปแบบ กระบวนการ วัตถุประสงค์ หน้าที่และคุณลักษณะของศูนย์ที่จะจัดตั้ง รวมถึงระเบียบวิธีหรือแนวปฏิบัติที่ถูกต้องตามระเบียบ ข้อบังคับของอปท.หรือหน่วยงาน เพื่อออกแบบการรับ-จ่ายและการเก็บรักษาเงิน รวมทั้งระบบและกลไกการจัดการที่สามารถตรวจสอบได้ มีระบบกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ และการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแผนการดูแลรายบุคคล รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณที่ถูกต้องและเหมาะสม

14 วัตถุประสงค์การจัดทำเอกสาร/หลักฐานแสดงคุณลักษณะศูนย์
3) การจัดเตรียมเอกสาร/หลักฐานแสดงคุณลักษณะศูนย์ วัตถุประสงค์การจัดทำเอกสาร/หลักฐานแสดงคุณลักษณะศูนย์ อปท. เพื่อเป็นเอกสาร/หลักฐานแสดงและตรวจสอบได้ว่าศูนย์ที่ อปท.จัดตั้งมีคุณลักษณะครบถ้วนตามประกาศสำนักงานฯ เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยผู้จัดทำเอกสาร/หลักฐาน อาจเป็นอปท.หรือศูนย์ ก็ได้ หน่วยงานของรัฐ เพื่อใช้เป็นเอกสาร/หลักฐานแสดงและตรวจสอบได้ ต่อคณะอนุกรรมการ LTC เพื่อพิจารณาเห็นชอบศูนย์ให้เข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวฯ และมีสิทธิรับค่าใช้ จ่ายเพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวฯ โดยผู้จัดทำเอกสาร/หลักฐาน อาจเป็น หน่วยงานของรัฐ หรือ ศูนย์ ก็ได้ ตัวอย่างเอกสาร/หลักฐาน เช่นเดียวกับ เอกสาร หมายแลข 1-4 ตามแนวปฏิบัติสำหรับ อปท.และคณะอนุกรรมการ LTC ในการพิจารณาศูนย์ให้เข้าร่วมจัดบริการ และมีสิทธิรับค่าใช้จ่ายเพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวฯ

15 (กรณีพื้นที่ใหม่หรือพื้นที่เดิมแต่มีผู้สูงอายุรายใหม่ที่มีภาวะพึ่งพิง)
4) ขั้นตอนการตรวจประเมินผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของศูนย์ที่จัดตั้งหรือดำเนินงาน โดย อปท.หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อขอสนับสนุนค่าใช้จ่ายบริการดูแลระยะยาวฯจาก สปสช. (กรณีพื้นที่ใหม่หรือพื้นที่เดิมแต่มีผู้สูงอายุรายใหม่ที่มีภาวะพึ่งพิง) ศูนย์ และ อปท.หรือหน่วยงานของรัฐ ประสานขอการสนับสนุนหรือร่วมมือ กับหน่วยบริการ/สถานบริการ (โดยทีมหมอครอบครัว) ดำเนินการประเมิน สภาวะผู้สูงอายุแบ่งผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (คะแนน ADL น้อยกว่าหรือเท่ากับ 11) ออกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการบริการสาธารณสุข (ในระยะเริ่มต้น เพื่อความรวดเร็ว อาจประสานขอหน่วยบริการเป็นหลักในการสำรวจ ประเมิน) อปท.รวบรวมและจัดส่งข้อมูลผู้สูงอายุ (รายชื่อ เลขบัตรประชาชน หน่วย บริการประจำที่ดูแล) ที่มีคะแนน ADL น้อยกว่าหรือเท่ากับ 11 ที่แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ให้ สปสช. สาขาเขต เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และส่ง สปสช. ต่อไป (เอกสารหมายเลข 22….. (LTC 1)) ศูนย์รับข้อมูลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและประสานกับหน่วยบริการหรือ CM เพื่อพิจารณาจัดทำ CP และจัดทำข้อเสนอโครงการการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ต่อไป

16 เอกสารหมายเลข 22

17 5) ขั้นตอนการนำเสนอเอกสาร/หลักฐานแสดงคุณลักษณะศูนย์ต่อคณะอนุกรรมการ LTC เพื่อพิจารณาให้ศูนย์เข้าร่วมจัดบริการ ขั้นตอนดำเนินงาน เอกสารที่เกี่ยวข้อง ศูนย์ หรือ หน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งศูนย์ จัดทำเอกสารข้อเสนอคุณลักษณะศูนย์ พร้อมแนบเอกสารแสดงคุณลักษณะศูนย์ ผ่านอปท.เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการ LTC พิจารณาเห็นชอบให้ศูนย์เข้าร่วมบริการ (ขั้นตอนนี้ ในทางปฏิบัติให้เสนอ CP เพื่อพิจารณาไปพร้อม) - เอกสารข้อเสนอคุณลักษณะของศูนย์และข้อเสนอ CP (เอกสารหมายเลข 1-6 ) ไม่เห็นชอบ/ แจ้งกลับให้ แก้ไข คณะอนุกรรมการ LTC พิจารณาคุณลักษณะศูนย์เพื่อให้เข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวฯ (และพิจารณาเห็นชอบ CP เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายจัดบริการดูแลระยะยาวฯ ตามประกาศคณะกรรมการฯ พ.ศ.2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 7/1) - แบบฟอร์มการพิจารณาข้อเสนอคุณลักษณะของศูนย์และข้อเสนอ CP จัดเรียงเอกสารดังนี้ (เอกสารหมายเลข 9 ส่วนที่ 1,2 เอกสารหมายเลข 1 –8 ) ตัวอย่างเอกสาร/หลักฐาน เช่นเดียวกับ เอกสาร หมายแลข 1-10 ตามแนวปฏิบัติสำหรับ อปท.และคณะอนุกรรมการ LTC ในการพิจารณาคุณลักษณะศูนย์และข้อเสนอ CP ของคณะอนุกรรมการ LTC เพื่อเห็นชอบให้ศูนย์เข้าร่วม จัดบริการ และได้รับการสนับสนุน ค่าใช้จ่ายเพื่อจัดบริการดูแลระยะ ยาวฯ (แจ้งคณะกรรมการกองทุนฯท้องถิ่น ทราบและพิจารณาอนุมัติให้เบิกจ่ายตามประกาศคณะกรรมการฯพ.ศ.2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม) เห็นช อบ 1. เห็นชอบให้ศูนย์ที่จัดตั้งโดยหน่วยงานของรัฐ เข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวฯ (2. เห็นชอบ CP) (อปท.จัดทำข้อตกลงการจัดบริการดูแลระยะยาวฯกับศูนย์และสนับสนุนค่าบริการ LTC หรืองบกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ตาม CP ที่คณะอนุกรรมการ LTC เห็นชอบ) เอกสาร หมายเลข 10 ศูนย์ดำเนินการจัดทำ CP และข้อเสนอโครงการ บริการฯ เสนอเพื่อพิจารณา (ศูนย์ให้บริการตาม CP) เอกสาร หมายเลข 11

18 การจัดทำ CP แบ่งเป็น ๒ กรณี ดังนี้ ไม่ เห็นชอบ/ แจ้งกลับ ให้แก้ไข
6) ขั้นตอนการจัดทำ Care Plan ของศูนย์ เพื่อเสนอพิจารณาขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจัด บริการดูแลระยะยาวฯ ต่อคณะอนุกรรมการ LTC ขั้นตอนการดำเนินงาน เอกสารที่เกี่ยวข้อง การจัดทำ CP แบ่งเป็น ๒ กรณี ดังนี้ กรณีศูนย์จัดทำ CP เอง ให้หารือร่วมกับหน่วยบริการและอปท. เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการบริการฯ และสรุปแผนการดูแลรายบุคคล พร้อมขอสนับสนุนการช่วยจัด บริการที่จำเป็นจากหน่วยบริการ กรณีไม่ได้จัดทำ CP เอง ให้ประสานขอการสนับสนุนการทำ CP และช่วยจัดบริการที่จำเป็นจากหน่วยบริการ พร้อมหารือกับหน่วยบริการและอปท. เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการบริการฯ และสรุปแผนการดูแลรายบุคคล - แบบฟอร์มการพิจารณาข้อเสนอ CP และข้อเสนอคุณลักษณะของศูนย์ โดยจัดเรียงเอกสารดังนี้ (เอกสารหมายเลข 9 ส่วนที่ 1, 2 เอกสารหมายเลข 1 –8 ) ศูนย์จัดทำข้อเสนอโครงการบริการฯ และสรุปแผนการดูแลรายบุคคลพร้อมค่าบริการเหมาจ่ายต่อรายต่อปี เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการ LTC (เสนอพร้อมคุณลักษณะศูนย์ตามข้อ 5 ที่กล่าวมา) คณะอนุกรรมการ LTC พิจารณา CP (พร้อมพิจารณาให้ศูนย์เข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวฯ) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายจัดบริการดูแลระยะยาวฯ ตามประกาศคณะกรรมการฯ พ.ศ.2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 7/1 ไม่ เห็นชอบ/ แจ้งกลับ ให้แก้ไข ตัวอย่างเอกสาร/หลักฐาน เช่นเดียวกับ เอกสาร หมายแลข 1-11 ตามแนวปฏิบัติสำหรับ อปท.และคณะอนุกรรมการ LTC ในการพิจารณาคุณลักษณะศูนย์และข้อเสนอ CP ของคณะอนุกรรมการ LTC เพื่อเห็นชอบให้ศูนย์เข้าร่วม จัดบริการ และได้รับการสนับสนุน ค่าใช้จ่ายเพื่อจัดบริการดูแลระยะ ยาวฯ แจ้งคณะกรรมการกองทุนฯท้องถิ่นทราบและพิจารณาอนุมัติให้เบิกจ่ายตามประกาศคณะกรรมการฯ พ.ศ.๒๕๕๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เห็นชอบ อปท.จัดทำข้อตกลงการจัดบริการดูแลระยะยาวฯกับศูนย์และสนับสนุนค่าบริการ LTC หรืองบกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ตาม CP ที่คณะอนุกรรมการ LTC เห็นชอบ - เอกสารหมายเลข 10 ศูนย์ให้บริการตาม CP โดย CM จัดทำแผนดูแลรายบุคคลและตารางการปฏิบัติงาน มอบหมายให้ CG ปฏิบัติงาน - เอกสารหมายเลข 11

19 7) การรับเงินและจ่ายเงินของศูนย์ที่ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจัดบริการดูแลระยะยาวฯ
หน่วยงาน การรับเงิน การจ่ายเงิน 1. ศูนย์ที่จัดตั้งและกำกับ หรือดำเนินการ โดย อปท. เป็นเงินรับฝากหรือเงินนอกงบประมาณ โดยมี ทะเบียนคุม เป็นไปตามระเบียบของ อปท.ที่จัดตั้ง และดำเนินการศูนย์ หรือระเบียบข้อบังคับศูนย์ จ่ายตามบริการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติตามโครงการ และ CP โดยการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปตามระเบียบของ อปท.ที่จัดตั้งและดำเนินการศูนย์ หรือระเบียบข้อบังคับ ศูนย์ โดยยึดหลัก การโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็น ประโยชน์กับประชาชน 2. ศูนย์ที่จัดตั้งและกำกับ หรือดำเนินการ โดยหน่วยงานของรัฐ เป็นเงินรับฝากโดยมีทะเบียนคุม เป็นไปตาม ระเบียบของหน่วยงานรัฐที่จัดตั้งและดำเนินการ ศูนย์ หรือระเบียบข้อบังคับศูนย์ จ่ายตามบริการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติตามโครงการ และ CP โดยการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปตามระเบียบของ หน่วยงานรัฐที่จัดตั้งและดำเนินการศูนย์ หรือระเบียบ ข้อบังคับศูนย์ โดย ยึดหลักการโปร่งใส ตรวจ สอบได้ และ เป็นประโยชน์กับประชาชน

20 8) แนวปฏิบัติสำหรับ CM หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของหน่วยบริการหรือ อปท
8) แนวปฏิบัติสำหรับ CM หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของหน่วยบริการหรือ อปท. และ CG ที่ปฏิบัติงานศูนย์ การดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. การมาช่วยปฏิบัติงานที่ศูนย์ของ CM หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของหน่วยบริการหรือ อปท. และการเบิกจ่ายค่าตอบแทน 1.1 ศูนย์ขอสนับสนุน CM หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือ อปท. มาช่วยปฏิบัติงาน (เอกสารหมายเลข 12) 1.2 หน่วยบริการหรืออปท.อนุมัติให้ CM หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไปช่วยปฏิบัติงานที่ศูนย์ และถือเป็นการปฏิบัติราชการ (เอกสารหมายเลข 13) 1.3 ศูนย์จัดทำตารางการช่วยปฏิบัติงานของ CM หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และจัดทำตารางลงเวลาปฏิบัติงานเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลา (เอกสารหมายเลข 14) 1.4 จัดทำหลักฐานและเบิกค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาให้ CM หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของหน่วยบริการหรือ อปท. ที่มาปฏิบัติงานที่ศูนย์ พร้อมใบสำคัญรับเงิน และเก็บหลักฐานการจ่ายไว้ที่ศูนย์เพื่อการตรวจสอบ (เอกสารหมายเลข 16 โดยแนบเอกสารหมายเลข 12 –14)

21 เอกสารหมายเลข 12 เอกสารหมายเลข 13

22 เอกสารหมายเลข 14 เอกสารหมายเลข 15 เอกสารหมายเลข 16

23 การดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน 2. การปฏิบัติงานและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายให้กับ CG ของศูนย์ 2.1 ศูนย์โดย CM จัดทำแผนการดูแลรายบุคคลและ พร้อมมอบหมายเป้าหมายให้ CG ปฏิบัติงาน (เอกสารหมายเลข 11) 2.2 ศูนย์ดำเนินการจ้างเหมาบริการ CG (ไม่เกินค่าแรงขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนด) และให้มีการตรวจรับงานตามข้อตกลงการจ้าง ทั้งนี้การจ้างเหมาบริการให้ใช้ระเบียบพัสดุของหน่วยงาน 2.3 จัดทำและมอบหมายตารางการปฏิบัติงานและตารางลงเวลาปฏิบัติงานให้ CG ดำเนินงาน และเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย (เอกสารหมายเลข 17) 2.4 ศูนย์จัดทำหลักฐานและเบิกจ่ายค่าจ้างเหมาบริการเป็นรายเดือนให้ CG พร้อมใบสำคัญรับเงินและเก็บหลักฐานการจ่ายไว้ที่ศูนย์เพื่อการตรวจสอบ กรณี CG เป็นลูกจ้างของหน่วยบริการหรือ อปท.ให้ดำเนินการและเบิกจ่ายค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาทำนองเดียวกับ CM (เอกสารหมายเลข 19 โดยแนบเอกสารหมายเลข 17 –18)

24 เอกสารหมายเลข 17 เอกสารหมายเลข 18 เอกสารหมายเลข 19

25 9) การรายงาน กำกับติดตาม และประเมินผล
การกำกับติดตาม กำกับติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของ CG ทุกเดือน/ทุกไตรมาส ลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ซักถามและสังเกต รายงานผลการดำเนินงานและการเงิน ศูนย์ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อตกลงการจัดบริการดูแลระยะยาวฯระหว่าง อปท.(กองทุน) กับ ศูนย์ (ตัวอย่างเอกสารหมายเลข 20 และ 21) เอกสารหมายเลข21 เอกสารหมายเลข 20

26 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt   การสนับสนุนการดำเนินงาน LTC ผ่าน "ศูนย์" ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google