การถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลักการ/แนวคิด การถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และข้อเสนอการพัฒนางานในแผนกระจายอำนาจ ระยะที่ 2 โดย นายณรงค์ เชื้อบุญช่วย เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 ว สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 1.การถ่ายโอนภารกิจ 1.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 284 1) บัญญัติเรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐกับ อปท.และระหว่าง อปท. ด้วยกัน 2) ให้มี กม. กำหนดแผนฯ 3)ให้มีคณะกรรมการฯคณะหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่ 4)ให้นำมาทบทวนทุกระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
1.2 พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2542 1) ให้มีคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ทำหน้าที่จัดทำ แผนกระจายอำนาจฯ และแผนปฏิบัติการฯ ปรับปรุง สัดส่วนภาษีอากรฯ 2) ให้จัดทำแผนการกระจายอำนาจฯ ถ่ายโอนภารกิจภายใน 4 ปี และภารกิจที่ซับซ้อนไม่เกิน 10 ปี
3) ให้จัดทำแผนปฏิบัติการฯ ถ่ายโอนภารกิจมีผล ผูกพันหน่วยงาน 4) ให้ อปท. มีรายได้ในปี 2544 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และ ปี2549 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 35
1.3 แผนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2543 1) กรอบแนวคิด - ความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย และการบริหารจัดการ - ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น - ด้านประสิทธิภาพการบริหารของ อปท.
2) วัตถุประสงค์ - ให้มีการกระจายอำนาจให้ อปท. อย่างต่อเนื่อง - กำหนดกรอบทิศทาง และแนวทางการกระจายอำนาจที่ชัดเจน - เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ระหว่างอปท. ส่วนกลาง และภูมิภาค - กำหนดแนวทางการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการ
3) เป้าหมาย - ถ่ายโอนภารกิจให้ อปท. ตามแผนปฏิบัติการ ภายใน 4 ปี และกรณีอปท. ไม่พร้อมอาจขยายเวลาได้ไม่เกิน 10 ปี 4) แนวทางการถ่ายโอน - ภารกิจที่ซ้ำซ้อน หรือรัฐจัดให้บริการใน อปท. ถ่ายโอน ภายใน 4ปี
- ภารกิจที่รัฐให้บริการใน อปท. และกระทบ อปท.อื่น ถ่ายโอน ภายใน 4 ปี - ภารกิจตามนโยบายรัฐบาล ถ่ายโอนภายใน 4 ปี - ภารกิจที่ซับซ้อนและอปท.ยังไม่พร้อม ให้ขยายเวลาเตรียมความ พร้อมได้แต่ไม่เกิน10 ปี
5 หลักการถ่ายโอน 1) หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างอำนาจหน้าที่ของรัฐ กับ อปท.และระหว่าง อปท.ด้วยกัน 2) หลักความสามารถของ อปท. 3) หลักการจัดโครงสร้าง อปท. 4) หลักของการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดบริการ 5) หลักการสร้างหลักประกันในการจัดบริการสาธารณะ 6)กลไกการกำกับดูแลหรือการส่งเสริมสนับสนุน อปท. .
6) ระยะเวลาการถ่ายโอน - ระยะที่1 เวลา 1-4 ปี ( 2544-2547 ) ถ่ายโอนภารกิจตาม ม 30 (1) พ.ร.บ.แผนฯ - ระยะที่2 เวลา 1-10 ปี ( 2544-2553 ) เป็นภารกิจที่ซับซ้อน ต้องเตรียมความพร้อมตาม ม 30 (2) พ.ร.บ.แผนฯ
7) กำหนดการถ่ายโอนไว้ 6 ด้าน รวม 245 ภารกิจ - ด้านโครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 87 เรื่อง - ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต จำนวน 103 เรื่อง - ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบ เรียบร้อย จำนวน 17 เรื่อง
- ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรม และการ - ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรม และการ ท่องเที่ยว จำนวน 19 เรื่อง - ด้านการบริหารจัดการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม จำนวน 17 เรื่อง - ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 2 เรื่อง
1.4 แผนปฏิบัติการ 1) กำหนดภารกิจถ่ายโอนไว้ 6 ด้าน จำนวน 245 เรื่อง มีส่วน ราชการต้องถ่ายโอน 57 กรม 15 กระทรวง 1 ส่วนราชการไม่ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีฯ 2) กำหนดภารกิจที่เป็นหน้าที่ อปท. ต้องทำและสามารถเลือกทำ โดยอิสระ 3) มีผลผูกพันให้ส่วนราชการต้องถ่ายโอนตามเวลาที่กำหนด
1.5 ผลความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจ 1) ถ่ายโอนภารกิจไปแล้ว 180 ภารกิจ ยังไม่ได้ถ่ายโอน 64 ภารกิจ ถอนเรื่อง 1 ภารกิจ
1.6 ภารกิจที่เป็นหน้าที่ที่ต้องทำและเลือกทำโดยอิสระ 1) ภารกิจที่เป็นหน้าที่ที่ต้องทำ - งานด้านคุณภาพชีวิต ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข - ความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและทรัพย์สิน
- งานที่มอบอำนาจให้ อปท.มีอำนาจอนุมัติ อนุญาต - งานด้านการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น - งานอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
2)ภารกิจที่สามารถเลือกทำโดยอิสระ - งานด้านโครงสร้างพื้นฐาน - งานส่งเสริมอาชีพ - งานส่งเสริมประชาธิปไตย
- งานส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว - งานด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.6 ปัญหาอุปสรรคการถ่ายโอนภารกิจ 1) ความซับซ้อนของภารกิจ 2) ส่วนราชการถ่ายโอนช้า หรือขอให้ชะลอ 3) การแก้ไขกฎหมายล่าช้า 4) การปรับเปลี่ยนนโยบายของรัฐบาล
5) การดำเนินการร่วมกันของ อปท. ยังมีน้อย 6) อบต. เล็กยังมีขีดความสามารถไม่เพียงพอ 7) การถ่ายโอนภารกิจบางประเภท ยังทำไม่ได้ 8) แนวคิดในการพัฒนาจังหวัดเปลี่ยนไป
2 การถ่ายโอนภารกิจในระยะที่ 2 2.1 ภารกิจที่ถ่ายโอนแบ่งเป็น 6 ด้าน 1) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน - จัดให้มี และบำรุงรักษา ทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ - การสาธารณูปโภค (แหล่งน้ำ/ระบบประปา)
- การสาธารณูปการ/ ตลาด/ตลาดกลาง/ท่าเทียบเรือ/ ท่าข้าม/ที่จอดรถ - การผังเมือง - การควบคุมอาคาร - การขนส่ง และวิศวกรรมจราจร
2) ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต - ส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ - จัดการศึกษา - การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
- ปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด ที่อยู่อาศัย - สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ - ส่งเสริมกีฬา - การสาธารสุข การอนามัย การรักษาพยาบาล
3) ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม รักษาความสงบเรียบร้อย - ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพ - ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน - สุสาน และฌาปนสถาน - ควบคุมการเลี้ยงสัตว์
- จัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์ - การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารสถานอื่นๆ - การป้องกัน และบรรเทาสาธารภัย - การรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
4) ด้านการวางแผน ส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว - การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น - การพัฒนาเทคโนโลยี - การส่งเสริมการลงทุน
- การพาณิชยกรรม - การพัฒนาอุตสาหกรรม - การส่งเสริมการท่องเที่ยว
5) ด้านการบริหารจัดการ และการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม - การจัดการ การคุ้มครองดูแล บำรุงรักษาประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม - การจัดการสิ่งแวดล้อม และมลพิษต่างๆ - การดูแลรักษาที่สาธารณะ
6) ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญา ท้องถิ่น - การปกป้อง คุ้มครอง ดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุระดับท้องถิ่น - การจัดการดูแลพิพิธภัณฑ์ และหอจดหมายเหตุระดับ ท้องถิ่น
2.2 หลักการถ่ายโอน 1) เร่งรัดการถ่ายโอนภารกิจตามแผนฯฉบับที่ 1 2) ยึดหลักการทั่วไปของแผนฯฉบับที่ 1 3) รูปแบบการถ่ายโอนมี 5 ลักษณะ - ภารกิจที่ อปท. ดำเนินการเอง
- อปท.ดำเนินการร่วมกับรัฐ - อปท.ร่วมกับอปท.(สหการ) - ซื้อบริการ - รัฐยังคงดำเนินการอยู่ แต่ อปท. สามารถดำเนินการได้
4) ภารกิจที่ถ่ายโอนแล้ว สงป. ไม่ตั้งงบประมาณให้ 5) ส่วนราชการที่ถ่ายโอนมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำทาง เทคนิค วิชาการ เป็นพี่เลี้ยงให้ อปท. 6) อบต. และเทศบาลใดยังไม่พร้อมที่จะรับโอนให้ อบจ. รับ ไป ดำเนินการแทนก่อน
7)ภารกิจที่มีความซับซ้อนสูง ให้ส่วนราชการจัดทำแผนและ 7)ภารกิจที่มีความซับซ้อนสูง ให้ส่วนราชการจัดทำแผนและ ขั้นตอนการถ่ายโอน-รับโอน และเตรียมความพร้อมให้ อปท. 8)นำรูปแบบสหการมาใช้ 9) กำหนดภารกิจให้แก่ อปท. ตามเกณฑ์ความพร้อม - กทม. รับโอนภารกิจได้ทุกภารกิจ - อบจ. รับโอนภารกิจที่เป็นโครงการขนาดใหญ่หรือภารกิจที่คาบ เกี่ยวของ อปท.ตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป
- อปท.อื่นๆรับโอนภารกิจได้ตามความพร้อม 10) ภารกิจบางประเภท ที่ประชาชนท้องถิ่นอื่นมาใช้ประโยชน์ ด้วยควรดำเนินการในรูปแบบสหการ 11) ภารกิจที่ถ่ายโอนต้องไม่เป็นการสร้างปัญหาให้แก่ อปท.
12) ภารกิจที่ต้องการความชำนาญสูง อาจจ้างเอกชนดำเนินการ 13) ให้คณะกรรมการบริหารการถ่ายโอนภารกิจ บุคลากรและ งบประมาณระดับจังหวัดจัดทำแผนถ่ายโอน-รับโอน 14) ภารกิจที่ถ่ายโอนไปแล้ว 180 ภารกิจ ให้ส่วนราชการมี หน้าที่ติดตามผลการดำเนินงาน 15) ภารกิจตามแผนเดิมที่ยังไม่ได้ถ่ายโอน หรือทยอยถ่ายโอน ให้ถ่ายโอนให้เสร็จในปี 2549
3 ข้อเสนอการพัฒนางาน 1)มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ อปท. 2) พัฒนาศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรชุมชนให้ อปท. รู้สึกเป็นเจ้าของ 3) บรรจุภารกิจไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่น(3 ปี)