แนวคิดเรื่องการรู้สารสนเทศ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โดย จิรวัฒน์ พรหม พร บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุด ในประเทศไทย (ThaiLIS) แผนกฝึกอบรม.
Advertisements

Introduction to computers
ความฝันเกี่ยวกับ นศ. มหิดล
HTML เอกสารประกอบการบรรยายรายวิชา Browser-Based Application Development.
การพัฒนาเว็บเพจ เอกสารประกอบการบรรยาย รายวิชา เทคโนโลยี สารสนเทศ 2.
เวชจริยศาสตร์และการคิดเชิงวิพากษ์
Audio-visual communication
ทบทวน Period 2 อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุด คือ ว่าเป็นสมอง ของระบบคอมพิวเตอร์ คืออะไร การจะ Link เข้าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต้องอาศัยองค์ประกอบอะไรบ้าง.
IS Strategy :- Thammasarth University 19 MARCH 2549 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน Pichai Takkabutr 1 MIS Literacy ความรู้ความรู้ความรู้ ความรู้สึกความรู้สึกความรู้สึก.
การนำผลการประเมินหลักสูตรไปใช้
การใช้งานฐานข้อมูล ACM Digital Library
Communicative language Teaching of Primary School โรงเรียน นำเสนอโดย.. คุณครู
NEW MEDIA. สื่อใหม่ คือ สื่อเก่าที่เปลี่ยนรูปลักษณ์ ภายนอก คุณเชื่อความคิดนี้หรือไม่
การประเมินผลระหว่างเรียนที่ ส่งเสริมการสอนของครูและ การเรียนรู้ของนักเรียนใน ศตวรรษที่ 21.
ประเด็นบรรยาย ๑. ทำไมต้อง “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ๒. นโยบายของโครงการ ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ๓. ผล O-net ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ศาสตราจารย์ ดร. ชุติมา สัจจานันท์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เข้าสู่ วิชา การงานอาชีพ จัดทำโดย ด. ญ. สุชัญญา เขียวสมอ ม.1/14 เลขที่ 38 ด. ญ. พรรณวษา ยาวะระ ม.1/14 เลขที่ 32 นำเสนอ อาจารย์ ฐิตาพร ดวงเกตุ โรงเรียนวินิตศึกษา.
จรรยาบรรณ ( Code of Ethic) กลุ่มบริษัท อาร์เอ็กซ์ จำกัด R.X.Group ประกาศต่อผู้บริหารระดับสูง - ต้น 270 คน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2548 ณ S.D. Avenue Hotel.
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 1 : การรักษาความปลอดภัยข้อมูล Part1 สธ412 ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบการจัดการเรียนรู้
ร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ศ. ....
โรงเรียนในเตาพิทยาคม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทิม เบอร์เนอร์ ลี นัก วิศวกรรมซอฟต์แวร์ จาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่ง ยุโรป (European Particle.
สะเต็มศึกษา: นวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
สื่อดิจิทัล (Digital Media)
ภาพรวมของ รพ.ส่งเสริมสุขภาพ ศอ5
(ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ....
นวัตกรรมการบริการสารสนเทศ ในยุคประเทศไทย 4.0
กฎหมายการศึกษาไทย.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
นายดำหริ งิมสันเทียะ ผอ.สพป.อย.1
นวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ INNOTECH
แบบฟอร์มการรายงานข้อมูลพื้นที่แปลงบำรุงป่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
Introduction to information System
Introduction to information System
Database ฐานข้อมูล.
โดย โอฬาริก สุรินต๊ะ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ความต้องการสารสนเทศ (Information need)
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในสถานศึกษา
การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน พ.ศ
ความสำคัญและประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
รายวิชา แหล่งสารสนเทศ การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข
การแนะแนวอาชีพในศตวรรษที่ 21
บทเรียนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑
โดย ดร.ปราณี คงพิกุล ผอ.กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการศึกษา
นโยบายการบริหารงานกระทรวงสาธารณสุข
นายดำหริ งิมสันเทียะ ผอ.สพป.อย.1
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)
ความเข้าใจและการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy)
องค์กรรอบรู้สุขภาพ (Health Literate Organization)
เครือข่ายการเรียนรู้
การดำเนินงานห้องสมุดเฉพาะ และศูนย์สารสนเทศ
การเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่
ดร.ภาสกร พงษ์สิทธากร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ.
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง ความหมายและประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
สะเต็มศึกษา: นวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
(ร่าง) ตัวบ่งชี้และ เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ระดับอุดมศึกษา
สารสนเทศ และการรู้สารสนเทศ
บทที่ ๒ เรื่องที่ ๖ การเขียนรายงาน
ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. นครศรีธรรมราช
12-13 พฤษภาคม 2561 ณ หอประชุมภัคพิพิธ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒
การประสานงาน การแก้ปัญหาในการทำงาน โดยใช้ไลน์กลุ่ม social media
ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต
TIM2303 การขายและการตลาดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
วัตถุประสงค์การวิจัย
Skills of 21st century learning ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3Rs X 7Cs (เรียนรู้ตลอดชีวิต) Reading ’Riting (Writing) ’Rithmetic (Arithmetic) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
บรรยายโดย พันเอก ณัฐพงษ์ เพราแก้ว
นิเทศทัศน์ Visual communication.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

แนวคิดเรื่องการรู้สารสนเทศ บทที่ 1. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

ความหมายของสารสนเทศ การรู้สารสนเทศ (Information literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์และ / หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ความสำคัญ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญ 3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ 4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ

ประโยชน์ของสารสนเทศ สารสนเทศก่อให้เกิดการพัฒนา ประยุกต์ในงานด้านต่างๆ สารสนเทศก่อให้เกิดการศึกษา วิจัยองค์ความรู้ใหม่ สารสนเทศก่อให้เกิดการสืบทอดทางวัฒนธรรมเป็นสื่อกลาง และบันทึกเรื่องราวต่างๆ สารสนเทศก่อให้เกิดความเป็นเหตุเป็นผล ช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหา

องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ 1. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ ผู้เรียนจะต้องกำหนดเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า กำหนดความต้องการสารสนเทศ ระบุชนิดและรูปแบบที่หลากหลายของแหล่งสารสนเทศที่จะศึกษา เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ บุคคล สถานที่ อินเทอร์เนต 2. การเข้าถึงสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการค้นคืนสารสนเทศที่เหมาะสม กำหนดกลยุทธ์การค้นคืนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถค้นคืนสารสนเทศออนไลน์หรือสารสนเทศจากบุคคลโดยใช้วิธีการที่หลากหลายสามารถปรับกลยุทธ์การค้นคืน

องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ 3. การประเมินสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถสรุปแนวคิดสำคัญจากสารสนเทศที่รวบรวม โดยใช้เกณฑ์การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเที่ยงตรง ความถูกต้อง และความทันสมัย สามารถสังเคราะห์แนวคิดหลักเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเพื่อพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่เพิ่มขึ้น 4. ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถใช้สารสนเทศใหม่ผนวกกับสารสนเทศที่มีอยู่ในการวางแผนและสร้างผลงาน หรือการกระทำตามหัวข้อที่กำหนดทบทวนกระบวนการ พัฒนาการผลิตผลงานของตนเอง และสามารถสื่อสารหรือเผยแพร่ผลงานของตนเองต่อบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติในด้านอื่นๆ ประกอบอีก 1. การรู้ห้องสมุด (Library literacy) ผู้เรียนต้องรู้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเลกทรอนิกส์ รู้วิธีการจัดเก็บสื่อ รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ รู้จักกลยุทธ์ในการค้นคืนสารสนเทศแต่ละประเภท 2. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ผู้เรียนต้องรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เบื้องต้นในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ การเชื่อมประสาน และการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ เช่น การพิมพ์เอกสาร การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการรู้ที่ตั้งของแหล่งสารสนเทศ

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติในด้านอื่นๆ ประกอบอีก 3. การรู้เครือข่าย (Network Literacy) ผู้เรียนต้องรู้ขอบเขตและมีความสามารถในการใช้สารสนเทศทางเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก สามารถใช้กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่าย และการบูรณาการสารสนเทศจากเครือข่ายกับสารสนเทศจากแหล่งอื่นๆ 4. การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual Literacy) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและแปลความหมายสิ่งทีเห็นได้รวมถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และสามารถใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองได้ เช่น สัญลักษณ์บุหรี่ และมีเครื่องหมายกากบาททาบอยู่ด้านบนหมายถึง ห้ามสูบบุหรี่ สัญลักษณ์ผู้หญิงอยู่หน้าห้องน้ำ หมายถึง ห้องน้ำสำหรับสตรี เป็นต้น

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติในด้านอื่นๆ ประกอบอีก 5. การรู้สื่อ (Media Literacy) ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึง วิเคราะห์ และผลิตสารสนเทศจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ ดนตรี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น รู้จักเลือกรับสารสนเทศจากสื่อที่แตกต่างกัน รู้ขอบเขตและการเผยแพร่สารสนเทศของสื่อ เข้าใจถึงอิทธิพลของสื่อ 6. การรู้สารสนเทศดิจิทัล (Digital Literacy) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบซึ่งนำเสนอในรูปดิจิทัลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างการรู้สารสนเทศดิจิทัล เช่น สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าถึงในระยะไกลมาใช้ได้ รู้ว่าคุณภาพสารสนเทศที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ แตกต่างกันรู้ว่าเว็บไซต์น่าเชื่อถือและเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ รู้จักโปรแกรมการค้นหา สามารถสืบค้นโดยใช้การสืบค้นขั้นสูง รู้เรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คุ้มครองทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ การอ้างอิงสารสนเทศจากเว็บไชต์

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติในด้านอื่นๆ ประกอบอีก 7. การมีความรู้ด้านภาษา (Language Literacy) ผู้เรียนมีความสามารถกำหนดคำสำคัญสำหรับการค้น ในขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การค้นสารสนเทศจากอินเตอร์เนต และการนำเสนอสารสนเทศที่ค้นมาได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 8. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจเลือกรับสารสนเทศที่นำเสนอไว้หลากหลาย โดยการพิจารณาทบทวนหาเหตุผล จากสิ่งที่เคยจดจำ คาดการณ์ โดยยังไม่เห็นคล้อยตามสารสนเทศที่นำเสนอเรื่องนั้นๆ 9. การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ (Information Ethic) การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้รู้จักใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรมทางสารสนเทศ

การเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มีความสอดคล้องกับเนื้อหาสารสนเทศที่ต้องการเช่น ถ้าต้องการสารสนเทศเฉพาะวิชา ควรเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสืออ้างอิง ตำราและวารสารวิชาการ หากต้องการสารสนเทศที่แสดงความสัมพันธ์ของเรื่องราวอย่างชัดเจน ควรเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นภาพเคลื่อนไหวเช่น วีดิทัศน์ วีซีดีหรือ ดีวีดี เป็นต้น หากต้องการฟังการบรรยาย เพลง ดนตรี ควรเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีบันทึกเสียง เช่น เทป ซีดี หรือ วีซีดี การพิจารณาความน่าเชื่อถือในตัวทรัพยากร ผู้เรียนจะต้องพิจารณาจากชื่อเสียง ประสบการณ์หรือคุณวุฒิของผู้แต่ง สำนักพิมพ์หรือผู้ผลิตทรัพยากรสารสนเทศด้วย เช่น หนังสืออ้างอิงจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะเขียนและรวบรวมโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา

การเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ความสะดวกในการใช้งานทรัพยากรประเภทตีพิมพ์จะสามารถนำมาใช้งานได้ง่ายกว่าทรัพยากรประเภทไม่ตีพิมพ์ หรือทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ เพราะสามารถใช้งานได้ทันที ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการแสดงผลเหมือนกับทรัพยากรประเภทไม่ตีพิมพ์หรือ ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ ความทันสมัยของเนื้อหาเช่น หากผู้เรียนต้องการสารสนเทศที่ทันต่อเหตุการณ์แล้ว ก็สมควรเลือกพิจารณาสารสนเทศที่ได้จากทรัพยากรประเภทอินเทอร์เน็ต เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทำให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา หรือเลือกใช้ทรัพยากรตีพิมพ์ประเภทหนังสือ

สรุป การรู้ถึงความจำเป็นของสารสนเทศ การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์การประเมินสารสนเทศ การจัดระบบประมวลสารสนเทศ การประยุกต์ใช้สารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ การสรุปอ้างอิงและสื่อสารข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพ ความเข้าใจและยอมรับในจริยธรรมของข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาเจตคติที่นำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อนำไปใช้สู่การรู้สารสนเทศอย่างแท้จริง

Thanks!