งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

(ร่าง) ตัวบ่งชี้และ เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ระดับอุดมศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "(ร่าง) ตัวบ่งชี้และ เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ระดับอุดมศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 (ร่าง) ตัวบ่งชี้และ เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ระดับอุดมศึกษา
(ร่าง) ตัวบ่งชี้และ เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ระดับอุดมศึกษา 5/5/2019 1

2 ๑. ด้านคุณภาพศิษย์ 5/5/2019

3 ตัวบ่งชี้ที่ ๑ ผู้เรียนเป็นคนดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๑ ผู้เรียนเป็นคนดี คำอธิบาย นักศึกษา และบัณฑิตดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า มีน้ำใจไมตรี มีจิตอาสา และมีการพัฒนาคุณธรรมด้านต่าง ๆ อาทิ วินัย สติ กตัญญู เมตตา อดทน ซื่อสัตย์ ประหยัด ขยัน ไม่เห็นแก่ตัว ผ่านการทำงาน ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ 5/5/2019

4 เกณฑ์การประเมิน ร้อยละของบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรทุกประเภท ที่ได้งานทำ หรือมีกิจการของตนเองที่มีรายได้ประจำ ภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่จบการศึกษาต่อจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษานั้น (ร้อยละ 100 เท่ากับ 2 คะแนน) ร้อยละของบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรทุกประเภท ที่ทำงาน ทำกิจกรรม บำเพ็ญประโยชน์ (นอกหลักสูตร) ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง/ปี/คน ต่อจำนวนนิสิต/นักศึกษาทุกหลักสูตร ทุกระดับ (ร้อยละ 100 เท่ากับ 3 คะแนน) 5/5/2019

5 เงื่อนไข: คะแนนที่ได้ในตัวบ่งชี้นี้จะลดลง 1 คะแนน หากพบว่า...........
มีนิสิตนักศึกษา ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ลักทรัพย์ ล่วงละเมิดทางเพศ เล่นการพนัน และค้ายาเสพติด ฯลฯ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้บริหารไม่ได้ดำเนินการแก้ไขและป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดซ้ำ 5/5/2019

6 ตัวบ่งชี้ที่ ๒ ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร
คำอธิบาย นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ที่มีคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนดโดยครอบคลุมอย่างน้อย 5 ด้าน คือ 1) คุณธรรมจริยธรรม 2)ความรู้ 3)ทักษะทางปัญญา 4)ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ 5)ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้ง TQF ตามสาขาวิชาชีพ และบัณฑิตระดับปริญญาตรีมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต 5/5/2019

7 เกณฑ์การประเมิน ร้อยละของบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้รับความพึงพอใจจากผู้ใช้บัณฑิต (ร้อยละ 100 เท่ากับ 2 คะแนน) ร้อยละของนิสิต / นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาตรี โท เอก ที่มีคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) มีค่า T-Score ≥ (ร้อยละ 100 เท่ากับ 3 คะแนน) 5/5/2019

8 เงื่อนไข: คะแนนที่ได้ในตัวบ่งชี้นี้จะลดลง 1 คะแนน หากพบว่า...........
มีอัตราการออกกลางคัน (Dropout Rate) ของนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปี 3 ขึ้นไปไม่ลดลง หรือ มีอัตราการสำเร็จการศึกษา (Success Rate) ของนักศึกษาแต่ละรุ่น น้อยกว่าร้อยละ 50 5/5/2019

9 ตัวบ่งชี้ที่ ๓ ผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษามีผลงานตีพิมพ์ / เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ที่ ๓ ผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษามีผลงานตีพิมพ์ / เผยแพร่ คำอธิบาย ผลงานวิจัย / สร้างสรรค์ของนักศึกษา / บัณฑิตระดับปริญญาและ / หรือ ปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์ และ / หรือ เผยแพร่ในมิติต่าง ๆ 5/5/2019

10 เกณฑ์การประเมิน กรณี 1 มีหลักสูตรระดับปริญญาโท และเอก 1. ระดับปริญญาเอก : ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักงานวิจัยที่ตีพิมพ์และงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 2 คะแนน 2. ระดับปริญญาโท : ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักงานวิจัยที่ตีพิมพ์และงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 3 คะแนน

11 เกณฑ์การประเมิน (ต่อ)
กรณี 2 มีหลักสูตรเฉพาะปริญญาโท: ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักงานวิจัยที่ตีพิมพ์และงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ กำหนดร้อยละ 50 เท่ากับ 5 คะแนน กรณี 3 มีหลักสูตรเฉพาะปริญญาเอก: ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักงานวิจัยที่ตีพิมพ์และงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน กรณี 4 มาตรการเทียบเคียงหากไม่มีหลักสูตรบัณฑิตศึกษา: ใช้ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาในแต่ละรุ่น โดยกำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน

12 เงื่อนไข: คะแนนที่ได้ในตัวบ่งชี้นี้จะลดลง 1 คะแนน หากพบว่า...........
มีอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาระดับปริญญาโท / เอก ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือ มีอัตราส่วนอาจารย์ที่คุมวิทยานิพนธ์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือ มีอัตราส่วนอาจารย์ที่คุมสารนิพนธ์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของ สกอ. 5/5/2019 12

13 ตัวบ่งชี้ที่ ๔ ศิษย์เก่าทำประโยชน์ให้กับสถาบัน
ตัวบ่งชี้ที่ ๔ ศิษย์เก่าทำประโยชน์ให้กับสถาบัน คำอธิบาย ศิษย์เก่า ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก ที่กลับมาช่วยเหลือ และให้ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการ / วิชาชีพ ตลอดจนสร้างชื่อเสียงให้กับสถาบัน 5/5/2019

14 เกณฑ์การประเมิน มีกิจกรรมการพัฒนาวิชาการ / วิชาชีพร่วมกับคณะ / สถาบัน (มากกว่า 4 กิจกรรมต่อปี เท่ากับ 1 คะแนน) มีกิจกรรมการพัฒนานิสิต / นักศึกษาร่วมกับคณะ / สถาบัน (มากกว่า 4 กิจกรรมต่อปี เท่ากับ 1 คะแนน) มีกิจกรรมร่วมพัฒนาคณะ / สถาบัน (มากกว่า 4 กิจกรรมต่อปี เท่ากับ 1 คะแนน) 5/5/2019

15 เกณฑ์การประเมิน (ต่อ)
มีการสนับสนุนทรัพยากรและ / หรือทุนการศึกษาที่ศิษย์เก่าจัดหา / ให้ คณะ / สถาบัน (มากกว่า 40 ทุนต่อปี เท่ากับ 1 คะแนน) มีผลงานสร้างสรรค์สังคมของศิษย์เก่าที่เป็นที่ยอมรับ / ยกย่องอย่างน้อยปีละ 1 ผลงาน (อย่างน้อยปีละ 1 ผลงาน เท่ากับ 1 คะแนน) 5/5/2019

16 เงื่อนไข: คะแนนที่ได้ในตัวบ่งชี้นี้จะลดลง 1 คะแนน หากพบว่า...........
ไม่มีฐานข้อมูลศิษย์เก่าที่เป็นระบบ 5/5/2019

17 ๒. ด้านคุณภาพครู / อาจารย์
๒. ด้านคุณภาพครู / อาจารย์ 5/5/2019

18 ตัวบ่งชี้ที่ ๕ ครู / อาจารย์มีความรู้ความสามารถ
ตัวบ่งชี้ที่ ๕ ครู / อาจารย์มีความรู้ความสามารถ คำอธิบาย อาจารย์มีคุณวุฒิ และความเชี่ยวชาญทางวิชาการในสาขาวิชาที่สอน พัฒนาสู่การสร้างองค์ความรู้ เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ 5/5/2019

19 ปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
เกณฑ์การประเมิน ใช้บัญญัติไตรยางค์เทียบ โดยกำหนดให้ค่าคะแนนคุณภาพอาจารย์ 6 เท่ากับ 5 คะแนน วุฒิการศึกษา ตำแหน่ง ทางวิชาการ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกหรือเทียบเท่า อาจารย์ 2 5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1 3 6 รองศาสตราจารย์ 8 ศาสตราจารย์ 11 5/5/2019

20 ไม่นับ: ปริญญากิตติมศักดิ์ ศาสตราจารย์คลีนิค ศาสตราจารย์ภิชาน
หมายเหตุ ไม่นับ: ปริญญากิตติมศักดิ์ ศาสตราจารย์คลีนิค ศาสตราจารย์ภิชาน ปริญญาสูงสุดในสายวิชาชีพ ให้เทียบโดยใช้เกณฑ์ของต้นสังกัด วุฒิการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ต้องได้รับการรับรองจากต้นสังกัด 5/5/2019

21 เงื่อนไข: คะแนนที่ได้ในตัวบ่งชี้นี้จะได้ ๐ คะแนน หากพบว่า...........
มีอาจารย์ประจำมีวุฒิปริญญาที่ไม่ได้การรับรองจากต้นสังกัด 5/5/2019

22 ตัวบ่งชี้ที่ ๖ อาจารย์มีผลงานตีพิมพ์ / เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ที่ ๖ อาจารย์มีผลงานตีพิมพ์ / เผยแพร่ คำอธิบาย ผลงานวิจัย /สร้างสรรค์ของอาจารย์ประจำ และ /หรือนักวิจัยประจำที่มีคุณภาพและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับสากล หรือผลงานสร้างสรรค์ ที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ และมีการเผยแพร่ในระดับชาติ หรือ นานาชาติ 5/5/2019

23 เกณฑ์การประเมิน ร้อยละของอาจารย์ประจำ และนักวิจัยประจำที่มีผลงานวิจัยที่ได้รับตีพิมพ์และ / หรืองานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ ใช้บัญญัติไตรยางค์เทียบโดยกำหนดร้อยละ 50 เท่ากับ 2 คะแนน (คำนวณโดย: - จำนวนอาจารย์ประจำที่มีผลงาน หารด้วย จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด) 5/5/2019

24 เกณฑ์การประเมิน (ต่อ)
ร้อยละของผลงานวิจัยที่ได้รับตีพิมพ์และ / หรืองานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ ( 3 คะแนน) (คำนวณโดย: - ผลรวมถ่วงน้ำหนักของงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ หารด้วย จำนวนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งหมด) 5/5/2019

25 ระดับสถาบันให้คิดจากค่าเฉลี่ยของทุกคณะ
หมายเหตุ ระดับสถาบันให้คิดจากค่าเฉลี่ยของทุกคณะ ระดับคณะให้คิดค่าเฉลี่ยของทุกหลักสูตร 5/5/2019

26 เงื่อนไข: คะแนนที่ได้ในตัวบ่งชี้นี้จะได้ ๐ คะแนน หากพบว่า...........
มีอาจารย์ประจำคัดลอกผลงาน แต่คณะ/สถาบันมิได้ดำเนินการลงโทษ 5/5/2019

27 ตัวบ่งชี้ที่ ๗ อาจารย์มีผลงานที่นำไปใช้ประโยชน์
คำอธิบาย อาจารย์ประจำและ / หรือ นักวิจัยประจำมีผลงานวิจัย / สร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์หรือข้อเสนอแนะที่ระบุไว้ในโครงการวิจัย / สร้างสรรค์ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ หรือสภาสถาบัน 5/5/2019

28 เกณฑ์การประเมิน ร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีผลงานวิจัยที่ / สร้างสรรค์ที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ ใช้บัญญัติไตรยางค์เทียบโดยกำหนดร้อยละ 75 เท่ากับ 2 คะแนน จำนวนงานวิจัย /สร้างสรรค์ที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ ทุกกลุ่มสาขาวิชา ใช้บัญญัติไตรยางค์เทียบโดยกำหนดร้อยละ 50 เท่ากับ 3 คะแนน 5/5/2019

29 เงื่อนไข: คะแนนที่ได้ในตัวบ่งชี้นี้จะได้ ๐ คะแนน หากพบว่า...........
มีอาจารย์ประจำละเมิดลิขสิทธิ์ /สิทธิบัตร /คัดลอกผลงาน แต่คณะ/สถาบันมิได้ดำเนินการลงโทษ 5/5/2019

30 ตัวบ่งชี้ที่ ๘ ครู / อาจารย์ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ / ประสบการณ์
ตัวบ่งชี้ที่ ๘ ครู / อาจารย์ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ / ประสบการณ์ คำอธิบาย อาจารย์ประจำ ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ / ประสบการณ์ เช่น ศึกษาบางวิชา / ประชุมวิชาการ / อบรม / ศึกษาดูงาน / นำเสนอผลงานวิชาการงานวิจัยทั้งใน / ต่างประเทศ และได้มีการนำความรู้กลับมาขยายผลและพัฒนาการเรียนการสอน 5/5/2019

31 เกณฑ์การประเมิน ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ศึกษาบางวิชา / ประชุมวิชาการ /อบรม /ศึกษาดูงาน/นำเสนอผลงาน อย่างน้อย 50 ชั่วโมง/ปี/คนใช้บัญญัติไตรยางค์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน 5/5/2019

32 เงื่อนไข: คะแนนที่ได้ในตัวบ่งชี้นี้จะลดลง ๑ คะแนน หากพบว่า...........
มีอาจารย์ละทิ้งการสอน 5/5/2019

33 ๓. ด้านการบริหาร และธรรมาภิบาลของสถานศึกษา
๓. ด้านการบริหาร และธรรมาภิบาลของสถานศึกษา 5/5/2019

34 ตัวบ่งชี้ที่ ๙ การดำเนินงานของสภาสถาบัน / กรรมการประจำคณะ
ตัวบ่งชี้ที่ ๙ การดำเนินงานของสภาสถาบัน / กรรมการประจำคณะ คำอธิบาย คณะกรรมการสภาสถาบัน / คณะกรรมการประจำคณะ มีผลการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติของสถาบันโดยมุ้งเน้นกำหนดนโยบาย กำกับ ติดตาม และสนับสนุนการดำเนินงานของ อธิการบดี / คณบดี โดยยึดหลักธรรมาภิบาล 5/5/2019

35 1. ประเด็นการพิจารณา (2 คะแนน)
เกณฑ์การประเมิน สภาสถาบัน 1. ประเด็นการพิจารณา (2 คะแนน) 1.1 มีสำนักงานสภา หรือหน่วยงานฐานข้อมูลบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นการ เฉพาะ และมีคณะอนุกรรมการของสภาครบตามกฎหมายกำหนด 1.2 มีการกำหนดนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ทันสมัยปฏิบัติได้ 1.3 มีการกำกับ ติดตาม สนับสนุนอธิการบดีในทำตามแผนที่กำหนด 1.4 มีการบริหารจัดการที่ดี มีการกำหนดจรรยาบรรณและคู่มือการปฏิบัติงาน ตลอดจนมีการให้ความรู้บทบาทหน้าที่กรรมการสภา 1.5 มีผลการประเมินรายปีโดยคณะกรรมผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจำนวน 5 คน ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสภา ร้อยละ 80 ขึ้นไป 5/5/2019

36 เกณฑ์การประเมิน (ต่อ) 2
เกณฑ์การประเมิน (ต่อ) 2. หลักฐานเชิงประจักษ์ ผู้ประเมินตรวจหลักฐานและสัมภาษณ์ บุคคลตามที่ระบุ ดังต่อไปนี้ 2.1 รายงานประจำปีที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสภาสถาบัน (1 คะแนน) 2.2 มีการประเมินรายปีโดยคณะกรรมการที่สภาแต่งตั้ง (1 คะแนน) 2.3 การสัมภาษณ์ นายกสภา อธิการบดี และผู้แทนคณาจารย์ 3-4 คน 5/5/2019

37 เกณฑ์การประเมิน (ต่อ) คณะกรรมการประจำคณะ
ประเด็นการพิจารณา (2 คะแนน) : รายงานผลการประเมินรายปีในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการประจำคณะ โดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก จำนวน 3-5 คน ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยอธิการบดี หลักฐานเชิงประจักษ์ (3 คะแนน) : การสัมภาษณ์ หัวหน้าภาควิชา 2-3 คน ผู้แทนกรรมการประจำคณะ 1-2 คน และ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต 8-10 คน 5/5/2019

38 เงื่อนไข: คะแนนที่ได้ในตัวบ่งชี้นี้จะได้ ๐ คะแนน หากพบว่า...........
มีการดำเนินการรับนักศึกษาก่อนที่หลักสูตรจะได้รับการอนุมัติตามขั้นตอนและระเบียบอย่างถูกต้องจากสภาสถาบัน / ต้นสังกัด หรือ มีการประกาศให้ประกาศนียบัตร / ปริญยาบัตรที่ไม่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสภาสถาบัน / ต้นสังกัด 5/5/2019

39 ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐ การดำเนินงานของอธิการบดี / คณบดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐ การดำเนินงานของอธิการบดี / คณบดี คำอธิบาย อธิการบดี / คณบดี มีผลการดำเนินงานตามนโยบายที่กำหนดโดยสภาสถาบันการศึกษา / คณะกรรมการประจำคณะ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ตามหลักธรรมาภิบาล มีระบบตรวจสอบการทำงานตามภารกิจ ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 5/5/2019

40 เกณฑ์การประเมินอธิการบดี
มีผลการประเมินการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอธิการบดี โดย สภาสถาบัน (1 คะแนน) มีผลการประเมินการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการ/หัวหน้าหน่วยงานสนับสนุนโดยคณะกรรมการที่อธิการบดีแต่งตั้ง (1 คะแนน) มีรายงานการเงินที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาสถาบัน (1 คะแนน) มีคณะวิชาที่มีการพัฒนา IQA เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 3 ปี/ผลประเมินระดับดีมากคงที่ (1 คะแนน) มีผลการสัมภาษณ์อธิการบดี โดยคณะกรรมการผู้ประเมินภายนอก (1 คะแนน) 5/5/2019

41 เกณฑ์การประเมิน (ต่อ) เกณฑ์การประเมินคณบดี
มีผลการประเมินการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของคณบดี โดยอธิการบดี (1 คะแนน) มีผลการประเมินการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการ/หัวหน้าหน่วยงานสนับสนุนโดยคณบดี (1 คะแนน) มีรายงานงบการเงินที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำคณะ (1 คะแนน) มีอัตราส่วนอาจารย์ ; นักศึกษาตามเกณฑ์ในทุกหลักสูตร (1 คะแนน) มีผลการสัมภาษณ์คณบดี โดยคณะกรรมการผู้ประเมินภายนอก (1 คะแนน) 5/5/2019

42 เงื่อนไข: คะแนนที่ได้ในตัวบ่งชี้นี้จะได้ ๐ คะแนน หากพบว่า...........
มีการจัดการศึกษานอกที่ตั้ง โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบัน และไม่ผ่านการอนุมัติหรือรับทราบจากต้นสังกัด 5/5/2019

43 ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ การบริหารความเสี่ยง
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ การบริหารความเสี่ยง คำอธิบาย คณะ / สถาบันมีผลการบริหารความเสี่ยงจากกระบวนการประเมินสถานการณ์จัดลำดับความสำคัญ จัดการ ควบคุม ติดตามเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขความเสี่ยงส่งผลให้ลดสาเหตุและโอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ชื่อเสียง และสังคม 5/5/2019

44 เกณฑ์การประเมิน ระดับสถาบัน 1. ประเด็นการพิจารณา (ปฏิบัติได้ 5 ข้อ เท่ากับ 2 คะแนน) 1.1 มีการระบุและจัดอันดับความเสี่ยงภายใน/ภายนอก ทั้งเชิงปริมาณ / เชิงคุณภาพ 1.2 มีการกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายในการบริหารความเสี่ยง 1.3 มีการประเมินโอกาสในการเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงและประเมินผล กระทบของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น 1.4 มีการกำหนดวิธีการ มาตรการ กลไกการควบคุมไม่ให้เกิดและลดความ เสี่ยงให้น้อยลง 1.5 มีการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารความเสี่ยง และรายงานต่อ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

45 2.2 สามารถลดความเสี่ยงได้ทุกเรื่องจากที่กำหนด (1 คะแนน)
เกณฑ์การประเมิน (ต่อ) 2. หลักฐานเชิงประจักษ์ (3 คะแนน) ผู้ประเมินตรวจหลักฐานที่แสดงผลการบริหารความเสี่ยง ดังนี้: - 2.1 สามารถควบคุมความเสี่ยงลำดับที่ 1 – 5 จากที่กำหนด (1 คะแนน) 2.2 สามารถลดความเสี่ยงได้ทุกเรื่องจากที่กำหนด (1 คะแนน) 2.3 ไม่ปรากฏเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือประเภทความเสี่ยงที่กำหนด (1 คะแนน) 5/5/2019

46 เกณฑ์การประเมิน (ต่อ) ระดับคณะ
เกณฑ์การประเมิน (ต่อ) ระดับคณะ 1. ประเด็นการพิจารณา (2 คะแนน) : ผลการประเมินโดยคณะกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการประจำคณะ/อธิการบดี 2. หลักฐานเชิงประจักษ์ (3 คะแนน) ผู้ประเมินตรวจหลักฐานที่แสดงผลการบริหารความเสี่ยงดังนี้ 2.1 สามารถควบคุมความเสี่ยงลำดับที่ 1 – 5 จากที่กำหนด (1 คะแนน) 2.2 สามารถลดความเสี่ยงได้ทุกเรื่องจากที่กำหนด (1 คะแนน ) 2.3 ไม่ปรากฏเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือประเภทความเสี่ยงที่กำหนด (1 คะแนน) 5/5/2019

47 เงื่อนไข: คะแนนที่ได้ในตัวบ่งชี้นี้จะลดลง ๑ คะแนน หากพบว่า...........
มีเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น โดยพิจารณาความรุนแรง ความถี่ และละเลย โดยไม่มีการแก้ไขป้องกัน 5/5/2019

48 ตัวบ่งชี้ที่ ๑๒ การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๒ การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน คำอธิบาย คณะ / สถาบันมีบุคลากรประจำสายสนับสนุนด้านวิชาการ / ธุรการ ที่ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ / ประสบการณ์ เช่น ประชุมวิชาการ / อบรม / ศึกษาบางวิชา / ดูงานทั้งในและต่างประเทศ 5/5/2019

49 เกณฑ์การประเมิน ร้อยละของบุคลากรประจำสายสนับสนุนด้านวิชาการ/ธุรการ ที่ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ / ประสบการณ์ อย่างน้อย 50 ชั่วโมง /ปี /คน ( 5 คะแนน) 5/5/2019

50 ๔. ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน /สังคม
๔. ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน /สังคม 5/5/2019

51 ตัวบ่งชี้ที่ ๑๓ การให้บริการวิชาการ /วิชาชีพที่ส่งผลต่อชุมชน /สังคม
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๓ การให้บริการวิชาการ /วิชาชีพที่ส่งผลต่อชุมชน /สังคม คำอธิบาย คณะ / สถาบันสนับสนุนให้อาจารย์นำความรู้ประสบการณ์ตามความเชี่ยวชาญไปบริการวิชาการแก่ชุมชน / สังคมภายนอก เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ 5/5/2019

52 1. ประเด็นการพิจารณา โดยกำหนดปฏิบัติได้ 5 ข้อ เท่ากับ 2 คะแนน
เกณฑ์การประเมิน 1. ประเด็นการพิจารณา โดยกำหนดปฏิบัติได้ 5 ข้อ เท่ากับ 2 คะแนน 1.1 มีเหตุผลในการกำหนดแผนงานการนำความรู้และประสบการณ์เพื่อประโยชน์ต่อชุมชน/สังคม 1.2 มีการกำหนดตัวบ่งชี้ และระดับความสำเร็จในระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 1.3 มีระบบและกลไกขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนและต่อเนื่อง 1.4 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง 1.5 มีผลการประเมินความพึงพอใจของชุมชน/สังคมต่อคณะ/สถาบัน ในระดับร้อยละ 80 ขึ้นไป 5/5/2019

53 เกณฑ์การประเมิน (ต่อ) 2
เกณฑ์การประเมิน (ต่อ) 2. หลักฐานเชิงประจักษ์ ผู้ประเมินตรวจหลักฐานโครงการที่ประสบความสำเร็จ ( 3 คะแนน) 2.1 มีความต่อเนื่องในการดำเนินการ ไม่น้อยกว่า 3 ปี (1 คะแนน) 2.2 มีความยั่งยืน พึ่งพาตนเองดำเนินการได้โดยไม่ใช้งบประมาณคณะ /สถาบัน (1คะแนน) 2.3 มีการยอมรับ/ยกย่องจากชุมชน/สังคม (1คะแนน) 5/5/2019

54 ตัวบ่งชี้ที่ ๑๔ การให้บริการวิชาการ /วิชาชีพที่ส่งผลต่อคณะ /สถาบัน
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๔ การให้บริการวิชาการ /วิชาชีพที่ส่งผลต่อคณะ /สถาบัน คำอธิบาย คณะ / สถาบัน มีการนำความรู้และประสบการณ์ด้านวิชาการ / วิชาชีพจากการพัฒนาชุมชน มาพัฒนาการเรียนการสอน และต่อยอดเป็นผลงานวิชาการลักษณะต่าง ๆ เช่น งานวิจัย ตำรา รายวิชา และ/หรือ หลักสูตร 5/5/2019

55 เกณฑ์การประเมิน 1. ประเด็นการพิจารณา: โดยกำหนดปฏิบัติได้ 5 ข้อ เท่ากับ 2 คะแนน 1.1 มีเหตุผลในการกำหนดแผนงานการนำความรู้และประสบการณ์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนสังคม 1.2 มีการกำหนดตัวบ่งชี้ และระดับความสำเร็จในระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ มีระบบและกลไกขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนและต่อเนื่อง 1.4 การมีส่วนร่วมของนักศึกษา อาจารย์ บุคลาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ มีการพัฒนาเอกสารคำสอน / รายวิชา / ตำรา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายวิชาที่เปิดสอน 5/5/2019

56 เกณฑ์การประเมิน (ต่อ) 2
เกณฑ์การประเมิน (ต่อ) 2. หลักฐานเชิงประจักษ์: ผู้ประเมินตรวจหลักฐานโครงการที่ประสบความสำเร็จ (3 คะแนน) 2.1 มีผลการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารวิชาการ / วิชาชีพ (1 คะแนน) 2.2 มีการเผยแพร่และขยายผลในสถาบันอื่น อย่างน้อย 9 แห่ง (1คะแนน) 2.3 มีรายวิชา / ตำรา และ / หรือหลักสูตรใหม่ อย่างน้อย 1 รายการ (1คะแนน) 5/5/2019

57 ๕. ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
๕. ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5/5/2019

58 ตัวบ่งชี้ที่ ๑๕ การส่งเสริมสนับสนุนศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๕ การส่งเสริมสนับสนุนศิลปะและวัฒนธรรม คำอธิบาย ความดีความงาม ในมิติศิลปะและวัฒนธรรม มีลักษณะเฉพาะคงอยู่สืบทอดและปรับเปลี่ยนไปตามกระแสสังคม ก่อให้เกิดการดำรงชีวิตอย่างมีพลวัต คนในสังคมอุดมศึกษาในฐานะที่เป็นที่พึ่งของสังคม จำเป็นต้องรู้ทันอย่างมีปัญญา มีความเชื่อมั่นสามารถเป็นผู้นำมากกว่าผู้ตาม การส่งเสริมสนับสนุนศิลปะและวัฒนธรรม ถือเป็นพันธกิจหลักของสถาบันที่จะต้องดำเนินการในทางที่ถูกที่ควร มิใช่ปล่อยไปตามกระแสสังคม 5/5/2019

59 1. ประเด็นการพิจารณา โดยกำหนดปฏิบัติได้ 5 ข้อ เท่ากับ 2 คะแนน
เกณฑ์การประเมิน 1. ประเด็นการพิจารณา โดยกำหนดปฏิบัติได้ 5 ข้อ เท่ากับ 2 คะแนน 1.1 มีการสนับสนุนด้านงบประมาณจากภายใน และ /หรือภายนอก ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของงบประมาณประจำปี 1.2 มีหน่วยงานและบุคลากรรับผิดชอบดูแล 1.3 มีแผนงานเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 1.4 มีการดำเนินงานตามแผนที่กำหนด 1.5 มีผลการประเมินที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นจากประชาคม ในระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 5/5/2019

60 เกณฑ์การประเมิน (ต่อ)
2. หลักฐานเชิงประจักษ์: ผู้ประเมินตรวจหลักฐาน ( 3 คะแนน) 2.1 มีการจัดพื้นที่เพื่อการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนศิลปะและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง (1 คะแนน) 2.2 มีความร่วมมือของนักศึกษา และบุคลากรในการจัดกิจกรรม (1 คะแนน) 2.3 มีการยอมรับ / ยกย่องระดับชาติ / นานาชาติ ( 1 คะแนน) 5/5/2019

61 เงื่อนไข: คะแนนที่ได้ในตัวบ่งชี้นี้จะลดลง ๑ คะแนน หากพบว่า...........
มีการดำเนินการเฉพาะกิจเพื่อรองรับการประเมินภายนอกเท่านั้น 5/5/2019

62 ตัวบ่งชี้ที่ ๑๖ การพัฒนาสุนทรียภาพ
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๖ การพัฒนาสุนทรียภาพ คำอธิบาย ความรู้สึกถึงคุณค่าทางความงามเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของความเป็นมนุษย์ จำต้องได้รับการเรียนรู้ ปลูกฝังพัฒนา เพื่อให้เกิดความซึมซับสู่สำนึกแห่งตน ก่อให้เกิดทักษะทางอารมณ์ ต่อสิ่งที่ได้เห็นได้สัมผัสที่ดีงามและมีคุณค่าทางศิลปะ ทั้งที่มีอยู่ปัจจุบัน และเป็นมรดกสืบทอดของแผ่นดินอันทรงคุณค่าความเป็นไทย เกิดสติรู้คิด ในการเลือกรับปรับใช้วิถีสากลสู่วิถีไทยอย่างเหมาะสมภาคภูมิ สามารถพัฒนาสู่ความสุนทรีย์มีรสนิยม เกิดทัศนคติที่ดีต่อคุณค่าวิถีความดีงามของไทย 5/5/2019

63 ประเภทโครงการ โครงการพัฒนานักศึกษา และบุคลากร เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อสู่วิถีชีวิตความมีสุนทรีย์ และวัฒนธรรมที่ดีงาม โครงการพัฒนาคณะและสถาบัน ทั้งทางกายภาพ และวิถีการอยู่ร่วมในวัฒนธรรมสังคม เพื่อเกิดจิตสำนึกต่อสถาบันในฐานะสถาบันของประเทศที่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม โครงการสืบสานประเพณีท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์ และสืบทอดเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม 5/5/2019

64 เกณฑ์การประเมิน 1. ประเด็นการพิจารณา โดยกำหนดปฏิบัติได้ 5 ข้อ เท่ากับ 2 คะแนน 1.1 มีการดำเนินงานตามนโยบาย/แผนพัฒนา เกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมที่เหมาะสม ทันสมัย และสามารถปฏิบัติได้ 1.2 มีการดำเนินงานตามโครงการ (ทุกประเภท อย่างน้อยประเภทละ 1 โครงการต่อปี) ที่เกิดจากการสำรวจความคิดเห็นความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน 1.3 มีการกำหนดตัวบ่งชี้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ในกรอบความดี ความงาม โดยมีผลการประเมินสะท้อน การเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้น จากประชาคม ในระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 1.4 มีการปรับปรุงและดำเนินโครงการให้เหมาะสมกับสภาพสังคมอย่างต่อเนื่อง 1.5 มีแผนพัฒนาสู่อนาคต หรือ โครงการเชิงอนาคต ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรรมการประจำคณะ/สภาสถาบัน

65 เกณฑ์การประเมิน (ต่อ)
2. หลักฐานเชิงประจักษ์ ผู้ประเมินตรวจสภาพจริง ( 3 คะแนน) 2.1 อาคารสถานที่เป็นระเบียบเรียบร้อยเอื้อต่อการใช้งาน (1 คะแนน) 2.2 ภูมิสถาปัตย์ มีความสอดคล้องกับธรรมชาติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างเหมาะสม (1 คะแนน) 2.3 สภาพแวดล้อมสะอาด สุขลักษณะ สวยงาม (1 คะแนน) 5/5/2019

66 เงื่อนไข: คะแนนที่ได้ในตัวบ่งชี้นี้จะลดลง ๑ คะแนน หากพบว่า...........
มีการดำเนินการเฉพาะกิจเพื่อรองรับการประเมินภายนอกเท่านั้น 5/5/2019

67 ๖. ด้านอัตลักษณ์ /เอกลักษณ์
๖. ด้านอัตลักษณ์ /เอกลักษณ์ 5/5/2019

68 ตัวบ่งชี้ที่ ๑๗ อัตลักษณ์นิสิต /นักศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๗ อัตลักษณ์นิสิต /นักศึกษา คำอธิบาย นักศึกษามีอัตลักษณ์ที่เกิดขึ้นตามปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถาบัน 5/5/2019

69 1. ประเด็นการพิจารณา: โดยกำหนดปฏิบัติได้ 5 ข้อ เท่ากับ 2 คะแนน
เกณฑ์การประเมิน 1. ประเด็นการพิจารณา: โดยกำหนดปฏิบัติได้ 5 ข้อ เท่ากับ 2 คะแนน 1.1 มีเหตุผลในการกำหนด อัตลักษณ์นักศึกษาของสถาบันที่เหมาะสมและปฏิบัติได้ 1.2 มีการกำหนดตัวบ่งชี้และระดับความสำเร็จที่เหมาะสม 1.3 มีระบบและกลไกขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนและต่อเนื่อง 1.4 มีส่วนร่วมของนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และผู้บริหารของคณะ / สถาบัน 1.5 มีผลการประเมินนักศึกษาที่ปรากฏอัตลักษณ์ ในระดับร้อยละ 80 ขึ้นไป 2. หลักฐานเชิงประจักษ์ : ผู้ประเมินสุ่มตรวจเพื่อยืนยันอัตลักษณ์ของนักศึกษาตามหลักการสุ่มตัวอย่าง (โดยกำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 3 คะแนน) 5/5/2019

70 ตัวบ่งชี้ที่ ๑๘ เอกลักษณ์คณะ /สถาบัน
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๘ เอกลักษณ์คณะ /สถาบัน คำอธิบาย คณะ/สถาบันมีเอกลักษณ์ที่สะท้อนความโดดเด่น/ความชำนาญ/ความเชี่ยวชาญ ตามพันธกิจ/วัตถุประสงค์ และบริบทของสถาบัน 5/5/2019

71 1. ประเด็นการพิจารณา โดยกำหนดปฏิบัติได้ 5 ข้อ เท่ากับ 2 คะแนน
เกณฑ์การประเมิน 1. ประเด็นการพิจารณา โดยกำหนดปฏิบัติได้ 5 ข้อ เท่ากับ 2 คะแนน 1.1 มีเหตุผลในการกำหนดเอกลักษณ์คณะ /สถาบันที่เหมาะสมแลปฏิบัติได้ 1.2 มีการกำหนดตัวบ่งชี้และระดับความสำเร็จที่เหมาะสม 1.3 มีระเบียบและกลไกขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนและต่อเนื่อง 1.4 มีส่วนร่วมของนักศึกษา อาจารย์และบุคลากร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 1.5 มีผลประเมินความพึงพอใจในระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 5/5/2019

72 เกณฑ์การประเมิน (ต่อ)
2. หลักฐานเชิงประจักษ์ ผู้ประเมินตรวจหลักฐาน (3 คะแนน) 2.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาดูงาน (1 คะแนน) 2.2 มีการยอมรับ/การยกย่องในมิติต่างๆ (1 คะแนน) 2.3 มีความเป็น “ต้นแบบ” วิธีการดำเนินการสู่ความสำเร็จ และมีการถ่ายโอนความรู้ด้านกระบวนการสู่สถาบันอื่น (1 คะแนน) 5/5/2019

73 ๗. มาตรการส่งเสริม 5/5/2019

74 ตัวบ่งชี้ที่ ๑๙ มาตรการส่งเสริม (ภายในคณะ /สถาบัน)
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๙ มาตรการส่งเสริม (ภายในคณะ /สถาบัน) คำอธิบาย คณะ/สถาบันมีการเตรียมนักศึกษาและอาจารย์ให้ทันสมัย ทันโลก และมีความพร้อมสู่สากล ประเภทโครงการ 1. โครงการพัฒนานักศึกษา และอาจารย์ในด้านภาษาอังกฤษ 2. โครงการพัฒนานักศึกษา และอาจารย์ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. โครงการพัฒนาคณะ/สถาบันสู่ประชาคมอาเซียน/นานาชาติ 5/5/2019

75 เกณฑ์การประเมิน โดยกำหนดปฏิบัติได้ 5 ข้อเท่ากับ 5 คะแนน
มีการกำหนดนโยบาย/แผนพัฒนาที่ทันสมัยและปฏิบัติได้ มีการดำเนินงานตามโครงการ (ทุกประเภท ๆ ละอย่างน้อย 1 โครงการต่อปี)ที่เกิดจากการสำรวจความคิดเห็น ความต้องการของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มีผลประเมินความสำเร็จทุกโครงการ ในระดับร้อยละ 80 ขึ้นไป มีผลการปรับปรุงและดำเนินโครงการให้เหมาะสมกับสภาพสังคมอย่างต่อเนื่อง มีแผนพัฒนาสู่อนาคต หรือโครงการเชิงอนาคต ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรรมการประจำคณะ/สภาสถาบัน 5/5/2019

76 ตัวบ่งชี้ที่ ๒๐ มาตรการส่งเสริม (ภายนอกสถาบัน)
ตัวบ่งชี้ที่ ๒๐ มาตรการส่งเสริม (ภายนอกสถาบัน) คำอธิบาย คณะ/สถาบันมีการดำเนินงานในการช่วยเหลือชุมชน สังคม รอบสถาบัน เช่น การชี้แนะ ป้องกัน และ /หรือ แก้ปัญหาสังคม ที่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ สภาพเศรษฐกิจ ชุมชน สังคม และจังหวัด

77 1. ประเด็นการพิจารณา: (โดยกำหนดปฏิบัติได้ 5 ข้อ เท่ากับ 2 คะแนน)
เกณฑ์การประเมิน 1. ประเด็นการพิจารณา: (โดยกำหนดปฏิบัติได้ 5 ข้อ เท่ากับ 2 คะแนน) 1.1 มีเหตุผลในการกำหนดความร่วมมือ และ/หรือช่วยเหลือชุมชน สังคม รอบสถาบัน 1.2 มีการกำหนดตัวบ่งชี้และระดับความสำเร็จไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 1.3 มีแนวปฏิบัติและกระบวนการที่ชัดเจนและต่อเนื่อง 1.4 มีระบบกลไกขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ และสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้อง 1.5 มีผลการประเมินแก้ไขปัญหาที่มีสัมฤทธิผลตรงตามความต้องการของชุมชนระดับร้อยละ 80 ขึ้นไป 5/5/2019

78 เกณฑ์การประเมิน (ต่อ)
2. หลักฐานเชิงประจักษ์ (3 คะแนน) ผู้ประเมินตรวจหลักฐานดังนี้: - 2.1 มีผลการช่วยเหลือ/ความร่วมมือกับสถาบันอื่นในการพัฒนาวิชาการ อย่างน้อย 9 แห่ง (1คะแนน) มีผลความร่วมมือกับท้องถิ่น/ชุมชน/สังคม/จังหวัด ในการป้องกัน แก้ปัญหา และ/หรือการพัฒนาตามบริบทของพื้นที่ อย่างน้อย 3 ประเด็น (1 คะแนน) มีการยอมรับระดับชาติ /นานาชาติ (1 คะแนน) 5/5/2019

79 ต้องไม่เป็นโครงการเดียวกับตัวบ่งชี้ 13 และ ตัวบ่งชี้ 14
หมายเหตุ ต้องไม่เป็นโครงการเดียวกับตัวบ่งชี้ 13 และ ตัวบ่งชี้ 14 5/5/2019

80 Thanks

81


ดาวน์โหลด ppt (ร่าง) ตัวบ่งชี้และ เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ระดับอุดมศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google