งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สารสนเทศ และการรู้สารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สารสนเทศ และการรู้สารสนเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สารสนเทศ และการรู้สารสนเทศ
GEN4103 การศึกษาค้นคว้าและเทคโนโลยีสารนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน Individual Studies and Information Technology for Work บทที่ 1 สารสนเทศ และการรู้สารสนเทศ (Information and Information literacy)

2 วัตถุประสงค์ ผู้เรียนรู้และเข้าใจความหมายความสำคัญ ของสารสนเทศต่อการศึกษาในมหาวิทยาลัย และการดำเนินชีวิต ผู้เรียนรู้และเข้าใจความหมายและความสำคัญ ของการรู้สารสนเทศ ผู้เรียนรู้และเข้าใจความหมาย ลักษณะและ ความสามารถของผู้รู้สารสนเทศ ผู้เรียนรู้และเข้าใจทักษะของการรู้สารสนเทศ และสามารถประยุกต์ใช้ในการเรียนได้

3 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ การรู้สารสนเทศ
1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ 3 การรู้สารสนเทศ 1.1 ลักษณะของสังคมฐานความรู้ 3.1 ความหมายของการรู้สารสนเทศ 1.2 พีระมิดความรู้ 3.2 ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ 3.3 องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ 2 สารสนเทศ 4 ผู้รู้สารสนเทศ 2.1 ข้อมูล 4.1 ความหมายของผู้รู้สารสนเทศ 2.2 สารสนเทศ 4.2 ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ 2.3 ความสำคัญของสารสนเทศ 4.3 ทักษะการรู้สารสนเทศ 2.4 สารสนเทศกับการศึกษา 2.5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี 2.6 บทบาทของสารสนเทศ

4 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
1 1.1 ลักษณะของสังคมฐานความรู้ สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) ข้อมูล ข่าวสาร และสารสนเทศ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานทั้งของภาครัฐและเอกชน ข้อมูลและสารสนเทศเป็นทรัพยากรหลัก ที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญ เนื่องมาจากการดำเนินงานทางธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น และมีการแข่งขันกันสูง ทำให้ข่าวสารเป็นสิ่งที่ทุกคน จำเป็นต้องรับทราบและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว

5 1.2 พีระมิดความรู้ (Knowledge pyramid)
แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ 1 1.2 พีระมิดความรู้ (Knowledge pyramid) พีระมิดความรู้เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เข้าใจในความแตกต่างระหว่าง Data, Information, Knowledge และ Wisdom รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกัน

6 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
1 1.2 พีระมิดความรู้ (Knowledge pyramid) ข้อมูล (Data) ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมาย และการประมวลผล ข้อมูล แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข เช่น จำนวน ปริมาณ ระยะทาง ข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นตัวเลข เช่น ชื่อ ที่อยู่ ประวัติการศึกษา ข่าวสารที่ยังไม่ประเมิน เช่น รายงาน บันทึก คำสั่ง ระเบียบ กฎหมาย และเหตุการณ์ หรือสภาพการณ์ต่างๆ

7 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
1 1.2 พีระมิดความรู้ (Knowledge pyramid) สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียง หรือประมวลแล้วจากข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ จนได้เป็นข้อความรู้ เพื่อนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ

8 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
1 1.2 พีระมิดความรู้ (Knowledge pyramid) ความรู้ (Knowledge) คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ เป็นความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นอีก ระดับหนึ่งเป็นความรู้ที่ได้ศึกษาจากสารสนเทศ จนเป็นความรู้ของตัวเอง รวมทั้งความสามารถ เชิงปฏิบัติหรือทักษะความเข้าใจ เป็นความเข้าใจ การรับรู้ในเรื่องราวที่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการตัดสินใจและการปฏิบัติงาน

9 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
1 1.2 พีระมิดความรู้ (Knowledge pyramid) ความฉลาดหรือสติปัญญา (Wisdom) คือ การรวบรวมความรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์ เข้ากับประสบการณ์และเหตุผลกลายเป็น ภูมิปัญญา เป็นความสามารถโดยรวมของบุคคล ที่จะกระทำตามเป้าหมาย การคิดอย่างมีเหตุผล และการจัดการกับสิ่งรอบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

10 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.1 ข้อมูล (Data) ความหมายของข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่อง ตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น

11 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.2 สารสนเทศ (Information) สารสนเทศ คือ ข่าวสาร ข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ผ่านการกลั่นกรอง ประมวลผล ที่ได้มีการบันทึกไว้ ในรูปแบบต่างๆ กัน ทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้มีผู้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ตรงตามวัตถุประสงค์ หรือตรงตามความต้องการ (สุกัญญา กุลนิติ : 2 )

12 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.3 ความสำคัญของสารสนเทศ แบ่งตามการพัฒนาตัวบุคคล 1. การพัฒนาสติปัญญา 2. การพัฒนาจิตใจ 3. การพัฒนาร่างกายและบุคลิกภาพ

13 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.3 ความสำคัญของสารสนเทศ (ต่อ) แบ่งตามการพัฒนาสภาวการณ์ด้านอื่นๆ 1. ด้านการศึกษา 2. ด้านการวิจัย 3. ด้านเทคโนโลยี 4. ด้านเศรษฐกิจ 5. ด้านสังคม วัฒนธรรม 6. ด้านการเมืองการปกครอง

14 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.3 ความสำคัญของสารสนเทศ (ต่อ) สารสนเทศมีความสำคัญต่อทุกด้าน เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ในลักษณะดังต่อไปนี้ ทำให้ผู้บริโภคหรือผู้รับสารสนเทศนั้นเกิดความรู้ (Knowledge) และความเข้าใจ (Understanding) ในเรื่องที่เกิดขึ้น เมื่อรู้และเข้าใจเรื่องต่างๆแล้ว ทำให้สามารถวางแผน ตัดสินใจ (Decision Making) ในเรื่องต่างๆได้อย่างเหมาะสม ทำให้สามารถแก้ไขปัญหา (Solving Problem) ที่เกิดขึ้นอยู่ ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว ลดความซ้ำซ้อน ทันกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

15 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.4 ความสำคัญของสารสนเทศในด้านการศึกษา 2.4.1 ลักษณะของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา การจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง (Student Centered Learning) การเรียนแบบนี้ช่วยพัฒนา ไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ (Resource Based Learning) ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อ การเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา

16 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.4 ความสำคัญของสารสนเทศในด้านการศึกษา (ต่อ) 2.4.2 ความสำคัญของสารสนเทศในด้านการศึกษา สารสนเทศที่ดีมีคุณค่าและทันสมัย จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ จำเป็นต้องใช้สารสนเทศ ที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ถูกต้องจากหลายแขนงวิชามาพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่ ขึ้นมาได้ นักศึกษาใช้สารสนเทศในการเรียนรู้นอกตำราเรียน เพื่อให้ตนเองมีความรู้มากขึ้น นักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้สารสนเทศมาใช้ประกอบในการเรียน ทำให้นักศึกษาดำรงอยู่ในสังคมปัจจุบันที่เรียกว่า "สังคมสารสนเทศ" ได้ ทำให้มีความสามารถในการแข่งขันและประสบความสำเร็จได้

17 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี (Characteristics of good information) 1. มีความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) 2. สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibility) 3. ต้องมีความสมบูรณ์ (Completeness) 4. สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance) 5. ตรวจสอบได้ (Verifiability) 6. ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) 7. มีความทันสมัย เป็นปัจจุบัน (Up to date)

18 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี (ต่อ) (Characteristics of good information) 1) ต้องมีความความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง และเชื่อถือได้ สารสนเทศบางอย่างมีความสำคัญ หากไม่ตรงกับความเป็นจริงแล้ว อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ สารสนเทศที่ถูกต้องแม่นยำ จะต้องเกิดจาก การป้อนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมที่ประมวลผลจะต้องถูกต้อง

19 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี (ต่อ) (Characteristics of good information) 2) ต้องมีความสมบูรณ์ครบถ้วน (complete) สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ในเนื้อหาของสารสนเทศ โดยเฉพาะข้อเท็จจริงที่สำคัญทั้งหมด สามารถตอบโจทย์หรือข้อสงสัยของผู้ใช้ได้อย่างครบถ้วน ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาต้องเป็นข้อมูลที่ให้ข้อเท็จจริง (facts) หรือข่าวสาร (information) ที่ครบถ้วนทุกด้านทุกประการ มิใช่ขาดส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปทำให้นำไปใช้การไม่ได้

20 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี (ต่อ) (Characteristics of good information) 3) สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibility) ผู้ใช้ต้องการสารสนเทศทุกเวลาไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือเวลากลางคืน รวมทั้งต้องการเข้าถึงสารสนเทศจากทุกสถานที่ในทุกมุมโลก สารสนเทศที่ดีต้องมีความสะดวก และรวดเร็วในการเข้าถึงสารสนเทศ ในการนำสารสนเทศมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ความรวดเร็วในการค้น คือ สารสนเทศสามารถ วัดได้ เช่น หนึ่งนาที หรือหนึ่งชั่วโมง

21 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี (ต่อ) (Characteristics of good information) 4) มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาควรเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ข้อมูลต้องการใช้ และจำเป็นต้องรู้ / ทราบ หรือเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผน กำหนดนโยบายหรือตัดสินปัญหาในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาอย่างมากมาย แต่ไม่มีใครต้องการใช้หรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล

22 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี (ต่อ) (Characteristics of good information) 5) สามารถพิสูจน์ได้ (verifiable) สารสนเทศนั้น ต้องสามารถพิสูจน์หรือตรวจสอบได้ว่าเป็นความจริง เช่น สารสนเทศที่ดีจะต้องตรวจสอบแหล่งที่มาได้ ความสม่ำเสมอของข้อมูล ความสอดคล้องของข้อมูล ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศได้ ถ้าเป็นสารสนเทศที่ดี จะต้องได้รับผลที่เหมือนกัน เป็นต้น

23 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี (ต่อ) (Characteristics of good information) 6) ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) หมายถึง ทันในเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ช้าเกินไปจนนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ สารสนเทศนั้นต้องใช้ระยะเวลาสั้น และมีความรวดเร็วในการประมวลผล เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศทันเวลา ถ้าผลิตข้อมูลออกมาช้า ก็ไม่มีคุณค่า ถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำก็ตาม

24 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.5 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี (ต่อ) (Characteristics of good information) 7) มีความทันสมัย เป็นปัจจุบัน (Up to date) สารสนเทศที่ดีต้องทันสมัย เป็นปัจจุบัน หมายถึง ข้อมูลที่ป้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีความเป็นปัจจุบันทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ตัวอย่างเช่น ข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครองนักเรียน จะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัย หากหมายเลขโทรศัพท์ล้าสมัยก็จะไม่สามารถติดต่อกับผู้ปกครองได้หากเกิดกรณีฉุกเฉิน

25 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.6 บทบาทของสารสนเทศ 1. ช่วยลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ (Decision) หรือช่วยชี้แนวทางในการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) 2. ช่วย หรือสนับสนุนการจัดการ (Management) หรือการดำเนินงาน ขององค์การ ให้มีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผลมากขึ้น 3. ใช้ทดแทนทรัพยากร (Resources) ทางกายภาพ เช่น กรณีการเรียนทางไกล ผู้เรียนที่เรียนนอกห้องเรียน จริง สามารถเรียนรู้เรื่องต่างๆ เช่นเดียวกับ ห้องเรียนจริง โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนที่ห้องเรียนนั้น 4. ใช้ในการกำกับ ติดตาม (Monitoring) การปฏิบัติงานและการตัดสินใจ เพื่อดูความก้าวหน้าของงาน

26 ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)
2 2.6 บทบาทของสารสนเทศ (ต่อ) 5. สารสนเทศเป็นช่องทางโน้มน้าว หรือชักจูงใจ (Motivation) ในกรณี ของการโฆษณาที่ทำให้ผู้ชม, ผู้ฟัง ตัดสินใจ เลือกสินค้า หรือบริการนั้น 6. สารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญของการศึกษา (Education) สำหรับ การเรียนรู้ ผ่านสื่อประเภทต่างๆ 7. สารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งเสริมวัฒนธรรม และสันทนาการ (Culture & Recreation) ในด้าน ของการเผยแพร่ในรูปแบบ ต่างๆ เช่น วีดิทัศน์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้น 8. สารสนเทศเป็นสินค้าและบริการ (Goods & Services) ที่สามารถซื้อขายได้ 9. สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่ต้องลงทุน (Investment) จึงจะได้ผลผลิต และบริการ เพื่อเป็นรากฐานของการ จัดการ และการดำเนินงาน

27 การรู้สารสนเทศ 3.1 ความหมายของการรู้สารสนเทศ
การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) หมายถึง ทักษะหรือความสามารถของบุคคลในการตระหนักและรับรู้ ถึงความต้องการสารสนเทศการ ค้นหา การประเมิน การประมวล การใช้และถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

28 การรู้สารสนเทศ 3.2 ความจำเป็นของการรู้สารสนเทศ 3
ความจำเป็นที่จะต้องมีทักษะการรู้สารสนเทศ เนื่องจากปัจจัยหลัก 2 ข้อ คือ 1. การทะลักทะลายของสารสนเทศ (Information explosion) ทั้งจากจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น และรูปแบบที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในรูปแบบ ของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บวกกับการเกิดขึ้นของศาสตร์แขนงใหม่ๆ 2. ความเจริญรุดหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ซึ่งทำให้การรวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่สารสนเทศ เพิ่มจำนวนมากขึ้น และขยายไปทั่วทุกมุมโลก รวมถึงมีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น

29 การรู้สารสนเทศ 3.2 ความจำเป็นของการรู้สารสนเทศ (ต่อ)
สารสนเทศคืออำนาจ” (Information is Power/ Knowledge is power) หมายถึง ผู้ที่มีสารสนเทศหรือได้รับสารสนเทศที่มีคุณค่าและทันสมัย มีความต่อเนื่องทันเหตุการณ์ และสามารถใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์ สูงสุดผู้นั้นย่อมมีพลังหรือมีอำนาจ ได้เปรียบผู้อื่นในทุกๆ ด้าน

30 การรู้สารสนเทศ 3.3 ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลด้านต่างๆ ดังนี้ การศึกษา การดำรงชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

31 การรู้สารสนเทศ 3.3 ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ (ต่อ) ด้านการศึกษา 3
การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะ โดยอาศัยทรัพยากรสารสนเทศเป็นพื้นฐานสำคัญ

32 การรู้สารสนเทศ 3.3 ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ (ต่อ)
การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศของบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น

33 การรู้สารสนเทศ 3.3 ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ (ต่อ)
สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจ และการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า ผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากร ที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ

34 การรู้สารสนเทศ 3.4 องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ (ต่อ) 3
การรู้สารสนเทศเป็นทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะ และกระบวนการอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนา การเรียนรู้ทุกรูปแบบ สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (American Library Association : Online) ได้กำหนดองค์ประกอบ ของการรู้สารสนเทศไว้ 5 ประการ คือ 1. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ 2. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ 4. ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ

35 การรู้สารสนเทศ 3.4 องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ (ต่อ) 3
นอกจากความสามารถดังกล่าวแล้ว ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติในด้านอื่นๆ ประกอบอีกได้แก่ การรู้ห้องสมุด (Library literacy) การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) การรู้เครือข่าย (Network Literacy) การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual Literacy) การรู้สื่อ (Media Literacy) การรู้สารสนเทศดิจิทัล (Digital Literacy) การมีความรู้ด้านภาษา (Language Literacy) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ (Information Ethic)

36 ผู้รู้สารสนเทศ 4.1 ความหมายของผู้รู้สารสนเทศ
ผู้รู้สารสนเทศ (Information Literate Person ) หมายถึง บุคคลที่มีทักษะและวิธีการในการเรียนรู้ (People who have learned how to learn) หรือบุคคลที่รู้ถึงวิธีการเรียนรู้ เนื่องจากตนเองรู้ว่า ความรู้ต่างๆหรือความรู้ที่ต้องการจะเรียนรู้นั้นมีการจัดระบบอย่างไร รู้ว่าจะค้นหาสารสนเทศได้อย่างไร และรู้ว่าจะใช้สารสนเทศอย่างไร ดังนั้นผู้รู้สารสนเทศจะต้องเป็นผู้ที่ตระหนักถึงความจำเป็นในการใช้สารสนเทศอยู่เสมอและสารสนเทศที่ได้เลือกใช้นั้นจะต้องเป็นสารสนเทศที่ถูกต้องและมีความสมบูรณ์

37 ผู้รู้สารสนเทศ 4.2 ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ 4
1. มีความเป็นอิสระและมีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2. มีความต้องการสารสนเทศ 3. รู้ว่าอะไรคือสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ 4. สามารถใช้และมีความมั่นใจในสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ 5. รู้จักใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีต่างๆเพื่อการเข้าถึงและสื่อสารสารสนเทศ

38 ผู้รู้สารสนเทศ 4.3 ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skill)
หมายถึง ทักษะความสามารถในการตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ สามารถนำความต้องการสารสนเทศไปสร้างคำถามที่ตอบสนองความต้องการสารสนเทศได้ รวมทั้งสามารถบูรณาการความรู้ใหม่กับองค์ความรู้เดิมได้ และประยุกต์ใช้งานในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เป็นอย่างดี

39 ผู้รู้สารสนเทศ 4.4 ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skill) 4
ทักษะการรู้สารสนเทศ มี 5 ทักษะ ทักษะที่ 1 ความสามารถในการตระหนักรู้ถึงความต้องการสารสนเทศ ทักษะที่ 2 ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ ทักษะที่ 3 ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ ทักษะที่ 4 ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ ทักษะที่ 5 ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

40 ผู้รู้สารสนเทศ 4.4 ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skill) 4
ทักษะที่ 1 ความสามารถในการตระหนักรู้ถึงความต้องการสารสนเทศ เป็นทักษะที่ต้องใช้การคิด วิเคราะห์ในเรื่องความต้องการสารสนเทศ ไม่เพียงแค่รู้ แต่ต้องตระหนักว่าสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และสารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น สำหรับการมีทักษะหรือความสามารถในการตระหนักรู้ถึง ความต้องการสารสนเทศ ผู้เรียนจะต้องสามารถกำหนดเรื่องที่จะศึกษา ค้นคว้า กำหนดความต้องการสารสนเทศ ระบุชนิดและรูปแบบที่หลากหลายของแหล่งสารสนเทศที่จะศึกษา เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ บุคคล สถานที่ อินเทอร์เน็ต รวมทั้งตระหนักถึงค่าใช้จ่าย และประโยชน์ที่ได้รับ และทราบขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น

41 ผู้รู้สารสนเทศ 4.4 ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skill) 4
ทักษะที่ 2 ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ เป็นทักษะที่เกี่ยวกับการรู้ว่าจะได้สารสนเทศมาจากที่ใดบ้าง และรู้วิธีที่จะเข้าถึงสารสนเทศ สำหรับทักษะหรือความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ ผู้เรียนจะต้องสามารถเลือกวิธีการค้นคืนสารสนเทศที่เหมาะสม สามารถกำหนด กลยุทธ์การค้นคืนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถค้นคืนสารสนเทศออนไลน์หรือสารสนเทศจากบุคคล โดยใช้วิธีการที่หลากหลายสามารถปรับกลยุทธ์ การค้นคืนที่เหมาะสมตามความจำเป็น

42 ผู้รู้สารสนเทศ 4.4 ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skill) 4
ทักษะที่ 3 ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ เป็นทักษะที่เกี่ยวกับการคัดเลือกสารสนเทศที่มีคุณค่า คือมีความน่าเชื่อถือ มีความถูกต้อง และมีความเหมาะสมเพียงพอกับเนื้อหาสาระ ที่ต้องการนำเสนอ โดยจำเป็นต้องศึกษาเกณฑ์ในการเลือกปรือประเมินสารสนเทศ สำหรับทักษะหรือความสามารถในการประเมินสารสนเทศ ผู้เรียนต้องสารมารถสรุปแนวคิดสำคัญจากสารสนเทศที่รวบรวม โดยใช้เกณฑ์การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเที่ยงตรง ความถูกต้อง และความทันสมัย

43 ผู้รู้สารสนเทศ 4.4 ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skill) 4
ทักษะที่ 4 ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ เป็นทักษะในการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์สารสนเทศ สำหรับทักษะ หรือความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ ผู้เรียนต้องสามารถนำสารสนเทศ ที่เลือกได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประมวลผลสารสนเทศขึ้นมาใหม่เพื่อให้เกิดความเข้าใจตามหลักการและจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ รวมทั้งตอบคำถาม ตามประเด็นที่ต้องการ ทักษะนี้จำเป็นต้องใช้วิธีคิดแบบแยกแยะให้เห็นแต่ละด้านแต่ละมุม ทำให้เห็นความสำคัญและสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ วิธีช่วยในการวิเคราะห์สารสนเทศ คือ การทำบัตรบันทึกตามประเด็นที่วางแผนไว้ จากนั้นจึงสังเคราะห์โดยนำมาประมวลผลกันใหม่ตามลำดับที่สัมพันธ์สอดคล้องกัน แล้วเรียบเรียงขึ้นเป็นสารสนเทศใหม่ ตามความเข้าใจและข้อเท็จจริงที่ค้นคว้ามา

44 ผู้รู้สารสนเทศ 4.4 ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skill) 4
ทักษะที่ 5 ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นทักษะในการนำเสนอสารสนเทศที่ผ่านการสังเคราะห์แล้ว มาเผยแพร่ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งการนำไปใช้อาจอยู่ในหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ เช่น รายงานการศึกษาวิจัย เป็นต้น อีกประเด็นหนึ่งคือ จริยธรรมการใช้สารสนเทศ ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์ (Copyright) การขโมยความคิด (Plagiarisms) และมีจิตสำนึกในการมีมารยาททางวิชาการ

45 ทักษะการรู้สารสนเทศ นำมาใช้ วิเคราะห์ความต้องการ ประมวล ค้นหา ประเมิน
ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต จริยธรรมในการ ใช้สารสนเทศ นำมาใช้ วิเคราะห์ความต้องการ รูปแบบการนำเสนอ การอ้างอิง - วางแผนค้นคว้า - ระดมความคิด - แผนที่ความคิด - ลักษณะสารสนเทศ ทักษะการรู้สารสนเทศ รู้จักแหล่ง/ทรัพยากรสารสนเทศ ลักษณะสำคัญ การนำมาใช้ประโยชน์ ลิขสิทธิ์ และการใช้ที่เป็นธรรม ประมวล วิเคราะห์ : จดบันทึก สังเคราะห์ : วางโครงร่าง เรียบเรียงเนื้อหา ค้นหา ประเมิน รู้จักเครื่องมือและกลยุทธ์ ในการเข้าถึงสารสนเทศ เกณฑ์ในการประเมิน หลักการอ่านเพื่อการเลือกมาใช้

46 บรรณานุกรม ชุติมา สัจจานนท์.(2530). สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. นนทบุรี : สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2548). ทักษะการรู้สารสนเทศ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุกัญญา กุลนิติ. (2549). ห้องสมุดและสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์ เอกสารประกอบการเรียนรู้ วิชา ทักษะการรู้สารสนเทศ. (2555). ขอนแก่น: สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

47


ดาวน์โหลด ppt สารสนเทศ และการรู้สารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google