งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความเข้าใจและการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความเข้าใจและการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความเข้าใจและการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy)
สัปดาห์ที่ 2 สิทธิและความรับผิดชอบ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑาวุฒิ จันทรมาลีและทีมงาน หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

2 รายละเอียด 1. แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ
2. สิทธิบนสื่อสาธารณะยุคดิจิทัล 3. การใช้เสรีภาพอย่างถูกต้อง 4. ความรับผิดชอบต่อสังคมยุคดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

3 แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ
สิทธิ (Right) หมายถึง การรับรองและคุ้มครองโดยกฎหมายโดยรัฐและประชาชนโดยเฉพาะ เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ภาวะโดยอิสระของประชาชน โดยไม่มีกฎหมายของรัฐมารับรองหรือคุ้มครองไว้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

4 แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มีทั้งหมด 25 มาตรา (ตั้งแต่มาตรา 25 ถึง มาตรา 49) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ว่าด้วยเรื่องสิทธิและเสรีภาพคู่กัน กลุ่มที่ 2 ว่าด้วยเรื่องสิทธิอย่างเดียว กลุ่มที่ 3 ว่าด้วยเรื่องเสรีภาพอย่างเดียว กลุ่มที่ 4 ว่าด้วยเรื่องการรับโทษ บทบัญญัติ และสัญชาติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

5 แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 1 ว่าด้วยเรื่องสิทธิและเสรีภาพคู่กัน มาตรา 25 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทําการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 การจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 บุคคลย่อมสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

6 แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 1 ว่าด้วยเรื่องสิทธิและเสรีภาพคู่กัน มาตรา 28 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย มาตรา 49 บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

7 แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 2 ว่าด้วยเรื่องสิทธิอย่างเดียว มาตรา 32 บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว มาตรา 37 บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก มาตรา 41 บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ ได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ หรือเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

8 แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 2 ว่าด้วยเรื่องสิทธิอย่างเดียว บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ อนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี จัดการ บํารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือเข้าชื่อกันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ดําเนินการใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือชุมชน หรืองดเว้นการดําเนินการใดอันจะกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุขของประชาชนหรือชุมชน โดยให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วยตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 43 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

9 แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 2 ว่าด้วยเรื่องสิทธิอย่างเดียว มาตรา 46 บุคคลย่อมมีสิทธิรวมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค มาตรา 47 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ มาตรา 48 สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตรย่อมได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือตามที่กฎหมายบัญญัติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

10 แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 3 ว่าด้วยเสรีภาพอย่างเดียว มาตรา 31 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน มาตรา 33 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถานการเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือที่รโหฐานจะกระทํามิได้ มาตรา 34 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

11 แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 3 ว่าด้วยเสรีภาพอย่างเดียว มาตรา 35 บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าในทางใด ๆ มาตรา 38 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ มาตรา 40 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

12 แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 3 ว่าด้วยเสรีภาพอย่างเดียว มาตรา 42 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชนหรือหมู่คณะอื่น มาตรา 44 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ มาตรา 45 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

13 แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กลุ่มที่ 4 ว่าด้วยเรื่องการรับโทษ บทบัญญัติ และสัญชาติ มาตรา 29 บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทําการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทํานั้นบัญญัติเป็นความผิดและกําหนดโทษไว้ มาตรา 30 การเกณฑ์แรงงานจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ มาตรา 39 การเนรเทศบุคคลสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร จะกระทํามิได้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

14 แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ
คือ สื่อที่เป็นพื้นที่สำหรับการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเสรีภาพมีลักษณะการดำเนินงานที่ไม่ได้เป็นสื่อเชิงพาณิชย์ โดยเป็นสื่อที่ปราศจากอิทธิพลจากกลุ่มทุนและรัฐบาล ประชาชนทุกคนมีโอกาสเข้าถึงพื้นที่นี้ได้โดยไม่เสียค่าบริการ และเป็นสื่อที่มุ่งสร้างคุณภาพให้กับสังคม สื่อสาธารณะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

15 แนวคิดด้านสิทธิและเสรีภาพ
สามารถสรุปสาระเนื้อหาตามเจตนารมณ์ ได้ดังนี้ 1. สิทธิในการเข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ 2. สิทธิในแก้ไข หรือดัดแปลงข้อมูล 3. สิทธิในการส่งข้อมูลหรืออีเมล์ 4. สิทธิในการจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่ง 5. สิทธิในการนำข้อมูลเข้าถึงระบบ หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ 6. สิทธิในการตัดต่อ เติม ตัดแปลงภาพ ของผู้อื่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

16 การใช้เสรีภาพอย่างถูกต้อง
แต่ละบุคคลควรใช้แนวคิดดังต่อไปนี้ก่อนที่จะกระทำสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับโลกดิจิทัล การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) คือ การทำงานของสมองที่มีการคิด พิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบเกี่ยวกับข้อมูล หรือสภาพการณ์ที่ปรากฏ โดยใช้ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของตนเองในการสำรวจหลักฐานอย่างละเอียด เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล 7 ประการ คือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

17 การใช้เสรีภาพอย่างถูกต้อง
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล 7 ประการ คือ 1. ความสามารถในการระบุประเด็นปัญหา 2. ความสามารถในการรวบรวมข้อมูล 3. ความสามารถในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล 4. ความสามารถในการระบุลักษณะข้อมูล 5. ความสามารถในการตั้งสมมุติฐาน 6. ความสามารถในการลงข้อสรุป 7. ความสามารถในการประเมินผล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

18 การใช้เสรีภาพอย่างถูกต้อง
แต่ละบุคคลควรใช้แนวคิดดังต่อไปนี้ก่อนที่จะกระทำสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับโลกดิจิทัล การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) คือ ความสามารถของบุคคลที่มีการคิดและมองสถานการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ แบบองค์รวมเพื่อเป็นกรอบแนวคิดการทำงานที่มองแบบแผนและความเชื่อมโยงกันระหว่างองค์ประกอบย่อยอย่างสมเหตุสมผลเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

19 สิทธิบนสื่อสาธารณะยุคดิจิทัล
หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประชาชน หรือตัวบุคคล จะต้องแสดงความรับผิดชอบ ต่อสิ่งต่าง ๆ ได้กระทำลงไป ผ่านสื่อสังคมออนไลน์หรือต่อสังคมยุคดิจิทัลทุกรูปแบบ เช่น 1. ความรับผิดชอบต่อตนเอง ได้แก่ การส่งข้อความ (text) ภาพ (image) เสียง (voice) หรือ วิดีโอ (video) ที่ทำการโพสต์ แสดงความคิดเห็น ทัศนคติ ส่งต่อ หรือจัดเก็บข้อมูล 2. ความรับผิดชอบสังคม ได้แก่ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ และพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

20 ใบงานครั้งที่ 1 แบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 5-6 คน
ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5-6 คน เพื่อศึกษาและค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับความเข้าใจและการใช้ดิจิทัลของแต่ละช่วงวัย ประโยชน์ของการมีทักษะความเข้าใจและการใช้ดิจิทัล ตลอดถึงความจำเป็นที่ต้องทราบสิทธิ เสรีภาพ และความรับผิดชอบเมื่อใช้สิทธินั้นบนสื่อสาธารณะยุคดิจิทัลในฐานะเป็นประชากรของสังคมไทยในระดับต่าง ๆ แต่ละกลุ่มรวบรวมและสรุปเนื้อหาที่ได้ศึกษาและค้นคว้ามาแล้วจัดทำเป็นคลิปวิดีโอ (การ์ตูนแอนิเมชัน/ถ่ายทำเอง/อินโฟกราฟิก) โดยมีความยาวไม่เกิน 5 นาที ให้ตั้งชื่อไฟล์ว่า SDU_DL261 (ตอนเรียน)WK1.mp4 พร้อมอัพโหลดขึ้นยูทูป (YouTube) และนำส่งไฟล์เข้าเมล์ของผู้รับผิดใบงานประจำสัปดาห์ในแต่ละตอนเรียนที่จัดการเรียนสอนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยสวนดุสิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

21 ทรัพยากรการเรียนรู้ Link VDO ความรู้ Link VDO กรณีศึกษา
1. TPchannel : 2. Infographic การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล : 3. หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย : Link VDO กรณีศึกษา 1. การ์ตูนอนิเมชั่น เรื่อง หน้าที่และความรับผิดชอบ : 2. Infographic การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล : 3. GUIITAR UP2ME : สิทธิและหน้าที่ : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

22 จบการบรรยายประจำสัปดาห์


ดาวน์โหลด ppt ความเข้าใจและการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google