ระบบจัดทำข้อมูลผู้ป่วยในประกันสังคม การใช้โปรแกรม ระบบจัดทำข้อมูลผู้ป่วยในประกันสังคม (SIP09 รุ่น 1.2)
การติดตั้งโปรแกรม 1. ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ SSFull 1.2.exe จากแผ่น CD โฟรเดอร์ SIP09
2. โปรแกรมจะทำการเตรียมการติดตั้งซึ่งจะได้หน้าต่างดังรูป คลิกปุ่ม ถัดไป
3. เป็นส่วนของการให้รายละเอียดของผู้ใช้ - ชื่อผู้ใช้ - หน่วยงานผู้ติดตั้ง คลิกปุ่ม ถัดไป
4. คลิกปุ่ม ถัดไป
5. คลิกปุ่ม ถัดไป
6. รอสักครู่โปรแกรมกำลังคัดลอกไฟล์
7. คลิกปุ่มสิ้นสุด เพื่อปิดหน้าจอ โปรมแกรมจะทำการสร้างไอคอน sip09 ไว้บน Desktop
การใช้งานโปรแกรม ผู้ใช้สามารถเปิดโปรแกรมระบบจัดทำข้อมูลในประกันสังคมได้จากไอคอน Sip09 บน Desktop จะเข้าสู่โปรแกรม sip09 ดังรูป
การตั้งค่าตัวแปรสำหรับระบบ 1. ก่อนที่จะทำการบันทึกข้อมูล จะต้องมีการตั้งค่าตัวแปรสำหรับระบบซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ คลิกปุ่ม Config จากเมนูจัดการระบบ
2.คลิกแถบ ตั้งค่าตัวแปรสำหรับระบบ เติมข้อต่างๆ ที่กำหนดไว้ดังรูป เติมรหัสโรงพยาบาล(ใช้ 5 หลัก) เติมชื่อโรงพยาบาล เติมจังหวัด
3. คลิกแถบ ตั้งค่าวิธีการทำงานของโปรแกรม ที่กำหนดไว้ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม บันทึกแล้วออก
การใช้งานโปรแกรม การบันทึกข้อมูลผู้ป่วยใน
การบันทึกข้อมูลผู้ป่วยใน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ การบันทึกข้อมูลผู้ป่วยใน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ข้อมูลรับ/จำหน่วย/สิทธิ์ ข้อมูลค่ารักษาพยาบาล ข้อมูลการวินิจฉัย/หัตการ
การบันทึกข้อมูลรับ/จำหน่าย/สิทธิ์ ประกอบด้วย ข้อมูลการรับผู้ป่วยเข้ารักษา และข้อมูลต่างๆของผู้ป่วย ข้อมูลการจำหน่ายผู้ป่วย ข้อมูลรายละเอียดสิทธิการรักษา แถบควบคุม 1 2 3 4
การเพิ่มข้อมูลผู้ป่วย คลิกปุ่ม + จากแถบควบคุ่ม เพื่อเพิ่มข้อมูลผู้ป่วย จะได้หน้าต่างดังรูป เติมข้อมูล ตามรายละเอียดดังนี้ HN , ชื่อ – นามสกุล,คำนำหน้า,AN
- เสร็จแล้ว คลิกที่ช่อง “รับ/จำหน่าย เสร็จเรียบร้อย” 2. หลังจากพิมพ์ HN,ชื่อ สกุล,คำนำหน้า และ AN ครบแล้ว คลิกปุ่มตกลง เพื่อบันทึกข้อมูลระบบ 3. ใส่ข้อมูลการรับผู้ป่วยเข้ารักษา และข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วย - เสร็จแล้ว คลิกที่ช่อง “รับ/จำหน่าย เสร็จเรียบร้อย”
บันทึกข้อมูลค่ารักษาพยาบาล เป็นส่วนที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดในการรักษาทั้งที่อยู่ในสิทธิประโยชน์ และนอกสิทธิประโยชน์โดยต้องบันทึกข้อมูล 3 ส่วนคือค่ารักษาพยาบาล ,ผู้ร่วมจ่าย(ถ้ามี) ,และการรักษา พยาบาลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะทาง(ถ้ามี)
ใส่ข้อมูลรายการค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วย โดยแยกตามประเภทค่ารักษาพยาบาลของโปรแกรม
บันทึกข้อมูลผู้ร่วมจ่าย เป็นส่วนที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลค่ารักษาพยาบาลที่มีผู้ร่วมจ่าย เพื่อต้องการทราบว่ารายการนั้นๆ มีผู้ร่วมจ่ายหรือไม่ จำนวนเท่าไร
กรณีมีผู้ร่วมจ่าย ผู้ร่วมจ่าย
กรณี 72 ชม. แรก 2 ผู้ร่วมจ่าย
- เสร็จแล้ว คลิกที่ช่อง “ค่ารักษาเสร็จเรียบร้อย”
การบันทึกข้อมูลการวินิจฉัยและหัตถการของแพทย์ ข้อมูลด้านการวินิจฉัย และการทำหัตถการของแพทย์ จะเก็บข้อมูลทางด้านการรักษาผู้ป่วยโดยใช้รหัส ICD – 10 และ ICD 9-CM ให้ คลิกแถบการวินิจฉัย/หัตถการ จากหน้าจอบันทึกข้อมูลเบิกผู้ป่วยในจะได้หน้าต่างดังรูป หน้าต่างนี้ประกอบไปด้วย รหัสวินิจฉัยโรคหลัก รหัสวินิจฉัยโรครอง รหัสหัตถการ คำอธิบายรหัสวินิจฉัยโรค และหัตถการ
วิธีการบันทึกรหัสวินิจฉัยโรค และรหัสหัตถการ เติมรหัสวินิจฉัยโรคหลัก ตามรหัส ICD-10 ในช่องหมายเลข 1 เติมรหัสแพทย์ผู้สรุปโรค เติมรหัสวินิจฉัยโรครอง(ถ้ามี) เติมรหัสหัตถการ เติมรหัสแพทย์ ที่ทำหัตถการ เติมวันที่ และเวลาในการทำหัตถการ(ถ้ามี)
การเก็บข้อมูล หลังจากมีการบันทึกข้อมูลครบทั้ง 3 ส่วน คือ รับ/จำหน่าย/สิทธิ,ค่ารักษาพยาบาล และการวินิจฉัย/หัตถการ ปุ่มเก็บส่ง จะแสดงขึ้นมาให้ผู้ใช้คลิกปุ่มเก็บส่ง เพื่อเก็บไว้ในระบบ รอเตรียมข้อมูล เมื่อคลิกปุ่มเก็บส่ง ปุ่มนี้จะเปลี่ยนเป็นปุ่มเรียกคืน หากต้องการแก้ไขข้อมูลให้คลิกปุ่มเรียกคืนอีกครั้งก็จะสามารถแก้ไขข้อมูลได้ โดยจะมี ข้อความแจ้งให้ทราบว่าข้อมูลเตรียมไว้รอส่ง ถ้าต้องการเรียกคืนตอบ Yes ไม่ต้องการตอบ No
หลังจากบันทึก และเก็บข้อมูลส่ง เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจัดเตรียมเอกสาร ส่ง เพื่อเตรียมข้อมูลส่งให้ สกส. ตรวจสอบ โดยมีขั้นตอนดังนี้คือ คลิก ปุ่มรับส่งธุรกรรม จากหน้าต่างเมนูหลัก จะได้หน้าต่างดังรูป
คลิกแถบจัดเตรียมข้อมูล จะมีรายละเอียดบอกจำนวนผู้ป่วยในทั้งหมด และจำนวนผู้ป่วย ที่ต้องการส่งข้อมูลในงวดนี้ ส่วนค่ารักษาส่งเบิก จะแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ ค่าห้อง/ค่าอาหาร และค่า รักษาอื่นๆ พื้นที่แสดงข้อมูลผู้ป่วยที่ส่งเบิกในงวดนี้ จะแสดง HN,AN วันที่รับเข้า,วันที่จำหน่าย,ค่าห้อง อาหารฯ และค่ารักษาอื่นๆ ตามลำดับ
3. สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการพิมพ์ข้อมูล เพื่อตรวจสอบก่อนจัดเตรียมเอกสารส่งสามารถ ทำได้โดยการ คลิกปุ่มพิมพ์ 4. เมื่อตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้ คลิกปุ่มตกลง เพื่อจัดเตรียมเอกสารที่จะส่ง โดยแฟ้มข้อมูลที่ได้จากการจัดเตรียมข้อมูลมีรูปแบบดังนี้ รหัส รพ. + S + เลขงวด(4 หลัก).zip เช่น 10670S1001.zip ซึ่งไฟล์ข้อมูลดั้งกล่าว จะอยู่ในโฟลเดอร์ C:\SS\outbox
4. คลิกปุ่มออก เพื่อออกจากหน้าต่างนี้เพื่อทำขั้นตอนถัดไปคือการส่งข้อมูล
การส่งข้อมูล การส่งข้อมูลให้สำนักงานกลางสารสนเทศตรวจสอบโดยส่งผ่าน OUT LOOK EXPRESS มีขั้นตอนดังนี้ เชื่อมต่อ Internet ให้เรียบร้อย เปิด Out look express และคลิกปุ่ม New Message เพื่อสร้างจดหมาย ดังรูป
3.เติมข้อมูลตามรายละเอียดดังนี้ ช่อง To : เติม ss-ip@ss.chi.or.th ช่อง subject : เติม ส่งข้อมูลผู้ป่วยในประกันสังคม ข้อความ : รหัสโรงพยาบาล.....ชื่อโรงพยาบาล....จำนวนราย 4. แนบไฟล์ข้อมูล ซึ่งอยู่ในโฟลเดอร์ C:\SS\OUTBOX โดยมีวิธีดังนี้ -เลือก File Attachment จากเมนู Insert -เลือก Drive C จากช่อง Look in ดับเบิลคลิกโฟลเดอร์ SSคลิก Outbox และดับเบิลคลิกแฟ้มข้อมูล เช่น 10670S1001.zip 5. ตรวจสอบข้อมูลการส่งให้เรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม Send
ตรวจสอบไฟล์ข้อมูลว่าส่งออกเรียบร้อยแล้ว โดยเข้าไปดูที่ OUT BOX ต้องไม่มีไฟล์ค้างอยู่ ดังรูปข้างล่างนี้
การรับข้อมูล หลังจากส่งข้อมูลให้ สกส. ตรวจสอบ สกส. จะทำการตรวจสอบข้อมูล และจะส่ง เอกสารตอบรับ ให้ในวันถัดไป วิธีการรับเอกสารตอบรับสำหรับสถานพยาบาลที่บันทึกข้อมูลเอง เชื่อมต่อ Internet ให้เรียบร้อย เปิด Out look express
3. คลิกปุ่ม Send/Recv จากแถบเครื่องมือ เพื่อตรวจสอบจดหมายใหม่ 4. คลิกจดหมายที่ส่งมาจาก สกส. พร้อมกันนี้จะมีเอกสารการตอบรับแนบมาด้วยเป็น zip file 5. คลิกเมนู file และเลือก Save Attachments ในช่อง Save To เติม C:\ss\Inbox และคลิกปุ่ม Save
การับพิมพ์เอกสารตอบรับ หลังจากที่ได้รับ EMAIL ตอบรับจาก สกส. และเก็บเอกสารแนบที่ส่งมาไว้ในโฟลเดอร์แล้ว การพิมพ์เอกสารตอบรับปฏิบัติได้ดังนี้ คลิกปุ่มเอกสารตอบรับ จากเมนูหลัก
คลิกเลือกเอกสารตอบรับ จากเอกสารชุดใหม่ คลิกปุ่มรับเอกสาร REP 1142
4. คลิกปุ่มพิมพ์ทั้งหมด ถ้าต้องการพิมพ์เอกสารทั้งหมด 5. คลิกปุ่มพิมพ์เฉพาะที่ติด C ถ้าต้องการพิมพ์เฉพาะรายการผู้ป่วยที่ต้องการแก้ไข 6. คลิกปุ่มออก เพื่อออกจากหน้าต่างนี้
การแก้ไขข้อผิดพลาดหลังจากรับเอกสารตอบรับ กรณีที่สถานพยาบาลได้รับเอกสารตอบรับแล้ว อาจจะมีผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่ผ่านมีข้อผิดพลาด สกส. จะแจ้งไว้ในเอกสารการตอบรับ ในหัวข้อ “รายการต่อไปนี้ต้องส่งข้อมูลให้ตรวจใหม่” ให้ปฏิบัติดังนี้ คลิกปุ่มบันทึกข้อมูลเบิกผู้ป่วยใน จากเมนูหลัก ค้นหา AN ที่มีข้อผิดพลาด แก้ไขข้อผิดพลาด ตามที่ สกส. แจ้งไว้ในเอกสารตอบรับ แก้ไขเรียบร้อยแล้ว ให้เก็บส่ง และจัดเตรียมเอกสารส่งใหม่ ให้ สกส.ตรวจสอบอีกครั้ง
การรับเอกสารบัญชีสรุปข้อมูลผู้ป่วยในประกันสังคมจาก สกส. ทางสำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพจะส่งเอกสารแจ้งยอดบัญชีรายการ ผู้ป่วยในประกันสังคมที่ผ่าน A แล้วทุกเดือน โดยผ่าน Out look express วิธีการรับเอกสารบัญชีสรุปข้อมูลผู้ป่วยในประกันสังคม เชื่อมต่อ Internet ให้เรียบร้อย เปิด Out look express 3. คลิกปุ่ม Send/Recv จากแถบเครื่องมือ เพื่อตรวจสอบจดหมายใหม่
4. คลิกจดหมายที่ส่งมาจาก สกส 4. คลิกจดหมายที่ส่งมาจาก สกส. พร้อมกันนี้จะมีเอกสารบัญชีสรุปยอดผู้ป่วยแนบมาด้วยเป็น zip file 5. คลิกเมนู file และเลือก Save Attachments ในช่อง Save To เติม C:\ss\Inbox และคลิกปุ่ม Save 6. ทำการ Unzip File 7. ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ข้อมูล และสั่งพิมพ์เอกสารเพื่อตรวจสอบต่อไป
การจัดการระบบ ส่วนนี้เป็นการจัดการระบบเกี่ยวกับการสำรองข้อมูล ซึ่งสามารถใช้ งานส่วนนี้ได้โดย คลิกปุ่มจัดการระบบ จากเมนุหลักดังนี้
จากนั้นคลิก Back up
เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสำรองข้อมูลของสถานพยาบาล ไว้เผื่อกรณีฉุกเฉินหรือข้อมูลเสียหาย ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลกลับมาใช้ได้ ขั้นตอนการสำรองข้อมูลมีดังนี้คือ
2. เลือกอุปกรณ์ ในการสำรองข้อมุลมีให้เลือกได้ 2 วิธี คือ สำรองไว้ในแผ่น floppy disk สำรองไว้ใน Harddisk 3. หลังจากเลือกอุปกรณ์ที่ใช้สำรองข้อมูลแล้วจะมีข้อความ ยืนยันการสำรองข้อมูล ถ้าต้องการ คลิก ตกลง 4. จากนั้นโปรแกรมจะทำการสำรองข้อมูลให้ เรียบร้อยแล้วจะมีข้อความ “Back up completed successfully” คลิก OK
กำหนดการส่งข้อมูล สถานพยาบาลส่งข้อมูลการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนแต่ละเดือน ภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนนับถัดจากเดือนที่ให้บริการ กรณีส่งข้อมูลมาแล้ว แต่ไม่ครบถ้วน สถานพยาบาลส่งข้อมูลเพิ่มเติมได้ในเดือนถัดไป ทั้งนี้จะต้องไม่เกิน 1 เดือน นับแต่เดือนที่สถานพยาบาลได้ส่งข้อมูลของเดือนนั้นตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว เดือนที่จำหน่าย กำหนดส่ง เพิ่มเติม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม(ปีถัดไป) กุมภาพันธ์(ปีถัดไป)
ขอบคุณครับ