หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวศวกรรมยานยนต์ Bachelor of Engineering Program in Automotive Engineering
เกี่ยวกับเรา... ปรัชญาการผลิตบัณฑิต ตามแผนยุทธศาสตร์ของชาติในการเพิ่มความเข้มแข็งและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ รัฐบาลได้กาหนดให้อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมหลักหนึ่งที่ได้บรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ของชาติ โดยมีแนวทางที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ทำให้ประเทศมีความต้องการวิศวกรที่มีความรู้ด้านวิศวกรรมยานยนต์มากขึ้น แต่ในปัจจุบันประเทศไทยยังขาดทรัพยากรบุคคลทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ดังนั้นเพื่อที่จะทาให้ยุทธศาสตร์นี้เกิดผลในทางปฏิบัติจึงจาเป็นต้องสร้างบุคลากรด้านนี้เพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน
ลักษณะการประกอบวิชาชีพ งานด้านวิศวกรรมยานยนต์มีหลายรูปแบบ ทั้งสายงานตรงคือ บริษัทผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ ซึ่งในประเทศไทยมีกว่า 1,500 บริษัท และสายงานอ้อมคือ ทำงานในสายวิชาชีพวิศวกรรรมเครื่องกลได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างลักษณะการประกอบวิชาชีพดังนี้ วิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตและประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ วิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสายการประกอบยานยนต์ วิศวกรในสถาบันหรือหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพยานยนต์ ประกอบอาชีพอิสระส่วนตัว ธุรกิจด้านยานยนต์ นักวิชาการ นักวิจัยหรือรับราชการในกรมขนส่งทางบก การรถไฟกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม เป็นต้น
ลักษณะการประกอบวิชาชีพ
เกี่ยวกับเรา... จำนวนนักศึกในปัจจุบัน หลักสูตร จำนวน (คน) หลักสูตร จำนวน (คน) วิศวกรรมเครื่องกล 316 วิศวกรรมยานยนต์ 244 วิศวกรรมอากาศยาน 121 รวมทั้งหลักสูตร 650 นักศึกษาวิศวกรรมทั้งหมด 6,555
เกี่ยวกับเรา... การจัดการเรียนการสอน หลักสูตรเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เนื้อหามีความครอบคลุมตามที่สภาวิศวกรกำหนด หน่วยกิตเรียนทั้งหมด 195 หน่วยกิต - ปีที่ 1 เรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป - ปีที่ 2 เรียนรายวิชาพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม - ปีที่ 3 เรียนรายวิชาเฉพาะทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล - ปีที่ 4 เรียนปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล ทำโครงงานวิศวกรรม และออกสหกิจศึกษา - หลักสูตรออกแบบให้สามารถศึกษาจบได้ภายใน 3 ปี กับ 2 เทอม
ทำไมต้องยานยนต์? อัตราการได้งานและอัตราเงินเดินเฉลี่ยสูงเช่นกันครับ
คำถามที่ถามบ่อย? วิศวกรรมยานยนต์ต่างจากวิศวกรรมเครื่องกลอย่างไร? วิศวกรรมเครื่องกลเป็นวิชาชีพที่กว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจงอย่างชัดเจน วิชาที่เรียนจึงมีเนื้อหาที่คลุมกว้างๆ และหลากหลาย วิศวกรรมยานยนต์เป็นสายวิชาชีพหนึ่งของวิศวกรรมเครื่องกล ที่เน้นด้านการออกแบบและผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์โดยเฉพาะ - เพราะเทคโนโลยียานยนต์เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าและการแข่งขันสูง จึงต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเข้าไปออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิต ในรูปแบบของ “วิศวกรยานยนต์”
คำถามที่ถามบ่อย? จบยานยนต์ทำงานด้านเครื่องกลได้ไหม? รายวิชาชีพกว่าครึ่งของยานยนต์เป็นองค์ความรู้เดียวกับเครื่องกล หลายวิชานั่งเรียนด้วยกัน หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ถูกออกแบบให้รองรับการได้ ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม เช่นเดียวกับวิศวกรรมเครื่องกล - เพราะองค์ความรู้ทางวิศวกรรมของ “วิศวกรรมยานยนต์” กับ “วิศวกรรมเครื่องกล” สร้างมาจากพื้นฐานเดียวกัน ดังนั้น ผู้ที่จบวิศวกรรมยานยนต์จึงสามารถทำงานด้านวิศวกรรมเครื่องกลได้เช่นเดียวกัน