งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักเกณฑ์และเงื่อนไข"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
การกำหนดตำแหน่ง (ว17/2552)

2 มาตรา 47 ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กำหนด โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 48 2

3 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง
การกำหนดตำแหน่งต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อน และประหยัดเป็นหลัก การกำหนดตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้นและระดับสูง ประเภทอำนวยการ ระดับสูง ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ และ ประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ให้ อ.ก.พ. กระทรวง แต่งตั้งคณะกรรมการ การกำหนดตำแหน่งระดับสูงของกระทรวง การกำหนดตำแหน่งอื่นนอกเหนือจากนี้ อ.ก.พ. กระทรวง อาจแต่งตั้ง คณะทำงานกลั่นกรองก่อนนำเสนอ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาก็ได้ 3

4 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง (ต่อ)
กรณีการกำหนดตำแหน่งที่มีผลทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของส่วนราชการ เพิ่มสูงขึ้น ให้ส่วนราชการนำตำแหน่งว่างที่มีเงินมายุบเลิก โดยคำนวณจาก ค่าตอบแทนเฉลี่ยของตำแหน่งที่นำมายุบจะต้องครอบคลุมค่าตอบแทนเฉลี่ย ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการกำหนดตำแหน่งนั้น ๆ หากเป็นตำแหน่งที่มีเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ให้คำนวณเงินเพิ่ม ดังกล่าวมารวมเป็นค่าใช้จ่ายในค่าตอบแทนเฉลี่ยด้วย เพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย ด้านบุคคลไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น 4

5 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง (ต่อ)
การกำหนดประเภทตำแหน่ง สายงาน ระดับ และจำนวน ตำแหน่งซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ให้ดำเนินการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ว่าด้วย การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 5

6 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง (ต่อ)
การกำหนดตำแหน่งให้มีผลไม่ก่อนวันที่ อ.ก.พ. กระทรวง มีมติ การกำหนดตำแหน่งตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการใหม่ ให้มีผลไม่ก่อนวันที่ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการมีผลใช้บังคับ 6

7 มติ อ.ก.พ. กระทรวง เพื่อประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคล เมื่อ อ.ก.พ. กระทรวง มีมติเป็นประการใดแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้ 1. แจ้งมติ อ.ก.พ. กระทรวง ให้ส่วนราชการที่ขอกำหนดตำแหน่งทราบ 2. กรณีอนุมัติการกำหนดตำแหน่ง ให้ส่งสำเนามติให้สำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลาง ทราบภายใน 7 วันทำการ นับแต่วันที่แจ้งมติให้ส่วนราชการทราบ 3. จัดทำรายงานผลการกำหนดตำแหน่ง เสนอ ก.พ. ปีละ 2 ครั้ง ภายในเดือนเมษายนและตุลาคม เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ตำแหน่ง 7

8 หลักเกณฑ์การเกลี่ยอัตรากำลัง (การตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน)
ภารกิจและปริมาณงานของส่วนราชการที่ตำแหน่งสังกัดอยู่เดิมลดลง หรือหมดความจำเป็น และส่วนราชการที่จะเกลี่ยอัตรากำลังไปกำหนด มีภารกิจและปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือมีเหตุผล ความจำเป็นโดยได้มีการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของงาน ไม่เป็นการเกลี่ยอัตรากำลังที่กำหนดไว้ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค หรือราชการบริหารส่วนกลางที่ไปตั้งอยู่ในภูมิภาค ไปกำหนดเป็นตำแหน่งและอัตราเงินเดือนในราชการบริหารส่วนกลาง กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง ภารกิจของส่วนราชการที่เป็นสาระสำคัญ และไม่กระทบต่อการบริการประชาชน ในส่วนภูมิภาค เว้นแต่ 8

9 หลักเกณฑ์การเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงาน
เป็นสายงานที่ ก.พ. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนด ตำแหน่ง และสอดคล้องกับบทบาทภารกิจของส่วนราชการ หน้าที่และความรับผิดชอบ และลักษณะงานที่ปฏิบัติ ไม่เป็นการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงาน ที่สงวนไว้เพื่อบรรจุนักเรียนทุนรัฐบาล ไม่เป็นการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงาน แพทย์และสายงานที่เกี่ยวข้องกับงานบริการทางการแพทย์ ให้ดำเนินการได้เมื่อเป็นตำแหน่งว่าง 9

10 หลักเกณฑ์การเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงาน (ต่อ)
สำหรับกรณีที่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ให้ดำเนินการได้เมื่อผู้ดำรง ตำแหน่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด กรณีการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงาน ที่มีผลเป็นการ เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของส่วนราชการให้ส่วนราชการนำตำแหน่งว่างที่มีเงินมายุบเลิกโดยคำนวณจากค่าตอบแทนเฉลี่ยของ ตำแหน่งที่นำมายุบ จะต้องครอบคลุมค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ เพิ่มสูงขึ้นจากการกำหนดตำแหน่งนั้น ๆ 10

11 หลักเกณฑ์การเปลี่ยนด้านความเชี่ยวชาญ
สำหรับตำแหน่งประเภทวิชาการ และตำแหน่งประเภททั่วไป ส่วนราชการมีการปรับ บทบาท ภารกิจ หน้าที่และความรับผิดชอบ และ ลักษณะงานที่ปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของกระทรวง ไม่เป็นการเปลี่ยนด้านความเชี่ยวชาญ สำหรับตำแหน่งประเภท วิชาการและตำแหน่งประเภททั่วไป จากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไปเป็นด้านสนับสนุนวิชาการหรือด้านทั่วไป 11

12 ตำแหน่งซึ่งกำหนดไว้หลายระดับ ในลักษณะกรอบระดับตำแหน่ง
หลักเกณฑ์การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ประเภทวิชาการและประเภททั่วไป โดยไม่เปลี่ยนประเภทตำแหน่งและสายงาน ตำแหน่งซึ่งกำหนดไว้หลายระดับ ในลักษณะกรอบระดับตำแหน่ง ปรับปรุงเป็นระดับต่ำลง โดยพิจารณาจากเหตุผลความจำเป็น K3 ปรับปรุงเป็นระดับสูงขึ้น โดยพิจารณาหน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพและความยุ่งยากของงานเพิ่มขึ้น และผ่านการประเมินคุณภาพงานของตำแหน่ง K2 K2 O2 K1 K1 O1 ประเภทวิชาการ ประเภททั่วไป 12

13 ประเภทวิชาการ ประเภททั่วไป
หลักเกณฑ์การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ประเภทวิชาการและประเภททั่วไป โดยไม่เปลี่ยนประเภทตำแหน่งและสายงาน (ต่อ) ปรับปรุงเป็นระดับต่ำลงได้ 1 ระดับ โดยพิจารณาจากเหตุผลความจำเป็น K5 K4 O4 K3 O3 ให้ปรับปรุงเป็นระดับเดิมได้ เมื่อจะแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติตรงตาม คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง K2 O2 K1 O1 ประเภทวิชาการ ประเภททั่วไป 13

14 การทบทวนการกำหนดตำแหน่ง
ตำแหน่งซึ่งกำหนดไว้หลายระดับ และไม่ได้เริ่มจากระดับบรรจุ ในครั้งแรก ปรับปรุงเป็นระดับสูงขึ้น โดยพิจารณาหน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพและความยุ่งยากของงานเพิ่มขึ้น และผ่านการประเมินคุณภาพงานของตำแหน่ง โดยไม่ต้องนำตำแหน่งมายุบเลิก K5 K4 O4 K3 O3 K2 O2 ต่อมา เมื่อตำแหน่งว่างลง ให้ทบทวนการกำหนดตำแหน่ง ซึ่งเมื่อกำหนดเป็นระดับใดแล้ว ภายหลังมีการปรับปรุง เป็นระดับสูงขึ้นและมีผลให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ให้นำตำแหน่งว่างที่มีเงินมายุบเลิก K1 O1 ประเภทวิชาการ ประเภททั่วไป 14

15 หลักเกณฑ์การยุบเลิกตำแหน่ง
ส่วนราชการหรือหน่วยงาน ที่ตำแหน่งนั้นสังกัดอยู่ ได้ยุบเลิกไป หรือได้ ปรับเปลี่ยนไปเป็นองค์การ มหาชน และตำแหน่งว่างลง เนื่องจากข้าราชการสมัครใจ ที่จะเปลี่ยนไปเป็นพนักงาน ขององค์การมหาชนนั้น ตำแหน่งว่างลงเนื่องจาก ข้าราชการลาออกจาก ราชการก่อนครบอายุ เกษียณตามมาตรการที่ คณะรัฐมนตรีกำหนด การกำหนดตำแหน่ง ทุกกรณีที่มีผลกระทบ ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคคล เพิ่มสูงขึ้น ให้ยุบเลิก ตำแหน่งตามแนวทาง การควบคุมค่าใช้จ่ายด้าน บุคคลที่ ก.พ. กำหนด 15

16 หลักเกณฑ์การจัดตำแหน่งตามโครงสร้างส่วนราชการใหม่
หากเป็นการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการภายในกระทรวง หรือการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการภายในกรม เปลี่ยนประเภท สายงาน และระดับตำแหน่ง ไม่เปลี่ยนประเภท สายงาน และระดับตำแหน่ง อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม จัดตำแหน่งที่มีอยู่เดิมลงตามโครงสร้างใหม่ อ.ก.พ. กระทรวง จัดตำแหน่งลงตาม โครงสร้างใหม่ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่ ก.พ. กำหนด 16

17 การประเมินคุณภาพงานของตำแหน่ง
เป็นวิธีดำเนินการในการจัดลำดับชั้นงาน เพื่อให้ได้ค่างานอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรม โดยการวิเคราะห์ลักษณะงาน หน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพและความยุ่งยากของงานตามองค์ประกอบ การประเมินที่มีระดับการวัดที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน ใช้หลักเกณฑ์ การประเมินค่างาน ใช้ “โปรแกรมประเมินค่างาน” K5 O3 K3 O4 K4 M2 O2 K2 ทั่วไป วิชาการ อำนวยการ ทั่วไป วิชาการ 17

18 คณะกรรมการการกำหนดตำแหน่งระดับสูงของกระทรวง
ประกอบด้วย 1) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นประธาน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นกรรมการ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นกรรมการ 4) เลขาธิการ ก.พ. หรือผู้แทน เป็นกรรมการ 5) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน เป็นกรรมการ 6) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ เป็นกรรมการ และสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน 18

19 7) เลขาธิการ ก.พ.ร. หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
ประกอบด้วย (ต่อ) 7) เลขาธิการ ก.พ.ร. หรือผู้แทน เป็นกรรมการ 8) อธิบดีกรมบัญชีกลาง หรือผู้แทน เป็นกรรมการ 9) ผู้อำนวยการสำนัก/กองที่รับผิดชอบ เป็นเลขานุการ งานการเจ้าหน้าที่ของกระทรวง 10) เจ้าหน้าที่ของกระทรวง/กรม เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ที่ได้รับมอบหมาย 11) เจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ. ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ 19

20 ข้อมูลเพิ่มเติม 20


ดาวน์โหลด ppt หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google