วัฏจักรทางการบัญชีและการวิเคราะห์รายการค้า บทที่ 3 วัฏจักรทางการบัญชีและการวิเคราะห์รายการค้า
วัฏจักรทางการบัญชี วัฏจักรทางการบัญชี (accounting cycle) หมายถึง ลำดับขั้นตอนทางการบัญชี เริ่มจากการบันทึกรายการบัญชีที่เกิดขึ้น จนถึงการเสนอรายงานทางการเงินของรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง ๆ
1. การวิเคราะห์รายการค้า 2. การบันทึกบัญชี 3. การผ่านรายการ 4 1. การวิเคราะห์รายการค้า 2. การบันทึกบัญชี 3. การผ่านรายการ 4. การจัดทำงบทดลอง 5. การบันทึกรายการปรับปรุง และแก้ไขรายการ ที่ผิดพลาด
6. การจัดทำงบทดลองภายหลังการปรับปรุง 7. การปิดบัญชี 8. การจัดทำงบทดลองภายหลังปิดบัญชี 9. การจัดทำงบการเงิน
รอบระยะเวลาบัญชี รอบระยะเวลาบัญชี (accounting period) หมายถึง งวดเวลาของการจัดทำงบการเงิน ปีปฏิทิน (calendar year) คือ ระยะเวลาระหว่าง 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคมของทุกปี ส่วนปีบัญชี (fiscal year) คือ ระยะเวลาระหว่าง 1 ตุลาคม ถึง 30 กันยายนของทุกปี
การวิเคราะห์รายการค้า งบทดลองภายหลังปิดบัญชี ความสัมพันธ์ของวัฏจักรทางการบัญชี และรอบระยะเวลาบัญชี แสดงดังภาพที่ 3.1 เริ่มต้นรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 25X1 การวิเคราะห์รายการค้า การบันทึกบัญชี การผ่านรายการ การจัดทำ งบทดลอง การบันทึกรายการปรับปรุงและแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชี ภายหลังปรับปรุง การปิดบัญชี งบทดลองภายหลังปิดบัญชี งบการเงิน สิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี 31 ธันวาคม 25X1
รายการค้า รายการค้า (business transaction) หรือรายการทางธุรกิจ หมายถึง รายการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินงานทางธุรกิจ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับจำนวนเงินหรือไม่ก็ได้
การนำสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ มาลงทุน การซื้อสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อหรือเงินสด การขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อหรือเงินสด การรับชำระหนี้จากลูกหนี้ การจ่ายชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ การกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้
การถอนเงินทุนออกไปใช้ส่วนตัวเป็นเงินสดหรือสินทรัพย์อื่น การจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกิจการประเภท ต่าง ๆ การซื้อสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เพื่อมาใช้ในกิจการ การซื้อหลักทรัพย์เพื่อเป็นการลงทุนชั่วคราวหรือระยะยาว การจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดหรือสินทรัพย์อื่น
รายการที่มิใช่รายการค้า (non – business transaction)
การต้อนรับลูกค้า การแจกแบบสอบถาม การแจกแผ่นพับโฆษณา การออกร้านเพื่อแสดงสินค้า
การไปพบลูกค้าเพื่อสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า การตกแต่งร้าน การรับโทรศัพท์จากลูกค้า การแจ้งราคาสินค้าแก่ลูกค้า
สมการบัญชี สมการบัญชี (accounting equation) หมายถึง ผลของการบันทึกรายการบัญชีทั้งด้านเดบิต และเครดิตด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันตามหลักบัญชีคู่ ทำให้เกิดสมการบัญชี
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
สมการงบแสดงฐานะการเงิน หนี้สิน สินทรัพย์ ส่วนของเจ้าของ = +
สมการงบแสดงฐานะการเงิน ส่วนของเจ้าของ + รายได้ – ค่าใช้จ่าย หนี้สิน สินทรัพย์ ส่วนของเจ้าของ + รายได้ – ค่าใช้จ่าย = +
เอกสารประกอบรายการค้า ใบสั่งซื้อสินค้าหรือใบแจ้งการใช้บริการ ใบกำกับสินค้า ใบส่งสินค้าหรือบริการ ใบรับคืนสินค้าหรือใบส่งคืนสินค้า ใบแจ้งหนี้
ใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญการรับเงินหรือจ่ายเงิน ใบนำฝากเงินหรือใบถอนเงิน ใบโอนบัญชี
การวิเคราะห์รายการค้า การวิเคราะห์รายการค้า (business transaction analysis) หมายถึง การแสดงถึงผลกระทบของการเกิดรายการค้าที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนหรือการโอนเงินหรือสิ่งของมีค่าที่ตีราคาได้เป็นตัวเงิน ระหว่างกิจการกับบุคคลหรือกิจการอื่น อันมีผลให้จำนวนเงินในรายการของสมการบัญชี ได้แก่ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเพิ่มหรือลดลง
1. สินทรัพย์ เพิ่มขึ้น ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น 2. สินทรัพย์ ลดลง ส่วนของเจ้าของลดลง 3. สินทรัพย์ เพิ่มขึ้น หนี้สินเพิ่มขึ้น 4. สินทรัพย์ ลดลง หนี้สินลดลง 5. สินทรัพย์ชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น สินทรัพย์อีกชนิดหนึ่งลดลง
6. หนี้สินชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น หนี้สินอีกชนิดหนึ่งลดลง 7. ส่วนของผู้ถือหุ้นชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น ส่วนของเจ้าของอีกชนิดหนึ่งลดลง 8. หนี้สินเพิ่มขึ้น ส่วนของเจ้าของลดลง 9. หนี้สินลดลง ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างที่ 3.1 นายชัยชนะ ฐานะดี เป็นเจ้าของกิจการคนเดียวได้เปิดให้บริการเกี่ยวกับการแพทย์ ชื่อ “ชัยชนะการแพทย์” โดยเริ่มกิจการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 25X1 รายการค้าที่เกิดขึ้นระหว่าง เดือนมกราคม 25X1 มีดังต่อไปนี้ ม.ค. 1 นายชัยชนะนำเงินสดมาลงทุนเป็น จำนวน 600,000 บาท
ตัวอย่างที่ 3.1 (ต่อ) ม.ค. 3 กิจการซื้ออุปกรณ์การแพทย์เป็นเงินสด ราคา 150,000 บาท 5 กิจการซื้อรถยนต์ 1 คัน จากบริษัท โตโยต้า จำกัด ราคา 360,000 บาท โดยจ่ายเงินสด ไปเพียง 200,000 บาท ที่เหลืออีก 160,000 บาท จะจ่ายชำระภายใน 60 วัน
ตัวอย่างที่ 3.1 (ต่อ) ม.ค. 10 กิจการให้บริการตรวจรักษานายชาญชัยคิด จำนวน เงิน 60,000 บาท โดยกิจการยังไม่ได้รับชำระเงิน 15 กิจการซื้อวัสดุสำนักงานจากบริษัทโชคดี จำกัด ราคา 15,400 บาท โดยกิจการจ่ายชำระเป็นตั๋วเงิน จ่าย 18 กิจการได้รับชำระหนี้จากนายชาญชัย จำนวน 20,000 บาท
ตัวอย่างที่ 3.1 (ต่อ) ม.ค. 26 จ่ายค่าใช้สาธารณูปโภคเป็นเงินสด จำนวน 14,000 บาท 30 นายชัยชนะ ถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัว จำนวน 40,000 บาท 31 จ่ายเงินเดือนพนักงานเป็นเงินสด จำนวน 25,000 บาท และในวันนี้กิจการได้จ่ายชำระหนี้บริษัท โตโยต้า จำกัด จำนวน 100,000 บาท
การวิเคราะห์รายการค้า การวิเคราะห์รายการค้า รายการค้า วันที่ 1 มกราคม 25X1 นายชัยชนะนำเงินสด มาลงทุนเป็นจำนวน 600,000 สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด ทุน – นายชัยชนะ +600,000
รายการค้า วันที่ 3 มกราคม 25X1 กิจการซื้ออุปกรณ์การแพทย์เป็นเงินสด ราคา 150,0 00 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด อุปกรณ์ ทุน – นายชัยชนะ ยกมา 600,000 3 มกราคม -150,000 +150,000 รวม 450,000 150,000
รายการค้า วันที่ 5 มกราคม 25X1 กิจการซื้อรถยนต์ 1 คัน จากบริษัท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด อุปกรณ์ รถยนต์ เจ้าหนี้ ทุน – นายชัยชนะ ยกมา 450,000 150,000 600,000 5 มกราคม -200,000 + 360,000 +160,000 รวม 250,000 360,000 160,000
รายการค้า วันที่ 10 มกราคม 25X1 กิจการให้การตรวจรักษา สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด ลูกหนี้การค้า อุปกรณ์ รถยนต์ เจ้าหนี้ ทุน-นายชัยชนะ กำไร (ขาดทุน) ยกมา 10 มกราคม 250,000 150,000 360,000 160,000 600,000 +60,000 60,000 รายได้ รวม 60,000
รายการค้า วันที่ 15 มกราคม 25X1 กิจการซื้อวัสดุสำนักงานจาก สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนักงาน อุปกรณ์ รถยนต์ เจ้าหนี้ ตั๋วเงินจ่าย ทุน-นายชัยชนะ กำไร (ขาดทุน) ยกมา 15 มกราคม 250,000 60,000 150,000 360,000 160,000 600,000 60,000 รายได้ +15,400 รวม 15,400
รายการค้า วันที่ 18 มกราคม 25X1 กิจการได้รับชำระหนี้จากนาย สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนักงาน อุปกรณ์ รถยนต์ เจ้าหนี้ ตั๋วเงินจ่าย ทุน-นายชัยชนะ กำไร (ขาดทุน) ยกมา 18 มกราคม 250,000 60,000 15,400 150,000 360,000 160,000 600,000 60,000 รายได้ +20,000 -20,000 รวม 270,000 40,000
รายการค้า วันที่ 26 มกราคม 25X1 กิจการจ่ายค่าสาธารณูปโภค สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนักงาน อุปกรณ์ รถยนต์ เจ้าหนี้ ตั๋วเงินจ่าย ทุน-นายชัยชนะ กำไร (ขาดทุน) ยกมา 26 มกราคม 270,000 40,000 15,400 150,000 360,000 160,000 600,000 60,000 รายได้ -14,000 - 14,000 ค่าสาธารณู- ปโภค รวม 256,000 46,000
ถอนใช้ส่วนตัว + กำไร (ขาดทุน) รายการค้า วันที่ 30 มกราคม 25X1 นายชัยชนะถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัว จำนวน 40,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนักงาน อุปกรณ์ รถยนต์ เจ้าหนี้ ตั๋วเงินจ่าย ทุน-นายชัยชนะ - ถอนใช้ส่วนตัว + กำไร (ขาดทุน) ยกมา 30 มกราคม 256,000 40,000 15,400 150,000 360,000 160,000 600,000 46,000 -40,000 รวม 216,000 40,000 + 46,000
ถอนใช้ส่วนตัว + กำไร (ขาดทุน) รายการค้า วันที่ 31 มกราคม 25X1 จ่ายเงินเดือนพนักงาน เป็นเงินสด 25,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนักงาน อุปกรณ์ รถยนต์ เจ้าหนี้ ตั๋วเงินจ่าย ทุน-นายชัยชนะ - ถอนใช้ส่วนตัว + กำไร (ขาดทุน) ยกมา 216,000 40,000 15,400 150,000 360,000 160,000 600,000 46,000 31 มกรา คม -25,000 -25,000 เงินเดือน -100,000 รวม 91,000 60,000 40,000 + 21,000 656,400 656,400
หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ ตารางที่ 3.1 ความสัมพันธ์ของการวิเคราะห์รายการค้ากับการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน และงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ รายการค้า สินทรัพย์ หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ กำไร (ขาดทุน) สุทธิ เงินสด ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนักงาน อุปกรณ์ รถยนต์ เจ้าหนี้ ตั๋วเงินจ่าย ทุน-นายชัยชนะ รายได้ ค่าใช้จ่าย 25X1 มกราคม 1 +600,000 3 -150,000 +150,000 5 200,000 +360,000 +160,000 10 +60,000 รายได้ค่าบริการ 15 +15,400 18 +20,000 -20,000 26 -14,000 ค่าสาธารณูปโภค 30 -40,000 ถอนใช้ส่วนตัว 31 -25,000 เงินเดือน -100,000 รวม +91,000 +40,000 560,000 -39,000
ผลรวมของหนี้สินและส่วนของเจ้าของ 656,400 ร้านชัยชนะการแพทย์ +91,000 +40,000 +15,400 +150,000 +360,000 +60,000 560,000 -39,000 ผลรวมของสินทรัพย์ 656,400 = กำไรสุทธิ 21,000 ส่วนของเจ้าของ 581,000 ผลรวมของหนี้สินและส่วนของเจ้าของ 656,400 ร้านชัยชนะการแพทย์ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ณ วันที่ 31 มกราคม 25X1 สำหรับระยะเวลา 1 เดือน สิ้นสุด วันที่ 31 มกราคม 25X1 สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ รายได้ สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน รายได้ค่าบริการ 60,000 เงินสด 91,000 เจ้าหนี้ ค่าใช้จ่าย ลูกหนี้การค้า 40,000 ตั๋วเงินจ่าย 15,400 ค่าสาธารณูปโภค 14,000 วัสดุสำนักงาน หนี้สินระยะยาว เงินเดือน 25,000 39,000 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ส่วนของเจ้าของ กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 21,000 อุปกรณ์การแพทย์ 150,000 ทุน-นายชัยชนะ 600,000 รถยนต์ 360,000 บวก กำไรสุทธิ 621,000 หัก ถอนใช้ส่วนตัว 581,000 รวมสินทรัพย์ 656,400 รวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ
การจัดหมวดหมู่และการกำหนดผังบัญชี ผังบัญชี (chart of accounts) หมายถึง รายการแสดงชื่อและเลขที่บัญชีทั้งหมดที่ใช้ในระบบบัญชีของกิจการ โดยจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบและมีหลักเกณฑ์
1. การกำหนดเลขที่บัญชีหลักแรก หมวดสินทรัพย์ เลขที่บัญชีประจำหมวดหลักแรกคือ 1 หมวดหนี้สิน เลขที่บัญชีประจำหมวดหลักแรกคือ 2 หมวดส่วนของเจ้าของ เลขที่บัญชีประจำหมวดหลักแรกคือ 3 หมวดรายได้ เลขที่บัญชีประจำหมวดหลักแรกคือ 4 หมวดค่าใช้จ่าย เลขที่บัญชีประจำหมวดหลักแรกคือ 5
2. การกำหนดเลขที่บัญชีหลักที่สอง สินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน เลขที่บัญชีประจำประเภทบัญชีคือ 1 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนและหนี้สินระยะยาว เลขที่บัญชีประจำประเภทบัญชีคือ 2 ส่วนของเจ้าของ เลขที่บัญชีประจำประเภทบัญชีคือ 0 รายได้และค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานปกติ เลขที่บัญชีประจำประเภทบัญชีคือ 1 รายได้และค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ เลขที่บัญชีประจำประเภทบัญชีคือ 2
3. การกำหนดเลขที่บัญชีหลักที่สาม บัญชีเงินสด ได้แก่ 111 บัญชีเงินกู้ระยะยาว ได้แก่ 221 บัญชีทุน ได้แก่ 301 บัญชีรายได้ค่าบริการ ได้แก่ 411 บัญชีดอกเบี้ยจ่าย ได้แก่ 519
หลักการบันทึกรายการทางบัญชี หลักการบันทึกรายการทางบัญชี หมายถึง วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นแต่ละรายการในบัญชี ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ หลักการบันทึกรายการทางบัญชีมี 2 ระบบ ได้แก่
1.ระบบบัญชีเดี่ยว ระบบบัญชีเดี่ยว (single – entry system หรือ single – entry bookkeeping) หมายถึง วิธีการบัญชีที่บันทึกเฉพาะรายการในบัญชีเงินสดหรือบัญชีบุคคลเท่านั้น และมักจะไม่สมบูรณ์ครบตามระบบบัญชีคู่ ซึ่งต้องลงรายการบัญชีทั้งด้านเดบิตและเครดิตจนเกิดดุลในตัว
2.ระบบบัญชีคู่ ระบบบัญชีคู่ (double – entry system หรือ double – entry bookkeeping) หมายถึง วิธีการที่ใช้ปฏิบัติในการบันทึกรายการบัญชีต่าง ๆ ประกอบด้วยรายการในสมุดรายวันทั่วไป รายการในสมุดแยกประเภท ตลอดจนเอกสารหลักฐาน การบันทึกเหล่านี้มีระบบและประเพณีปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งอาจใช้ได้กับทั้งกิจการขนาดเล็กและใหญ่ - single journal entry - compound journal entry
ความหมายของคำว่าเดบิต และเครดิต ความหมายของคำว่าเดบิต และเครดิต เดบิต (debit) หมายถึง 1. จำนวนเงินที่แสดงทางด้านซ้ายของบัญชี 2. การลงรายการทางด้านซ้ายของบัญชีหรือการผ่านบัญชี อันกระทำให้สินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 3. การลงรายการทางด้านด้านซ้ายของบัญชีหรือการผ่านบัญชี อันกระทำให้หนี้สินรายการเงินทุนหรือรายได้ลดลง
เครดิต (credit) หมายถึง จำนวนเงินที่แสดงทางด้านขวาของบัญชี การลงรายการทางด้านขวาของบัญชีหรือการผ่านบัญชี อันกระทำให้หนี้สิน รายการเงินทุนหรือรายได้เพิ่มขึ้น การลงรายการทางด้านขวาของบัญชีหรือการผ่านบัญชี อันกระทำให้สินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายลดลง
สรุป เดบิตหรือใช้ตัวย่อว่า Dr หมายถึง การนำผลของการ วิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นมาบันทึกรายการทางบัญชีด้านซ้ายมือ เครดิตหรือใช้ตัวย่อว่า Cr หมายถึง การนำผลของการวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นมาบันทึกรายการทางบัญชีด้านขวามือ
รายการค้า การวิเคราะห์รายการค้า บันทึกบัญชีด้านเดบิต สินทรัพย์เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง ส่วนของเจ้าของลดลง รายได้ลดลง ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สินทรัพย์ลดลง หนี้สินเพิ่มขึ้น ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายลดลง บันทึกบัญชีด้านเดบิต บันทึกบัญชีด้านเครดิต
ข้อ 10 ต่อไปนี้เป็นรายการค้าระหว่างเดือนกรกฎาคม 25X1 ของ “ร้านโชคดีมอเตอร์ ก.ค. 1 นายโชคดีนำเงินสดมาลงทุน จำนวน 150,000 บาท 3 นำเงินสดไปฝากธนาคาร จำนวน 50,000 บาท 5 ซื้ออุปกรณ์สำนักงานเป็นเงินสด จำนวน 40,000 บาท 8 ซื้อวัสดุสิ้นเปลืองในการซ่อมรถเป็นเงินเชื่อจำนวน 15,000 บ. 10 ส่งบิลเรียกเก็บเงินค่าบริการซ่อมรถจากลูกค้าจำนวน 20,000 บาท แต่ยังมิได้รับชำระเงิน 13 จ่ายชำระหนี้ค่าวัสดุสิ้นเปลืองเป็นเงินสด จำนวน 10,000 บาท 15 จ่ายค่าเช่าร้านเป็นเงินสด จำนวน 5,000 บาท 15 รับชำระหนี้จากลูกค้าเป็นเงินสด จำนวน 12,000 บาท 20 นายโชคดีถอนเงินมาใช้ส่วนตัวเป็นเงินสด จำนวน 8,000 บาท
ข้อ 10 ต่อไปนี้เป็นรายการค้าระหว่างเดือนกรกฎาคม 25X1 ของ “ร้านโชคดีมอเตอร์ ก.ค. 25 รับเงินค่าบริการซ่อมรถเป็นเงินสด จำนวน 35,000 บาท 30 จ่ายค่าสาธารณูปโภคเป็นเงินสด จำนวน 3,000 บาท 31 จ่ายเงินเดือนพนักงานเป็นเงินสด จำนวน 25,000 บาท ให้ทำ วิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละวันว่ามีผลกระทบต่อรายการใน สมการบัญชีเช่นไร โดยแสดงการวิเคราะห์เช่นเดียวกับตัวอย่างที่ 3.1
ข้อ 10 การวิเคราะห์รายการค้า ข้อ 10 การวิเคราะห์รายการค้า รายการค้า วันที่ 1 กรกฎาคม 25X1 นายโชคดีนำเงินสด มาลงทุนเป็นจำนวน 600,000 สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด ทุน – นายโชคดี +150,000
รายการค้า วันที่ 3 กรกฎาคม 25X1 นำเงินสดไปฝากธนาคาร ราคา 50,0 00 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด เงินฝากธนาคาร ทุน – นายโชคดี ยกมา 150,000 3 ก.ค. -50,000 +50,000 รวม 100,000 50,000
รายการค้า วันที่ 5 กรกฎาคม 25X1 ซื้ออุปกรณ์สำนักงานเป็นเงินสด 40,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด เงินฝากธนาคาร อุปกรณ์ เจ้าหนี้ ทุน – นายโชคดี ยกมา 100,000 50,000 150,000 5 ก.ค. -40,000 + 40,000 รวม 60,000 40,000
รายการค้า วันที่ 8 กรกฎาคม ซื้อวัสดุสิ้นเปลืองในการซ่อมรถเป็นเงินเชื่อจำนวน 15,000 บ. สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด เงินฝากธนาคาร วัสดุสิ้นเปลือง อุปกรณ์ เจ้าหนี้ ทุน-นายโชคดี กำไร (ขาดทุน) ยกมา 8 ก.ค. 60,000 50,000 40,000 150,000 +15,000 รวม 15,000
รายการค้า วันที่ 11 กรกฎาคม 25X1 ส่งบิลเรียกเก็บเงินค่าบริการซ่อมรถจากลูกค้า จำนวน 20,000 บาท แต่ยังมิได้รับชำระเงิน สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนักงาน อุปกรณ์ เจ้าหนี้ ทุน-นายโชคดี กำไร (ขาดทุน) ยกมา 11 ก.ค. 60,000 50,000 15,000 40,000 150,000 +20,000 +20,000 รายได้ รวม 20,000
รายการค้า วันที่ 13 กรกฎาคม 25X1 จ่ายชำระหนี้ค่าวัสดุสิ้นเปลืองเป็นเงินสด จำนวน 10,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนักงาน อุปกรณ์ เจ้าหนี้ ทุน-นายโชคดี กำไร (ขาดทุน) ยกมา 13 ก.ค. 60,000 50,000 20,000 15,000 40,000 150,000 +20,000 รายได้ -10,000 รวม 5,000
รายการค้า วันที่ 15 กรกฎาคม 25X1 จ่ายค่าเช่าร้านเป็นเงินสด จำนวน 5,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนักงาน อุปกรณ์ เจ้าหนี้ ทุน-นายโชคดี กำไร (ขาดทุน) ยกมา 15 ก.ค. 50,000 20,000 15,000 40,000 5,000 150,000 +20,000 รายได้ -5,000 ค่าเช่า รวม 45,000
รายการค้า วันที่ 15 กรกฎาคม 25X1 รับชำระหนี้จากลูกค้าเป็นเงินสด จำนวน 12,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนักงาน อุปกรณ์ เจ้าหนี้ ทุน-นายโชคดี กำไร (ขาดทุน) ยกมา 15 ก.ค. 45,000 50,000 20,000 15,000 40,000 5,000 150,000 +20,000 รายได้ -5,000 ค่าเช่า +12,000 -12,000 รวม 57,000 8,000
รายการค้า วันที่ 20 กรกฎาคม 25X1 นายโชคดีถอนเงินมาใช้ส่วนตัวเป็นเงินสด จำนวน 8,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนัก งาน อุปกรณ์ เจ้า หนี้ ทุน- โชคดี ถอนใช้ส่วนตัว กำไร (ขาดทุน) ยกมา 20 ก.ค. 57,000 50,000 8,000 15,000 40,000 5,000 150,000 +20,000 รายได้ -5,000 ค่าเช่า -8,000 รวม 49,000
รายการค้า วันที่ 25 กรกฎาคม 25X1 รับเงินค่าบริการซ่อมรถเป็นเงินสด จำนวน 35,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนัก งาน อุปกรณ์ เจ้า หนี้ ทุน- โชคดี ถอนใช้ส่วนตัว กำไร (ขาดทุน) ยกมา 25 ก.ค. 49,000 50,000 8,000 15,000 40,000 5,000 150,000 -8,000 +20,000 รายได้ -5,000 ค่าเช่า 35,000 +รายได้ รวม 84,000
รายการค้า วันที่ 30 กรกฎาคม 25X1 จ่ายค่าสาธารณูปโภคเป็นเงินสด จำนวน 3,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนัก งาน อุปกรณ์ เจ้า หนี้ ทุน- โชคดี ถอนใช้ส่วนตัว กำไร (ขาดทุน) ยกมา 30 ก.ค. 84,000 50,000 8,000 15,000 40,000 5,000 150,000 -8,000 +55,000 รายได้ -5,000 ค่าเช่า -3,000 -ค่าสาธารณูปโภค 3,000 รวม 81,000 47,000
(ข้อ10) รายการค้า วันที่ 31 กรกฎาคม 25X1 จ่ายเงินเดือนพนักงานเป็นเงินสด จำนวน 25,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนัก งาน อุปกรณ์ เจ้า หนี้ ทุน- โชคดี ถอนใช้ส่วนตัว กำไร (ขาดทุน) ยกมา 30 ก.ค. 81,000 50,000 8,000 15,000 40,000 5,000 150,000 -8,000 +55,000 รายได้ -5,000 ค่าเช่า -25,000 สาธารณูปโภค -3,000 เงินเดือน รวม 56,000 22,000
ข้อ 11 คุณแดงได้เปิดร้านตัดเสื้อผ้าสตรีชื่อ “แดงสวยหรู” รายการค้าระหว่างเดือนมกราคม 25X1 มีดังต่อไปนี้ 25X1 ม.ค. 1 คุณแดงนำเงินสดมาลงทุน จำนวน 100,000 บาท 4 ซื้ออุปกรณ์ตัดเย็บราคา 57,000 บาท โดยจ่ายชำระเป็นเงินสดทันที 32,000 บาท ที่เหลือจะชำระภายหลัง 6 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินสด จำนวน 5,000 บาท 10 รับรายได้ค่าบริการตัดเย็บเป็นเงินสด จำนวน 22,500 บาท 15 จ่ายค่าเช่าร้านเป็นเงินสด จำนวน 10,000 บาท 18 จ่ายชำระหนี้ค่าอุปกรณ์ตัดเย็บเป็นเงินสดจำนวน15,000 บ. 20 ส่งใบแจ้งหนี้ค่าบริการตัดเย็บให้แก่ลูกค้า จำนวน 12,000 บาท ลูกค้าขอชำระหนี้ในเดือนหน้า
ข้อ 11 ม.ค. 25 จ่ายค่าสาธารณูปโภคเป็นเงินสด จำนวน 3,000 บาท 28 คุณแดงถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัว จำนวน 5,000 บาท 31 จ่ายเงินเดือนพนักงานเป็นเงินสด จำนวน 16,000 บาท ให้ทำ 11.1 วิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละวันว่ามีผลกระทบต่อรายการในสมการบัญชีเช่นไร โดยแสดงการวิเคราะห์ตามตัวอย่างที่ 3.1 11.2 นำผลของการวิเคราะห์มาแสดงความสัมพันธ์กับงบดุลและงบกำไรขาดทุนในลักษณะเช่นเดียวกับตัวอย่างที่ 3.1
ข้อ 11 การวิเคราะห์รายการค้า ข้อ 11 การวิเคราะห์รายการค้า รายการค้า วันที่ 1 มกราคม 25X1 คุณแดง นำเงินสด มาลงทุนเป็นจำนวน 100,000 สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด ทุน – คุณแดง +100,000
รายการค้า วันที่ 4 มกราคม 25X1 ซื้ออุปกรณ์ตัดเย็บราคา 57,000 โดยจ่ายชำระเป็นเงินสดทันที 32,000 บาท ที่เหลือจะชำระภายหลัง สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด อุปกรณ์ ทุน – นายโชคดี ยกมา 100,000 4 ม.ค. -32,000 +57,000 เจ้าหนี้ +25,000 รวม 68,000 57,000 25,000
รายการค้า วันที่ 6 มกราคม 25X1 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินสด 5,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด วัสดุสำนักงาน อุปกรณ์ เจ้าหนี้ ทุน – คุณแดง ยกมา 68,000 57,000 25,000 100,000 6 ม.ค. -5,000 +5,000 รวม 63,000 5,000
รายการค้า วันที่ 10 มกราคม รับรายได้ค่าบริการตัดเย็บเป็นเงินสด 22,500 บ. สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด วัสดุสิ้นเปลือง อุปกรณ์ เจ้าหนี้ ทุน-นายโชคดี กำไร (ขาดทุน) ยกมา 10 ม.ค. 63,000 +5,000 57,000 25,000 100,000 +22,500 รายได้ รวม 85,500 22,500
รายการค้า วันที่ 15 มกราคม จ่ายค่าเช่าร้านเป็นเงินสด 10,000 บาท รายการค้า วันที่ 15 มกราคม จ่ายค่าเช่าร้านเป็นเงินสด 10,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด วัสดุสิ้นเปลือง อุปกรณ์ เจ้าหนี้ ทุน-นายโชคดี กำไร (ขาดทุน) ยกมา 15 ม.ค. 85,500 5,000 57,000 25,000 100,000 รายได้ +22,500 -10,000 ค่าเช่า รวม 75,500 +5,000 12,500
รายการค้า วันที่ 18 มกราคม จ่ายชำระหนี้ค่าอุปกรณ์ตัดเย็บเป็นเงินสด 10,000 สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด วัสดุสิ้นเปลือง อุปกรณ์ เจ้าหนี้ ทุน-นายโชคดี กำไร (ขาดทุน) ยกมา 18 ม.ค. 75,500 5,000 57,000 25,000 100,000 รายได้ +22,500 ค่าเช่า -10,000 -15,000 รวม 60,500 10,000 12,500
รายการค้า วันที่ 20 มกราคม ส่งใบแจ้งหนี้ค่าบริการตัดเย็บให้แก่ลูกค้าจำนวน 12,000 บาทลูกค้าขอชำระหนี้ในเดือนหน้า สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด ลูกหนี้ วัสดุสิ้นเปลือง อุปกรณ์ เจ้าหนี้ ทุน-นายโชคดี กำไร (ขาดทุน) ยกมา 20 ม.ค. 60,500 5,000 57,000 10,000 100,000 รายได้ +22,500 ค่าเช่า -10,000 +12,000 รวม 12,000 24,500
รายการค้า วันที่ 25 มกราคม จ่ายค่าสาธารณูปโภคเป็นเงิน 3,000 บาท รายการค้า วันที่ 25 มกราคม จ่ายค่าสาธารณูปโภคเป็นเงิน 3,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด ลูกหนี้ วัสดุสิ้นเปลือง อุปกรณ์ เจ้าหนี้ ทุน-นายโชคดี กำไร (ขาดทุน) ยกมา 25 ม.ค. 60,500 12,000 5,000 57,000 10,000 100,000 รายได้ +34,500 ค่าเช่า -10,000 -3,000 ค่าสาธารณูปโภค รวม 57,500 21,500
ถอนใช้ส่วนตัว + กำไร (ขาดทุน) รายการค้า วันที่ 28 มกราคม 25X1 คุณแดงถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัว จำนวน 5,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนักงาน อุปกรณ์ เจ้าหนี้ ทุน-คุณแดง - ถอนใช้ส่วนตัว + กำไร (ขาดทุน) ยกมา 28 มกราคม 57,500 12,000 5,000 57,000 10,000 100,000 21,500 -5,000 รวม 52,500 5,000 + 21,500
ถอนใช้ส่วนตัว + กำไร (ขาดทุน) ข้อ 11(ต่อ) รายการค้า วันที่ 31 มกราคม 25X1 จ่ายเงินเดือนพนักงานเป็นเงินสดจำนวน 16,000 บาท สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เงินสด ลูกหนี้การค้า วัสดุสำนักงาน อุปกรณ์ เจ้าหนี้ ทุน-คุณแดง - ถอนใช้ส่วนตัว + กำไร (ขาดทุน) ยกมา 31 มกราคม 52,500 12,000 5,000 57,000 10,000 100,000 +21,500 เงินเดือน -16,000 รวม 36,500 5,000 + 5,500
ข้อ 12. จากรายการค้าข้างล่างนี้ จงวิเคราะห์รายการค้าว่ามีผลกระทบต่อสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของอย่างไร โดยเขียนเครื่องหมาย + ในช่องเพิ่มขึ้น และเครื่องหมาย – ในช่องลดลง พร้อมระบุชื่อ และใส่จำนวนเงินของแต่ละรายการให้ถูกต้องตามตัวอย่างของรายการวันที่ 1 มกราคม 25X1 25X1 มกราคม 1 นางสาวฤดีนำเงินสดมาลงทุน 80,000 บาท 3 ซื้อชุดรับแขกเป็นเงินเชื่อ 10,000 บาท 4 จ่ายค่าเช่าสำนักงานเป็นเงินสด 4,000 บาท 7 ซื้อเครื่องพิมพ์ดีดเป็นเงินสด 12,500 บาท 10 รับเงินสดเป็นค่านายหน้า 8,000 บาท 13 จ่ายเงินชำระหนี้ค่าชุดรับแขกเป็นเงินสด 8,400 บาท 15 จ่ายค่าแรงงานงวดแรกเป็นเงินสด 3,000 บาท
ข้อ 12. (ต่อ) 25X1 มกราคม 17 ออกบิลเรียกเก็บเงินเป็นค่านายหน้า 6,000 บาท จากนายสุขใจ20รับ ชำระหนี้เป็นเงินสด 2,400 บาท จากนายสุขใจ 24 นางสาวฤดี ถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัว 2,000 บาท 27 จ่ายค่าโฆษณาเป็นเงินสด 2,500 บาท 30 จ่ายค่าแรงงานงวดสองเป็นเงินสด 3,500 บาท
ข้อ12. (ต่อ) วันที่ 1 มกราคม 25X1 นางสาวฤดีนำเงินสดมาลงทุน 80,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด +80,000 ทุน
ข้อ12. (ต่อ) วันที่ 3 มกราคม 25X1 ซื้อชุดรับแขกเป็นเงินเชื่อ 10,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เครื่องใช้สำนักงาน +10,000 เจ้าหนี้ +10,000
ข้อ12. (ต่อ) วันที่ 4 มกราคม 25X1 จ่ายค่าเช่าสำนักงานเป็นเงินสด 4,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -4,000 ค่าเช่าสำนัก งาน
ข้อ12. (ต่อ) วันที่ 7 มกราคม 25X1 ซื้อเครื่องพิมพ์ดีดเป็นเงินสด 12,500 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เครื่องใช้สำนักงาน +12,500 เงินสด -12,500
ข้อ12. (ต่อ) วันที่ 10 มกราคม 25X1 รับเงินสดเป็นค่านายหน้า 8,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด +8,000 รายได้ค่านายหน้า
ข้อ12. (ต่อ) วันที่ 13 มกราคม 25X1 จ่ายเงินชำระหนี้ค่าชุดรับแขกเป็นเงินสด 8,400 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -8,400 เจ้าหนี้
ข้อ12. (ต่อ) วันที่ 15 มกราคม 25X1 ค่าแรงงานงวดแรกเป็นเงินสด 3,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -3,000 ค่าแรง งาน
ข้อ12. (ต่อ) วันที่ 17 มกราคม 25X1 ออกบิลเรียกเก็บเงินเป็นค่านายหน้า 6,000 บาท จากนายสุขใจ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง ลูกหนี้ +6,000 รายได้ค่านายหน้า
ข้อ12. (ต่อ) วันที่ 20 มกราคม 25X1 รับชำนะหนี้เป็นเงินสด 2,400 บาท จากนายสุขใจ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด +2,400 ลูกหนี้ -2,400
ข้อ12. (ต่อ) วันที่ 24 มกราคม 25X1 นางสาวฤดี ถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัว 2,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -2,000 ถอนใช้ส่วนตัว
ข้อ12. (ต่อ) วันที่ 27 มกราคม 25X1 จ่ายค่าโฆษณาเป็นเงินสด 2,500 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -2,500 ค่าโฆษณา
ข้อ12. (ต่อ) วันที่ 30 มกราคม 25X1 จ่ายค่าแรงงานงวดสองเป็นเงินสด 3,500 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -3,500 ค่าแรงงาน
ข้อ 13 จากรายการค้าข้างล่างนี้ จงวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่มีต่อสินทรัพย์ หนี้สิน และ ส่วนของเจ้าของโดยเขียนเครื่องหมาย + ในช่องเพิ่มขึ้น และเครื่องหมาย – ในช่องลดลง พร้อมทั้งระบุชื่อและจำนวนเงินของบัญชีย่อยในแต่ละหมวดบัญชี
ข้อ13. วันที่ 1 พฤศจิกายน 25X1 นายธงชัยนำเงินสดมาลงทุน 20,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด +20,000 ทุน
ข้อ13. วันที่ 2 พฤศจิกายน 25X1 จ่ายค่าโฆษณาเป็นเงินสด 2,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -2,000 ค่าโฆษณา
ข้อ13. วันที่ 5 พฤศจิกายน 25X1 ซื้อตู้เก็บเอกสารเป็นเงินเชื่อ 5,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง อุปกรณ์ +5,000 เจ้าหนี้
ข้อ13. วันที่ 7 พฤศจิกายน 25X1 ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินสด 1,100 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง วัสดุสำนักงาน +1,100 เงินสด -1,100
ข้อ13. วันที่ 9 พฤศจิกายน 25X1 จ่ายค่าเช่าเป็นเงินสด 2,400 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -2,400 ค่าเช่า
ข้อ13. วันที่ 13 พฤศจิกายน 25X1 คิดค่าบริการจากลูกค้า 5,000 บาท ยังไม่ได้รับเงิน สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง ลูกหนี้ + 5,000 รายได้ค่าบริการ
ข้อ13. วันที่ 15 พฤศจิกายน 25X1 รับเงินสดเป็นค่าบริการ 7,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด + 7,000 รายได้ค่าบริการ
ข้อ13. วันที่ 16 พฤศจิกายน 25X1 จ่ายเงินสดชำระหนี้ 3,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -3,000 เจ้าหนี้
ข้อ13. วันที่ 20 พฤศจิกายน 25X1 นายธงชัยถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัว 1,500 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -1,500 ถอนใช้ส่วนตัว
ข้อ13. วันที่ 23 พฤศจิกายน 25X1 รับชำระหนี้จากลูกค้าเป็นเงินสด 4,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด +4,000 ลูกหนี้ -4,000
ข้อ13. วันที่ 25 พฤศจิกายน 25X1 กู้เงินจากนายเอกชัยเป็นเงินสด 20,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด +20,000 เจ้าหนี้
ข้อ13. วันที่ 28 พฤศจิกายน 25X1 จ่ายค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดเป็นเงินสด 700 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -700 ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
ข้อ13.(ต่อ) วันที่ 30 พฤศจิกายน 25X1 จ่ายเงินเดือนเป็นเงินสด 3,500 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -3,500 เงินเดือน
ข้อ 14 ต่อไปนี้เป็นรายการค้าของร้าน “สุขสบายซัก อบ รีด” ในระหว่างเดือนตุลาคม 25X1 มีดังนี้ ให้ทำ วิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นและบันทึกลงในตารางเช่นเดียวกับข้อ 13
ข้อ14.(ต่อ) วันที่ 1 ตุลาคม 25X1 นายสุกใสนำเงินสด 70,000 บาท และอุปกรณ์ในการซักรีด 80,000 บาทมาลงทุน สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด +70,000 อุปกรณ์ +80,000 ทุน +150,000
ข้อ14.(ต่อ) วันที่ 3 ตุลาคม 25X1 ซื้อวัสดุใช้ในการซักรีดเป็นเงินสด 2,700 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง วัสดุ +2,700 เงินสด -2,700
ข้อ14.(ต่อ) วันที่ 6 ตุลาคม 25X1 ซื้อรถส่งของ 1 คัน เป็นเงินเชื่อ 200,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง รถ +200,000 เจ้าหนี้
ข้อ14.(ต่อ) วันที่ 8 ตุลาคม 25X1 ซื้อวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ในการซักแห้งเป็นเงินสด 4,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง วัสดุสิ้นเปลือง +4,000 เงินสด -4,000
ข้อ14.(ต่อ) วันที่ 10 ตุลาคม 25X1 รับรายได้ค่าซักรีดเป็นเงินสด 5,500 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด +5,500 รายได้ค่าซักรีด
ค่าน้ำมันและค่าซ่อมรถ ข้อ14.(ต่อ) วันที่ 13 ตุลาคม 25X1 จ่ายค่าน้ำมันและค่าซ่อมรถเป็นเงินสด 8,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด - 8,000 ค่าน้ำมันและค่าซ่อมรถ
ข้อ14.(ต่อ) วันที่ 15 ตุลาคม 25X1 ซื้อวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ในการซักแห้งเพิ่มเติมเป็นเงินเชื่อ 6,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง วัสดุสิ้นเปลือง +6,000 เจ้าหนี้
ข้อ14.(ต่อ) วันที่ 16 ตุลาคม 25X1 ออกบิลเก็บเงินเป็นค่าบริการซักรีด 5,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง ลูกหนี้ +5,000 รายได้ค่าซักรีด
ข้อ14.(ต่อ) วันที่ 21 ตุลาคม 25X1 จ่ายค่าเบี้ยประกันเป็นเงินสด 2,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -2,000 ค่าเบี้ยประกัน
ข้อ14.(ต่อ) วันที่ 22 ตุลาคม 25X1 รับชำระหนี้จากลูกหนี้เป็นเงินสด 3,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด +3,000 ลูกหนี้ -3,000
ข้อ14.(ต่อ) วันที่ 26 ตุลาคม 25X1 จ่ายชำระหนี้ค่าวัสดุสิ้นเปลืองเป็นเงินสด 4,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -4,000 เจ้าหนี้
ข้อ14.(ต่อ) วันที่ 28 ตุลาคม 25X1 รับเงินสดเป็นค่าบริการซักรีด 5,900 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด +5,900 รายได้ค่าบริการ +5,900
ข้อ14.(ต่อ) วันที่ 30 ตุลาคม 25X1 จ่ายค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้าเป็นเงินสด 700 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -700 ค่าน้ำประปาและค่า
ข้อ14.(ต่อ) วันที่ 31 ตุลาคม 25X1 จ่ายเงินเดือนเป็นเงินสด 4,000 บาท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลดลง เงินสด -4,000 เงินเดือน
ข้อ 15 จงกำหนดเลขที่บัญชีของชื่อบัญชีในหมวดบัญชีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ตามความเหมาะสม ชื่อบัญชี เลขที่บัญชี รายได้ค้างรับ 115 รายได้รับล่วงหน้า 212 ดอกเบี้ยจ่าย 521 ค่าเบี้ยประกันภัย 513 ค่าสัมปทาน 121 ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 305 วัสดุสำนักงาน 114
ข้อ 15(ต่อ) จงกำหนดเลขที่บัญชีของชื่อบัญชีในหมวดบัญชีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ตามความเหมาะสม ชื่อบัญชี เลขที่บัญชี ทุน – นายดอกรัก 301 เงินสด 111 ถอนใช้ส่วนตัว 302 เงินฝากธนาคาร 112 ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ 521 ตั๋วเงินรับ 113 ค่าขนส่งออก 514 ค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย 211
ข้อ 15(ต่อ) จงกำหนดเลขที่บัญชีของชื่อบัญชีในหมวดบัญชีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ตามความเหมาะสม ชื่อบัญชี เลขที่บัญชี ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์สำนักงาน 515 เงินเดือน 511 ตั๋วเงินจ่าย 213 ค่าเสื่อมราคา – สินทรัพย์ถาวร 516 เงินกู้ธนาคารระยะยาว 221 กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ 421 พันธบัตรรัฐบาล 122
ข้อ 15(ต่อ) จงกำหนดเลขที่บัญชีของชื่อบัญชีในหมวดบัญชีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ตามความเหมาะสม ชื่อบัญชี เลขที่บัญชี ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า 116 กระแสทุน – นายดำดี 303 ค่าโฆษณา 512 กระแสทุน–นายสีหมึก 304 กำไรสะสม 305 เงินปันผลจ่าย 306
จบบทที่ 3