(หนังสืออิเล็กทรอนิกส์)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
Advertisements

นายชิดชัย อังคะ ไวมงคล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ ผังเมือง นายมนัส ปรุง ทำนุ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ ร. อ. ปกรณ์เดช โลหิตหาญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ โยธาธิการ.
ปทุมธานี นางปลื้มจิตต์ เนี้ยวคงศักดิ์ นายอารัต เมืองจร
ข้อมูลสถานการณ์ ระบาดวิทยา พฤศจิกายน 2557 กลุ่มงานควบคุมโรค.
ราชบุรี นายประกอบ วงศ์มณีรุ่ง นายวรวุฒิ เจริญเชื้อ
การอบรมทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) เครือข่ายอำเภอเมืองนครปฐม วันที่ 27 มิถุนายน 2557 ณ ห้องประชุมอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ดรุณี โพธิ์ศรี
ชื่อผู้สอน : นางฐิติมา พิริยะ
สมุทรปราการ นายวิญญู หมั่นการ นายนิพนธ์ เนยเมืองปัก
หนองบัวลำภู นายทรงเดช ทิพย์โยธา นายทวีศักดิ์ สุริยะสิงห์
กระบี่ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชัยภูมิ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
อำนาจเจริญ - ว่าง- - ว่าง- - ว่าง - -ว่าง -
ชลบุรี ว่าง นายชิดชัย อังคะไวมงคล
สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
แม่ฮ่องสอน สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด นายไพรัช จันทรา
กาฬสินธุ์ ว่าง สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
ระยอง นายสมชัย ฉายศรีศิริ นายปรพล เจริญพงษ์ นายสมหมาย เอี่ยมมงคลสกุล
สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
นางพจนีย์ ขจร ปรีดานนท์ โยธาธิการและผังเมือง จังหวัด นายทวีศักดิ์ สุริยะสิงห์ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ โยธาธิการ ( ว่าง ) หัวหน้าฝ่ายบริหารงาน ทั่วไป นายปรีชา.
พังงา นางสาวอัญชลี ตันวานิช สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
ปัตตานี นายวิจิตร จำปาสกุล โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
นายอธิปัตย์ พ่วง ลาภ โยธาธิการและผัง เมืองจังหวัด นายอนุชา เจริญพันธ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ โยธาธิการ นายจรัส สุด จันทร์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ นายพศิน.
แม่ฮ่องสอน -ว่าง- สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด นายไตรเทพ มีบุญ
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
ประวัติความเป็นมา บ้านสระแก้วก่อตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ 2419 โดย พ่อใหญ่จารย์แก้ว เป็นผู้นำพาลูกหลานจากบ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม.
การขัดเกลาทางสังคมซ้ำเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ผู้วิจัย นภัสวรรณ บุญประเสริฐ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎี
และองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีสาขาระดับอำเภอ 6 สาขา
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
โครเมี่ยม (Cr).
นโยบายด้านโรคติดต่อ ศ. คลินิกเกียรติคุณ นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข.
ประวัติ โรงเรียนวัดท่า ข้าม โรงเรียนวัดท่าข้าม ตั้งอยู่เลขที่ 54 หมู่ 3 ตำบลท่า ข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีพื้นที่โรงเรียนทั้งหมดรวม 1 ไร่ 2 งาน.
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน 2559 เวลา น. ณ ห้องบัญชาการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยแห่งชาติ อาคาร 3 ชั้น 5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การประชุมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสา.
กลุ่มวัยผู้สูงอายุ
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
Design by Agri - Map สำนักงานชลประทานที่ ๘.
โรคหนอนพยาธิ.
ประสบการณ์การ การใช้ระบบติดตามผลการดำเนินงานในกลุ่มผู้ใช้ยา/สารเสพติด
สรุปแนวทางการดำเนินงานตามกลุ่มวัย
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ยินดีต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์) และคณะ ในโอกาสตรวจเยี่ยมจังหวัดตาก วันที่ กรกฎาคม 2558.
วันที่ ๒๔-๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ โรงแรมพูลแมน จังหวัดขอนแก่น
แนวทางการดำเนินงานเพื่อผู้สูงอายุ
โครงการกำจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ถวายเป็นพระราชกุศลฯ
โต้วาทีอุดมศึกษา ญัตติ “มนุษย์แสนดีเลิศประเสริฐศรี”
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก สัปดาห์ที่ 35
คำสำคัญ : ความชุกวัณโรค, ผู้ต้องขังในเรือนจำ
ระเบียบวาระที่ 4 : เรื่องเพื่อทราบ
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
สัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
“ถ้าหากบริษัทบุหรี่ต้องหยุดทำการตลาดที่พุ่งเป้าไปที่เด็กๆ บริษัทบุหรี่จะล้มละลายภายใน 25 – 30 ปี เพราะจะไม่มีลูกค้าเพียงพอที่ธุรกิจจะอยู่ได้”
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
การประชุมวิชาการครั้งที่ 5/2560
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
จุดเริ่มต้นสวนสัตว์ไทย
โครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
ศาสนาเชน Jainism.
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก สัปดาห์ที่ 51
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

(หนังสืออิเล็กทรอนิกส์) e - B ook โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยที่ 1 รู้ทันพยาธิใบไม้ตับ เล่ม 1 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้ จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนเท่านั้นห้ามจำหน่าย วงจรของโรคพยาธิใบไม้ตับ สมัชชาสุขภาพจังหวัดสกลนคร

สาระสำคัญ เมื่อพยาธิออกไข่ ไข่จะออกมาในลำไส้และปนออกมากับอุจจาระ โรคพยาธิใบไม้ตับอาศัยอยู่ในท่อน้ำดี ทั้งของคนและสัตว์รังโรค เมื่อพยาธิออกไข่ ไข่จะออกมาในลำไส้และปนออกมากับอุจจาระ ลงในแหล่งน้ำ หอยพาหะ เช่น หอยไซ จะกินไข่พยาธินี้เข้าไป เจริญเป็นตัวอ่อนอยู่ในหอย ตัวอ่อนระยะต่อมาจะออกจากหอย ไปเจริญต่อในปลาน้ำจืดกลายเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อ เมื่อคนกิน ปลาดิบหรือสุกๆดิบๆ ตัวอ่อนนี้จะเจริญเป็นพยาธิเต็มวัยในท่อน้ำดี

จุดประสงค์การเรียนรู้ ข จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถอธิบายวงจรของโรคพยาธิใบไม้ตับได้ 2. เขียนแผนภาพวงจรของโรคพยาธิใบไม้ตับได้ 3. มีวินัยในตนเองขณะเรียนและทำงานร่วมกับคนอื่น

สารบัญ ค คำถามทบทวนความรู้ 17 สาระสำคัญ ก เฉลย 18 คำถามทบทวนความรู้ 17 สาระสำคัญ ก เฉลย 18 จุดประสงค์การเรียนรู้ ข รายงานผลการทำแบบทดสอบ 21 สารบัญ ค บรรณานุกรม 22 แบบทดสอบก่อนเรียน ง คณะกรรมการที่ปรึกษา 25 อาหารที่ทำให้ชาวอีสาน เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ 1 คณะกรรมการอำนวยการ 26 วงจรชีวิตของโรคพยาธิใบไม้ตับ 5 คณะกรรมการวิชาการ 27 ชนิดของพยาธิใบไม้ตับ 6 ผู้ให้การสนับสนุน 29 คณะผู้จัดทำ 30

ง แบบทดสอบก่อนเรียน คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว 1. โรคพยาธิใบไม้ตับชนิดใดที่พบในประเทศไทย ก. Opisthorchis felineus ข. Opisthorchis viverrini ค. Opisthorchis sinensis ง. Chinese liver fluke

จ แบบทดสอบก่อนเรียน 2. ระยะเวลาตั้งแต่ คนกินปลาที่มีตัวอ่อนพยาธิไปจนถึงพยาธิ ใบไม้ตับตัวโตเต็มวัยวางไข่ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ กี่สัปดาห์ ก. 3 – 4 สัปดาห์ ข. 5 – 6 สัปดาห์ ค. 7 – 8 สัปดาห์ ง. 9 – 10 สัปดาห์

ฉ แบบทดสอบก่อนเรียน 3.พบการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับในวัยใดสูงถึง 80 – 90 % ก. วัยเด็ก ข. วัยรุ่น ค. วัยผู้ใหญ่ ง. วัยชรา

ช แบบทดสอบก่อนเรียน 4. มะเร็งท่อน้ำดี เกิดจากอะไร ก. เกิดจากหอยขมหรือหอยไซ ข. เกิดจากโรคพยาธิใบไม้ตับ และสารไนโตรซามีน ค. เกิดจากการกินยาถ่ายพยาธิ ง. เกิดจากการกินอาหารหวานจัด หรือมีไขมันมากๆ

ซ แบบทดสอบก่อนเรียน 5. ถ้าเรากินอาหารที่ขึ้นรา อาหารใส่ดินประสิวและอาหารที่มี สารไนโตรซามีนอาจจะทำให้เกิดโรคชนิดใด ก. โรคขาดสารอาหาร ข. โรคตาฟาง และเหน็บชา ค. โรคภูมิแพ้ และโรคลิ้นหัวใจรั่ว ง. โรคมะเร็ง

ฌ แบบทดสอบก่อนเรียน 6. อาการที่สำคัญของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในระยะสุดท้าย คือข้อใด ก. มีไข้ เจ็บชายโครงขวา อาจจะมีอาการดีซ่านตัวเหลืองตาเหลือง ท้องอืด น้ำหนักลด ข. แพ้ละอองเกสรดอกไม้ ทำให้หายใจไม่สะดวก น้ำมูกไหลหรือคันตา ค. ปวดท้องแบบบิดๆ ท้องเสีย อาจมีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ง. อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ ปวดท้องรุนแรงและช็อค

ญ แบบทดสอบก่อนเรียน 7. ข้อใดเป็นอาการนำของมะเร็งท่อน้ำดี ก. ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อาเจียน ข. ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด หิวเก่ง อ่อนเพลีย ค. ตาเหลือง ตัวเหลือง มีก้อนในตับ ถุงน้ำดีโป่งพอง ง. ข้ออักเสบเฉียบพลัน ไตทำงานบกพร่อง กรดยูริกในเลือดมีค่าสูงกว่าปกติ

ฎ แบบทดสอบก่อนเรียน 8. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงมากที่สุดต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี คือ ก. เป็นคนภาคใต้โดยกำเนิด อายุ 50 ปี ขึ้นไป ข. เป็นผู้ที่กินปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดวงศ์ปลาตะเพียนแบบดิบหรือสุกๆดิบๆ ค. เป็นผู้ที่มีประวัติกินยาฆ่าพยาธิซ้ำซาก ง. เป็นผู้บริโภคข้าวเหนียว เป็นประจำรวมถึงไม่ชอบออกกำลังกาย

ฏ แบบทดสอบก่อนเรียน 9. ปัจจัยของการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี คือ ก. รัฐบาลสนับสนุนการเกษตรโดยการรับจำนำข้าวและส่งเสริมการเลี้ยงโคขุน ข. ทะเลมีการทำประมงมากเกินการควบคุม ค. หอยบีไทเนียหรือหอยไซไม่มีโอกาสได้กินไข่พยาธิ ง. นิสัยการกินอาหารของประชาชนท้องถิ่นที่นิยมกินอาหารที่ปรุงจากปลาน้ำจืดชนิดมี เกล็ดวงศ์ปลาตะเพียนแบบดิบหรือสุกๆดิบๆ

ฐ แบบทดสอบก่อนเรียน 10. หลักการง่ายๆในการควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี คือข้อใด ก. นอนหลับให้สนิท กินอาหารตามใจชอบ ไม่เครียด ข. ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แล้วกินยาถ่ายพยาธิ ค. บริโภคปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดวงศ์ปลาตะเพียนที่ปรุงสุก ง. ควบคุมจำนวนผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งของท่อน้ำดี

อาหารที่ทำให้ชาวอีสาน เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ 1 อาหารที่ทำให้ชาวอีสาน เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ อาหารที่ทำให้ชาวอีสานเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับก็คือ อาหารที่ทำจากปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดวงศ์ปลาตะเพียนแบบดิบหรือสุกๆดิบๆ ที่มีตัวอ่อนของโรคพยาธิใบไม้ตับ สำหรับอาหารอีสานที่เมื่อกินแล้วมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับคือ ก้อยปลาดิบ ปลาสด ปลาส้ม ปลาจ่อม หม่ำปลา ปลาหมกไฟ ปลาปิ้ง ลาบปลา เนื่องจากอาหารเหล่านี้ถ้าทำกินแบบดิบหรือสุกๆดิบๆ จะไม่สามารถฆ่าพยาธิได้

2 ถึงแม้ชาวอีสาน คิดว่าการปรุงอาหารจากปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดวงศ์ปลาตะเพียน ด้วยการใช้ของเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว มะขาม มดแดง การใช้น้ำปลา เกลือ น้ำปลาร้า แล้วถือว่า“สุก” หรือเมื่อปรุงแล้ว สีของเนื้อปลาเปลี่ยนไปก็พากันถือว่า “สุก” หรือการกินเนื้อปลาน้ำจืดดิบร่วมกับ“เหล้า” เป็นการฆ่าโรคพยาธิใบไม้ตับได้ แต่แท้จริงแล้วการทำลักษณะเช่นนี้จะไม่สามรถฆ่าโรคพยาธิใบไม้ตับได้ เพราะการทำให้อาหารสุกได้นั้น ต้องใช้ความร้อนเท่านั้น

3 อาการผิดปกติที่เกิดจากโรคพยาธิใบไม้ตับไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใด แต่อาจจะพบอาการของโรคหลังจากพยาธิเข้าสู่ร่างกายระยะหนึ่ง (สามารถตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระได้)

4 อาการเริ่มแรก หรือเล็กน้อย เช่น ท้องอืด แน่น จุกเสียด รู้สึกอึดอัด ไม่สบาย หรือร้อนบริเวณชายโครงขวา หรือ บริเวณลิ้นปี่ซึ่งชาวอีสานมักเรียกอาการนี้ว่า“ร้อนท้อง” อาการปานกลาง เช่น เบื่ออาหาร ท้องอืด หรือตับโต และกดเจ็บบริเวณตับ (บริเวณชายโครงขวา)

วงจรของโรคพยาธิใบไม้ตับ 5 วงจรของโรคพยาธิใบไม้ตับ โรคพยาธิใบไม้ตับ (Liver fluke) คือโรคที่เกิดจากท่อน้ำดี ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งส่งผลให้ท่อน้ำดี เกิดการอักเสบเรื้อรังและกลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีทำให้มีการอุดตันของท่อน้ำดี จึงส่งผล ให้เกิดภาวะตับโต ตัวเหลือง ตาเหลือง (โรคดีซ่าน) แน่นท้องและมีน้ำในช่องท้อง ท้องมาน

ชนิดของโรคพยาธิใบไม้ตับ 6 ชนิดของโรคพยาธิใบไม้ตับ ชนิดของโรคพยาธิใบไม้ตับที่สำคัญมีอยู่ 3 ชนิด คือ 1. Opisthorchis felineus (โรคประจำถิ่นในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรปกลาง และยุโรปตะวันออก) 2. Opisthorchis viverrini (โรคประจำถิ่นในประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม) 3. Opisthorchis sinensis หรืออีกชื่อคือ Clonorchis sinensis หรือที่เรียกว่า Chinese liver fluke (เป็นโรคประจำถิ่นในจีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม)

7 ภาพพยาธิใบไม้ตับ A; O. felineus B; O. viverrini C; Clonorchis sinensis

ซึ่งมีรูปร่างแบนคล้ายใบมะขามส่วนหัวและท้ายเรียว ขนาดยาว 8 ในประเทศไทย โรคพยาธิใบไม้ตับพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่ในเด็กเล็กไปจนถึงในผู้สูงอายุโดยอายุที่พบโรคได้สูงสุดคือ ช่วงอายุ 55-64 ปี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โรคพยาธิใบไม้ตับในประเทศไทย เกิดจากโรคพยาธิใบไม้ตับ ชนิด Opisthorchis viverrini ซึ่งมีรูปร่างแบนคล้ายใบมะขามส่วนหัวและท้ายเรียว ขนาดยาว 5.5-9.5 มม. กว้าง 0.7-1.6 มม. สีแดงเรื่อคล้ายสีโลหิตจางๆ พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือส่วนภาคอื่นๆพบน้อย โรคนี้เป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็งท่อน้ำดีในคนไทย

ผังวงจรชีวิตโรคพยาธิใบไม้ตับ 9 ผังวงจรชีวิตโรคพยาธิใบไม้ตับ มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน

10 1. คน สุนัข แมว ที่เป็นรังโรคของโรคพยาธิใบไม้ตับ ถ่ายอุจจาระ ไม่เป็นที่เป็นทาง ไข่ของโรคพยาธิใบไม้ตับที่ปนอยู่ในอุจจาระ จึงปนเปื้อนในแหล่งน้ำ เมื่อไข่พยาธิเข้าสู่แหล่งน้ำไข่จะถูกกิน โดยหอยไซ

11 2. เมื่อหอยไซกินไข่พยาธิ ไข่พยาธิจะเจริญเป็นตัวอ่อนในหอย (หอยไซ จึงเป็นรังโรคตัวกลางตัวแรก First intermediate host) โดยตัวอ่อนโรคพยาธิใบไม้ตับในหอยไซ จะเจริญเป็นตัวอ่อน ในระยะที่เรียกว่า Cercariae ซึ่งตัวอ่อนระยะนี้จะออกจากหอยว่ายอยู่ในน้ำ

12 3. ตัวอ่อนระยะนี้ (Cercariae ) จะไชย้อนเกล็ดเข้าไปอาศัยอยู่ในปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดวงศ์ปลาตะเพียน ซึ่งจะเป็นรังโรคตัวกลางตัวที่ 2 (Second intermediate host) ตัวอ่อนในปลาจะเจริญเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อสู่คน (Metacer cariae)

13 4. คน สุนัข แมว จะกินปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดวงศ์ปลาตะเพียนที่มีตัวอ่อนระยะติดต่ออยู่ จึงเกิดการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับ

5. พยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อนี้ จะผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่ 14 5. พยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อนี้ จะผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่ ลำไส้เล็กตอนบน ซึ่งเป็นที่เปิดของปากท่อน้ำดีใหญ่นอกตับ แล้วเข้าสู่ท่อน้ำดี และพยาธิตัวอ่อนนี้จะอยู่อาศัยเจริญเติบโต ออกไข่อยู่ในท่อน้ำดี

15 6. พยาธิเจริญเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับตัวแก่ ซึ่งมีทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน จึงสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ ดังนั้น คน สุนัข แมวจึงเป็นรังโรคหลัก (Definitive host) ของโรคพยาธิใบไม้ตับจากนั้น ก็จะเริ่มวงจร 1 ใหม่โดยไข่จะออกมาตามท่อน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่และปนออกมากับอุจจาระเกิดเป็นวงจรการติดเชื้อไม่รู้จบ

16 ระยะเวลาตั้งแต่ คนกินปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดวงศ์ปลาตะเพียนที่มีตัวอ่อนโรคพยาธิใบไม้ตับ ไปจนถึงพยาธิวางไข่ได้ ใช้ระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 3-4 สัปดาห์ ทั้งนี้ โรคพยาธิใบไม้ตับแต่ละตัวจะมีชีวิตในตับได้เป็นสิบๆปี เคยมีรายงานว่าอยู่ได้นานถึง 25 ปี และแต่ละตัวสามารถวางไข่ได้ประมาณวันละ 200 ฟอง

คำถามทบทวนความรู้ 1. อาหารที่ทำให้ชาวอีสาน เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับคืออะไร 17 คำถามทบทวนความรู้ 1. อาหารที่ทำให้ชาวอีสาน เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับคืออะไร 2. โรคพยาธิใบไม้ตับชนิดใดที่พบมากในประเทศไทย 3. วงจรการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง ตรวจคำตอบหน้าต่อไป แต่..... ต้องตอบคำถามเรียบร้อย ทุกข้อก่อนนะจ๊ะ

2. Opisthorchis viverrini 18 เฉลย 1. อาหารที่ทำให้ชาวอีสานเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ คืออาหารที่ทำจากปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดวงศ์ปลาตะเพียน ที่มีตัวอ่อนของโรคพยาธิใบไม้ตับ นำมาปรุงอาหารแบบดิบหรือ สุกๆ ดิบๆ 2. Opisthorchis viverrini เปิดอ่าน หน้าต่อไปค่ะ

3. วงจรการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับมี 6 ขั้นตอน 19 3. วงจรการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับมี 6 ขั้นตอน 3.1 ไข่พยาธิใบไม้ตับที่ปนอยู่ในอุจจาระ จึงปนเปื้อนในแหล่งน้ำ เมื่อไข่พยาธิเข้าสู่แหล่งน้ำ ไข่จะถูกกินโดยหอยไซ 3.2 ไข่พยาธิใบไม้ตับเมื่อเข้าสู่หอยไซ จะเจริญเป็นตัวอ่อน ในหอย และจะออกจากหอย ไปว่ายอยู่ในน้ำ 3.3 ตัวอ่อนระยะนี้จะไชย้อนเกล็ดเข้าไปอาศัยอยู่ในปลา น้ำจืดชนิดมีเกล็ดวงศ์ปลาตะเพียน ซึ่งเป็นรังโรค

3.6 พยาธิเจริญเป็นพยาธิใบไม้ตับตัวแก่ในท่อน้ำดี และแพร่พันธุ์ต่อไป 20 3.4 คน สุนัข แมว กินปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดวงศ์ปลาตะเพียน แบบดิบหรือสุกๆดิบๆที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อจึงเกิดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ 3.5 ตัวอ่อนพยาธิใบไม้ตับระยะติดต่อนี้ จะผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กตอนบน เข้าสู่ท่อน้ำดีใหญ่จะอยู่อาศัยเจริญเติบโตออกไข่อยู่ในท่อน้ำดี  3.6 พยาธิเจริญเป็นพยาธิใบไม้ตับตัวแก่ในท่อน้ำดี และแพร่พันธุ์ต่อไป ดูวีดีโอ ส่งท้ายกันหน่อยค่ะ

รายงานผลการทำแบบทดสอบ 21 รายงานผลการทำแบบทดสอบ คะแนนเต็ม 10 คะแนน คะแนนที่ได้ คะแนน

22 บรรณานุกรม พวงรัตน์ ยงวนิช และสมชาย ปิ่นลออ. (2548). กลไกการก่อมะเร็งท่อน้ำดีโดย อนุมูลอิสระจากพยาธิใบไม้ตับ. ศรีนครินทร์เวชสาร, 20 (3), 150 - 155. ไพบูลย์ สิทธิถาวร. (2548). บทบาทของโรคพยาธิใบไม้ตับต่อการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี ในสถานการณ์ปัจจุบัน. ศรีนครินทร์เวชสาร, 20 (3), 135 -142. ณัฏฐวุฒิ แก้วพิบูลย์ . (2553). พยาธิใบไม้ตับในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มอบ. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2553. มยุรัตน์ เทพมงคล และคณะ. (2532). ปรสิตวิทยาทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: เพิ่มเสริมกิจ. วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์ และคณะ. (2555). คู่มือประชาชนเพื่อป้องกันและเฝ้าระวัง โรคมะเร็งท่อน้ำดี. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

บรรณานุกรม 23 วิฑูรย์ ไวยนันท์ และพีรพรรณ ตันอารีย์. (2540). ปรสิตวิทยาทางการแพทย์. กรุงเทพมหานคร : ศักดิโสภาการพิมพ์. สิริมา กิจวัฒนชัย และ อุษณี ทรัพย์เจริญกุล. (2554). พยาธิใบไม้ตับ,พยาธิใบไม้ ปอด และพยาธิใบไม้เลือด ในหนอนปรสิตและสัตว์ขาข้อทางการแพทย์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต. สุวิทย์ มูลคำ. (2545). วิธีการจัดการเรียนรู้ : การเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ ด้วยตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ภาพการพิมพ์. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร กลุ่มงานควบคุมโรคและระบาดวิทยา. (2556). คู่มือการอบรมหลักสูตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการกำจัด พยาธิใบไม้ตับ ลดมะเร็งท่อน้ำดี วาระคนอีสานจังหวัดสกลนคร. สกลนคร : โรงพิมพ์สกลนครการพิมพ์.

บรรณานุกรม 24 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 8 และศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี. (2555). พยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. [ดีวีดี–รอม]. สำนักระบาดวิทยา. (2550). รายงานการเฝ้าระวังโรค:โรคพยาธิใบไม้ตับ 1 มกราคม 2550 - 26 พฤศจิกายน 2550. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

คณะกรรมการที่ปรึกษา 1. ศ.พวงรัตน์ ยงวณิชย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2. รศ.ณรงค์ ขันตีแก้ว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3. รศ.ธิดารัตน์ บุญมาศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4. รศ.ไพบูลย์ สิทธิถาวร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 5. รศ.บัณฑิต ถิ่นคำรพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6. รศ.นิษณา นามวาท คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 7. ผศ.วัชรินทร์ ลอยลม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 8. ผศ.ธรัช อารีราษฎร์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 9. ผศ.วรปภา อารีราษฎร์ คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 10. นายแพทย์ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสกลนคร

คณะกรรมการอำนวยการ 1. นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2. นายบุญส่ง เตชะมณีสถิต ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร) 3. นายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร 4. นายแพทย์ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสกลนคร 5. นายแพทย์กิตตินาถ ติยะพิบูลย์ไชยา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอากาศอำนวย 6. นายเทวรัฐ โตไทยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 7. นายไพรวัลย์ จันทะนะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 8. นายจุฬา ชิณวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 9. นายเสถียร แสนอุบล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 10. ผศ.ธรัช อารีราษฎร์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 11. ผศ.วรปภา อารีราษฎร์ คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 12. นายสุกฤษฏิ์ อัครศักดิ์ศรี ข้าราชการบำนาญ (อดีตศึกษานิเทศก์ ชำนาญการพิเศษ) 13. นางปนัดดา ทรัพย์แสนยากร หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร 14. นายธีระพงษ์ พุ่มพวง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

คณะกรรมการวิชาการ จัดทำหลักสูตรและสื่อเทคโนโลยี 1. นายแพทย์กิตตินาถ ติยะพิบูลย์ไชยา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร 2. นายสุกฤษฎิ์ อัครศักดิ์ศรี ข้าราชการบำนาญ (อดีต ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการพิเศษ สพป.สน.1) 3. นางอรุณรุ่ง โยธสิงห์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป. สกลนคร เขต 1 4. นายยอดยิ่ง เสียงเลิศ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป. สกลนคร เขต 2 5. นายทวีทรัพย์ มาละอินทร์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป. สกลนคร เขต 3 6. นางประทินทิพย์ พรไชยยา หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาหลักสูตร สพม. เขต 23 7. นางนภาพร ศรีมรกต ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักการศึกษา อบจ.สกลนคร 8. นายนิธิพัฒน์ ศรีมรกต ครู เชี่ยวชาญ โรงเรียนสกลทวาปี อบจ.สกลนคร 9. นายแกล้วกล้า ประชานันท์ ผู้อำนวยการโรงเรียน บ้านง่อนหนองพะเนาว์ฯ สพป.สกลนคร เขต 2 10. นายคำสิงห์ พิบูลภักดี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคำนาดี สพป.สกลนคร เขต 2 11. นายสำรองชัย สามเมือง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านโนนกุง สพป. สกลนคร เขต 1 12. นายอุดมศักดิ์ มีภูคำ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านห้วยยางสพป. สกลนคร เขต 1

คณะกรรมการวิชาการ จัดทำหลักสูตรและสื่อเทคโนโลยี 13. นางบุญเพ็ง แสนอุบล ครู ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านง่อนฯ สพป. สกลนคร เขต 2 14. นางสาวณัฏชนุตตร โคตรคำหาญ ครู ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านง่อนฯ สพป. สกลนคร เขต 2 15. นายบัญชา ศิลาลัย ครู อัตราจ้าง โรงเรียนบ้านง่อนฯ สพป. สกลนคร เขต 2 16. นายอรรถพล พูลศิลป์ ครู ธุรการ โรงเรียนบ้านหวาย สพป. สกลนคร เขต 2 17. นายวินิต พืชพันธุ์ ครู ชำนาญการ โรงเรียนบ้านดงสง่า สพป. สกลนคร เขต 2 18. นางบังอร ดีคำย้อย ครู ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านโนนอุดม สพป. สกลนคร เขต 3 19. นางปิยะฉัตร แสงงาม ครูชำนาญพิเศษ โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา สพม. เขต 23 20. นางสาวชลธิชา กระแสศิล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ สพม. เขต 23 21.นายธวัชชัย สหพงษ์ รองคณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 22.นางสาวอภิดา รุณวาทย์ รองคณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 23. นายนราธิป ทองปาน รองคณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 24. นายชนะชัย อวนวัง อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 25. นางอุมาภรณ์ เหล็กดี อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คณะกรรมการวิชาการ จัดทำหลักสูตรและสื่อเทคโนโลยี 26. นายจรัญ เจิมแหล่ อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 27. นายณัฐพงศ์ พลสยม อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 28. นางสาวนฤมล อินทิรักษ์ อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 29. นายกีรติ ทองเนตร อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 30. นายวินัย โกหลำ อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 31. นายอภิชาติ เหล็กดี อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 32. นางสาวกาญจนา ดงสงคราม เจ้าหน้าที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 33. นางสาวอารดา สุทธิไชยา เจ้าหน้าที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 34. นายพลวัฒน์ อัฐนาค เจ้าหน้าที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 35. นายจักรี ทำมาน เจ้าหน้าที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 36. ว่าที่ร้อยตรีธนาพัฒน์ เที่ยงภักดิ์ เจ้าหน้าที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 37. นายพูลธวรรธน์ ภัทรธำรงกุล สาธารณสุขอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร 38. นายจินดา พลสุวรรณ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

คณะกรรมการวิชาการ จัดทำหลักสูตรและสื่อเทคโนโลยี 39. นางสุพรรณี หน่อแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำแร่อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร 40. นางเทวา ภัทรธำรงกุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุสุมาลย์ 41. นางสาวนิตยา พิมพการ นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลกุสุมาลย์ 42. นางอรนาถ วัฒนวงษ์ หัวหน้ากลุ่มงานโครงการพระราชดำริ กรมควบคุมโรค 43. นางปนัดดา ทรัพย์แสนยากร หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร 44. นายธีระพงษ์ พุ่มพวง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกลนคร

ขอขอบพระคุณหน่วยงานผู้ให้การสนับสนุน ดังนี้ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดสกลนคร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร สำนักงานประมงจังหวัดสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โครงการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (CASCAP) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร

30 คณะผู้จัดทำ นายสุกฤษฏิ์ อัครศักดิ์ศรี ศึกษานิเทศชำนาญการพิเศษ นายสุกฤษฏิ์ อัครศักดิ์ศรี ศึกษานิเทศชำนาญการพิเศษ สพป.สกลนคร เขต1 ดร.สำรองชัย สามเมือง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านโนนกุง สพป.สกลนคร เขต1 นายอุดมศักดิ์ มีภูคำ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านห้วยยาง สพป.สกลนคร เขต1 นายนิธิพัฒน์ ศรีมรกต ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนสกลทวาปี อบจ.สกลนคร