งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้

2 สถานการณ์ปัจจุบันของมะเร็งปากมดลูก
ทั่วโลก เป็นมะเร็งสตรีที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 ช่วงอายุที่พบ ปี (พบได้สูงในช่วงอายุ ปี) เป็นมะเร็งที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ในสตรี ในแต่ละปี มีผู้ป่วยใหม่ 530,000 ราย เสียชีวิต 275,000 ราย ร้อยละ 88 ของผู้เสียชีวิตอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา

3 สถานการณ์ปัจจุบันของมะเร็งปากมดลูก
ประเทศไทย เป็นมะเร็งสตรีที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 เป็นมะเร็งที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ในสตรี ในแต่ละปี มีผู้ป่วยใหม่ 9,999 ราย เสียชีวิต 5,216 ราย 14 รายต่อวัน !!!!

4 โพรงมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ ปากมดลูก ช่องคลอด ปากช่องคลอด

5 สาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก ไม่ใช่กรรมพันธุ์ แต่มีสาเหตุสำคัญมาจากการติดเชื้อ HPV 99.7% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก จะตรวจพบเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ก่อ มะเร็ง

6 เชื้อ HPV คืออะไร ????? สายพันธุ์ 16, 18

7 HPV ติดต่อทางไหน ? เชื้อ HPV จะติดต่อผ่านทาง เพศสัมพันธ์เป็นหลัก
ส่วนใหญ่ร่างกายจะกำจัดออกไปเองได้ แต่บางส่วนที่ร่างกายกำจัดไม่ได้จะพัฒนา กลายไปเป็นโรค ถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันการติด เชื้อ HPV ได้ 100%

8 ปัจจัยที่ทำให้การติดเชื้อพัฒนาไปเป็นโรค
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น การติดเชื้อ HIV สูบบุหรี่ ติดเชื้อเมื่ออายุมาก ติดเชื้อสายพันธุ์ที่มีความรุนแรง ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วย

9 สถิติของการติดเชื้อ HPV
ภายในช่วงอายุ 50 ปี การติดเชื้อ HPV พบมากที่สุดในผู้หญิง อายุ 18 – 28 ปี หลังจากติดเชื้อไวรัสนี้ ในช่วงแรก มักจะไม่ปรากฏอาการ ผิดปกติใดๆ ผู้ที่ติดเชื้อจึงมักไม่รู้ตัว และอาจแพร่เชื้อต่อโดยไม่ได้ตั้งใจ

10 การเกิดมะเร็งปากมดลูก
หาย *เมื่อติดเชื้ออาจไม่เกิดอาการหรือแสดงความ ผิดปกติใดๆ เพราะโรคนี้อาจใช้ระยะเวลาในการก่อตัวของโรค นาน ปี เชื้อ HPV ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุ มดลูก และกลายเป็นมะเร็งในเวลาต่อมา เพศสัมพันธ์ ติดเชื้อ HPV ไม่หาย เซลล์ผิดปกติ มะเร็งปากมดลูก

11 สัญญาณของมะเร็งปากมดลูก
ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอาจมีอาการตกขาว หรือเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด รู้สึกเจ็บหรือมีเลือดออกหลังจากมี เพศสัมพันธ์ มีเลือดประจำเดือนออกมากผิดปกติหรือมี ประจำเดือนนานผิดปกติ ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน มะเร็งปากมดลูก สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าหากตรวจพบแต่เนิ่นๆ

12 ระยะการเกิดมะเร็งปากมดลูก
ระยะที่ 0 หรือระยะเริ่มแรกก่อนเป็น มะเร็ง คือ ระยะที่เซลล์ของปากมดลูกเริ่มมี การเปลี่ยนแปลง สามารถตรวจพบได้จาก การตรวจแป๊บสเมียร์ ยังไม่สามารถพบ ความผิดปกติจากการตรวจร่างกายได้ ระยะที่ 1 คือ ระยะที่มีเซลล์มะเร็งอยู่ เฉพาะบริเวณปากมดลูกเท่านั้น

13 ระยะที่ 2 คือ ระยะที่มะเร็งลุกลามออกจาก ปากมดลูกไปบริเวณช่องคลอดส่วนบนหรือ บริเวณอุ้งเชิงกรานแต่ยังไม่ลุกลามถึงผนังอุ้ง เชิงกราน

14 ระยะที่ 3 คือ ระยะที่มะเร็งลุกลามไปจน ติดผนังอุ้งเชิงกราน หรือ ก้อนมะเร็งมีการ กดทับท่อไต ทำให้การทำงานของไตเสื่อม ลง

15 ระยะที่ 4 คือ ระยะที่มะเร็งลุกลามเข้าสู่อวัยวะ ข้างเคียง คือ กระเพาะปัสสาวะ หรือ ลำไส้ใหญ่/ ทวารหนัก หรือมะเร็งกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ปอด กระดูก สมอง และ/หรือ ต่อม น้ำเหลืองอยู่ไกลปากมดลูก เช่น ในช่องท้อง

16 การป้องกันมะเร็งปากมดลูก
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่าง สม่ำเสมอ เพื่อค้นหาความผิดปกติในระยะ ก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค นี้ได้ถึง 70% ถึงแม้จะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว การตรวจ Pap smear ก็ยังคงเป็นเรื่องจำเป็น !

17 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ควรเริ่มตรวจภายใน 3 ปีหลังจากเริ่มมี เพศสัมพันธ์หรือตั้งแต่อายุ 21 ปีเป็นต้นไป ควรตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่อายุ 30 ปีเป็นต้นไป ถ้ามีผล ตรวจที่ปกติติดต่อกัน 3 ครั้ง อาจตรวจ 2-3 ปีต่อครั้ง หลังการผ่าตัดเอามดลูกและปากมดลูก ออก การตรวจอาจไม่จำเป็น เว้นแต่เป็น การผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งปากมดลูก

18


ดาวน์โหลด ppt มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google