การออกแบบ การวิจัย.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ผู้เสนอ นางประภัสสร แก้วประสาน สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
Advertisements

การสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศของ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม นางสาวพัชรี นาคทอง วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
ผู้วิจัย อาจารอุบลรัตน์ น้อยสำแดง
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การเขียนโครงร่างวิจัย
วิทยาลัยเทคโนโลยีวิศวกรรม บริหารธุรกิจ
ผลงานวิจัยเรื่อง “ ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับสถานประกอบการสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
แบบสอบถาม (Questionnaire)
ชื่อเรื่อง ผลการใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนวิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ของนักศึกษาชั้น ปวช.2 สาขางานยานยนต์ โรงเรียนโปลิเทคนิคลานนา.
ชื่อเรื่อง : ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาการบัญชีบริหาร ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองการวางแผนงบประมาณในธุรกิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์
หลักการ เบื้องต้น ของการใช้สถิติ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
การวัด Measurement.
กิตติญา ยังเจริญ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน วิชาการจัดเก็บเอกสารของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์กับการสอนแบบปกติ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
งานวิจัยเพื่อจบหลักสูตร บัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
บทที่ 1 สถาปัตยกรรมของระบบฐานข้อมูล (Database Architecture)
รูปแบบการเขียนบทที่ 3.
โดย ผศ.ดร.สำราญ กำจัดภัย การจัดประเภทของการวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
สถิติที่ใช้ในงาน การวิจัยเชิงปริมาณ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยใช้รูปแบบการ
บทที่ 11 สถิติเชิงสรุปอ้างอิง
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
การวิจัยเพื่อพัฒนา การเรียนการสอน
ผู้วิจัย นายอภิสิทธิ์ แก้วฟู วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี
Ph.D. (Health MS.Health การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง The Health Promotion.
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
บทที่ 9 การทำซ้ำ (Loop).
โดย นางสาวนิรมล บุรกรณ์
SMS News Distribute Service
Kerlinger (๑๙๘๘) กล่าวว่า การวิจัย เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสวงหาความรู้ ความจริง ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
มาฝึกสมองกันครับ.
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
การนำเสนอผลงานการวิจัย
หลัก MAX MIN CON การออกแบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
การวัดพฤติกรรมทางด้านทักษะพิสัย
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ขดลวดพยุงสายยาง.
งานนำเสนอสำหรับโครงการ นิทรรศการวิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
บทที่ 6 การออกแบบการวิจัย
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
Supply Chain Management
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การกระจายอายุของบุคลากร วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
Ph.D. (Health MS.Health การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง The Health Promotion.
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การวิเคราะห์ความแปรปรวน
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การออกแบบ การวิจัย

การออกแบบวิจัย (Research Design) (น.147) แบบวิจัย เป็นแผน โครงสร้างหรือยุทธวิธีสำหรับการศึกษาค้นคว้าเพื่อ ให้ได้คำตอบของปัญหาการวิจัย และควบคุมความแปรปรวนที่เกิดขึ้น ซึ่งแผนเป็นโครงร่างที่แสดงแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย ในภาพรวม โครงสร้างเป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร หรือกรอบแนวคิดการวิจัย และยุทธวิธีเป็นวิธีการที่เลือกใช้ได้แก่ การ เก็บรวบรวมข้อมูล หรือการวิเคราะห์ข้อมูล

การออกแบบวิจัย (Research Design) น. 148 การออกแบบวิจัย หมายถึง การจำกัดขอบเขตและวางรูปแบบ วิจัยให้ได้มาซึ่งคำตอบที่เหมาะสมกับปัญหาที่วิจัยผลจากการออกแบบ วิจัยเราจะได้ตัวแบบซึ่งเรียกว่าแบบวิจัย ซึ่งประดุจเป็นพิมพ์เขียวของ การวิจัย

จุดมุ่งหมายของการออกแบบการวิจัย (น.149) 1. เพื่อให้ได้คำตอบในปัญหาที่ทำการวิจัยอย่างถูกต้อง (validity) แม่นยำ(Accurately) เป็นปรนัย (Objectively) และประหยัด (Economically) 2 . เพื่อควบคุมความแปรปรวน (Variance) ของตัวแปรในการวิจัย

ความแปรปรวนในการวิจัยเชิงปริมาณ (น.150) 1. ความแปรปรวนอย่างมีระบบ 2. ความแปรปรวนจากตัวแปรแทรกซ้อน 3. ความแปรปรวนจากความคลาดเคลื่อน

หลักการในการควบคุมความแปรปรวนในการวิจัย (น.151) หลักการของแม็กซ์ มิน คอน The Max Min Con principle

The “Max Min Con” Principle 1 การเพิ่มค่าความแปรปรวน (Maximization of Systematic Variance) เป็นการทำให้ความแปรปรวนอันเนื่องจากตัวแปรทดลองหรือตัวแปรหลัก ในการวิจัยมีค่าสูงสุด โดยการทำให้ Treatment แตกต่างกันมากที่สุด ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้วิจัยต้องการเปรียบเทียบผลการเรียน 2 วิธี คือ การเรียน รายบุคคลและการเรียนแบบกลุ่ม ก็จะต้องทำให้วิธีการเรียนทั้งสองวิธีมี ความแตกต่างกันอย่างมีค่าสูงสุด ถ้าตัวแปรอิสระมีโอกาสแปรผันได้มากเท่าใด ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะแยกความแปรปรวนของตัวแปรตาม

ตัวอย่าง ต้องการเปรียบเทียบผลของการสอนแบบใหม่ กับการสอนแบบเดิม ต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง Max : ต้องทำให้วิธีสอนแบบใหม่ และแบบเก่ามีความต่างกันมากที่สุด จึงจะทำให้ความแปรปรวนจากการสอนทั้งสองวิธี มีค่าสูงสุด

ตัวอย่าง กรณีที่ไม่ใช่การวิจัยเชิงทดลอง ต้องทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความแตกต่างกันมากที่สุด ต้องการเปรียบเทียบสมรรถภาพทางร่างกายของชายไทยที่มีอายุต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาต้องมีอายุต่างกันอย่างชัดเจน เช่น 20 ปี กับ 50 ปี ต้องการเปรียบเทียบรูปแบบการบริหาร/จัดการ ทางสุขภาพ ของชุมชนที่ต่างกัน การเลือกพื้นที่ชุมชนควรมีความต่างกันอย่างชัดเจน เช่น เมืองกับชนบท / เทศบาลนครกับเทศบาลตำบล อบต.

การลดค่าความแปรปรวนอันเนื่องมาจากความคลาดเคลื่อนให้น้อยที่สุด The “Max Min Con” Principle 2 การลดค่าความแปรปรวนอันเนื่องมาจากความคลาดเคลื่อนให้น้อยที่สุด (Minimization of Error Variance) ความแปรปรวนอันเนื่องมาจาก ความคลาดเคลื่อนเกิดจากความแตกต่างระหว่างบุคคลและความคลาดเคลื่อน จากการวัด เราสามารถทำให้ค่าความแปรปรวนเหล่านี้มีค่าต่ำสุด โดย การทำเครื่องมือการวิจัยให้มีความเชื่อมั่นสูงขึ้น การลดความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการดำเนินการ

The “Max Min Con” Principle 3 ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเกิน (Control of Extraneous Variable) ซึ่งสามารถทำได้โดย 1. การสุ่ม (Randomization) การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง การสุ่ม กลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม การสุ่มกลุ่มทดลอง 2. การจับคู่ (Matching) 3. การกำจัดตัวแปรแทรกซ้อน (Elimination) 4. การจัดให้เป็นตัวแปรอิสระตัวหนึ่ง

ลักษณะของแบบการวิจัยที่ดี (น.153) ปราศจากความมีอคติ ปราศจากความสับสน สามารถควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน มีการเลือกใช้สถิติที่ถูกต้องในการทดสอบสมมติฐาน

ประเภทของการออกแบบการวิจัย (น.154) 1. การออกแบบการวัดค่าตัวแปร 1.1 กำหนดวัตถุประสงค์ของการวัดค่าตัวแปร 1.2 กำหนดโครงสร้างและคำนิยามของค่าตัวแปร 1.3 กำหนดระดับการวัด สร้าง/พัฒนาเครื่องมือวัด 1.4 ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ 1.5 กำหนดวิธีการและขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล 1.6 กำหนดรูปแบบวิธีการวัดตัวแปร ควบคุมตัวแปรเกิน

ประเภทของการออกแบบการวิจัย 2 2. การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง 2.1 กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่าง 2.2 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม

ประเภทของการออกแบบการวิจัย 3 3. การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 การเลือกใช้สถิติเชิงบรรยาย (ความเที่ยงตรงภายใน) 3.2 การเลือกใช้สถิติเชิงอ้างอิง (ความเที่ยงตรงภายนอก)

วิธีการวางแบบแผนการวิจัย (น.155) 1. การกำหนดปัญหาการวิจัย คำถามวิจัยและวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3. การกำหนดข้อมูลและแหล่งข้อมูล 4. การกำหนดเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การกำหนดวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัย

ความเที่ยงตรงของการออกแบบการวิจัย (น.156) 1. ความเที่ยงตรงภายใน (Internal Consistency) เป็นลักษณะของการวิจัยที่จะสามารถตอบปัญหาหรือ สรุปผลการวิจัยได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนและน่าเชื่อถือ เน้น การดำเนินการที่มีความครอบคลุม 3 ประการ 1.1 การทดสอบสมมุติฐาน 1.2 การควบคุมตัวแปรภายนอก 1.3 ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของเครื่องมือ

ความเที่ยงตรงของการออกแบบการวิจัย 2. องค์ประกอบที่มีผลต่อความเที่ยงตรงภายใน 2.1 ประวัติในอดีต (History) 2.2 วุฒิภาวะ (Maturation) 2.3 การทดสอบ (Testing) 2.4 เครื่องมือในการวิจัย (Instrument) 2.5 การถดถอยทางสถิติ (Statistical Regression)

2.11 การตอบสนองของกลุ่มควบคุม 2.12 การตอบสนองของกลุ่มทดลอง 2. องค์ประกอบที่มีผลต่อความเที่ยงตรงภายใน (ต่อ) 2.6 การสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (Random Assignment) 2.7 การสูญหายของกลุ่มตัวอย่าง (Experimental Motality) 2.8 อิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัยอื่นกับการสุ่มตัวอย่าง 2.9 ความคลุมเครือของความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของตัวแปร 2.10 ความสับสนของสิ่งทดลอง 2.11 การตอบสนองของกลุ่มควบคุม 2.12 การตอบสนองของกลุ่มทดลอง

ความเที่ยงตรงของการออกแบบการวิจัย 2. ความเที่ยงตรงภายนอก (External Consistency) เป็นลักษณะของการวิจัยที่จะสามารถสรุปอ้างอิงผล การวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาไปสู่ประชากรได้อย่าง ถูกต้อง ชัดเจน และน่าเชื่อถือ มี 2 ประเภท คือ 2.1 ความเที่ยงตรงเชิงประชากร 2.2 ความเที่ยงตรงเชิงสภาพการณ์

ประเภทของการออกแบบการทดลอง (น.161) 1. แบบการทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental Designs) 2. แบบการทดลองจริง (True Experimental Designs) 3. แบบการทดลองกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Designs)

สัญลักษณ์ O1 หมายถึง Observe (การวัด,การสังเกตก่อนทดลอง) O2 หมายถึง Observe (การวัด,การสังเกตหลังทดลอง) X หมายถึง Experimental (การทดลอง,ตัวแปรจัดกระทำ R หมายถึง Randomization (การสุ่มตัวอย่าง) กลุ่มทดลอง (experimental group) หมายถึง กลุ่มที่ผู้วิจัยกำหนดให้ได้รับตัวแปรต้น กลุ่มควบคุม (control group) หมายถึง กลุ่มที่ผู้วิจัยควบคุมให้ไม่มีโอกาสเปิดรับตัวแปรต้น

แบบการทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental Designs) 1. แบบกลุ่มเดียววัดผลหลังการทดลอง (One – shot Case Study) X - O2 ลักษณะการทดลอง 1. เป็นการศึกษาเพียง 1 กลุ่ม มีตัวแปรสาเหตุ 1 ตัว 2. วัดผลหลังการทดลอง

แบบการทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental Designs) 2. แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนทดลองและหลังการทดลอง (One – Group Pretest Posttest Design) O1 X O2 ลักษณะการทดลอง 1. เป็นการศึกษาเพียง 1 กลุ่ม มีตัวแปรสาเหตุ 1 ตัว 2. มีการวัดผลก่อนการทดลองและหลังการทดลอง

แบบการทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental Designs) 3. แบบแผนการเปรียบเทียบกลุ่มแบบคงที่ (Static Group Comparison Design) X O2 O2 ลักษณะการทดลอง 1. มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2. มีการวัดผลหลังการทดลอง 3. ศึกษาเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

แบบการทดลองจริง (True Experimental Designs) 1. แบบแผนการทดลองวัดผลก่อนและหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม (Randomized Pretest – Posttest Control Group Design) R O1 X O2 R O1 - O2 ลักษณะการทดลอง 1. มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2. มีการสุ่มตัวอย่าง และการสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 3. มีการวัดผลก่อนและหลังการทดลอง 3. ศึกษาเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

แบบการทดลองจริง (True Experimental Designs) 2. แบบแผนการทดลองวัดผลหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม (Randomized Control Group Posttest Only Design) R X O2 R - O2 ลักษณะการทดลอง 1. มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2. มีการสุ่มตัวอย่าง และการสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 3. มีการวัดผลหลังการทดลอง 4. ศึกษาเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

แบบการทดลองกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Designs) 1. แบบแผนการทดลองกลุ่มควบคุมที่ไม่เท่าเทียมกัน (Non - Equivalent Control Group Pretest – Posttest Design) O1 X O2 O1 - O2 ลักษณะการทดลอง 1. มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2. ไม่มีการสุ่มตัวอย่างเนื่องจากมีการจัดกลุ่มไว้แล้ว 3. มีการวัดผลก่อนและหลังการทดลอง 4. ศึกษาเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

แบบการทดลองกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Designs) 2. แบบแผนการทดลองแบบอนุกรมเวลา (Time Series Design) O1 O2 O3 O4 X O5 O6 O7 O8 ลักษณะการทดลอง 1. ทดลองกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่ม หรือบุคคลคนเดียว 2. มีการวัดซ้ำ (Repeated Measure) ทั้งก่อนและหลังการทดลอง 3. เป็นการศึกษาระยะยาว (Longitudinal)

แบบการทดลองกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Designs) 3. แบบแผนการทดลองแบบอนุกรมเวลา และมีกลุ่มควบคุม (Multiple Time Series Design) O1 O2 O3 O4 X O5 O6 O7 O8 O1 O2 O3 O4 - O5 O6 O7 O8 ลักษณะการทดลอง 1. ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2. มีการวัดซ้ำ (Repeated Measure) ทั้งก่อนและหลังการทดลอง 3. เป็นการศึกษาระยะยาว (Longitudinal)

เกณฑ์ในการพิจารณาประสิทธิภาพของแบบวิจัย 1. เป็นแบบวิจัยที่มุ่งสู่คำตอบในปัญหาที่กำลังทำการวิจัย 2. เป็นแบบวิจัยที่ควบคุมความแปรปรวนได้ 3. เป็นแบบวิจัยที่มีความตรงภายใน (Internal Validity) กล่าวคือผลการทดลอง หรือผลการวิจัยเนื่องจากตัวแปรอิสระในการวิจัยหรือในการทดลอง เราเรียก ตัวแปรทดลอง (Treatment) ตัวแปรที่ก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนมีดังนี้ 3.1 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลองและมีอิทธิพลต่อการทดลอง (History) 3.2 วุฒิภาวะ (Maturation) 3.3 การทดสอบ (Testing)

เกณฑ์ในการพิจารณาประสิทธิภาพของแบบวิจัย (ต่อ) 3.4 เครื่องมือ (Instrumentation) 3.5 สภาพการณ์ถดถอยทางสถิติ (Statistical Regression) 3.6 การคัดเลือก (Selection) 3.7 การสูญหายของผู้รับการทดลองในการทดลอง ((Experimental Mortality) 3.8 ปฏิกิริยาร่วมระหว่างแหล่งที่กล่าวไปแล้ว 4. เป็นแบบวิจัยที่มีความตรงภายนอก (External Validity)