งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย
การกำหนดปัญหาการวิจัย การตั้งสมมติฐาน การกำหนดตัวแปรสำหรับการวิจัย การออกแบบการวิจัย การออกแบบการวิจัยเป็นการสร้างต้นแบบของการวิจัยให้มีความเที่ยงตรงและทำให้เกิดความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือ เพื่อให้สามารถอธิบายผลจากการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานที่ตั้งไว้ บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

2 การดำเนินการกับข้อมูล
การรายงานผลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมาย การดำเนินการกับข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การออกแบบการวิจัยและการวางแผนการสุ่มตัวอย่าง การทบทวนเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การกำหนดประเด็นปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัย การค้นหาปัญหาและกำหนดหัวข้อในการทำวิจัย บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

3 ความหมายของการออกแบบการวิจัย
เคอร์ลิงเจอร์ (Kerlinger,1986 , p.279) ให้ความหมายของการการออกแบบการวิจัยไว้ 2 ความหมาย คือ การออกแบบการวิจัย หมายถึง แผน โครงสร้าง และยุทธ์วิธีในการศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาการวิจัย และควบคุมความแปรปรวน บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

4 ความหมายของการออกแบบการวิจัย
แผน หมายถึง เค้าโครงหรือโครงร่างแสดงแนวทางและขั้นตอนวิธีดำเนินการวิจัยโดยส่วนรวม โครงสร้าง หมายถึง แบบจำลองของตัวแปรในการวิจัย ยุทธวิธี หมายถึง วิธีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและวิธีวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

5 ความหมายของการออกแบบการวิจัย
เคอร์ลิงเจอร์ (Kerlinger,1986 , p.279) ให้ความหมายของการการออกแบบการวิจัยความหมายที่สอง คือ การออกแบบการวิจัย หมายถึง การกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ของตัวแปรตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้วิจัยสามารถหาวิธีการที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

6 ความหมายของการออกแบบการวิจัย
ลาร์รี่ (Larry,2001) ... การออกแบบการวิจัย หมายถึง การกำหนดเค้าโครง แผน หรือกลยุทธ์ของผู้วิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบสำหรับปัญหาการวิจัย (Larry,2001) บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

7 ความหมายของการออกแบบการวิจัย
แต่เนื่องจากแบบของการวิจัยเน้นที่การจัดกระทำกับตัวแปรดังนั้นจึงอาจสรุปความหมายของออกแบบการวิจัย หมายถึง การกำหนดรูปแบบของความสัมพันธ์ของตัวแปรตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ การออกแบบการวิจัยที่ดีจะช่วยลดและขจัดปัญหาการสรุปและตีความผลการวิเคราะห์ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ต้องการออกไป บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

8 วัตถุประสงค์ของการออกแบบการวิจัย
เพื่อให้ได้คำตอบต่อปัญหาที่ทำวิจัยได้อย่างถูกต้อง เที่ยงตรงเชื่อถือได้ เป็นปรนัย และด้วยวิธีที่ประหยัดมากที่สุด 2. เพื่อควบคุมหรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรภายนอก ที่ส่งผลให้ค่าของตัวแปรคลาดเคลื่อนไป บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

9 คุณสมบัติของรูปแบบการวิจัยที่ดี
มีเกณฑ์พิจารณาอยู่ 3 ประการ คือ 1. ให้คำตอบที่ถูกต้องสำหรับปัญหาการวิจัยหรือสามารถทดสอบสมมติฐานได้ครบถ้วน 2. สามารถควบคุมตัวแปรภายนอกได้ 2.1 การควบคุมเทคนิคหรือวิธีการ (Control techniques) - การสุ่ม (Randomization) - การจับคู่ (Matching) - การควบคุมวิธีการทางสถิติ (Control of statistical techniques) 2.2 การควบคุมตัวอย่าง (Group control) - กลุ่มทดลอง (Experimental group) - กลุ่มควบคุม (Control group) 3. สามารถให้ความถูกต้องภายนอก บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

10 ความเที่ยงตรงของการวิจัย
ผลงานวิจัยที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง 2 อย่าง คือ 1. ความเที่ยงต้องภายใน (Internal Validity) 2. ความเที่ยงตรงภายนอก (External Validity) บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

11 ความเที่ยงตรงของการวิจัย
1. ความเที่ยงต้องภายใน (Internal Validity) หมายถึง ความถูกต้องของเนื้อหา และข้อสรุปที่ได้จากผลการวิจัย 1.1 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) 1.2 ความเที่ยงตรงของเครื่องมือวัด (Instrument Validity) 1.3 ความเที่ยงตรงเชิงสถิติ (Statistical conclusion Validity) บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

12 1.1 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)
เกี่ยวข้องกับความสอดคล้องระหว่างการแปลงแนวคิดระดับนามธรรมสู่การวัดในระดับรูปธรรมได้ตรงตามที่ควรจะเป็นหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนของการให้นิยามเชิงปฏิบัติการแก่ตัวแปรที่สามารถสะท้อนให้เห็นแนวคิดระดับนามธรรม ซึ่งการให้นิยามแตกต่างกันอาจส่งผลให้งานวิจัยมีข้อสรุปแตกต่างกันได้ บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

13 1.2 ความเที่ยงตรงของเครื่องมือวัด (Instrument Validity)
ความเที่ยงตรงชนิดนี้เกี่ยวข้องกับคุณภาพของวิธีการและเครื่องมือวัด หมายถึง ความเที่ยงตรงจะเกิดจากสิ่งที่วัดหรือเก็บข้อมูลมาได้ตรงตามที่ผู้วิจัยนิยามไว้หรือไม่ เครื่องมือวัด ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ ซึ่งถ้าความเที่ยงตรงของเครื่องมือวัดมีคุณภาพก็จะส่งผลต่อความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างด้วย บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

14 1.3 ความเที่ยงตรงเชิงสถิติ (Statistical conclusion Validity)
เป็นความเที่ยงตรงในระดับของการแปรข้อมูลที่วัดได้เป็นค่าเชิงปริมาณ กล่าวคือ ความเที่ยงตรงจะเกี่ยวข้องกับการใช้สถิติในการจัดกระทำกับข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้องเหมาะสมกับเงื่อนไข บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

15 ความเที่ยงตรงของการวิจัย
2. ความเที่ยงตรงภายนอก (External Validity) หมายถึง ความถูกต้องของข้อสรุปผลเมื่อนำไปใช้กับประชาชนทั่วไป ดังนั้นความถูกต้องภายนอกย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าการวิจัยนั้น ไม่มีความถูกต้องภายใน 2.1 ความเที่ยงตรงเชิงประชากร (Population validity) 2.2 ความเที่ยงตรงเชิงสภาพการณ์ (Ecological validity) บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

16 ความเที่ยงตรงของการวิจัย
2.1 ความเที่ยงตรงเชิงประชากร (Population validity) หมายถึง ผลของการวิจัยนั้นสามารถนำไปใช้ได้กับกลุ่มประชากรได้กว้างเพียงใด เช่น การวิจัยเกี่ยวกับปัญหาของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ศึกษาจากกลุ่มธุรกิจในเขตกรุงเทพฯ ผลของการวิจัยจะมีความเที่ยงตรงเพียงใด ถ้าจะนำไปใช้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในต่างจังหวัด บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

17 ความเที่ยงตรงของการวิจัย
2.2 ความเที่ยงตรงเชิงสภาพการณ์ (Ecological validity) หมายถึง ผลของการวิจัยนั้นสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เพียงใด และในช่วงเวลาที่แตกต่างกันจะมีข้อจำกัดเพียงใด บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

18 ข้อควรพิจารณาในการออกแบบการวิจัย
1. ต้องการข้อมูลอะไรบ้าง โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการวิจัย กรอบแนวคิด และสมมติฐาน 2. ข้อมูลเหล่านั้นได้จากที่ใดบ้าง โดยพิจารณาว่าจะได้ข้อมูลนั้นโดยการเก็บรวบรวมขึ้นมาใหม่ หรือใช้ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว และจะต้องไปเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นจากที่ใด 3. ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากใครบ้าง โดยพิจารณาว่าประชากรเป้าหมายควรมีลักษณะอย่างไร อยู่ที่ใด และจะต้องใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด จึงทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรเป้าหมายนั้น บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

19 ข้อควรพิจารณาในการออกแบบการวิจัย
4. ใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบใด โดยพิจารณาว่าควรจะเก็บรวมรวบข้อมูลโดยวิธีการใด เช่น การสำรวจ การทดลอง หรือวิธีอื่น ๆ 5. ใช้วิธีการวิเคราะห์อย่างไร โดยพิจารณาว่าข้อมูลที่ได้นั้นควรใช้สถิติการวิเคราะห์เป็น สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) หรือ สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistic) บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

20 สัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมาย
X หมายถึง Experimental variable (ตัวแปรที่กระตุ้น) O1 หมายถึง Observe outcome 1 (การสังเกตผลของเหตุการณ์ครั้งที่ 1) O2 หมายถึง Observe outcome 2 (การสังเกตผลของเหตุการณ์ครั้งที่ 2) On หมายถึง Observe outcome n (การสังเกตผลของเหตุการณ์ครั้งที่ n) C หมายถึง Control Group (กลุ่มควบคุม) E หมายถึง Experimental Group (กลุ่มทดลอง) R หมายถึง Randomization (การสุ่มเพื่อให้มีคุณลักษณะหน่วย ตัวอย่าง เหมือนกันมากที่สุด) บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

21 ประเภทของรูปแบบการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 แบบ
ประเภทของรูปแบบการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 แบบ 1. รูปแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลอง (Non - experimental designs) 2. รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - experimental design) (Experimental design) 3. รูปแบบการวิจัยแบบการทดลอง บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

22 1. รูปแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลอง (Non - experimental designs)
แบบการวิจัยแบบนี้เหมาะสมกับการวิจัยที่ไม่สามารถควบคุมตัวแปรซึ่งอาจจะมีอิทธิพลต่อตัวแปรที่เราสนใจศึกษา ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ส่วนใหญ่จะเป็นการวิจัยแบบไม่มีการทดลอง หรือแบบกึ่งทดลอง แบ่งออกเป็น 3 แบบย่อย ๆ คือ Static group comparison (การวิจัยแบบตัดขวาง) 1. One - group pretest posttest design 2. (การวิจัยแบบระยะยาวหรือติดตามผล) 3. One - shot case study (การวิจัยแบบเฉพาะกรณี) บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

23 1.1 Static group comparison
1. รูปแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลอง (Non - experimental designs) 1.1 Static group comparison (การวิจัยแบบตัดขวาง) X O1 O2 จุดอ่อน คือ นักวิจัยไม่สามารถแน่ใจได้ 100 % ว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีความเสมอเหมือนกันหรือเท่าเทียมกัน (Equivalent) ก่อนที่จะทำการทดลองหรือไม่ ทั้งนี้เพราะไม่มีการสุ่มเลือก (Randomization) ว่าใครจะอยู่ในกลุ่มควบคุมหรือกลุ่มทดลอง บทที่ 5 การออกแบบการวจัย

24 1.1 Static group comparison (การวิจัยแบบตัดขวาง)
1. รูปแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลอง (Non - experimental designs) 1.1 Static group comparison (การวิจัยแบบตัดขวาง) ความเท่าเทียมกันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทดลองแบบ Static Group comparison เพราะการสรุปผลว่าค่า X หรือ Experimental variable เป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง นักวิจัยต้องแน่ใจเสียก่อนว่าทั้งสองกลุ่มมีคุณสมบัติที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ วิธีการแก้ไข คือ การทำ Matching หรือ Randomization บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

25 1.2 One - group pretest posttest design
1. รูปแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลอง (Non - experimental design) 1.2 One - group pretest posttest design เป็นการออกแบบการวิจัยที่ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเดียว โดยทำการทดสอบก่อนและหลัง ตัวอย่างเช่น ผู้วิจัยต้องการทราบทัศนคติของประชาชนที่มีต่อสินค้าประเภทเครื่องดื่มชนิดหนึ่งซึ่งมีการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ กลุ่มทดสอบได้ถูกกำหนดขึ้นต่อจากนั้นผู้ทำการวิจัยได้ดำเนินการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ถูกทดสอบถึงความคิดเห็นของกลุ่มที่มีต่อสินค้าชนิดนั้นก่อนที่จะมีโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ จากนั้นจึงทำการโฆษณาสินค้าเครื่องดื่มทางหนังสือพิมพ์ กลุ่มที่ถูกทดสอบจะถูกสัมภาษณ์อีกครั้งหนึ่งจากที่ได้ดูโฆษณาชิ้นนั้นแล้วถึงความคิดเห็นที่มีต่อสินค้า บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

26 1.2 One - group pretest posttest design
O X O2 ก่อนกลุ่มตัวอย่างเห็นโฆษณา หลังกลุ่มตัวอย่างเห็นโฆษณา การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

27 ข้อเสีย 1. ผู้ทำการวิจัยไม่สามารถควบคุมตัวแปรภายนอกอื่น ๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความแตกต่างของทัศนคติที่เกิดขึ้นก่อนและหลัง จากการดูโฆษณาชิ้นนั้นแล้ว เช่น ในระหว่างที่ทำการวิจัยนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ชนิดนั้น ซึ่งความแตกต่างของรูปแบบการบรรจุภัณฑ์อาจทำให้ทัศนคติของผู้บริโภคสินค้าเปลี่ยนแปลงไป 2. ไม่มีการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม กลุ่มที่ทดสอบมีอยู่กลุ่มเดียวแต่ถูกวัดผล 2 ครั้ง ดังนั้นจึงอาจเกิด Main test effect ขึ้น นั่นคือผลของการวัดครั้งที่ 2 เกิดจากอิทธิพลของการวัดครั้งที่ 1 ไม่ได้เกิดจาก X โดยตรง วิธีการแก้ไข คือ ต้องให้มีการเปรียบเทียบระหว่าง 2 กลุ่ม บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

28 1.3 One - shot case study (การวิจัยเฉพาะกรณี)
(Non - experimental design) 1. รูปแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลอง 1.3 One - shot case study (การวิจัยเฉพาะกรณี) เป็นการออกแบบการวิจัยโดยทำการศึกษาเฉพาะกลุ่มตัวอย่างกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือเฉพาะกรณีเท่านั้น ซึ่งผลการสรุปของการวิจัยแบบนี้จะไม่สามารถนำไปใช้เป็นข้อสรุปของประชากรทั่วไป การออกแบบการวิจัยแบบนี้จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเพียงครั้งเดียว เช่น บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

29 X O Independent variable Dependent variable
ผู้วิจัยต้องการศึกษาว่า การที่ยอดขายเพิ่มขึ้นน่าจะเป็นผลมาจากจำนวนครั้งของการโฆษณาทางโทรทัศน์สูงขึ้น จึงทำการวิจัยโดยเพิ่มจำนวนครั้งของการโฆษณาทางโทรทัศน์เป็นสองเท่า ในขณะที่ทำการทดลองและวัดผลของยอดขายว่าจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ในเวลาที่กำหนดสำหรับการทดลอง X O สาเหตุ (Cause) ผล (observe outcome) Independent variable Dependent variable บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

30 2. แบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental design)
การออกแบบการวิจัยเชิงทดลองจะให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการสุ่มตัวอย่างแบบกระจาย เพราะเราต้องการทำให้กลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกันก่อนที่จะได้รับสถานการณ์ แต่บางสถานการณ์เราไม่สามารถที่จะทำการสุ่มตัวอย่างได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้วิจัยจะต้องออกแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น แบบ คือ 2.1 Control Group Pretest Posttest Design 2.2 Time Series Experiment 2.3 Control Group Time Series Experiment บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

31 E C O1 X O2 O3 O4 2. แบบการวิจัยกึ่งทดลอง
(Quasi - experimental design) 2.1 Control Group Pretest Posttest Design แบบการวิจัยนี้เริ่มมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับแบบการวิจัยที่ใช้วิธีการควบคุม แต่ยังไม่อาจควบคุมความแตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองได้อย่างเต็มที่ O X O2 O O4 E C บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

32 2.1 Control Group Pretest Posttest Design
ก่อนที่จะเริ่มการศึกษาด้วยวิธีนี้ ผู้วิจัยต้องพยายามจับคู่ให้หน่วยตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีความใกล้เคียงกันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หรือลดความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมให้น้อยที่สุด ตัวอย่าง เช่น นักวิจัยต้องการศึกษาถึงประสิทธิผลของการโฆษณาผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่ง กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองก็จะถูกเลือกขึ้นมา นักวิจัยสัมภาษณ์กลุ่มทดลองก่อนแล้วจึงให้ชมโฆษณาผลิตภัณฑ์ จากนั้นจึงดำเนินการวัดทัศนคติของกลุ่มทดลองหลังจากได้ดูภาพยนตร์โฆษณาแล้ว สำหรับกลุ่มควบคุมจะไม่ได้ดูภาพยนตร์โฆษณา แต่จะถูกสัมภาษณ์ความคิดเห็นทั้งก่อนและหลังการทดลองเช่นเดียวกับกลุ่มทดลอง นักวิจัยก็จะสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนคติของผู้ที่อยู่ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้ บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

33 2. แบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental design)
2.2 Time Series Experiment (การทดลองแบบอนุกรมเวลา) O O O O X O O O O8 วัตถุประสงค์ของการทดลองแบบอนุกรมเวลาก็คือ นักวิจัยต้องการสังเกตรูปแบบการตอบสนองของกลุ่มตัวอย่าง โดยที่ไม่ได้ใช้การสังเกตเพียงครั้งเดียว เพราะการสังเกตเพียงครั้งเดียวแล้วสรุปผลอาจมีการผิดพลาดเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัดทัศนคติหรือพฤติกรรมของผู้บริโภค บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

34 2.2 Time Series Experiment (การทดลองแบบอนุกรมเวลา)
จุดอ่อน ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษานานและอาจจะมีปัจจัยภายนอกเข้ามีอิทธิพลต่อตัวแปรที่เราศึกษาทั้งก่อนและหลังการวิจัย บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

35 2. แบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental design)
2.3 Control Group Time Series Experiment (การทดลองแบบอนุกรมเวลาโดยมีกลุ่มควบคุม) O O O O X O O O O8 E C O O O O O O O O8 เป็นการวัดค่าตัวแปรของการเปลี่ยนแปลง O4 กับ O5 ในกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ถ้ากลุ่มทดลองมากกว่าแสดงว่าเป็นเพราะอิทธิพลของ X ที่กระทำลงไป บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

36 3. รูปแบบการวิจัยแบบทดลอง (Experimental design)
แบบการวิจัยนี้จะมีการควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอื่นอย่างเต็มที่ ทำให้มีความมั่นใจในความถูกต้องภายในและภายนอก ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ การควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอื่นทำได้โดยการออกแบบให้มีการสุ่ม (Random) แบ่งได้ 3 แบบ คือ 3.1 Pretest Posttest Control Group Design 3.2 Solomon Four Group Design 3.3 Posttest Only Control Group Design บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

37 E C O1 X O2 O3 O4 R 3. รูปแบบการวิจัยแบบทดลอง (Experimental design)
3.1 Pretest Posttest Control Group Design การวิจัยที่มีเพียงการทดลองก่อนและหลังการวางเงื่อนไข O X O2 O O4 E C R รูปแบบการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจะเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบให้โอกาสเท่าเทียมกัน (Random selected) มาสองกลุ่ม แล้วกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างหนึ่งได้รับเงื่อนไขทดลองเรียกว่ากลุ่มทดลอง สำหรับอีกกลุ่มไม่ได้รับเงื่อนไขทดลอง เรียกว่ากลุ่มควบคุม บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

38 E1 C1 E2 C2 O1 X O2 O3 O4 X O5 O6 3. รูปแบบการวิจัยแบบทดลอง
(Experimental design) 3.2 Solomon Four Group Design การวิจัยแบบ 4 กลุ่มของโซโลมอน O X O2 O O4 E1 C1 X O5 O6 E2 C2 R บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

39 E C X O1 O2 R 3. รูปแบบการวิจัยแบบทดลอง (Experimental design)
3.3 Posttest Only Control Group Design การวิจัยที่มีเพียงการทดสอบหลังการวางเงื่อนไข X O1 O2 E C R บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

40 หลักการประเมินประสิทธิภาพของการออกแบบการวิจัย
1. พิจารณาว่าแบบการวิจัยนั้นมุ่งสู่คำตอบที่แท้จริงของปัญหาการวิจัยหรือไม่ 2. พิจารณาว่าแบบการวิจัยนั้นสามารถขจัดอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อตัวแปรมากน้อยเพียงใด 3. พิจารณาว่าแบบการวิจัยนั้นมีความเที่ยงตรงภายในและภายนอกมากน้อยเพียงใด บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google