งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเขียนโครงร่างวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเขียนโครงร่างวิจัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเขียนโครงร่างวิจัย
อ วิไล อุดมพิทยาสรรพ์

2 การเขียนโครงร่างการวิจัย เพื่อตอบคำถาม 3 คำถามคือ ทำไปทำไม( Why) จะทำอะไร (What) และจะทำอย่างไร (How)

3 องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย
องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย จะมีแบบต่างกันตามแหล่งทุนต่างๆ โดยทั่วไปมีหัวข้อที่คล้ายกัน

4 การเขียนเพื่อตอบคำถาม Why (ทำไปทำไม)
มีความจำเป็น มีคุณค่าและมีประโยชน์ ต้องแสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยมีความรู้พื้นฐานและเข้าใจปัญหาที่กำลังจะศึกษาอย่างถ่องแท้ สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่กรอบแนวความคิดของการวิจัย ระบุได้ว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่ มีที่ใดบ้าง และการศึกษานี้จะมีส่วนช่วยเพิ่มคุณค่าได้อย่างไร หัวข้อที่ใช้การเขียนเพื่อตอบคำถามว่าทำไปทำไมของแหล่งทุนต่างๆ เช่น Introduction , Background of the study

5 การเขียนเพื่อตอบคำถาม What (จะทำอะไร)
คือวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ผู้วิจัยต้องกำหนดให้ชัดเจน เฉพาะเจาะจงว่าจะทำอะไร บอกสิ่งที่จะทำทั้งขอบเขตและคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ การตั้งวัตถุประสงค์ต้องให้สมเหตุสมผลกับทรัพยากรที่เสนอขอและเวลาในการปฏิบัติงาน และต้อง

6 การเขียนเพื่อตอบคำถาม How (จะทำอย่างไร)
กรอบแนวความคิดในการวิจัย ( Conceptual framework ) เขียนเป็นแผนภูมิ กรอบแนวคิดที่ดี จะช่วยให้ผู้อ่านทราบว่า ในงานวิจัยต้องเก็บข้อมูลอะไรบ้าง และข้อมูลมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างไร รูปแบบการวิจัย (Research design) ที่จะใช้ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับคำถามและวัตถุประสงค์ สถิติ (Statistics) ที่ใช้

7 องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย
1 ชื่อโครงการ หรือชื่อเรื่อง (The Title) ชื่อเรื่องเป็นส่วนดึงดูดความสนใจจุดแรกของโครงร่างการวิจัย โดยทั่วไปชื่อหัวข้อจะทำให้ทราบประเภทของการวิจัย ตัวแปรที่ศึกษา โดยเฉพาะตัวแปรตามและประชากรของงานวิจัย

8 องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย
2 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เขียนให้เห็นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ควรมีข้อมูลสถิติสนับสนุน ผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดขึ้น ความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องศึกษาวิจัย ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ เชื่อมโยงกันในแต่ละย่อหน้า เขียนให้สอดคล้องกับชื่อเรื่องที่จะทำวิจัย เขียนให้ครอบคลุมตัวแปรที่ศึกษา

9 3.คำถามการวิจัย (Research question) เขียนในรูปประโยคคำถาม อาจมีคำถามหลายข้อก็ได้

10 4. วัตถุประสงค์การวิจัย เขียนในรูปประโยคบอกเล่า สอดคล้องกับคำถามการวิจัย

11 5. สมมติฐานการวิจัย ควรเขียนให้สอดคล้องกับปัญหาการวิจัย และวัตถุประสงค์ สมมติฐาน เป็นการคาดคะเน (Predict) หรือการทายคำตอบของปัญหาอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (Independent variables) และตัวแปรตาม (Dependent variables) งานวิจัยบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีสมมติฐาน

12 6. ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) เป็นการระบุเงื่อนไขบางประการเพื่อตกลงกับผู้อ่าน 7. คำนิยามศัพท์เฉพาะหรือคำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย ควรเขียนนิยามศัพท์ที่สอดคล้องกับชื่อเรื่องหรือตัวแปรที่ศึกษา

13 8. กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual research) หมายถึง ความคิดรวบยอดที่ได้จากการทบทวนทฤษฎีวรรณกรรม โดยกรอบแนวคิดจะต้องแสดงให้เห็นความสัมพันธ์หรือความสัมพันธ์ของตัวแปร ที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา

14 9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ควรเขียนให้เห็นว่า ผลการวิจัยจะนำไปใช้ประโยชน์กับใคร อย่างไร 10. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

15 11. วิธีดำเนินการวิจัย (บทที่ 3) - ประชากร - กลุ่มตัวอย่าง - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระบุเครื่องมือที่ใช้มีอะไรบ้าง เป็นเครื่องมือของใคร เกณฑ์การให้คะแนน การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทำอย่างไร

16 การดำเนินการทดลอง (ในกรณีเป็นการวิจัยแบบทดลองหรือกึ่งทดลอง)
การรวบรวมข้อมูล ระบุขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยสรุป รวมถึงการพิทักษ์สิทธิของกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล ให้ระบุสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ควรเขียนระบุเป็นข้อๆ ให้เรียงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย

17 12. การพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่างว่าทำอย่างไรบ้าง และมีแบบฟอร์มในการให้ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเพื่อตัดสินใจในการเข้าร่วมงานวิจัย

18 13. ระยะเวลาวิจัย 14. แผนการดำเนินงานวิจัยตลอดโครงการ 15
13. ระยะเวลาวิจัย 14. แผนการดำเนินงานวิจัยตลอดโครงการ 15. งบประมาณวิจัย 16. การเขียนอ้างอิงหรือบรรณานุกรมตามข้อกำหนดของแหล่งทุน

19


ดาวน์โหลด ppt การเขียนโครงร่างวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google