การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ยาเสพติด และชีวิตร่างกาย (คดีร้ายแรง) ของเด็กและเยาวชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล การศึกษาโดยใช้ทฤษฎีการควบคุมตนเอง ผู้วิจัย เสกสิทธิ์ สวรรยาธิปัติ หลักสูตร ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (อาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม) ปี ๒๕๕๔
วัตถุประสงค์ในการศึกษา
1.เพื่อวิเคราะห์บทบาทของทฤษฎีการควบคุมตนเอง ในการอธิบายการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนในคดีเกี่ยวกับทรัพย์ ยาเสพติดให้โทษ และชีวิตร่างกาย ของเด็กและเยาวชน 2.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภูมิหลังกับปัจจัยทางด้านการควบคุมตนเองที่ส่งผลต่อการกระทำผิดในคดีเกี่ยวกับทรัพย์ ยาเสพติดให้โทษ และชีวิตร่างกาย ของเด็กและเยาวชน 3.เพื่อแสวงหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา การกระทำผิดของเด็กและเยาวชนให้สามารถพัฒนาการควบคุมตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำผิดได้ต่อไป
ผลการศึกษาข้อมูลการกระผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในประเทศไทย
การกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในประเทศไทย : แนวทางในการป้องกันและแก้ไขโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายทางด้านอาชญาวิทยา พบว่า ในระดับตัวบุคคลแล้วมีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำฯ ของเด็กและเยาวชนมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการควบคุมตนเอง (Self-control) คือ การกระทำผิดเหล่านี้จะมีระดับ ในการควบคุมตนเองที่ต่ำ และปัจจัยด้านการคบหากับเพื่อน ที่กระทำความผิด (Differential Association)
อิทธิพลของปัจจัยการควบคุมตนเอง
1.ด้านการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ โดยองค์ประกอบมีอิทธิพลเกี่ยวกับความเสี่ยง และองค์ประกอบเกี่ยวกับ การยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ๒.ด้านการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมีองค์ประกอบเกี่ยวกับความหุนหันพลันแล่นด้านกระบวนการ ทางความคิด และองค์ประกอบเกี่ยวกับความเสี่ยง ๓.ด้านการกระทำความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย โดยมีองค์ประกอบเกี่ยวกับความหุนหันพลันแล่นด้านกระบวนการ ทางความคิด องค์ประกอบเกี่ยวกับความเสี่ยง และองค์ประกอบเกี่ยวกับอารมณ์
องค์ประกอบเกี่ยวกับการกระทำผิด มี ๔ องค์ประกอบ องค์ประกอบเกี่ยวกับการกระทำผิด มี ๔ องค์ประกอบ
1.องค์ประกอบเกี่ยวกับความเสี่ยง (Risk Taking) องค์ประกอบการควบคุมตนเอง ด้านความเสี่ยงประกอบด้วย 4 ตัวแปร มีความเที่ยงเชิงโครงสร้างและสอดคล้องกับข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ว่า อิทธิพลต่อ การกระทำความผิดทั้ง 3 ประเภท คือ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ยาเสพติด ชีวิตและร่างกาย
๒.องค์ประกอบเกี่ยวกับอารมณ์ (Temper) การควบคุมตนเองทางด้านอารมณ์อยู่ในรับต่ำ จนนำไปสู่การกระทำความผิดที่รุนแรง ด้วยการใช้กำลังทำร้าย เพราะขาดความหยับยั้งอารมณ์โกรธ การถูกข่มเหงรังแก ดูหมิ่น เหยียดหยาม คับแค้นใจ หรือความไม่พอใจ จึงชอบใช้ภาษากายมากกว่าภาษาพูด
๓.องค์ประกอบเกี่ยวกับการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Self-centered) อิทธิพลระหว่างองค์ประกอบเกี่ยวกับการยึดตนเอง เป็นศูนย์กลาง อาจมีองค์ประกอบที่ชื่นชอบความเสี่ยง มีความหุนหันพลันแล่น ประกอบกับอารมณ์ ไม่ว่าจะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เกี่ยวกับยาเสพติด หรือ การกระทำผิดด้านชีวิตและร่างกาย เพื่อให้เกิดความสุขของตนเอง
๔.องค์ประกอบเกี่ยวกับความหุนหันพลันแล่น (Impulsive) เป็นกระบวนการทางความคิด สามารถกระทำความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายได้ค่อนข้างสูง แสดงให้เห็นว่าความหันหันพลันแล่นค่อนข้าง มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายได้มากกว่าความผิดในลักษณะอื่น
ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย
1) การส่งเสริมและจัดให้มีหลักสูตรเกี่ยวกับการคิดและแก้ไขปัญหาและทักษะการดำเนินชีวิตในสถาบันการศึกษา 2) การจัดให้มีนักจิตวิทยาในสถาบันการศึกษาทุกระดับ เพื่อเข้ามาดูแลและให้คำปรึกษาแนะนำกับเด็กและเยาวชน 3) กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรมีการอบรมด้านจิตวิทยากับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติในศูนย์ฝึกฯและสถานพินิจทั่วประเทศ
5) การขาดมาตรการขาดในการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด 4) การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการกำหนดมาตรการ ในการบำบัดเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด 5) การขาดมาตรการขาดในการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด 6) การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ขอบคุณค่ะ