หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กระบวนการเทคโนโลยี สารสนเทศ สไลด์ประกอบการสอน เรื่อง การจำลองความคิด เป็นข้อความ
การจำลองความคิด ขั้นตอนที่สำคัญในการแก้ปัญหาคือ การวางแผน การวางแผนที่ดีจะช่วยให้ การแก้ปัญหาเป็นไปได้โดยง่าย ผู้ที่สามารถวางแผนในการแก้ปัญหา ได้ดีนอกจากจะต้องใช้ประสบการณ์ ความรู้ และความมีเหตุผลแล้ว ยังควร รู้จักวางแผนให้เป็นขั้นตอนและมีระเบียบ ด้วย การจำลองความคิดเป็นส่วนหนึ่งใน ขั้นตอนที่สองของการแก้ปัญหา การ จำลองความคิดออกมาในลักษณะ ข้อความ หรือเป็นแผนภาพ จะช่วยให้ สามารถแก้ปัญหาได้ดี โดยเฉพาะปัญหา ที่ยุ่งยากซับซ้อน
เครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการจำลองความคิด มักจะประกอบขึ้น ด้วยเครื่องหมายที่แตกต่างกันหลาย อย่าง พอสรุปได้เป็น 2 ลักษณะได้แก่ 1. ข้อความหรือคำบรรยาย (Pseudo code) 2. สัญลักษณ์ (Flow chart)
ข้อความหรือคำบรรยาย (Pseudo code) เป็นการเขียนเค้าโครงด้วยการบรรยายเป็นภาษาที่มนุษย์ใช้ สื่อสารกัน เพื่อให้ทราบถึง ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมแต่ ละตอน ในบางครั้งอาจใช้คำสั่งของภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมก็ ได้ ตัวอย่าง Pseudo code แสดงขั้นตอนการไปทำ ข้อสอบวิชาฟิสิกส์ 1. อ่านคำชี้แจงของข้อสอบ 2. คิดถึงหน้าอาจารย์ผู้สอน 3. ลงมือทำข้อสอบตั้งแต่ข้อแรกถึงข้อสุดท้าย 4. มองหน้าเพื่อนข้างๆ 5. กลับมามองที่ข้อสอบของตัวเอง แล้วตรวจคำตอบตั้งแต่ ข้อแรกถึงข้อสุดท้าย 6. ตัดสินใจส่งข้อสอบให้อาจารย์ผู้คุมสอบ
ตัวอย่างที่ 1 ลำดับงานการพูดโทรศัพท์ การจำลองความคิดเป็นข้อความ เริ่มต้น 1. ยกหูโทรศัพท์ 2. หยอดเหรียญ 3. ฟังสัญญาณให้หมุน 4. กดเลขหมาย 5. สนทนา 6. หยอดเหรียญเพิ่มเมื่อมี สัญญาณเตือน 7. วางหูโทรศัพท์ 8. รับเหรียญคืน จบ
ตัวอย่างที่ 2 ลำดับของการทำบัตร ประชาชน เริ่มต้น รับข้อมูลอายุนักเรียน ตรวจสอบอายุเท่ากับหรือมากกว่า 15 ปี ถ้าจริง ไปที่ว่าการอำเภอ เขียนใบคำร้อง ถ่ายรูปทำบัตร รับบัตรประชาชน กลับโรงเรียน เข้าเรียนปกติ ถ้าไม่จริง เข้าเรียนปกติ จบ
ตัวอย่างที่ 3 ลำดับขั้นตอนการประเมินผล สอบ การจำลองความคิดเป็นข้อความ เริ่มต้น ทดสอบ ตรวจผลการสอบและคิดคะแนนที่ ได้ ตรวจสอบคะแนนที่ได้ว่าน้อยกว่า ร้อยละ 50 หรือไม่ ถ้าน้อยกว่า ให้สอบแก้ตัว ถ้าไม่น้อยกว่า ให้สอบผ่าน จบ
แบบฝึก ???? ให้นักเรียนฝึกการจำลอง ความคิดเป็นข้อความจากโจทย์ ปัญหาต่อไปนี้ – ลำดับขั้นตอนการเตรียมตัว สอบกลาง ภาคเรียน – การคำนวณหาพื้นที่วงกลม