หลักและทฤษฏีกฎหมายมหาชน
กำเนิดของกฎหมายมหาชน ปัญหาก่อนเกิดกฎหมายมหาชน 1. 1. มีการแบ่งชนชั้นในสังคมขึ้นอย่างชัดเจน รวมทั้งจะเกิดการเอารัดเอาเปรียบระหว่างชนชั้นเหล่านั้น ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการปกครอง 2. 2. ผู้ปกครองจะใช้อำนาจที่มีอยู่ตามอำเภอใจและใช้เกินขอบเขตอย่างไม่มีคุณธรรม เนื่องจากผู้ปกครองเป็นผู้บัญญัติหลักเกณฑ์การใช้อำนาจเอง 3. 3. ประชาชนหรือผู้อยู่ใต้อำนาจปกครองไม่สามารถควบคุมการใช้อำนาจของผู้ปกครองหรือแม้กระทั่งไม่สามารถที่จะตรวจสอบการกระทำดังกล่าวได้
กำเนิดของกฎหมายมหาชน(ต่อ) วัตถุประสงค์ของกฎหมายมหาชน 1. กฎหมายมหาชนเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้อำนาจของผู้ปกครองที่ขาดการควบคุม 2. การใช้อำนาจของผู้ปกครองถูกควบคุมโดยการแบ่งแยกอำนาจ(อำนาจอธิปไตย) 3. เพื่อให้สามารถควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ปกครองได้ 4. เพื่อให้การปกครองเป็นไปตาม “หลักนิติรัฐ”
หลักการของกฎหมายมหาชน 1. กฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับ “หน้าที่”ของรัฐ ของหน่วยงานของรัฐ และของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปกครองและการบริการสาธารณะ 2. กฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับ “อำนาจ”ของรัฐ ของหน่วยงานของรัฐ และของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปกครองและการบริการสาธารณะ 3. กฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับ “การควบคุมและตรวจสอบ” การใช้อำนาจและหน้าที่ในการปกครอง และการบริการสาธารณะของรัฐ ของหน่วยงานของรัฐ และของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ลักษณะเฉพาะของกฎหมายมหาชน 1. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน หรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน 2. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายเพื่อสาธารณประโยชน์ 3. เป็นกฎหมายที่มีลักษณะไม่เสมอภาค คือ เป็นกฎหมายที่ให้รัฐ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจที่เหนือกว่า 4. 4. ใช้ในการปฏิรูป (เปลี่ยนแปลงพัฒนา) ด้านต่างๆทั้งทางด้าน การเมือง การศึกษา สังคม เศรษฐกิจ
กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นแม่บท ที่นำหลักเกณฑ์ของกฎหมายมหาชนมาใช้ กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติเกี่ยวกับ ? 1. โครงสร้างหน้าที่ของผู้ทำการปกครอง 2. โครงสร้างอำนาจของผู้ทำการปกครอง แบ่งแยกเป็น 3 อำนาจคือ 2.1 อำนาจนิติบัญญัติ 2.2 อำนาจบริหาร 2.3 อำนาจตุลาการ 3. การควบคุมการใช้อำนาจอธิปไตย
องค์กรและบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายมหาชน 1 รัฐ 2 หน่วยงานของรัฐ 3 เจ้าหน้าที่ของรัฐ มายมหาชน