การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการเขียนแบบก่อสร้าง 1 นักศึกษาระดับ ปวช. 1 หลังการใช้สื่อประกอบการสอน โมเดลโครงสร้างบ้าน สาขางานสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ จิรายุทธ กรรณาลงกรณ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
ปัญหาการวิจัย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้ดำเนินการสอนนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขางานสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ในรายวิชาการเขียนแบบก่อสร้าง 1 จากการจัดการเรียนการสอน ผู้วิจัยสังเกตจากการเรียนพบว่ามีนักศึกษาจำนวนมากไม่เข้าใจโครงสร้างแบบบ้าน ที่อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาเขียน ทำให้การจัดการเรียนการสอนดำเนินไปได้ล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่สร้างสื่อประกอบการสอน โมเดลโครงสร้างบ้าน เพื่อช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของนักศึกษา แทนการฟังเพียงอย่างเดียว เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด และเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนแบบก่อสร้าง 1 ของนักศึกษาหลังการใช้สื่อประกอบการสอน โมเดลโครงสร้างบ้าน 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการเขียนแบบก่อสร้าง 1 ของนักศึกษาก่อนและหลังใช้สื่อประกอบการสอน โมเดลโครงสร้างบ้าน
แผนภูมิ การเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการใช้สื่อประกอบการสอนโมเดลโครงสร้างบ้าน 86 79 82 79 80 63 58 63 60 60
สรุปผลการวิจัย สรุปได้ว่า การที่ผู้สอนศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนแบบก่อสร้าง 1 ของนักศึกษาหลังการใช้สื่อประกอบการสอน โมเดลโครงสร้างบ้าน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการเขียนแบบก่อสร้าง 1 ของนักศึกษาก่อนและหลังใช้สื่อประกอบการสอน โมเดลโครงสร้างบ้านสำหรับนักศึกษาระดับ ปวช.1 สาขางานสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ทำให้นักศึกษามีผลคะแนนดีขึ้น
อภิปรายผลการวิจัย การที่ผู้สอนศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนแบบก่อสร้าง 1 ของนักศึกษาหลังการใช้สื่อประกอบการสอน โมเดลโครงสร้างบ้าน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการเขียนแบบก่อสร้าง 1 ของนักศึกษาก่อนและหลังใช้สื่อประกอบการสอน โมเดลโครงสร้างบ้านสำหรับนักศึกษาระดับ ปวช.1 สาขางานสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ค่าเฉลี่ยของร้อยละและค่าเฉลี่ยของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนใช้สื่อประกอบการสอน โมเดลโครงสร้างบ้าน คือ ร้อยละ 61 และ 1.26 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของร้อยละและค่าเฉลี่ยของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังใช้สื่อประกอบการสอนโมเดลโครงสร้างบ้าน คือ ร้อยละ 81 และ 4.14 ทำให้นักศึกษามีผลคะแนนดีขึ้น
ผลกระทบที่เกิดขึ้น 1.ทำให้อาจารย์ผู้สอนพัฒนาสื่อการเรียนการสอนใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้การเรียนเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ 2. เป็นแนวทางให้อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาอื่นๆ ได้สร้างสื่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้การเรียนเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์
ข้อเสนอแนะ 1.อาจารย์ผู้สอนในวิชาอื่น ๆ ควรสร้างสื่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้การเรียนเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์
โมเดลโครงสร้างบ้าน