สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ผลงานวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาการบัญชีต้นทุน 2 โดยใช้กิจกรรมการสอนแบบ Jigsaw ของนักศึกษา ปวส.2 วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน จัดทำโดย นางสาวนิษา แตงเอี่ยม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
ปัญหาการวิจัย การวิจัยในชั้นเรียนเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนา ทั้งการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน และการเรียนรู้ของผู้เรียนการใช้เทคนิค Jigsaw ในการสอน เป็นอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งข้อดีของการสอนแบบ Jigsaw ก็คือเป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ใช้สอนนักเรียนได้ทั้งเล็กและโต เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน ที่สำคัญคือการที่ได้ทำงานเป็นทีมนั้นจะทำให้นักเรียนรู้จักกันมากขึ้นจึงไม่ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทระหว่างชั้นเรียนเพราะนักเรียนมีความสามัคคีกัน
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ก่อนเรียน และ หลังเรียน วิชาการบัญชีต้นทุน 2 โดยใช้ กิจกรรมการสอนแบบ Jigsaw
ตารางแสดงความแตกต่างของการเรียนแบบร่วมมือ กับการเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิม การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิม (Traditional Group Learning) มีความรับผิดชอบร่วมกัน สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบในงานของตนเองและของสมาชิกกลุ่ม สมาชิกมีความสามารถที่แตกต่างกัน สมาชิกผลัดเปลี่ยนกันเป็นหัวหน้า สมาชิกแบ่งความรับผิดชอบซึ่งกันและกัน เน้นที่วิธีการและผลงาน มีการสอนทักษะทางสังคม อาจารย์ผู้สอนสังเกตการณ์ แนะนำการทำงานกลุ่ม มีวิธีการทำงานกลุ่ม ไม่มีความรับผิดชอบร่วมกัน สมาชิกแต่ละคนอาจไม่รับผิดชอบในงานของตนเองและของสมาชิกกลุ่ม สมาชิกมีความสามารถที่ใกล้เคียงกัน สมาชิกเลือกหัวหน้า สมาชิกรับผิดชอบเฉพาะตัวเอง เน้นที่ผลงาน ทักษะทางสังคมถูกละเลย ไม่ได้มีการสอน อาจารย์ผู้สอนละเลยไม่สนใจการทำงานกลุ่มของนักเรียน ไม่มีวิธีการทำงานกลุ่ม
ระเบียบวิธีวิจัย ประชากร : นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน กลุ่มตัวอย่าง : นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 ห้องกบ 201 จำนวน 54 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย : 1. ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมการสอนแบบ Jigsaw 2.ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีต้นทุน 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 60 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูล ตาราง 1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียน จำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ SD. 1 8.07 1.10 2 8.44 0.98 3 8.94 0.96 จากตารางวิเคราะห์ แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความเข้าใจ ทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น ตาราง 2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีต้นทุน 2 โดยใช้กิจกรรมการสอนแบบ Jigsaw คะแนนสอบ SD. t Sig. ก่อนเรียน 21.69 5.95 -36.73 .000 หลังเรียน 44.13 5.19 จากตารางวิเคราะห์ แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมการสอนแบบ Jigsaw ในรายวิชา การบัญชีต้นทุน 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
สรุปผลการวิจัย พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการบัญชีต้นทุน 2 โดยใช้กิจกรรมการสอนแบบ Jigsaw หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ที่เป็นทั้งนี้เนื่องจาก กิจกรรมการสอนแบบ Jigsaw ทำให้นักเรียนทำงานกันเป็นทีมมากขึ้น มีการช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่มเด็กที่หัวอ่อนกับกลุ่มเด็กที่หัวดี ทำให้ผลการเรียนของเด็กทั้งสองกลุ่มนี้มีผลการเรียนที่ดีขึ้นมากกว่าก่อนที่จะใช้กิจกรรมการสอนแบบ Jigsaw