ทางการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย การสำรวจค่าใช้จ่ายและบุคลากร ทางการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย โดย ส่วนดัชนีการวิจัย ภารกิจนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย (ภน.) วช NRCT สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ความเป็นมา ปี พ.ศ. 2518 เริ่มต้นดำเนินการศึกษางบประมาณการวิจัย โดยใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารงบประมาณ รายจ่ายประจำปีของสำนักงบประมาณ ปี พ.ศ. 2530 มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการศึกษา ให้มีขอบเขตและมาตรฐานที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลของ OECD โดยใช้หลักเกณฑ์ของ Frascati Manual
ความเป็นมา ปี พ.ศ. 2546 ได้มีความร่วมมือระหว่าง วช. และ สวทช. ในการสำรวจค่าใช้จ่ายและบุคลากรทางการวิจัย โดย วช. สำรวจภาครัฐบาล อุดมศึกษา รัฐวิสาหกิจและ เอกชนไม่ค้ากำไร ส่วน สวทช. ทำหน้าที่สำรวจภาคเอกชน(ภาคอุตสาหกรรม) ปัจจุบัน ดำเนินการสำรวจตามแนวทางของปี 2546
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ 1. เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายและบุคลากรทางการวิจัยและพัฒนาของภาครัฐบาล ภาคอุดมศึกษา ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และภาคเอกชนไม่ค้ากำไร 2. ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการจัดทำนโยบายและแนวทางการวิจัยของประเทศ การพิจารณาจัดสรรงบประมาณการวิจัยของประเทศ ตลอดจนเป็นดัชนีใช้วัดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ
ขอบเขตการสำรวจ หน่วยงานภาคราชการ (Government Sector) หน่วยงานภาคอุดมศึกษา (Higher Education Sector) - รัฐบาล - เอกชน หน่วยงานภาครัฐวิสาหกิจ (Public enterprise Sector) หน่วยงานภาคเอกชนไม่ค้ากำไร(Private non-profit Sector) **ยกเว้น ภาคเอกชน ซึ่ง สวทช.จะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงาน**
วิธีดำเนินการ การสำรวจ วิธีการ แบบสำรวจ(questionnaire) เครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล ไปรษณีย์ / โทรศัพท์ / Internet /ส่งเจ้าหน้าที่ไปติดตาม
ขั้นตอนการดำเนินงาน (Step 1) เตรียมฐานข้อมูลหน่วยงานวิจัย รัฐบาล / รัฐวิสาหกิจ / ภาคอุดมศึกษา / เอกชนไม่ค้ากำไร เตรียมแบบสำรวจ และเอกสาร ไปรษณีย์ ส่งออก แบบสำรวจ
ขั้นตอนการดำเนินงาน (Step 2) รอตอบกลับ(ภายใน 30 วัน) Fax / ไปรษณีย์ / Internet จดหมาย / โทรศัพท์ / ส่งเจ้าหน้าที่ ออกติดตาม ติดตามแบบสำรวจฯ ตรวจความสมบูรณ์ และความถูกต้องของแบบสำรวจ
ขั้นตอนการดำเนินงาน (Step 3) โปรแกรม MySQL (ทำหน้าที่เป็น Database Server) บันทึกข้อมูล ประมวลผล โปรแกรมภาษา PHP Analysis นำเสนอผลการสำรวจต่อคณะทำงานฯ พิจารณา จัดทำรายงานผลการสำรวจเผยแพร่
ควรจัดทำฐานหน่วยงานต่างๆ ให้ Update ที่สุด ปัญหาและอุปสรรค (1) มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ตลอดจนยกเลิกและเพิ่มขึ้นมาใหม่ของหน่วยงาน ควรจัดทำฐานหน่วยงานต่างๆ ให้ Update ที่สุด
ปัญหาและอุปสรรค (2) ผู้กรอกแบบสำรวจ/ผู้รวบรวมแบบสำรวจยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจ ควรพยายามทำความเข้าใจต่อผู้ตอบแบบสำรวจ/ผู้รวบรวมแบบสำรวจให้มีความเข้าใจและความสำคัญของการตอบแบบสำรวจที่ถูกต้อง เช่น จัดสัมมนาให้กับกลุ่มผู้ตอบแบบสำรวจ
ปัญหาและอุปสรรค (3) ผู้กรอกแบบสำรวจ/ผู้รวบรวมแบบสำรวจ ในหน่วยงานต่างๆ ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับนิยามความหมายตามมาตรฐานของ Frascati manual ที่ใช้ในการสำรวจค่าใช้จ่ายฯอย่างเพียงพอ ทำให้การกรอกแบบสำรวจยังมีความถูกต้อง ไม่เท่าที่ควร ควรมีการจัดสัมมนาเพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับนิยามและมาตรฐานที่ใช้สำรวจให้กับนักวิจัย/กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการกรอกข้อมูลหรือประสานงานของแต่ละหน่วยงาน
ปัญหาและอุปสรรค (4) มีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคลากรผู้ประสานงานภายในหน่วยงานของผู้กรอกแบบสำรวจ ทำให้การเก็บข้อมูลล่าช้าเพราะผู้ที่มาประสานงานใหม่ยังไม่ค่อยเข้าใจถึงความสำคัญ จำเป็นตลอดจนนิยามต่างๆ ของแบบสำรวจ ต้องเสียเวลาในการอธิบาย ชี้แจงให้ทราบ ควรมีการสร้างเครือข่ายข้อมูลด้านการวิจัยกับหน่วยงานวิจัยต่างๆ เพื่อได้มีการสร้างฐานข้อมูลด้านงานวิจัยที่ครบถ้วนไว้ให้บริการได้สะดวกและรวดเร็ว
ปัญหาและอุปสรรค (5) แบบสอบถามมีรายละเอียดมากมีความยุ่งยากในการกรอกทำให้ผู้ตอบแบบสอบถาม ไม่อยากที่จะกรอก ควรมีการปรับปรุงแบบสำรวจด้วยการออกแบบสอบถามให้มีลักษณะที่เด่น สะดุดตาก่อให้เกิดความรู้สึกอยากอ่าน และง่ายต่อการกรอกมากที่สุด
ปัญหาและอุปสรรค (6) ความซ้ำซ้อนในการเก็บข้อมูลที่คล้ายกันจากแต่ละสำนักและส่วนงาน ที่ออกแบบสอบถามโดยหน่วยงาน วช. ทำให้ผู้กรอกแบบสอบถามเบื่อที่จะกรอก ควรมีการประสานงานกันในการออกแบบสำรวจและการเก็บแบบสอบถามระหว่างหน่วยงานย่อย ภายใน วช. ก่อน
การดำเนินการสำรวจค่าใช้จ่ายและบุคลากรทางการวิจัยและพัฒนา ปี พ.ศ. 2548 จบการนำเสนอ การดำเนินการสำรวจค่าใช้จ่ายและบุคลากรทางการวิจัยและพัฒนา ปี พ.ศ. 2548 ขอขอบพระคุณทุกท่าน