ห้องมืด(Dark Room) ห้องที่ใช้ในการทำงานทาง photoใช้สำหรับ การล้างฟิล์ม และอัดขยายภาพห้องมืดใช้ป้องกันแสงเข้าไป ห้องมืด แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1. ห้อง มืดสำหรับล้างฟิล์ม 2. ห้องมืดสำหรับ อัดและขยายภาพ
ห้องมืดสำหรับล้างฟิล์ม เป็นห้องที่แสงไม่สามารถเข้าได้เลย ควรมีเครื่องปรับอากาศเพราะจะช่วยควบคุมอุณหภูมิของน้ำยาล้างรูปด้วยและช่วยระบายอากาศด้วย เนื้อที่ในห้องควรไม่ต่ำกว่า 3 ตร.เมตร
อุปกรณ์ที่ควรมีในห้องมืดสำหรับล้างฟิล์ม 1. อ่าง มีที่ ถ่ายน้ำสำหรับวางน้ำยา ประมาณ 3 ใบสูงพอประมาณยาว 50*100 ซม. ลึก 20 ซม. 2. มี tank สำหรับล้างฟิล์มพร้อมสำหรับบรรจุฟิล์มเข้าล้าง ใช้ได้ทั้งฟิล์มขนาด 35 มม. และ 3 นิ้ว 3. เทอร์โมมิเตอร์ 4. Timer หรือนาฬิกาจับเวลา 5. ขวดสีชาสำหรับน้ำยาเคมี 3-4 ขวด 6. เครื่องชั่งตวง คน น้ำยาต่างๆ 7.safety-light อาจเป็นสีแดงหรือสีเขียวเข้มก็ได้หรือมีทั้ง2 ก็ได้สำหรับล้างฟิล์มเขียวหรือแดง 8.น้ำยาสำหรับล้างฟิล์ม มี 8.1 น้ำยาสร้างภาพ 8.2 น้ำยาหยุดภาพ 8.3 น้ำยาคงสภาพ 9.มีอ่างที่มีน้ำสะอาดที่พร้อมที่จะเปิดใช้ทันที 10.ฟองน้ำอย่างดีหรือหนังซามัวสำหรับเช็ดฟิล์ม 11. คลิบสำหรับหนีบฟิล์มตาก
ห้องมืดสำหรับอัดและขยายภาพ ห้องที่มีขนาดใหญ่กว่าห้องมืดสำหรับล้างฟิล์ม 1 เท่าตัวเพราะห้องนี้ต้องทำงานนานเป็นห้องที่มิดชิดแสงสว่างลอดเข้าไม่ได้เช่นกันมีเครื่องปรับอากาศควรมีไฟฟ้าเป็นแสงที่ปลอดภัยเช่น สีแดงสลัว ส้มสลัว หรือ เหลืองสลัวโต๊ะตั้งเครื่องขยายภาพ
อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในห้องมืดอัดและขยายภาพ 1. แท็งล้างฟิล์ม 2. แผ่นที่ใช้บังคับแสงขณะขยายภาพ 3. เครื่องที่ทำให้กระดาษแห้ง 4. ถาดล้างกระดาษขยายภาพที่ติดกาลักน้ำที่ขอบ 5. ขวดน้ำยา 6. น้ำยาที่ทำให้สภาพอยู่ตัว 7. ไฟนิรภัย 8. น้ำยาหยุดภาพ 9. น้ำยาสร้างภาพ 10. โต๊ะเปียก 11. แว่นขยายสำหรับโฟกัส 12เครื่องขยายภาพ 13. นาฬิกาจับเวลา 14.เครื่องตัดกระดาษ 15. เครื่องทำให้กระดาษอาซีให้แห้ง
สิ่งที่ควรคำนึงถึงเมื่อออกแบบสร้างห้องมืด 1. ตำแหน่งของเครื่องขยายไม่ควรอยู่ห่างที่ตั้งอ่างน้ำเกิน 4 ฟุต 2. ก๊อกน้ำและสวิตช์ไฟ ควรติดตั้งไว้ในที่เอื้อมถึงได้ง่าย 3. ขอบพื้นโต๊ะของอ่างน้ำควรสูงพอเหมาะ 4. พื้นห้องต้องเป็นวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย 5. ทางเข้าควรมีประตูกั้นแสง 6. ทำหิ้งใส่ของประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้าสูงประมาณ 4 ฟุต 7. เป็นห้องที่ทำความสะอาดง่าย ควบคุมไม่ให้มีฝุ่นละออง
ทางเข้าห้องมืด การใช้ประตู2บาน
ทางเข้าแบบซิกแซก
ทางเข้าห้องมืดแบบประตูหมุน
การระบายอากาศ อุณหภูมิควรประมาณ20 c ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 50-60 % -ความชื้นมากมีผลต่อฟิล์ม -ความชื้นน้อยจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตบนแผ่นฟิล์มทำให้ฟิล์มดูดเศษฝุ่นได้ดี ควรมีพัดลมดูดอากาศออกจากห้องมืด ระบบแสงสว่าง ควรรมีวงจรไฟฟ้า 2 วงจร -วงจรที่ 1 สำหรับแสงขาว -วงจรที่ 2 สำหรับแสงนิรภัย หลอดนิรภัยควร เป็นหลอดธรรมดาที่ใช้ตามบ้าน กำลัง 15 วัตต์และใช้ฟิลเตอร์กรองแสงที่สามารถเปลี่ยนได้
น้ำยาล้างฟิล์ม มีหลายชนิด แล้วแต่ยี่ห้อ แต่มีตัวสารเคมีคล้ายกัน ต่างกันที่ปริมาณ บางชนิดเป็นผงเป็นซอง นำมาละลายน้ำเอง บางชนิดมาเป็นของเหลวบรรจุขวด เช่น KODAK DEVELOPER D-76
ตัวอย่างสูตรน้ำยาล้างฟิล์ม KODAK DEVELOPER D-76 water (50OC or 125OF) 750 cc Elon 2 g Sodium Sulphite(Anhydrous) 100 g Hydroquinone 5 g Borax 2 g เติมน้ำจนครบ 1 ลิตร ใช้ล้างฟิล์ม ผสมน้ำยากับน้ำ 1:1 ที่ 20OC
น้ำยาหยุดภาพ (stop bath) water 1 litre Acetic Acid 28 % 125 cc
น้ำยาคงสภาพ(fixer of fixing bath) water 50OC 600 cc Sodium Thiosulphate(Hypo) 240 g Sodium Sulphite 15 g Acrtic Acid 28% 48 cc Boric Acid crystals 7.5 g Potassium Alum 15 g เติมน้ำจนครบ 1000 cc
ขั้นตอนการล้างฟิล์ม น้ำยาที่ใช้มี 3 ชนิด คือ 1. น้ำยาสร้างภาพ 2. น้ำยาหยุดภาพ 3. น้ำยาคงสภาพ ก่อนล้างจะต้องตรวจสอบอุณหภูมิน้ำยาให้ถูกต้องเสมอ
ขั้นตอนต่างๆในการล้างฟิล์ม 1. เทน้ำยาสร้างภาพจนเต็มถัง แล้วปิดฝาครอบให้สนิท 2. เขย่าถังล้างฟิล์มประมาณ 5 วินาที ทุกระยะเวลา 30 วินาที จนครบเวลาตามสูตร แล้วเทน้ำยาออก 3. เทน้ำยาหยุดภาพ หรือน้ำเปล่าก็ได้ ลงในถัง เขย่าถังประมาณ 30 วินาที แล้วเทออก 4. เทน้ำยาคงสภาพลงในถังล้าง เขย่าประมาณ 7-10 วินาที แล้วเทน้ำยาออก 5. นำฟิล์มไปล้างด้วยน้ำที่ไหลผ่านตลอดเวลาประมาณ 1/2 - 1 ชม. 6. แขวนฟิล์มด้วยคลิปหนีบ แล้วใช้แปรงฟองน้ำอย่างนุ่มเช็ดฟิล์มเบาๆเพื่อขจัดคราบน้ำ ทิ้งฟิล์มให้แห้ง เนกาตีฟที่ได้ก็พร้อมที่จะอัดขยายต่อไป
เนกาตีฟที่ได้จะมี 3 ลักษณะใหญ่ๆคือ 1. เนกาตีฟ under คือ เนกาตีฟที่ล้างออกมาแล้วบางหรือขาวจัด 2. เนกาตีฟ normal คือ เนกาตีฟที่มีความเข้มเหมาะสม 3. เนกาตีฟ over คือ เนกาตีฟที่ล้างออกมาแล้วดำเกินไป