การบริหารจัดการค่าย เพื่อให้เกิดความสะดวก มี ความพร้อม ไม่เกิดความเสี่ยง ต่างๆ และเพื่อให้การดำเนินค่ายบรรลุ เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีจัดการ 1. ขั้นเดรียมการ 1.1 เตรียมบุคลากร - จัดให้มีผู้อำนวยการหรือผู้จัดการค่าย ดูแลความเรียบร้อย รับรายงาน และตัดสินใจ แก้ปัญหาตลอดเวลาของการทำค่าย - วิทยากรผู้ดำเนินกิจกรรม แบ่งความ รับผิดชอบในกิจกรรมต่าง ๆ เตรียมความพร้อม ความรู้ ความเข้าใจ วิธีการเรียนการสอนใน หลักสูตร - ผู้รับผิดชอบด้านการจัดสถานที่ ด้าน อาหาร เครื่องดื่ม ด้านการจัดหาอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการทำกิจกรรม พิธีการต่าง ๆ - ผู้ประสานงานต่าง ๆ เช่น ประสานกับ หน่วยงานสาธารณสุข คุมประพฤติ ครอบครัว ชุมชน วิทยากรพระภิกษุ สถานที่จะพาไปทัศน ศึกษา เป็นต้น
1.2 เตรียมสถานที่ ซึ่งควรมีสถานที่ทำ กิจกรรมกลุ่ม, walk rally ออกกำลังกาย และ เรือนนอน เป็นต้น 1.3 เตรียมอุปกรณ์ สื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในแต่ ละกิจกรรม เครื่องเสียง เครื่องเขียน อุปกรณ์ เครื่องใช้ในแต่ละกิจกรรม ( ควรสำรวจ กิจกรรมอะไรบ้าง ต้องใช้อุปกรณ์ รวบรวม จัดซื้อไว้ให้เพียงพอในแต่ละรุ่น ) ชุดเครื่องใช้ สำหรับสมาชิก เช่น เสื้อ กางเกง ผ้าพันคอสี ต่าง ๆ เพื่อแบ่งกลุ่มสี แก้วน้ำ ช้อน สบู่ ยาสีฟัน ซึ่งเป็นของใช้ส่วนตัว 1.4 เตรียมคู่มือหลักสูตร ตารางกิจกรรม และกฎ ระเบียบ ที่สมาชิกและญาติพึง ปฏิบัติ เช่น ระเบียบการตื่นนอน เข้านอน เข้า ทำกิจกรรม การมีของใช้เฉพาะที่จำเป็น ของที่ ห้ามนำเข้า การเยี่ยมของญาติ และการเข้า - ออกค่าย เป็นต้น
1.5 เตรียมยาสามัญประจำบ้านที่ จำเป็น 1.6 เตรียมยานพาหนะ 1.7 เตรียมเอกสารที่จำเป็น เช่น แบบประเมินคัดกรองสภาพสมาชิก แบบ ประเมินความรู้พฤติกรรม แฟ้มประวัติ ใบบันทึกรายงานพฤติกรรมและอาการ เจ็บป่วย สมุดบันทึกชาวค่าย เป็นต้น 1.8 เตรียมงบประมาณค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ตลอดหลักสูตร
2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชุมวิทยากร ทำความ เข้าใจในการดำเนินงานค่าย จัดตาราง พี่เลี้ยงที่ต้องอยู่เวรดูแลตอนกลางคืน 2.2 ระหว่างดำเนินการค่าย ประชุมวิทยากรหลังเสร็จกิจกรรม ประจำวันทุกเย็น เพื่อประเมิน จุดดี จุดบกพร่อง และเตรียมแก้ไขในวัน ต่อไป
2.3 บริหารความเสี่ยงในค่าย ควรเตรียม ป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิด ดังนี้ - การทะเลาะวิวาท - การลักลอบออกจากค่ายและการนำ สิ่งของมึนเมา ของผิดระเบียบเข้าค่าย - อุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น จากการออกกำลัง กาย การเล่นกีฬา - การเจ็บป่วยกะทันหัน - ความสัมพันธ์ทางเพศ เป็นต้น 2.4 การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ เป็นระยะตาม ความจำเป็น 2.5 อ่านบันทึกชาวค่ายของสมาชิกและลง ความเห็น แนะนำ ชมเชย ให้กำลังใจทุกวัน 2.6 ลงบันทึกพฤติกรรมและประเมินผลเป็น ระยะ ๆ
3. ขั้นติดตามประเมินผล 3.1 การประเมินผลก่อนออกค่าย - ประเมินความรู้หลังการอบรม ความพึง พอใจของสมาชิกและญาติ - บันทึกรายงานพฤติกรรมสมาชิก - ตรวจปัสสาวะก่อนออกจากค่าย - ให้สมาชิกทำแผนการดำเนินชีวิตเมื่อ ออกจากค่าย - แนะนำผู้ปกครองในการดูแลต่อเนื่อง - ให้แบบรายงานตัวของคุมประพฤติ ( ถ้ามี )
3.2 การติดตามผลหลังออก จากค่าย - นัดให้มาติดตาม รายงานตัว เป็นระยะ - โดยให้ส่งแบบรายงานตัว - โดยไปติดตามของเจ้าหน้าที่ - เก็บปัสสาวะตรวจ - บันทึกผลการติดตาม