Eastern Technological College (E.TECH) การศึกษาอัตมโนทัศน์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) นางสาวพัชรินทร์ วงค์จันทร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค)
ปัญหาการวิจัย มีนักเรียนเป็นจำนวนมากที่ประสบปัญหายุ่งยากในวิทยาลัย ทั้งนี้มิใช่เพราะมีความสามารถทางสติปัญญาต่ำ ความยากจนหรือสิ่งอื่นใด แต่เป็นเพราะนักเรียนรับรู้ความสามารถในการเรียนหรือการทำงานของตัวเองผิดไป
ปัญหาการวิจัย (ต่อ) ปัญหาของเยาวชน เช่น การชกต่อย การลักขโมย มีปมด้อย อิจฉาริษยา กังวลใจ ฝันกลางวัน เหล่านี้มีผลมาจากการมีอัตมโนทัศน์ต่ำ แสดงให้เห็นว่า อัตมโนทัศน์เป็นตัวกำหนดความสำเร็จหรือ ความล้มเหลวทั้งทางด้านการเรียน และด้านบุคลิกภาพ ที่สำคัญอย่างยิ่ง
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาอัตมโนทัศน์ของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) เพื่อเปรียบเทียบอัตมโนทัศน์ของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) จำแนกตามข้อมูลส่วนตัวของนักเรียน
กรอบแนวคิดในการวิจัย คะแนนอัตมโนทัศน์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยี ภาคตะวันออก (อี.เทค) เพศ สาขาวิชา เกรดเฉลี่ยสะสม
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) จำนวน 1,652 คน นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) จำนวน 400 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามเกี่ยวกับอัตมโนทัศน์ จำนวน 80 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของนักเรียน ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับอัตมโนทัศน์
สรุปผลการวิจัย นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) มีอัตมโนทัศน์ทั้ง 6 องค์ประกอบ 1. องค์ประกอบของอัตมโนทัศน์ด้านพฤติกรรม 2. องค์ประกอบของอัตมโนทัศน์ด้านสติปัญญาและสถานภาพในวิทยาลัย 3. องค์ประกอบของอัตมโนทัศน์ด้านรูปร่างและบุคลิกภายนอก 4. องค์ประกอบของอัตมโนทัศน์ด้านความวิตกกังวลใจ 5. องค์ประกอบของอัตมโนทัศน์ด้านความเป็นคนน่านิยม 6. องค์ประกอบของอัตมโนทัศน์ด้านความสุขความพอใจ
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) นักเรียนเพศชายและนักเรียนเพศหญิง มีผลทำให้อัตมโนทัศน์ด้านที่เป็นส่วนรวมของอัตมโนทัศน์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนที่เรียนสาขาวิชาต่างกัน มีผลทำให้อัตมโนทัศน์ด้านที่เป็นส่วนรวมของอัตมโนทัศน์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมต่างกัน ไม่มีผลทำให้อัตมโนทัศน์ด้านที่เป็นส่วนรวมของอัตมโนทัศน์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05