วรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนกลาง
๑.กาพย์มหาชาติ (พัฒนาจากมหาชาติคำหลวง) - ประพันธ์โดย พระเจ้าทรงธรรม - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทร่าย เพื่อสวดให้ประชาชนฟัง
๒.พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา (ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ) - ประพันธ์โดย พระโหราธิบดี - ใช้คำประพันธ์ร้อยแก้ว เพื่อบันทึกเหตุการณ์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตามพระราชโองการของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
๓.จินดามณี เล่มที่ ๑ (แบบเรียนภาษาไทยฉบับแรก) - ประพันธ์โดย พระโหราธิบดี - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรอง ประเภทต่างๆ เช่น ฉันท์ ร่าย เป็นต้น เพื่อเป็นตำราเรียนฉันทลักษณ์
๔.สมุทรโฆษคำฉันท์ (ตอนต้นและตอนกลาง) - ประพันธ์โดยพระมหาราชครู สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส - ใช้คำประพันธ์ร้อยกรอง ประเภทคำฉันท์ (มีกาพย์ด้วย) เพื่อใช้เล่นหนังใหญ่
๕.โคลงสุภาษิต ๓ เรื่อง คือ โคลงท้าวทศรถสอนพระราม โคลงพาลีสอนน้องและโคลงราชสวัสดิ์ ๖๓ โคลง - พระนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภท โคลงสี่สุภาพ โคลงทศรถสอนพระราม เพื่อสั่งสอนกษัตริย์ผู้ปกครองประเทศ โคลงพาลีสอนน้อง เพื่อสั่งสอนข้าราชการ โคลงราชสวัสดิ์ เพื่อสั่งสอนข้าราชการในรายละเอียดกว่าเรื่องพาลีสอนน้อง
๖.เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา - พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนเพลงยาว เพื่อทำนายอนาคตของกรุงศรีอยุธยา
๗.โคลงกวีโบราณ จำนวน ๒๕ บท (ต้นฉบับสูญหาย) - กวีต่างๆ ในสมัยสมเด็พระนารายณ์ เช่น พระเทวี พระเจ้าล้านช้าง พระเยาวราช - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรอง มีโคลงประเภทต่างๆ เช่น โคลงกระทู้ ชนิดต่างๆ เพื่อแสดงฝีปากการแต่งโคลงโบราณ
๘.เสือโคคำฉันท์ - ประพันธ์โดยพระมหาราชครู - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทฉันท์ เพื่อทดลองใช้ฉันท์แต่งเรื่องนิทาน
๙.โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช - ประพันธ์โดย พระศรีมโหสถ - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ เพื่อยอพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช
๑๐.กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ - ประพันธ์โดย พระศรีมโหสถ - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกาพย์ห่อโคลง เพื่อบันทึกความเป็นอยู่ของชาวกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
๑๑.โคลงนิราศนครสวรรค์ - ประพันธ์โดย พระศรีมโหสถ - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทร่ายสุภาพ ๑ บท และโคลงสี่สุภาพ ๖๙ บท เพื่อบันทึกการเดินทาง
๑๒.โคลงอักษรสามหมู่ - ประพันธ์โดย พระศรีมโหสถ - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพที่เป็นกลโคลง มีชื่อว่า ตรีพิธประดับ (ตรีเพชรประดับ) เพื่อแสดงแบบการแต่งกลโคลง
๑๓.คำฉันท์ดุษฏีสังเวยกล่อมช้าง - ประพันธ์โดย ขุนเทพกระวี - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทคำฉันท์ เพื่อกล่อมช้างเผือกที่ได้มาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
๑๔.โคลงกำสรวลศรีปราชญ์ - แต่งโดย ศรีปราชญ์ - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรอง ประเภทโคลงสี่สุภาพ เพื่อแสดงปฏิภาณของผู้แต่ง
๑๕.อนิรุทธ์คำฉันท์ - ประพันธ์โดย ศรีปราชญ์ - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทฉันท์ เพื่อแต่งนิทานที่มีที่มาจากคัมภีร์วิษณุปุราณะ
๑๖.โคลงนิราศหริภุญชัย - ไม่ปรากฏหลักฐานผู้แต่ง - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ (เดิมเป็นโคลงลาวก่อน) เพื่อบันทึกการเดินทาง
๑๗.โคลงดั้นทวาทศมาส - ประพันธ์โดย พระเยาวราช และขุนนาง ๓ คน - ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงดั้นวิวิธมาลี มีร่ายสุภาพท้าย ๑ บท
โดย นายศิรวัชร จรัสโชค เลขที่ ๒ นายนพกร วงศ์หนองเตย เลขที่ ๓ นายศิรวัชร จรัสโชค เลขที่ ๒ นายนพกร วงศ์หนองเตย เลขที่ ๓ นายปิยวิช ตันบุรินทร์ทิพย์ เลขที่ ๗ นายธฤต วิประกษิต เลขที่ ๑๓ นายวริศ ศรีทรัพย์ เลขที่ ๓๑ นายนพวงศ์ อานุภาพเสถียร เลขที่ ๓๗ นายกันต์ชญานิน ตันปิชาติ เลขที่ ๓๘