ประเภทของนโยบายสาธารณะ 128730 นโยบายสาธารณะ ประเภทของนโยบายสาธารณะ ธันยวัฒน์ รัตนสัค
๑.นโยบายมุ่งเน้นขอบเขตเฉพาะด้าน และนโยบายมุ่งเน้นสถาบันที่กำหนดนโยบาย ๑.๑ นโยบายมุ่งเน้นขอบเขตเฉพาะด้าน (sectoral policies) เช่น นโยบายด้านการเมือง นโยบายด้านการบริหาร นโยบายด้านเศรษฐกิจ ความครอบคลุมของนโยบาย ความชัดเจนของนโยบาย การแสดงเจตจำนงเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ มีองค์การที่รับผิดชอบในการนำนโยบายไปปฏิบัติโดยตรง
คำแถลงนโยบายโดยนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ๑.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ๑.๒ แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๑.๓ เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล ๒.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต ๒.๑ นโยบายการศึกษา ๒.๒ นโยบายแรงงาน
๓.นโยบายเศรษฐกิจ ๓.๑ นโยบายการเงินการคลัง ๓.๒ นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ๓.๓ นโยบายโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริหารจัดการขนส่งมวลชน สินค้า และบริการ ๓.๔ นโยบายพลังงาน ๓.๕ นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ๔.นโยบายที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ
๑.๒ นโยบายมุ่งเน้นสถาบันที่กำหนดนโยบาย (institutional policies) ๑.สถาบันนิติบัญญัติ เป็นนโยบายที่มีผลบังคับใช้โดยนิตินัย การละเมิดกฎหมายเป็นความผิด มีความมั่นคงถาวร ผลการพิจารณา พ.ร.บ. ของสถาบันนิติบัญญัติอาจส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของรัฐบาล
๒.สถาบันบริหาร นโยบายของสถาบันบริหาร อาทิ มติคณะรัฐมนตรี กฎกระทรวง ๓.สถาบันตุลาการ นโยบายของสถาบันตุลาการ ได้แก่ คำพิพากษาของศาลฎีกา ๒.นโยบายมุ่งเน้นเนื้อหาสาระ และนโยบายมุ่งเน้นขั้นตอนการปฏิบัติ ๒.๑ นโยบายมุ่งเน้นเนื้อหาสาระ (substantive policies) เช่น นโยบายการสร้างรถไฟฟ้า และรถไฟฟ้าใต้ดินใน กทม. นโยบายการสร้างเขื่อน
๒.๒ นโยบายมุ่งเน้นขั้นตอนปฏิบัติ (procedural policies) เช่น นโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๕ ได้กำหนดให้โครงการของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) มีขั้นตอนดังนี้
๓.นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมกำกับโดยรัฐ และนโยบายมุ่งเน้นการควบคุมกำกับตนเอง ๓.๑ นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมกำกับโดยรัฐ (regulatory policies) เช่น นโยบายควบคุมอาวุธปืน ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.๒๔๙๐ นโยบายควบคุมการพนัน ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.๒๔๗๘ นโยบายลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุการขับขี่รถจักรยานยนต์
๓.๒ นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมกำกับตนเอง (self-regulatory policies) เช่น พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.๒๕๓๗ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.๒๕๒๘
๔.นโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ และนโยบายมุ่งเน้นการกระจายความเป็นธรรม ๔.๑ นโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ (distributive policies) เป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการอุดหนุนแก่กลุ่มที่ได้เปรียบอยู่แล้วในสังคม มีลักษณะของการนำเงินของรัฐบาลไปช่วยเหลือประชาชนบางกลุ่ม(directed at aiding the disadvantaged) เช่น นโยบายการแก้ไขปัญหาการผลิตทางการเกษตร
๔.๒ นโยบายมุ่งเน้นการกระจายความเป็นธรรม (redistributive policies) เป็นความพยายามที่จะจัดสรรความมั่งคั่ง รายได้ และสิทธิต่างๆ ให้ประชาชนอย่างเป็นธรรม โดยทั่วไปประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้คือ คนที่เสียเปรียบในสังคม (the disadvantaged) เช่น นโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปี นโยบายกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา นโยบายการจัดตั้งธนาคารเพื่อให้สินเชื่อแก่เกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร
๕.นโยบายมุ่งเน้นเชิงวัตถุ และนโยบายมุ่งเน้นเชิงสัญลักษณ์ ๕.๑ นโยบายมุ่งเน้นเชิงวัตถุ (material policies) เช่น นโยบายช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย นโยบายการปรับปรุงชุมชนแออัด ๕.๒ นโยบายมุ่งเน้นเชิงสัญลักษณ์ (symbolic policies) เช่น นโยบายรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม นโยบายส่งเสริมเอกลักษณ์ไทย
๖.นโยบายมุ่งเน้นลักษณะเสรีนิยม และนโยบายมุ่งเน้นลักษณะอนุรักษ์นิยม ๖.๑ นโยบายมุ่งเน้นลักษณะเสรีนิยม (liberal policies) เช่น นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ นโยบายการกระจายอำนาจการปกครองสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๖.๒ นโยบายมุ่งเน้นลักษณะอนุรักษ์นิยม (conservative policies)
๗.นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าสาธารณะและนโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าเอกชน ๗.๑ นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าสาธารณะ (policies involving public goods) ๗.๒ นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าเอกชน (policies involving private goods)