ศูนย์อำนวยการจราจร และลดอุบัติเหตุทางถนน ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ ศูนย์อำนวยการจราจร และลดอุบัติเหตุทางถนน ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ (ศอ.จร.ภ.จว.บุรีรัมย์)
โครงการสร้างมาตรการองค์กร ในการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100% โครงการสร้างมาตรการองค์กร ในการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100%
มาสร้างมาตรการรณรงค์เพิ่มอัตรา การสวมหมวกกันน็อกกันเถอะ มาสร้างมาตรการรณรงค์เพิ่มอัตรา การสวมหมวกกันน็อกกันเถอะ 6 ขั้นตอนการดำเนินการภายในองค์กร
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน และเตรียมทีมงาน ตั้งคณะทำงาน กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดเป้าหมาย กำหนดดัชนีผลการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนที่ 2 ระดมสมองหาทางแก้ไข ประเมินสถานการณ์อุบัติเหตุภายใน องค์กร - สำรวจ ประเมิน วิเคราะห์ สถานการณ์หมวกกันน็อค สังเกต พฤติกรรมการขับขี่ของพนักงาน กำหนดแรงจูงใจและบทลงโทษที่ ชัดเจนสำหรับพนักงาน ที่ไม่สวม หมวกนิรภัย อาทิ - จัดประกวดแผนก/ฝ่าย/บุคคลต้นแบบ ภายในองค์กรพร้อมมอบรางวัล
- หากพนักงานผู้ขับขี่ และผู้ซ้อน ท้ายไม่สวมหมวกนิรภัยจะไม่อนุญาตให้ นำรถเข้ามาจอดภายในองค์กร หากไม่ ปฏิบัติตามจะโดนว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ บำเพ็ญประโยชน์ หรือมี ผลต่อการขึ้นเงินเดือน - หากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมจาก การไม่สวมหมวกนิรภัย จะถูกส่งเข้า อบรมให้ความรู้จากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ ขนส่งจังหวัด เป็นต้น - เก็บข้อมูลบันทึก”จำนวนครั้ง”ของ การไม่สวมหมวกนิรภัย แล้วค่อยเพิ่ม บทลงโทษตามจำนวนของการกระทำ ความผิด ที่ส่งผลต่อการประเมิน ความก้าวหน้า หรือเหตุจูงใจอื่นที่ตรง กับความเป็นจริง
ขั้นตอนที่ 3 จัดสัมมนา ประชุมชี้แจง ก่อนเริ่มใช้นโยบาย หรือบทลงโทษในการปฏิบัติจริง ควรจัด สัมมนา ประชุมชี้แจงพนักงานว่าองค์กรตระหนักถึงปัญหาการ ไม่สวมหมวกนิรภัยของพนักงาน เน้นย้ำถึงความห่วงใยที่มีต่อพนักงาน ในงานอบรมควรมี กิจกรรมและการสนับสนุนเล็กๆ น้อยๆ เพื่อกระตุ้นให้ พนักงานเห็นความสำคัญของนโยบายดังกล่าว เช่น - มีการแลกเปลี่ยนเรื่องเล่าจากผู้เคยประสบอุบัติเหตุ ร้ายแรงเพราะไม่สวมหมวกนิรภัย เพื่อเป็นอุทาหรณ์ - มีการแจก/ขายหมวกนิรภัยในราคาถูกสำหรับพนักงาน
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการดำเนินการ จัดเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยคอยดูแล ตักเตือนให้พนักงาน สวมหมวกนิรภัยอย่างถูกต้อง ที่ประตูทางเข้า-ออกขององค์กร หากทำได้ควรเพิ่มตำแหน่ง”ผู้ตรวจจับ” เพื่อให้มีหน้าที่ในการจับ หรือตักเตือนเพื่อลดแรงต้านที่พนักงาน นักเรียน นักศึกษา มีต่อ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย บันทึกภาพและข้อมูลผู้ไม่สวมหมวกนิรภัย กระทำผิดกฎหมายใน องค์กร ส่งให้คณะทำงานป้องกันอุบัติเหตุเป็นประจำทุกสัปดาห์ จะได้รู้ว่าใครทำผิด ใครทำดี แล้วแจ้งเวียนภาพถ่ายและรายชื่อ ผู้กระทำผิดให้หัวหน้าแผนก/ฝ่ายต่างๆ ที่เป็นต้นสังกัดดำเนินการ ตักเตือน หรือลงโทษตามมาตรการ
คณะทำงานป้องกันอุบัติเหตุร่วมประชุม กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้ ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ ติดตั้งกล้อง CCTV หรือกล้องวงจรปิด เก็บภาพพนักงานที่ทำผิดเป็นหลักฐาน เพื่อลดการปะทะกันระหว่างพนักงานและ เจ้าหน้าที่ในกรณีที่พนักงานไม่ยอมรับ ความผิดของตน นอกจากการจับ ปรับ ทำโทษ ยังมี กิจกรรมอื่นๆที่สามารถทำควบคู่กันไปได้ ด้วย เพื่อช่วยสนับสนุนการรณรงค์สวม หมวกนิรภัย เช่น
- ส่งเสริมให้ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ของพนักงานเดือนละ 1 ครั้ง หากพบความผิดปกติให้สั่งซ่อมทันที - จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการขับขี่ปลอดภัย กิจกรรมวันรณรงค์ภายในและภายนอกองค์กร กิจกรรมที่ส่งเสริมให้คนมองเห็นความสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุร่วมกัน - จัดอบรมบุคลากรจากแผนก/ฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร เพื่อเป็นแกนนำช่วยเฝ้าระวังการป้องกันอุบัติเหตุ
ขั้นตอนที่ 5 ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ภายนอกองค์กร เช่น ขอให้ตำรวจตั้ง จุดตรวจบังคับใช้กฎหมายบริเวณหน้า องค์กร หรือในบริเวณใกล้เคียง เมื่อ พนักงานกระทำความผิดกฎหมายจราจร ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งรายชื่อให้ คณะทำงานป้องกันอุบัติเหตุขององค์กร ทราบ เพื่อดำเนินการทางวินัยหรือใช้ ประกอบการพิจารณาความดีความชอบ ต่อไป ขอความร่วมมือให้พนักงานนำภาพถ่าย ครอบครัวติดตัวไว้ขณะขับขี่เพื่อเตือนสติ ไม่ให้ประมาท
ขั้นตอนที่ 6 ติดตามประเมินผล เพื่อให้พนักงานให้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง เปลี่ยนพฤติกรรมได้ จะต้องสร้างแรงกระตุ้นให้ตระหนักถึง ความสำคัญของการสวมหมวกนิรภัยบ่อยๆ และหามาตรการ เสริมเพื่อจูงใจให้ยังใส่หมวกนิรภัยต่อไป ติดตามประเมินผล โดยการสำรวจตัวแปรที่เกี่ยวข้อง เช่น ยอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ ยอดจำหน่าย หมวกนิรภัยรอบๆ องค์กรแล้วนำมาเปรียบเทียบกับปริมาณที่ สำรวจไว้ในตอนแรกจะได้รู้ว่ามาตรการของเรามีประสิทธิภาพ ขนาดไหน และควรพัฒนาต่อไปอย่างไรเพื่อให้ตอบ วัตถุประสงค์และเป้าหมายได้ตรงที่สุด
จบแล้วครับ