หลักระบาดวิทยาสำหรับ ป.ตรี อ.ธวัช จายนียโยธิน 27 พฤศจิกายน 2557 น.ส.นันท์นภัส ภูวะสุวรรณ์ ผู้พิมพ์ 1
ระบาดวิทยา คือ วิชาที่ กล่าวถึง การเกิด การกระจายและ สิ่งกำหนดของโรคภัยไข้เจ็บของ มนุษย์ แนวคิดของระบาดวิทยา คือ สัจธรรมของการเกิดโรค ซึ่งมีการ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
โรคและภัยต่างก็เป็นปัญหา สาธารณสุข โรค มีอาการโดยเฉพาะ ภัย ไม่มีอาการโดยเฉพาะ
การเกิดโรคและภัย เพราะมี เหตุ และปัจจัย อหิวาตกโรค เหตุ คือ VIBRIO CHOLERAE ปัจจัยหลัก คือ การที่เชื้อเข้า ไปในร่างกายทางปากพร้อมอาหาร และน้ำจำนวนมากพอและเป็นเชื้อ ที่สามารถก่อพยาธิสภาพ
ปัจจัยรอง คือ สุขวิทยาส่วนบุคคล (PERSONAL HYGIENE) สภาพสุขาภิบาล (SANITATION) ส้วม น้ำ ความสะอาด ชุมชนแออัด ความไม่รู้จริง เรื่องคุณค่าของ “สุขภาพดี” “ตามใจปาก”
การกระจาย (DISTRIBUTION) คือ การจำแนก การเกิดโรคตาม บุคคล สถานที่ และเวลา (PERSON PLACE TIME)
สิ่งกำหนด (DETERMINANT) คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีความเกี่ยวข้อง กับการเกิด การกระจายของแต่ละ โรค แต่ละภัย
การระบาด คือ การที่มีความถี่ ของการเกิดโรคมากผิดปกติ เกิน กว่าที่คาดหมายไว้ในช่วงเวลา เดียวกัน ยกเว้น บางกรณี
การเปลี่ยนแปลง ของ การเกิดโรคที่เป็นปัญหา สาธารณสุข จากโรคระบาดที่มี ผู้ป่วยและตายคราวละมากๆ เป็นโรคประจำถิ่น และระบาด เป็นคราวๆ
ยุทธศาสตร์ในการ ป้องกันและควบคุมโรคจึงต้อง เปลี่ยนไปด้วย จากการรายงาน การระบาดมาที่ส่วนกลาง แล้วส่ง เจ้าหน้าที่ไปช่วยแต่ละจังหวัด เป็นการสร้างเครือข่ายการเฝ้า ระวังทางระบาดวิทยา “เกิดโรคที่ไหน แก้ไขที่นั่น”
การเฝ้าระวังทางระบาด วิทยา คือ การติดตาม สังเกต พิจารณาหาเหตุผล ทุกแง่มุม ของการเปลี่ยนแปลง การเกิด การกระจาย และสิ่งกำหนด ของ โรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์
การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา เป็นการเฝ้าระวังภาวะ ปกติ เพื่อให้รู้ความ ผิดปกติ (การ ระบาด) โดยเร็วที่สุดเพื่อ ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค ให้ได้ผลดี ภายในเวลาสั้นที่สุด เพื่อช่วยชีวิตมนุษย์ได้มากที่สุด
สิ่งสำคัญที่สุดที่ได้จากการ เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา คือ ข้อมูล (DATA) และ ข่าวสาร (INFORMATION)
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี 5 ข้อ คือ 1. ครบถ้วน 2. ถูกต้อง 3. ทันเวลา 4. หาง่าย 5. ใช้สะดวก
การได้มาของข้อมูลจากผู้ป่วย จะต้องผ่าน กระบวนการ ดังนี้ 1. การสังเกต 2. ซัก (ประวัติ) ถาม (อาการ) 3. ตรวจ (ร่างกาย) (ทด) สอบ (TEST ต่างๆ ทาง LAB) 4. บันทึก (รายละเอียดต่างๆ ที่ตรวจพบและให้การวินิจฉัย) 5. รายงาน
ทั้งหมดนี้เป็นระบาดวิทยาเชิงพรรณนา หรือเชิงบรรยายเพื่อบอกให้ทราบว่า 1. โรคหรือภัย อะไร 2. เกิดกับใคร 3. เกิดที่ไหน 4. เกิดเมื่อใด
จากข้อมูลที่ได้รับรายงาน นำมารวบรวม เรียบเรียง นำเสนอ และ “วิเคราะห์” การวิเคราะห์ คือ การแยกแยะ และนำมาหาความสัมพันธ์ ซึ่งกัน และกัน ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เปลี่ยนจากข้อมูลให้เป็น “ข่าวสาร” เพื่อนำเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ และเผยแพร่แก่สาธารณชนต่อไป ทั้งหมดนี้เป็นระบาดวิทยาเชิง วิเคราะห์
ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ คือ ความรู้ว่า โรคหรือภัยนั้น เกิดขึ้นได้ อย่างไร หรือเกิดขึ้นจากอะไร ถ้ายังไม่สามารถตอบได้ต้อง ดำเนินการ “สอบสวนโรค” เพื่อหา ข้อมูลโดยละเอียดและสมบูรณ์มา ประกอบการวิเคราะห์ และถ้ายังไม่ สามารถตอบได้ต้องทำการศึกษาโดย การทดลองหรือวิจัยต่อไป
งานระบาดวิทยาของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ 1. งานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา - SRRT , BORDER HEALTH 2. งานสอบสวนโรค - SRRT , FETP 3. งานเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร 4. งานศึกษาวิจัย (และขยายเครือข่าย FETP)
จุดอ่อน 1. การนำเสนอ 2. นิยาม HAE องค์ประกอบของการ เกิดโรคติดเชื้อ พจนานุกรม 3. การสอบสวนโรค 4. ความรู้ทางห้องปฎิบัติการ 5. ความรู้ด้านวิทยาภูมิคุ้มกัน 6. หลักสูตร ป.ตรี โดยเฉพาะพยาบาล
องค์ประกอบของการเกิดโรคติดเชื้อ แหล่งโรค การถ่ายทอดโรค (SOURCE OF INFECTION) TRANSMISSION ผู้ที่มีความไวรับ SUSCEPTIBLE HOST
การสอบสวนโรคทางระบาดวิทยา อ.ธวัช จายนียโยธิน 27 พฤศจิกายน 2557 น.ส.นันท์นภัส ภูวะสุวรรณ์ ผู้พิมพ์ 1
ระบาดวิทยา คือ วิชาที่ กล่าวถึงการเกิด การ กระจาย (DISTRIBUTION) และสิ่งกำหนด (DETERMINANT) ของโรคภัย ไข้เจ็บของมนุษย์ 2
แนวคิดของระบาดวิทยา (นพ แนวคิดของระบาดวิทยา (นพ.สุ ชาติ เจตนเสน) คือ สัจธรรม ของการเกิดโรค ซึ่งมีการ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 3
ปรัชญาของการ สอบสวนโรค คือ ผลย่อมมาจาก เหตุ 4
การสอบสวนโรค (INVESTIGATION) คือกิจกรรม เชื่อมต่อระหว่างระบาดวิทยาเชิง พรรณนาและระบาดวิทยาเชิง วิเคราะห์ 5
การสอบสวนโรคเป็นภารกิจ ร่วมกันของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทุกคน 6
วัตถุประสงค์หลักของการสอบสวนโรค เพื่อตอบคำถามว่า ปัญหาสาธารณสุข ในชุมชนนั้น ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อทราบคำตอบแล้วจึงนำไปใช้ แก้ปัญหาตรงเป้าด้วยความรวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัดทั้งชีวิตคน เวลาและงบประมาณ 8
หลักสำคัญในการสอบสวนโรค 5 ประการคือ 1. รวบรวมและจัดหาข้อมูลทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ที่เกี่ยวกับการระบาดครั้งนี้ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ 2. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการจำแนกตามบุคคล เวลา และสถานที่การเกิดโรค แล้วนำมาหา ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 3. นำสรุปผลการวิเคราะห์มาตั้งสมมุติฐานให้ครอบคลุม 4. หาข้อมูลจำเพาะบางประการมาช่วยในการพิสูจน์ สมมุติฐาน 5. พยายามพิสูจน์ สมมุติฐานให้ได้ 9
เมื่อทราบผลการสอบสวนโรคแล้ว กิจกรรมที่ต้องทำคือ การทำลายเชื้อ ให้การรักษาหรือการนำส่ง สถานพยาบาลตามลำดับ ให้สุขศึกษา ปรับปรุงเรื่องสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม 10
กิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไป คือการป้องกันและควบคุมโรคมิให้ เกิดขึ้นอีกในระยะยาว 11
สุดท้าย คือ เขียนรายงานการ สอบสวนโรค เพื่อให้ผู้สนใจได้ ศึกษาต่อไปในอนาคต 12