กฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อม จากเดิมที่ไม่มีแนวคิดในด้านการอนุรักษ์ แต่มีกฎหมายในการจัดการทรัพยากร ที่ดิน สิ่งแวดล้อม มีกฎหมายป่าไม้ พ.ศ.2484 มีการให้สัปทานป่าไม้ และการทำเหมืองแร่ เริ่มมีแนวคิดอนุรักษ์จาก นพ.บุญส่ง เลขะกุล ตั้งสมาคมนิยมไพร การเสนอกฎหมายในการอนุรักษ์สัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และต่อมาใน พ.ศ.2504 มีการประกาศใช้กฎหมายอุทยานแห่งชาติ การมีกระเสอนุรักษ์ใน ช่วง พ.ศ. 2535 จากอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ Add timeline on law and development in Thailand and global Law concerning Environment
วิวัฒนาการของกฎหมายที่ใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อม (ทบทวน) อิทธิพลของหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อมสากล เริ่มจากการไม่มีกฎหมายที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยตรง ใช้หลักกฎหมายละเมิดและหลักกฎหมายเรื่องเดือดร้อนรำคาญ (nuisance)เข้ามาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเรื่องภาระการพิสูจน์/ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล สร้างหลักกฎหมายเรื่องความรับผิดเด็ดขาดของผู้ประกอบการ สร้างกฎหมายในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การคุ้มครองสวัสดิภาพอนามัยและกฎหมายในการแก้ปัญหามลพิษ (ในยุคทศวรรษที่ 60) Law concerning Environment
หลักกฎหมายพื้นฐาน ในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์จากความเป็นมาและแนวคิดที่ใช้ ระบบศักดินา – ที่ดิน ทรัพยากรผูกติดกับอำนาจการปกครอง การจัดระบบที่ดินเพื่อการเก็บภาษี การมีกรมป่าไม้เพื่อการจัดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า Public Trust Doctrine หลักสาธารณประโยชน์ อำนาจรัฐในการจัดการทรัพยากร (สาธารณสมบัติให้องค์กรรัฐเป็นผู้ดูแล) อำนาจของประชาชนในมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร Paradigm Shift จากแนวคิดการผลิตแบบเส้นตรง มาสู่ความสัมพันธ์กับวงจรธรรมชาติและชุมชน Law concerning Environment
การจัดการทรัพยากรและระบบการผลิตในสังคม Exclusion กีดกันได้ Non-exclusion ไม่สามารถกีดกันได้ Rival แย่งกันบริโภค Private goods: food, cars, clothes Common goods (Common-pool resources): fish in the river/sea, trees in the forest, underground water Non-rival ไม่กระทบการบริโภคของผู้อื่น (โดยทั่วไป/ในระดับหนึ่ง) Toll goods or Club goods: parks, movies, music, telephone, cable TV Public goods: air quality, national defense, broadcasting, ecosystem Law concerning Environment
Law concerning Environment จากตารางข้างต้น ทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นสินค้าประเภทใดในสังคม? ที่ดิน? แหล่งน้ำ? อากาศ? สัตว์ป่า สัตว์น้ำ? ต้นไม้? ป่าไม้? ระบบนิเวศน์? ปัญหาโศกนาฎกรรมกับของสาธารณะ Tragedy of the Commons Externalities & free riders Law concerning Environment
โศกนาฏกรรมของ ของสาธารณะ Maximum benefit? Jeremy Bentham “The greatest good for the greatest number” มนุษย์ต่างกอบโกย เพื่อประโยชน์สูงสุดของตนเอง การทำกำไรสูงสุดของผู้ประกอบการ การดูแลของส่วนรวม เป็นภาระของทุกคนในสังคม การผลักภาระของต้นทุนการผลิตให้แก่สังคม โดยที่ตัวเองไม่ได้ร่วมในการดูแล บำรุงรักษาต้นทุน/ของส่วนรวมนั้น เช่น น้ำ อากาศ ที่ดินและทรัพยากร เสรีภาพในการเจริญพันธุ์ของมนุษย์ ก่อปัญหาประชากรล้นโลก และยังเป็นประชากรที่โลภมากอีก! Law concerning Environment
Law concerning Environment การจัดการของส่วนรวม การโต้แย้งว่าคนเห็นแก่ตัว กับผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร แนวคิดว่าทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีการจัดการ การกำหนดว่าต้องมีการคำนวณต้นทุนที่แท้จริงของการผลิต การร่วมรับผิดชอบของผู้ใช้ จะจัดการกับ free rider เราจะจัดการกับ “คนกินแรงเพื่อน” อย่างไร? ไม่มีใครที่รู้แล้วจะฆ่าห่านทองคำของตัวเอง เพื่อเอาไข่ในท้องหรอก! วิธีการในการจัดการควรเป็นอย่างไร? ใครควรมีอำนาจในการจัดการ? Law concerning Environment
Law concerning Environment สรุป - ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ควรมีการจัดการ ปัญหาคือ ใครมีอำนาจในการจัดการนี้? และจะจัดการอย่างไร? การจัดระบบโควต้า ใบอนุญาตเรือประมง การห้ามจับสัตว์ในฤดูวางไข่ การอนุญาตให้เฉพาะคนในชุมชนในการใช้ประโยชน์ การกำหนดการปล่อยของเสีย ตัวอย่าง การนิรโทษกรรมเรือประมงอวนลาก! การนำมาตรการทางเศรษฐกิจเข้ามาเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (หรือมาตรการกีดกันทางการค้า) เช่น เรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเลกับการส่งออกกุ้งไทย มาตรฐานของอาหารส่งออกไปยุโรป การขึ้นบัญชีประเทศที่ละเมิดCITES การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยต้องคำนึงถึงเรื่องเศรษฐกิจของคนในชุมชนเข้ามาเป็นข้อพิจารณา การใช้ประโยชน์ในทรัพยากรเชิงอนุรักษ์ เช่น ecotourism Law concerning Environment
กฎหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างกว้าง กฎหมายในการจัดการทรัพยากร กฎหมายในการจัดการผลิต เช่น พรบ.โรงงาน กฎหมายในการจัดการพื้นที่ เช่น พรบ.ผังเมือง กฎหมายในการจัดการพลังงาน เช่น พรบ.รักษาอนุรักษ์พลังงาน กฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพ เช่น พรบ.สาธารณสุข พรบ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พรบ.อาหารและยา กฎหมายในการจัดการเฉพาะ เช่น พรบ.วัตถุอันตราย กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการของเสียมีพิษ การใช้สารเคมี กฎหมายกระจายอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น Law concerning Environment
Law concerning Environment โครงสร้างของกฎหมาย โดยทั่วไปกฎหมายระดับพระราชบัญญัติจะประกอบด้วยโครงสร้างดังนี้ บททั่วไป – ชื่อกฎหมาย เวลาในการประกาศใช้ บทนิยาม และผู้รักษาการตามกฎหมาย (เพื่อออกกฎหมายลำดับรองลงไป – ข้อสังเกต ปกติจะเป็นรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ แต่หากผู้รักษาการตามกฎหมายเป็น นายกรัฐมนตรี แสดงว่ากฎหมายนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆกระทรวง) ส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ – ส่วนใหญ่จะเป็นการกำหนดว่ากฎหมายนั้นต้องการจะทำอะไร เช่น การกำหนดว่ามีคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการบางอย่าง – ที่มาของคณะกรรมการ อำนาจหน้าที่ของกรรมการนั้น รวมถึงการกำหนดว่าห้ามทำ/ให้ทำอะไร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้น ส่วนที่เป็นสภาพบังคับ – การกำหนดโทษทางอาญา/แพ่ง/มาตรการทางปกครอง เพื่อให้การละเมิดกฎหมายนั้นมีผลทางกฎหมาย บทเฉพาะกาล – เป็นการกำหนดระยะเปลี่ยนผ่านของกฎหมายว่าจำเป็นต้องสร้างอำนาจเฉพาะกิจ เช่นให้องค์กรเดิมยังมีหน้าที่อยู่ การกำหนดให้มีการออกกฎหมายลำดับรองในการกำหนดขั้นตอนรายละเอียดต่างๆ หรือการกำหนดให้มีบัญชีแนบท้ายกฎหมาย ในการกำหนดชนิดประเภทสิ่งต่างๆที่กฎหมายคุ้มครอง/ควบคุม Law concerning Environment
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน การจัดการมลพิษ การจัดการขยะ และของเสียอันตราย Law concerning Environment
ป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ พรบ.ป่าไม้ 2484 พรบ.อุทยานแห่งชาติ 2504 พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 พรบ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2418 แก้ไข 2535 พรบ.สวนป่า 2535 พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2535 Law concerning Environment
การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน พรบ.ผังเมือง 2518 พรบ.ควบคุมอาคาร 2522 พรบ.การสาธารณสุข 2535 พรบ.โรงงาน 2535 พรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 2535 พรบ.สถานบริการ 2509 พรบ.โรงแรม 2547 พรบ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 2504 Law concerning Environment
Law concerning Environment การจัดการมลพิษ พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 พรบ. โรงงานอุตสาหกรรม 2535 พรบ. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2522 Law concerning Environment
การจัดการขยะ และของเสียอันตราย การจัดการขยะ และของเสียอันตราย พรบ.การสาธารณสุข 2535 พรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 2535 Law concerning Environment
Law concerning Environment การบ้าน ให้ทุกคนไปหากฎหมาย (พรบ.) จากเวปไซด์ของสำนักงานกฤษฎีกา (หรือแหล่งใดๆ ก็ได้) แล้วระบุว่าเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมในประเภทใด และกฎหมายฉบับนั้นมีโครงสร้างอย่างไร ให้เขียนมาหนึ่งหน้ากระดาษ ส่งอาทิตย์หน้า (วันจันทร์ที่ 9 สำหรับภาคพิเศษ/ วันศุกร์ที่ 13 สำหรับภาคปกติ) Law concerning Environment
Law concerning Environment ตัวอย่าง พรบ.รักษาคลอง ร.ศ. 121 มาตรา 6 ถ้า หากว่าสามารถจะทำได้อย่างอื่นแล้ว ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเอาหยากเยื่อฝุ่นฝอยหรือสิ่งโสโครกเททิ้งในคลอง และห้ามมิให้เททิ้งสิ่งของดังกล่าวมาแล้วลงในทางน้ำลำคู ซึ่งเลื่อนไหลมาลงคลองได้ ถ้าผู้ใดกระทำผิดต่อมาตรานี้ ให้ปรับผู้นั้นไม่เกิน 20 บาท หรือจำคุกไม่เกินเดือนหนึ่ง หรือทั้งปรับและจำทั้งสองสถาน มาตรา 9 ห้าม มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดกระทำให้คลองและฝั่งคลอง หรือถนนหลวงเสียไปด้วยประการใด ๆ ถ้าผู้ใดกระทำผิดต่อมาตรานี้ ให้ปรับผู้นั้นไม่เกิน 20 บาท หรือจำคุกไม่เกินเดือนหนึ่ง หรือทั้งปรับและจำด้วยทั้งสองสถาน และต้องทำสิ่งซึ่งเสียหายให้คืนดีด้วยอีกโสด 1 Law concerning Environment
Law concerning Environment แต่พื้นฐานของกฎหมายต่างๆมักเป็นการกำหนดให้อนุญาตในการใช้ทรัพยากรมากกว่าเป็นการคุ้มครอง/จัดการสิ่งแวดล้อม เช่น พรบ.ประมง พ.ศ. 2490 ม. 12 ที่อนุญาตคือที่จับสัตว์น้ำซึ่งอนุญาตให้บุคคลทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และรวมถึงบ่อล่อสัตว์น้ำ ม. 13 ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่อนุญาต เว้นแต่ผู้รับอนุญาต Law concerning Environment
Law concerning Environment ม. 14 ห้ามมิให้บุคคลใดขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนในที่ดินอันบุคคลถือกรรมสิทธิ์ บุคคลย่อมขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำได้แต่ต้องไม่เป็นการเสียหายแก่พันธุ์สัตว์น้ำในที่รักษาพันธุ์ ปัญหาการพัฒนาพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การเพิ่มจำนวนประชากร การขยายตัวของเมือง และวิถีชีวิตสมัยใหม่ - การใช้เทคโนโลยีและสารเคมีทำให้กฎหมายเดิมไม่เพียงพอต่อการรักษาสมดุลในการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ Law concerning Environment