งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Principles of Environmental Law

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Principles of Environmental Law"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Principles of Environmental Law
หลักการของกฎหมายสิ่งแวดล้อม 3 Principles of Environmental Law

2 วิวัฒนาการของกฎหมายที่ใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อม (ทบทวน)
อิทธิพลของหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อมสากล เริ่มจากการไม่มีกฎหมายที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยตรง ใช้หลักกฎหมายละเมิดและหลักกฎหมายเรื่องเดือดร้อนรำคาญ (nuisance)เข้ามาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเรื่องภาระการพิสูจน์/ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล สร้างหลักกฎหมายเรื่องความรับผิดเด็ดขาดของผู้ประกอบการ สร้างกฎหมายในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การคุ้มครองสวัสดิภาพอนามัยและกฎหมายในการแก้ปัญหามลพิษ (ในยุคทศวรรษที่ 60) 3 Principles of Environmental Law

3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
สภาพสิ่งแวดล้อม – มลพิษ การจัดการทรัพยากร  การจัดการพื้นที่คุ้มครอง เช่น การจัดการพื้นที่ป่า และ การจัดการพื้นทีลุ่มน้ำ การจัดการเมือง  ผังเมือง ควบคุมการใช้ที่ดิน สุขภาพอนามัย  วัตถุอันตราย, อาหารและยา, การใช้สารเคมี 3 Principles of Environmental Law

4 โครงสร้างของระบบกฎหมาย
มีกฎหมายมากมาย/กระจัดกระจาย กฎหมายว่าด้วยการจัดการทรัพยากร – ที่ดิน, น้ำ กฎหมายกำหนดการจัดการทรัพยสิน - ที่ดิน กฎหมายละเมิดและความรับผิดของผู้ประกอบการ กฎหมายเกี่ยวกับการผลิตในระบบพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม – โรงงาน ขนส่ง การค้า ผังเมือง กฎหมายป่าไม้ – อุทยาน, การให้สัมปทานป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์สัตว์ป่าสัตว์น้ำ พันธุ์พืช กฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อม 3 Principles of Environmental Law

5 การจัดการทรัพยากรและระบบการผลิตในสังคม
Exclusion กีดกันได้ Non-exclusion ไม่สามารถกีดกันได้ Rival แย่งกันบริโภค Private goods: food, cars, clothes Common goods (Common-pool resources): fish in the river/sea, trees in the forest, underground water Non-rival ไม่กระทบการบริโภคของผู้อื่น (โดยทั่วไป/ในระดับหนึ่ง) Toll goods or Club goods: parks, movies, music, telephone, cable TV Public goods: air quality, national defense, broadcasting, ecosystem 3 Principles of Environmental Law

6 3 Principles of Environmental Law
จากตารางข้างต้น ทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นสินค้าประเภทใดในสังคม? ที่ดิน? แหล่งน้ำ? อากาศ? สัตว์ป่า สัตว์น้ำ? ต้นไม้? ป่าไม้? ระบบนิเวศน์? ปัญหาโศกนาฎกรรมกับของสาธารณะ Tragedy of the Commons Externalities & free riders 3 Principles of Environmental Law

7 โศกนาฏกรรมของ ของสาธารณะ
Maximum benefit? Jeremy Bentham “The greatest good for the greatest number” มนุษย์ต่างกอบโกย เพื่อประโยชน์สูงสุดของตนเอง การทำกำไรสูงสุดของผู้ประกอบการ การดูแลของส่วนรวม เป็นภาระของทุกคนในสังคม การผลักภาระของต้นทุนการผลิตให้แก่สังคม โดยที่ตัวเองไม่ได้ร่วมในการดูแล บำรุงรักษาต้นทุน/ของส่วนรวมนั้น เช่น น้ำ อากาศ ที่ดินและทรัพยากร เสรีภาพในการเจริญพันธุ์ของมนุษย์ ก่อปัญหาประชากรล้นโลก และยังเป็นประชากรที่โลภมากอีก! 3 Principles of Environmental Law

8 3 Principles of Environmental Law
การจัดการของส่วนรวม การโต้แย้งว่าคนเห็นแก่ตัว กับผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร แนวคิดว่าทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีการจัดการ การกำหนดว่าต้องมีการคำนวณต้นทุนที่แท้จริงของการผลิต การร่วมรับผิดชอบของผู้ใช้ จะจัดการกับ free rider เราจะจัดการกับ “คนกินแรงเพื่อน” อย่างไร? ไม่มีใครที่รู้แล้วจะฆ่าห่านทองคำของตัวเอง เพื่อเอาไข่ในท้องหรอก! วิธีการในการจัดการควรเป็นอย่างไร? ใครควรมีอำนาจในการจัดการ? 3 Principles of Environmental Law

9 3 Principles of Environmental Law
สรุป - ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ควรมีการจัดการ ปัญหาคือ ใครมีอำนาจในการจัดการนี้? และจะจัดการอย่างไร? การจัดระบบโควต้า ใบอนุญาตเรือประมง การห้ามจับสัตว์ในฤดูวางไข่ การอนุญาตให้เฉพาะคนในชุมชนในการใช้ประโยชน์ การกำหนดการปล่อยของเสีย ตัวอย่าง การนิรโทษกรรมเรือประมงอวนลาก! การนำมาตรการทางเศรษฐกิจเข้ามาเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (หรือมาตรการกีดกันทางการค้า) เช่น เรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเลกับการส่งออกกุ้งไทย มาตรฐานของอาหารส่งออกไปยุโรป การขึ้นบัญชีประเทศที่ละเมิดCITES การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยต้องคำนึงถึงเรื่องเศรษฐกิจของคนในชุมชนเข้ามาเป็นข้อพิจารณา การใช้ประโยชน์ในทรัพยากรเชิงอนุรักษ์ เช่น ecotourism 3 Principles of Environmental Law

10 กฎหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างกว้าง
กฎหมายในการจัดการทรัพยกร กฎหมายในการจัดการผลิต เช่น พรบ.โรงงาน กฎหมายในการจัดการพื้นที่ เช่น พรบ.ผังเมือง กฎหมายในการจัดการพลังงาน เช่น พรบ.รักษาอนุรักษ์พลังงาน กฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพ เช่น พรบ.สาธารณสุข พรบ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พรบ.อาหารและยา กฎหมายในการจัดการเฉพาะ เช่น พรบ.วัตถุอันตราย กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการของเสียมีพิษ การใช้สารเคมี กฎหมายกระจายอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 Principles of Environmental Law

11 จากการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมสู่กฎหมายภายใน
Silent Spring by Rachel Carson (September 1962)  DDT ban (1972) Cuyahoga River  Clean Water Act 1969 Santa Barbara Oil Spill by Union Oil (10 วัน รั่วถึง 100,000 barrels) National Environmental Policy Act (NAPA)  President’s Council on Environmental Quality (CEQ)  Environmental Assessments  กำหนดบทบาทเฉพาะในฝ่ายบริหาร 3 Principles of Environmental Law

12 กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกรณีกฎหมายภายใน เช่น การเรีมต้นจากสหรัฐอเมริกามี กฎหมายว่าด้วยนโยบายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 1969, กฎหมายว่าด้วยคุณภาพอากาศ 1970, กฎหมายว่าด้วยคุณภาพน้ำ 1972 และกฎหมายว่าด้วยสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ 1973 การผ่านกฎหมายจากรัฐสภา ทั้งพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล การหาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา สิทธิในการพัฒนาของประเทศโลกที่สาม การพิสูจน์ถึงวิกฤตสิ่งแวดล้อม – Technocentric vs. Anthropocentric vs. Ecocentric ! 3 Principles of Environmental Law

13 กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกรณีกฎหมายภายใน เช่น การเรีมต้นจากสหรัฐอเมริกามี กฎหมายว่าด้วยนโยบายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 1969, กฎหมายว่าด้วยคุณภาพอากาศ 1970, กฎหมายว่าด้วยคุณภาพน้ำ 1972 และกฎหมายว่าด้วยสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ 1973 3 Principles of Environmental Law

14 วิกฤตสิ่งแวดล้อมที่นำมาสู่การวางหลักกฎหมาย
การได้รับผลจากมลพิษอย่างร้ายแรง เช่น โรคมินามาตะ จาการได้รับสารปรอทจากการบริโภคปลาทะเล 1908 – 1955 การได้รับค่าชดเชย โรคอิไต อิไต จากการที่คนงานเชื่อมโลหะ ได้รับแคดเมียม ทำให้ญี่ปุ่นซื่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้รับผลกระทบจากพิษของอุตสาหกรรม การปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว 1975 เขียนโดย มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ โรงงานนิวเคลียรที่เชอร์โนบิล 1986 3 Principles of Environmental Law

15 จากการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมสู่กฎหมายภายใน
กฎหมายสิ่งแวดล้อมได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภา (ทั้งสองฝ่าย - รัฐบาลและฝ่ายค้าน) ต้นทุนของการจัดการสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและการลงทุน ปัญหาสิ่งแวดล้อมภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายภายในรัฐ จากธุรกิจการเมือง ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่มีพรมแดน การใช้กฎหมายระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือช่วย State & Non-State Actors 3 Principles of Environmental Law

16 กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในระดับสากล
การเคลื่อนไหวของกลุ่มนักอนุรักษ์ในระดับเหนือรัฐ - กฎหมายระหว่างประเทศ United Nations Conference on the Human Environment 1972 World Commission on Environment and Development 1983 United Nations Conference on Environment and Development 1992 World Summit on Sustainable Development 2002 3 Principles of Environmental Law

17 หลักการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ปฏิญญากรุงสต๊อกโฮมว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ 1972 ปฏิญญากรุงริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา 1992 3 Principles of Environmental Law

18 หลักการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
หลักการว่าด้วยสิทธิอธิปไตยและความรับผิดชองของรัฐ รัฐมีสิทธิอธิปไตยตามกฎบัตรสหประชาชาติ และหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของตนเองตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม (และการพัฒนา) ของตน และมีความรับผิดชอบที่จะประกันว่ากิจกรรมต่างๆภายในอำนาจหรือการควบคุมของตนไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐอื่นหรือของบริเวณที่อยู่นอกขอบเขตอำนาจแห่งชาติ (สต๊อกโฮม ข้อ21) 3 Principles of Environmental Law

19 หลักการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
หลักการว่าด้วยการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติของโลก รวมทั้ง อากาศ น้ำ แผ่นดิน พืชและสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบนิเวศตามธรรมชาติ จะต้องได้รับการปกป้อง เพื่อประโยชน์ของชนรุ่นนี้และชนรุ่นหลัง โดยการวางแผนหรือการจัดการอย่างระมัดระวังตามความเหมาะสม (ข้อ 2) 3 Principles of Environmental Law

20 หลักการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
หลักการป้องกันภาวะมลพิษ เรียกร้องให้หยุดการปล่อยสารพิษ รวมถึงความร้อนสู่สิ่งแวดล้อมในปริมาณความเข้มข้นที่เกินขีดจำกัดของธรรมชาติจะรับได้ (ข้อ6) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน มีค่อยชัดเจนในปฏิญญากรุงสต๊อกโฮม เนื่องจากเน้นที่บทบาทของรัฐในการจัดการ แต่มีในปฏิญญากรุงริโอ (ข้อ 10) ว่าจะสามารถจัดการได้ดีหากสามารถให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 3 Principles of Environmental Law

21 หลักการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
หลักการว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อลดภาวะการแข่งขันทางการค้า และความขัดแย้งทางการเมือง ให้มีการสนับสนุนความร่วมมือทางกด้านวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ ข้อมูลข่าวสาร(ข้อ20) หลักการรับผิดและความชดใช้เยียวยา เมื่อเกิดความเสียหาย 3 Principles of Environmental Law

22 หลักการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
หลักการระงับข้อพิพาทอย่างสันติ โดยการเจรจา การสอบสวน การประนีประนอม การไกล่เกลี่ย อนุญาโตตุลาการ การระงับข้อพิพาททางศาล การใช้องค์กรและข้อตกลงในระดับภูมิภาค 3 Principles of Environmental Law

23 United Nations Conference on Environment and Development 1992
Agenda 21 ส่วน 1 มิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ ส่วน 2 การอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนา ส่วน 3 การสร้างความเข้มแข็งแก่บทบาทของกลุ่มหลัก – เด็ก สตรี องค์กรเอกชน และองค์กรท้องถิ่น ส่วน 4 วิธีการในการบังคับใช้ – การศึกษา การถ่ายทอดเทคโนโลยี และกลไกการเงิน 3 Principles of Environmental Law

24 รัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้อม
สิทธิในการมีส่วนร่วมในการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ม.66, 67 รวมถึงสิทธิในการฟ้องหน่วยงานรัฐให้ดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธินี้ สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารจากรัฐ ม.56,57 สิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาตัดสินใจ ม.58 สิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และฟ้องหน่วยงานรัฐ ม.59,60 สิทธิในการออกเสียงประชามติ 3 Principles of Environmental Law

25 3 Principles of Environmental Law
มาตรา 66 บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน 3 Principles of Environmental Law

26 3 Principles of Environmental Law
มาตรา 67 สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้ เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ย่อมได้รับความคุ้มครอง 3 Principles of Environmental Law

27 3 Principles of Environmental Law
มาตรา 56 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ 3 Principles of Environmental Law

28 3 Principles of Environmental Law
มาตรา 57 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ 3 Principles of Environmental Law

29 3 Principles of Environmental Law
มาตรา 58 บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน 3 Principles of Environmental Law

30 3 Principles of Environmental Law
มาตรา 59 บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันรวดเร็ว  มาตรา 60 บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น 3 Principles of Environmental Law

31 3 Principles of Environmental Law
มาตรา 61 สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ให้ มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการ บังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภครวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำ อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย จบ ☃ 3 Principles of Environmental Law


ดาวน์โหลด ppt Principles of Environmental Law

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google