ผู้วิจัยโดย นางสาวกุลธิดา มีสัตย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญภิวัฒน์ งานวิจัยเรื่อง ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ผู้วิจัยโดย นางสาวกุลธิดา มีสัตย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญภิวัฒน์
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา มีความสนใจที่จะศึกษาถึงปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ของนักเรียนระดับชั้น ปวช. 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์เพื่อเป็นประโยชน์ เป็นเสมือนกระจกสะท้อนกลับให้สถาบันได้นำไปใช้พัฒนาด้านการบริหารจัดการสถาบันด้านการศึกษา การประชาสัมพันธ์ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย และใช้เป็นแนวทางการจัดกิจกรรม แนะแนวนักเรียนสำหรับการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และเพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการผลิตนักเรียนนักศึกษาต่อไป
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ของนักเรียนระดับปวช. 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ของนักเรียนระดับ ปวช. 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ 3. เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ของนักเรียนระดับ ปวช. 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ จำแนกตามเพศ ผลสัมฤทธิ์การเรียน อาชีพของผู้ปกครอง รายได้ของผู้ปกครอง และระดับการศึกษาของผู้ปกครอง
คำถามงานวิจัย 1. ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ของนักเรียนระดับ ปวช. 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ อยู่ในระดับใด 2. มีปัจจัยส่วนประสมการตลาดใดบ้างที่นักเรียนใช้ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 3. นักเรียนที่มีเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายได้ของผู้ปกครอง ระดับการศึกษาของผู้ปกครองและอาชีพของผู้ปกครองแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์แตกต่างกันหรือไม่
ขอบเขตงานวิจัย 1. ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้วิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับ ปวช. 3ของวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ จำนวน 445 คน นำมากำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane, 1973, p.125) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ยอมให้คลาดเคลื่อนร้อยละ 5 ได้จำนวนทั้งสิ้น 210 คน ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ตัวแปรอิสระ 1. ผลสัมฤทธิ์การเรียน 2. อาชีพของผู้ปกครอง 3. รายได้ของผู้ปกครอง 4. ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง 5. ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (ด้านหลักสูตร,อัตราค่าเล่าเรียน, ช่องทางการจัดจำหน่าย, กิจกรรมการส่งเสริมการตลาด, ด้านบุคคล, สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และกระบวนการ) ตัวแปรตาม การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ของนักเรียนระดับ ปวช. 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
กรอบแนวคิดในการศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล 1. เพศ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3. อาชีพของผู้ปกครอง 4. รายได้รวมต่อเดือนของครอบครัว 5. ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) 1. ด้านหลักสูตร (Product) 2. ด้านอัตราค่าเล่าเรียน (Price) 3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) 4. ด้านกิจกรรมส่งเสริมการตลาด (Promotion) 5. ด้านบุคคล (People) 6. ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Evidence) 7. ด้านกระบวนการ (Process) การตัดสินใจเลือกเข้า ศึกษาต่อสถาบันการ จัดการปัญญาภิวัฒน์
สรุปผลการวิจัย ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อฯ ของนักเรียน * เกรดเฉลี่ยสะสมในช่วง 3.01 – 3.50 * ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับ ม.ปลาย/ปวช * รายได้ต่อเดือนของผู้ปกครองส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 10,001 – 20,000 บาท * อาชีพส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจส่วนตัวหรือแม่บ้าน
สรุปผลการวิจัย ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ในการเลือกเข้าศึกษาต่อฯ ของนักเรียน * ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านก็อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน 1. ด้านหลักสูตร (Product) 2. ด้านอัตราค่าเล่าเรียน (Price) 3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) 4. ด้านกิจกรรมส่งเสริมการตลาด (Promotion) 5. ด้านบุคคล (People) 6. ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical) 7. ด้านกระบวนการจัดการ (Process)
สรุปผลการวิจัย ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ โดยจำแนกจากเพศ เกรดเฉลี่ยสะสม ระดับการศึกษาของผู้ปกครองที่แตกต่างกัน มีผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ไม่แตกต่างกัน