6. ท่าน เข้าใจว่าตนเอง เสียภาษีอยู่? เสีย / ไม่เสีย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ทิศทางการดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
Advertisements

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก 21 สิงหาคม 2551
บทที่ 1 ลักษณะของระบบบัญชี
การจัดการเงินทุนหมุนเวียน
เปลี่ยนชีวิต. ให้ยิ้มได้. กับทิพยประกันภัย วันนี้ ความสำเร็จรออยู่
ชี้แจงการสัมมนากลุ่มย่อย
สมชัย จิตสุชน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 16 กุมภาพันธ์ 2550
Gain 1st 116.
รายได้และรายจ่ายของตนเองและครอบครัว
สถานการณ์การเงินที่อยู่อาศัย
กองทุนสวัสดิการ.
“e-Revenue” “ภาษี”เรื่องง่าย ๆ.
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกันภัย
การเปิดเผยข้อมูลและ นโยบายการบัญชี
บทที่ 2 องค์การและการจัดการ.
สรุปใบงาน วิชา ระบบสารสนเทศทางการบัญชี บช. 342
คำถามของการบริหารการค้าปลีก
บทที่ 8 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)
Introduction to Safety Engineering
สาระสำคัญของการแก้ไข พรบ. กบข. ฉบับที่ 5
กองทุนประกันสังคมคือ...
กฎหมายการเงิน การคลังทั่วไป
ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นางสาววรนุช ชัยกิตติภรณ์ หัวหน้าสนง.ตรวจบัญชีสหกรณ์ชลบุรี
หน้าที่ของสมาชิกสหกรณ์
● ส่วนที่สองบริษัทประกันชีวิตจะนำไปซื้อหน่วย
ความสำคัญของการออม เพื่อเกษียณอายุ
บทบาทการบริหารงานสำนักงาน 1
อุบัติเหตุและวิธีป้องกัน
Chapter8 การบัญชีและการวิเคราะห์งบการเงิน
น.ส.เสาวลักษณ์ วิจิตรโสภา
บัญชีรับ – จ่ายในครัวเรือน และต้นทุนประกอบอาชีพ
ผลสรุปการแบ่งกลุ่มย่อยประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ
(ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุน ( ชื่อกองทุน )
การตรวจสอบการบริหารงานพัสดุ
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ระบบประกันสังคม มี 2 กองทุน.....
RISK BASED CAPITAL คณะทำงาน RBC สมาคมประกันวินาศภัย
สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce
เด็กไทยรุ่นใหม่ใส่ใจการออม
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กรอบแนวคิด หลักการ กฎหมาย คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการ สาธารณสุข เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ ภาค ประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค.
มีการดำเนินงานหลัก ๆ อยู่ 2 ประการ คือ
ภารกิจสำนักงานประกันสังคม
หน้าที่ของกรมธรรม์ประกันชีวิต (สัญญาหลัก)
ผู้จัดทำ 1.นางสาวสุพรรษา ภูพวก เลขที่19 ม.4/4
2.3 การเสนอตัวอย่างการคำนวณเบี้ยประกัน
มาตรฐานสากลของระบบคุ้มครองเงินฝาก
ระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สมาชิก
โครงการสำนักงานอธิการบดี ออมทรัพย์เพิ่มพูน
PRT บริษัท ภูรีภาค จำกัด “แก่นแท้ของ พรบ. คุ้มครองแรงงานที่ควรรู้”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
1.
การจัดการงานบุคคลของสหกรณ์ออมทรัพย์
วันนี้.... เรามาตั้งรับความเดือนร้อนล่วงหน้าด้วยโครงการ “ ประกันโรคมะเร็งและโรคร้ายแรง ” ก่อนที่เราจะไม่สามารถสมัครได้. สภากาชาดได้ประกาศ คนไทย 4 คน อาจเป็นโรคมะเร็ง.
ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ. ศ
แหล่งที่มาและการใช้ไปของเงินทุนในสหกรณ์ เครดิตยูเนี่ยน
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายแก่ผู้ได้รับความเสียหาย จากภัยอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
บทที่ 7 การพยากรณ์ยอดขาย.
ชื่อกิจการ เจ้าของกิจการ.
หน่วยที่1 ข้อมูลทางการตลาด
บทที่ 1 บทนำ SIRIPONR SOMKHUMPA.
Creative Accounting
หลักการประกอบธุรกิจสมัยใหม่
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหกรณ์ออมทรัพย์
บทที่ 5 ภาวะการเงิน.
บทที่ 4 ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

6. ท่าน เข้าใจว่าตนเอง เสียภาษีอยู่? เสีย / ไม่เสีย ให้นศ.เขียนตอบไว้ แล้วส่ง คิดจะทำ ไม่คิดจะทำ    1.ท่านคิดว่าท่านจะทำประกันภัย/ประกันชีวิตในเร็วๆนี้หรือไม่? สาเหตุเพราะ………………………… ท่านคิดว่าตนเองจะมีหุ้นในกองทุน หรือสหกรณ์ใดๆ ท่านมีบัญชีเงินฝากธนาคารอยู่หรือไม่ มี /ไม่มี เพราะ/เพื่อ....................................... คิดจะมี ไม่คิดมี 4.ท่านได้ กู้กยศ.มาใช้ในชีวิตการศึกษา หรือไม่? กู้ / ไม่กู้ เพราะ ………………………… 5. ท่านคิดที่จะหา/มีบัตรเครดิต ให้กับตนเองไว้ใช้หรือไม่ ? สาเหตุเพราะ………………………… คิดจะทำ ไม่คิดจะทำ 6. ท่าน เข้าใจว่าตนเอง เสียภาษีอยู่? เสีย / ไม่เสีย

บทที่ 4 การประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ในชีวิตประจำวัน จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารทุนทรัพย์รูปแบบต่าง ๆ เช่น การประกันภัยและประกันชีวิต หุ้น เงินฝาก เงินกู้ บัตรเครดิต และกองทุนต่าง ๆ ได้ถูกต้อง 2. อธิบายการคำนวณการเช่าซื้อและการผ่อนชำระภาษีเงินได้ได้ถูกต้อง 3. สามารถทำการคำนวณค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายได้ถูกต้อง 4. อธิบายการวางแผนทางการเงิน ทรัพย์สิน ในอาชีพและชีวิตครอบครัวได้ถูกต้อง 5. สามารถคิดคำนวณ ตัวเลขเพื่อการตัดสินใจเลือก บาท/กก., บาท/ระยะทางได้ถูกต้อง 6. อธิบายหลักการเป็นสมาชิกธุรกิจขายตรงได้ถูกต้อง

มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ดังนี้ ทุกคนตั้งคำถาม2 ข้อ ในหัวข้อนี้ ด้วยนศ.เลขที่ ลงท้ายด้วย 1 อธิบายถึงความหมาย ยกตัวอย่าง ขยายความด้วยนศ.เลขที่ ลงท้ายด้วย 2 ตอบคำถามหรืออธิบายต่อคำถามด้วยนศ.เลขที่ ลงท้ายด้วย 3 สรุปถึงความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ ด้วย นศ.เลขที่ ลงท้ายด้วย 4

การประกันภัย

ดูดิ

" มีกรมธรรม์ไว้ในครอบครอง เหมือนมีเงินสำรองไว้ในครอบครัว " " ฝากธนาคารเพื่อปัจจุบัน ฝากประกันเพื่ออนาคต "

ความหมายของ การประกันภัย     การประกันภัย คือ การเฉลี่ยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น ๆ โดยมีผู้รับประกันภัยทำหน้าที่เป็นผู้เฉลี่ยความเสียหายนั้น ซึ่งบุุคคลผู้เต็มใจเข้าร่วมโครงการประกันภัยนี้จ่ายเงินเป็นจำนวนไม่มากให้ผู้รับประกันภัยที่เรียกว่า "เบี้ยประกันภัย" ผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ทำหน้าที่รวบรวมเบี้ยประกันภัยไว้เป็นเงินกองกลาง เมื่อมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งในโครงการได้รับความเสียหายตามกรณีที่เอาประกันไว้ ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ให้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้                 

หลักการของการประกันภัย  หลักของการประกันภัยขึ้นอยู่กับกฎว่าด้วยจำนวนมากซึ่งมีหลักว่า ถ้าจำนวนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เช่น การเสี่ยงภัยเดียวกันมีจำนวนมากแล้วย่อมสามารถประมาณจำนวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคตค่อนข้างใกล้เคียงความจริง โดยต้องอาศัยการสังเกตุจากเหตุการณ์และวิธีการทางสถิติเข้าช่วย

ประเภทของการประกันภัย มี ๒ ประเภทคือ การประกันชีวิต และ การประกันวินาศภัย

การประกันชีวิต (Life Insurance)   คือ การเฉลี่ยค่าความเสี่ยงร่วมกันของคนที่ทำประกันภัยโดยทุกคนจะจ่ายเงินส่วนหนึ่งให้กับบริษัทที่รับผิดชอบซึ่งอาจจ่ายครั้งเดียวหรือจ่ายเป็นงวด และเมื่อเกิดเหตุขึ้นบริษัทจะชดใช้เงินคืนตามที่ตกลงกันไว้

การประกันภัยจึงอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ ในการดำเนินการประกันภัยและคำนวณเหตุการณ์หรือเบี้ยประกันภัย ซึ่งประกอบด้วย ทฤษฎีว่าด้วยความน่าจะเป็นไปได้ (Theory of Probability) เป็นทฤษฎีว่าด้วยการคำนวณโอกาสว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้นได้กี่ครั้งในจำนวนครั้งที่ได้กำหนดไว้ทั้งหมด เพื่อที่จะสามารถคำนวณเบี้ยประกันภัยที่ต้องเรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัยให้เพียงพอที่จะนำไปชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อมีภัยเกิดขึ้นในอนาคตตามที่ได้รับประกันภัยไว้ กฎว่าด้วยจำนวนมาก (Law of large number)หรือกฎถัวเฉลี่ย (Law of Average) คือหลักความจริงที่ว่าเหตุการณ์ที่ทำการสังเกตหรือทดลองมีจำนวนมากเท่าใด ความน่าจะเป็นได้ (Probability) ยิ่งมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้นเท่านั้น กฎแห่งการถัวเฉลี่ย จึงกล่าวได้ว่าทฤษฎีว่าด้วยความน่าจะเป็นไปได้และกฎว่าด้วยจำนวนมากเป็นหัวใจของการประกันภัย  

ความสำคัญของการประกันภัย  ปัจจุบันสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆ ในสังคมและเศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก เพิ่มความเสี่ยงภัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางการเงินของบุคคล ครอบครัว ธุรกิจการค้าและการลงทุนทุกสาขา ดังนั้น การประกันภัยจึงมีความสำคัญ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ๒ ด้านดังนี้ ๑. การเป็นสถาบันรับเสี่ยงภัยที่ช่วยสร้างความมั่นคงพื้นฐานแก่บุคคล ครอบครัว และธุรกิจต่าง ๆ ๒. การเป็นสถาบันการเงินที่มีศักยภาพสูงในการระดมเงินออมจากบุคคลภายในประเทศ เพื่อนำไปจัดสรรลงทุนในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ อันเป็นการขยายขีดความสามารถในการผลิตของประเทศ   

ประโยชน์ของการประกันภัย เพื่อคุ้มครองชีวิต ทรัพย์สินของคนที่คุณรัก ประโยชน์ของการประกันชีวิตต่อสังคมและส่วนรวม ธุรกิจประกันชีวิตช่วยเสริมสร้างสวัสดิการให้แก่ลูกจ้างของหน่วยงานของทางภาครัฐบาลและเอกชน ธุรกิจประกันชีวิตช่วยส่งเสริมภาพพจน์ของสถาบันการเงินซึ่งให้กู้ยืมเงิน ธุรกิจประกันชีวิตก่อให้เกิดการจ้างงานอย่างมากทั้งทางตรงและทางอ้อม ยอดสอบตัวแทนประกันชีวิตเดือนพฤษภาคม สมาคมประกันชีวิตไทย เผยยอดสอบตัวแทนประกันชีวิต ประจำเดือนพฤษภาคม มีจำนวนตัวแทนประกันชีวิตเข้าสอบทั่วทั้งประเทศ กว่า 10,000 คน และตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 พฤษภาคม 2550 มีตัวแทนเข้าสอบทั้งสิ้น 56,401 คน • ประกาศจ้าประกาศ.......คนไทยตายด้วย 4 โรคยอดฮิต หัวใจ มะเร็ง เส้นเลือดตีบและเบาหวาน พวกเราจะอยู่ในภาวะเสี่ยงกับ 4 โรคนี้ถ้าเราอ้วนเพราะฉะนั้นเลิกอ้วววววววนนน กันเถอะพวกเรามันอันตราย....วิธีง่ายๆเราช่วยได้จริงๆน๊าเข้ามาดูได้เล้ย doodee.premium.ws/

ประโยชน์ของการประกันชีวิต ต่อผู้เอาประกัน คำกล่าวของ เซอร์วินสตัน เชอร์ชีล อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศอังกฤษ (1950) การประกันชีวิตเสริมสร้างความมั่นคงให้กับตนเองและครอบครัว ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทั้งปวง การที่หัวหน้าครอบครัวได้ทำประกันชีวิตไว้ก็เท่ากับว่าได้สำรองเงินก้อนใหญ่ตามภาระผูกพันกับบริษัทประกันชีวิต เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน 2. การประกันชีวิตสร้างนิสัยการออมทรัพย์ โดยผู้เอาประกันจะได้รับเงินสะสมคืนครบกำหนดตามระยะเวลาตามกรมธรรม์ 3.การประกันชีวิตเป็นการเตรียมเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน กรมธรรม์ครบระยะเวลาตั้งแต่สามปีขึ้นไป จะมีมูลค่าเงินสด หากผู้เอาประกันเกิดมีความจำเป็นทางการเงินก็สามารถขอกู้เงิน 4.สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตมาหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้

ประเภทของการประกันชีวิต ในไทย แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทคือ ประเภทของการประกันชีวิต ในไทย แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทคือ 1.การประกันชีวิตประเภทสามัญ           การประกันชีวิตประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance) คือ การประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันแต่ละกรมธรรม์ตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป การชำระเบี้ยประกันอาจทำเป็นรายปี รายเดือน หรือเป็นงวด ๆ การพิจารณารับประกันอาจมีการตรวจสุขภาพหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละบริษัท

2.การประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม    การประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance) คือการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันแต่ละกรมธรรม์ต่ำ บริษัทจะรับจำนวนเงินตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ บาทจนถึง ๓๐,๐๐๐ บาท การชำระเบี้ยประกันภัยกระทำเป็นรายเดือน และไม่มีการตรวจสุขภาพ

3.การประกันชีวิตกลุ่ม การประกันชีวิตแบบกลุ่ม (Group Life Insurance) คือ การประกันชีวิตบุคคลเป็นกลุ่มภายในกรมธรรม์ฉบับเดียวกัน โดยประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป ซึ่งส่วนมากจะเป็นพนักงานของบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยบริษัทรับประกันจะออกกรมธรรม์ฉบับเดียวให้กับนายจ้างและออกใบรับรองให้ลูกจ้างไว้เป็นหลักฐาน ส่วนใหญ่ไม่มีการตรวจสุขภาพ การจ่ายเบี้ยประกันอาจจ่ายร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือนายจ้างจ่ายทั้งหมด

แบบของการประกันชีวิตที่ ๑. การประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Life Insurance) คือการประกันชีวิตที่บริษัทผู้รับประกันสัญญาว่าจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันให้กับผู้รับประโยชน์ ถ้าหากผู้เอาประกันถึงแก่มรณะภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งอาจกำหนดระยะเวลาเป็นระยะสั้นหรือยาวก็ได้ เช่น ๑ ปี ๒ ปี ๕ ปี ๑๐ ปี ๒๐ ปี หรือจนถึงระยะเวลาที่ผู้เอาประกันมีอายุ ๕๕ ปี หรือ ๖๐ ปีก็ได้ แล้วแต่ผู้เอาประกันภัยจะเลือก

แบบของการประกันชีวิตที่ ๒. การประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) คือ การประกันชีวิตที่บริษัทผู้รับสัญญาว่าจะจ่ายจำนวนเงินที่เอาประกันให้กับผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันถึงแก่มรณะ โดยไม่คำนึงว่าความมรณะจะเกิดขึ้นเมื่อใดๆ ส่วนเบี้ยประกันอาจจะชำระไปชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือตลอดชีพ แล้วแต่จะตกลงกัน เช่น ๒๐ ปี ๒๕ ปี หรือจนกว่าผู้เอาประกันจะมีอายุ ๕๕ ปี หรือ ๖๐ ปี เป็นต้น

แบบของการประกันชีวิตที่ ๓. การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) คือ การประกันชีวิตที่บริษัทผู้รับประกันสัญญาว่าจะจ่ายเงินที่เอาประกันให้กับผู้รับประโยชน์ หากผู้เอาประกันถึงแก่มรณะภายในระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา และจ่ายให้ผู้เอาประกันเมื่อมีชีวิตอยู่จนครบอายุสัญญา  การประกันชีวิตแบบนี้จึงเป็นการสะสมทรัพย์และให้ความคุ้มครองด้วย การชำระเบี้ยประกัน  อาจชำระเบี้ยประกันตลอดอายุสัญญาหรือสั้นกว่าก็ได้  เช่น อายุสัญญา ๒๐ ปี  ชำระเบี้ยประกันเพียง ๑๕ ปี  เป็นต้น

๑. การประกันวินาศภัย ประวัติฯในประเทศไทย เริ่มเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศต่างๆ หลายประเทศ เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม ทำให้เป็นเมืองท่าสำคัญในเขตภูมิภาคนี้ โดยในสมัยนั้น วิธีการขนส่งที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นการขนส่งทางน้ำ ชาวต่างประเทศที่ค้าขายกับกรุงศรีอยุธยารวมตัวกันจัดให้มีการประกันภัยทางทะเล และขนส่งขึ้นเป็นครั้งแรกในกลุ่มของพวกตนโดยยังไม่มีกฎหมายรองรับ

จนกระทั่งปี รศ.130 (พ.ศ.2454) จึงมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยเป็นครั้งแรก คือ พระราชบัญญัติลักษณะเข้าหุ้นส่วน และบริษัท รศ.130 และประกาศประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2468 ซึ่งกำหนดให้ผู้ประสงค์จะประกอบการธุรกิจประกันภัยต้องได้รับพระบรมราชานุญาตก่อน

     จากพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดเงื่อนไขและมีการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐขึ้นโดยเฉพาะเพื่อควบคุมธุรกิจประกันภัยโดยกระทรวงพาณิชย์ ได้ตราประกาศกระทรวงกำหนดเงื่อนไขการขออนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยขึ้นบังคับใช้โดยกำหนดให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สำคัญบางประการก่อน ได้แก่ เรื่องการกำหนดทุนชำระแล้ว หลักทรัพย์ประกันที่วางไว้กับนายทะเบียนและการรายงานสินทรัพย์และหนี้สินประจำปี เป็นต้น รวมทั้งกำหนดให้ผู้ที่จะเริ่มประกอบธุรกิจประกันภัยหรือที่ได้ประกอบธุรกิจฯ อยู่ก่อนแล้วต้องจดทะเบียนประกอบธุรกิจกับ “กองประกันภัย” ซึ่งตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2472 สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมปรากฏว่าในช่วง พ.ศ. 2472-2473 มีบริษัทประกันภัย ซึ่งส่วนมากเป็นบริษัทต่างประเทศขอรับจดทะเบียนประมาณ 20 บริษัท โดยเป็นบริษัทประกันชีวิต 4 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศทั้งสิ้น

๕ การประกันวินาศภัย 1.การประกันภัยอัคคีภัย ( FIRE INSURANCE) 2 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 3.การประกันภัยเบ็ดเตล็ด (MISCELLANEOUS INSURANCE) 3.1 การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PERSONAL ACCIDENT INSURANCE) 3.2 การประกันภัยสุขภาพ (HEALTH INSURANCE) 3.3 การประกันภัยแผนสุขภาพ 2000 (HEALTHY PLAN 2000 INSURANCE ) 3.4 การประกันภัยโจรกรรม (BURGLARY INSURANCE)

3.5 การประกันภัยเงินทดแทนแรงงาน (WORKMEN'S COMPENSATION INSURANCE) 3.6 การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (PUBLIC LIABILITY INSURANCE) 3.7 การประกันภัยสัมภาระในการเดินทาง (TRAVEL BAGGAGE INSURANCE) 3.8 การประกันภัยความรับผิดของผู้ประกอบอาชีพแพทย์

3.9 การประกันภัยกระจก(PLATE GLASS INSURANCE) 3.10 การประกันภัยผู้เล่นกอล์ฟ (GOLFER'S INDEMNITY INSURANCE) 3.11 การประกันภัยสำหรับเงิน (MONEY INSURANCE) 3.12 การประกันสรรพภัย (INDUSTRIAL ALL RISKS INSURANCE) 3.13 การประกันภัยความซื่อสัตย์ (FIDELITY GUARANTEE INSURANCE) 3.14 การประกันภัยอิสรภาพ (BAIL INSURANCE) แยกออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ก่อน-หลังกระทำความผิด

ดูดิ บ ประกันภัยขนส่ง ประกันขนส่งสินค้า ประกันอาคาร ประกันอัคคีภัย ประกันภัย รถยนต์.mht ประเภทประกันวินาศภัย                                                                               ประกันอัคคีภัย  การประกันภัยโจรกรรม    การประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิด / ธุรกิจหยุดชะงัก   การประกันภัยสินเชื่อการค้า   การประกันภัยการเงิน   การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณชน/บุคคลภายนอก   การประกันภัยขนส่งสินค้าทางอากาศ ทะเล พัสดุภัณฑ์   การประกันภัยขนส่งสินค้าภายในประเทศ   การประกันภัยค้ำจุนขนส่งของภายในประเทศ   การประกันภัยเครื่องจักร   การประกันภัยก่อสร้างติดตั้งเครื่องจักร   ประกันภัยร้านค้า ธุรกิจขนาดย่อม   ประกันภัยทรัพย์สิน อาคาร โรงแรม อื่นๆ   การประกันภัยเงินทดแทนแรงงานและความรับผิดชอบของนายจ้าง

๔.การประกันภัยวิศวกรรม 4.1 การประกันภัยการปฏิบัติงานตามสัญญา (CONTRACT WORKS INSURANCE) งานทางด้านวิศวกรรมโยธา และการก่อสร้างรวมทั้งวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเครื่องจักรกล 4.2 การประกันภัยเครื่องจักร (MACHINERY INSURANCE) 4.3 การประกันภัยหม้อกำเนิดไอน้ำ (BOILER INSURANCE) 4.4 การประกันภัยคุ้มครองเครื่องมือก่อสร้าง (CONTRACTORS' EQUIPMENT INSURANCE) 4.5 การประกันภัยเครื่องอุปกรณ์อีเล็คโทรนิค (ELECTRONIC EQUIPMENT INSURANCE)

5.การประกันภัยรถยนต์ 5.1 การประกันภัยรถยนต์ (MOTOR INSURANCE) ให้ความคุ้มครองความเสียหายของรถยนต์ที่เอาประกันอันเนื่องมาจากการชนกัน คว่ำ ไฟไหม้ ถูกโจรกรรมทั้งคัน รวมคุ้มครองความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินและชีวิตของบุคคลภายนอก รวมถึงอุบัติเหตุของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร มี ประเภท 1 2 3 + Plus 5.2 การประกันภัยรถยนต์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

5.การประกันภัยรถยนต์ ความเสียหายที่ได้รับความคุ้มครอง 5.1 การประกันภัยรถยนต์ (MOTOR INSURANCE) 5.2 การประกันภัยรถยนต์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ความเสียหายที่ได้รับความคุ้มครอง 1.ค่าเสียหายเบื้องต้น      • ไม่ต้องรอผลคดี              ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 15,000 บาท ค่าปลงศพ 35,000 บาท      หรือ กรณีมีการ รักษาพยาบาล            ก่อนเสีย ชีวิต ไม่เกิน 50,000 บาท ร้องขอรับภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดเหตุ  2.ค่าเสียหายส่วนที่เกินเบื้องต้น/ค่าสินไหมทดแทน      • เมื่อผลคดีสรุป            • กรณีบาดเจ็บรวมเบื้องต้นไม่เกิน 50,000 บาท            • กรณีเสียชีวิต , สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 100,000 บาท

คนทำประกัน เล่าเรื่อง จาก...รู้ไว้ใช่ว่า. ณ ที่นี้คงมีหลายท่านที่รู้สึกไม่ค่อยดีกับการประกันภัย รู้สึกไม่ดีกับบริษัทประกันภัย อาจรวมไปถึงตัวแทนประกันด้วย แล้ว ท่าน นศ. จะแนะนำ ให้ ตนเอง ญาติ ๆ ทำประกันภัย หรือไม่ เพราะเหตุใด ??

ให้นศ. อภิปรายถึงการทำประกันภัย นศ. ได้มีการทำประกันภัยอะไรๆไว้บ้าง จ่ายอะไรไป ได้อะไรๆมา รู้สึกอย่างไรกับการประกัน/ประกันภัยนั้นๆ ได้รับรู้/รู้สึกว่าได้ตามประเด็นการมีประกันภัยหรือไม่? คืออะไร บ้าง