การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนในแนว 7 Es รองศาสตราจารย์ ดร. สำลี ทองธิว ศูนย์ปฏิบัติการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความสำคัญของการตั้งประเด็นคำถาม ความสงสัย ใคร่รู้ของนักเรียนเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการ แสวงหาคำตอบ ฟังคำบรรยาย สังเกต ทดลอง ค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรา ผู้รู้ ฯลฯ
ความรู้ไม่สามารถนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างแท้จริง นักเรียนต้องมีความรู้จากประสบการณ์ตรง ลงมือทดลอง นำความรู้ที่ครูให้ไปค้นหาความรู้เพิ่มเติม ทดลองกับชีวิตประจำวัน ครูต้องใช้เทคนิคการสอนที่สนับสนุนให้นักเรียนตั้งคำถาม จัดหา แนะนำแหล่งข้อมูล และสนับสนุนให้นักเรียนทำการ ทดลองเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง
ขั้นตอนทั้ง 7 ของ 7 Es ขั้นกระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำถาม สงสัย สนใจ ขั้นกระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำถาม สงสัย สนใจ ขั้นหาวิธีสร้างความกระจ่าง ขั้นพยายามหาคำอธิบาย ขั้นสร้างข้อค้นพบใหม่ๆ ขั้นเชื่อมโยงความเข้าใจกับสาระอื่นๆ ขั้นแลกเปลี่ยนสื่อสารข้อค้นพบ ขั้นตรวจสอบ ประเมินความก้าวหน้า
กรณีตัวอย่าง เมื่อนักเรียนเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนรูปของพลังงานกลไปเป็นพลังงาน ไฟฟ้าแล้ว ต่อมาสนใจการเคลื่อนที่ของแสง ลักษณะการเดินของแสง ตั้งคำถามเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของแสงอาทิตย์ในชีวิตประจำวัน ทดลองติดตามเงาที่เกิดจากแสงอาทิตย์ นำความรู้ที่ได้ไปใช้ใน การตั้งกระถางต้นไม้ ตั้งร่มกันแดด ฯลฯ
กิจกรรมสำหรับขั้น excite เกมตอบคำถาม (เก้าอี้ดนตรี จับฉลากผู้โชคดี เกมบันไดงู เกมเศรษฐี) เกมมนุษย์เจ้าปัญหา
กิจกรรมขั้น explore และ explain เกมมหาสมบัติ กิจกรรมแฟ้มสะสมความรู้ กิจกรรมนักทดลอง นักวิทยาศาสตร์น้อย กิจกรรมทอร์คโชว์
กิจกรรมขั้น expand กิจกรรมโชว์แอนด์ทอร์ค กิจกรรมป้ายนิเทศ ครูต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปสังเกต ลองใช้ที่บ้าน แล้วนำผลมารายงาน เปรียบเทียบความแตกต่างจากความรู้ที่ได้ ในห้อง หรือความแตกต่างระหว่างกัน
กิจกรรมขั้น extend ภาษาอังกฤษวันละคำ กิจกรรมเล่าเรื่องท้องถิ่นของเรา บันทึกการประหยัดพลังงาน กิจกรรมโต้วาทีคำกลอน
กิจกรรมขั้น exchange สัมนานักเรียนในโครงการฯ Web site โรงเรียน จดหมายข่าว ป้ายนิเทศ
กิจกรรมขั้น examine กิจกรรมย้ำคิดย้ำทำ กิจกรรมไม้บันทัด ขั้นสุดท้ายครูต้องนำผลกิจกรรมไปตรวจสอบกับเป้าหมายของโครงการฯ สรุปให้ได้ว่านักเรียนมีพฤติกรรมประหยัดพลังงานหรือไม่ อย่างไร หรือมีคำตอบให้กับวิธีประหยัดพลังงานในชีวิตประจำวันหรือไม่
ใบงาน ให้อภิปรายร่วมกัน ศึกษาความเหมือนหรือความต่างของกิจกรรม ให้อภิปรายร่วมกัน ศึกษาความเหมือนหรือความต่างของกิจกรรม ภายใต้หัวข้อเรื่องเดียวกัน ศึกษาความสอดคล้องกับเป้าหมาย การเรียนรู้ แลกเปลี่ยนแผนการสอน ศึกษากิจกรรมเพื่อปรับปรุงให้บรรลุเป้าหมาย ของโครงการมากขึ้น