ยาในประเทศไทย สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลับมหาสารคาม เอกสารประกอบการสอนวิชา ยาในชีวิตประจำวัน 9-10 เมษายน 2557
กรณีศึกษา ยาในประเทศไทย
ยาในประเทศไทย ยาเป็นมากกว่าการรักษาโรค การควบคุมยา ผลิตภัณฑ์ยา การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยา ผู้ประกอบวิชาชีพ/ผู้ประกอบโรคศิลปะ การส่งเสริมการขายและการโฆษณา สถานการณ์ยาในประเทศไทย สรุป
ยาเป็นมากกว่าการรักษาโรค ยาคืออะไร ดูรายละเอียดจากเรื่อง หลักการใช้ยา มีคุณอนันต์ มีโทษมหันต์ ยาเป็นสินค้าพิเศษ ต่างจากสินค้าทั่วไป รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 การเข้าถึงยา ยาอยู่ที่ไหน เภสัชกรไปถึงที่นั่น การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2554
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2554 ล้านคน# ร้อยละ## จำนวนผู้ป่วยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาล 19.8 29.3 เจ็บป่วย/รู้สึกไม่สบาย 13.9 20.6 โรคเรื้อรัง/โรคประจำตัว 10.8 16.0 อุบัติเหตุ/ถูกทำร้าย 1.7 2.5 เปรียบเทียบกับ พ.ศ. 2550 เจ็บป่วย/รู้สึกไม่สบาย 20.3 โรคเรื้อรัง/โรคประจำตัว 15.8 อุบัติเหตุ/ถูกทำร้าย 2.5 # ในรอบ 1 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ สัมภาษณ์ 26,500 ครัวเรือนในทุกจังหวัด ## ร้อยละของประชากรทั้งหมด http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/healthy/healthyExec54.pdf
การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2554 สถานที่รับบริการสาธารณสุขครั้งสุดท้าย ร้อยละ ผู้ป่วยที่มีการรักษา 68.5 สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ 39.7 ซื้อ/หายากินเอง 18.8 สถานพยาบาลเอกชน 9.8 รักษาด้วยวิธีอื่น 0.2 เช่น หมอพื้นบ้าน หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
การควบคุมยา หน่วยงานที่รับผิดชอบ ประเภทของยา การผลิตยา การขายยา การส่งเสริมการขายโฆษณา
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา -อย. เช่น การออกใบอนุญาตผลิตยา ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา ใบอนุญาตขายยาในเขตกรุงเทพมหานคร รับเรื่องร้องทุกข์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด -สสจ. เช่น การออกใบอนุญาตขายยาในเขตจังหวัด
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น ขอนแก่น อุดรธานี นคราชสีมา อุบลราชธานี ตรวจวิเคราะห์คุณภาพในเขตจังหวัด องค์การเภสัชกรรม เป็นโรงงานผลิตยาของรัฐ เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ออกใบอนุญาตสถานพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร รับเรื่องร้องทุกข์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด -สสจ. ออกใบอนุญาตสถานพยาบาลเอกชนในเขตจังหวัด
ประเภทของยาจำแนกตามการขออนุญาต ยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ ยาสมุนไพร
การผลิตยา การผลิตยาแผนปัจจุบัน ต้องได้รับอนุญาตจาก อย. คือ ใบอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องมีผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ เป็นเภสัชกรอย่างน้อย 2 คน
การผลิตยาแผนโบราณ ต้องได้รับอนุญาตจาก อย. คือ ใบอนุญาตผลิตยาแผนโบราณ ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องมีผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเภสัชกรรม
สถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน ต้องได้รับอนุญาตจาก อย. หรือ สสจ. โดยต้องมีเภสัชกรอยู่ปฏิบัติการ ตลอดเวลาทำการ (ตลอดเวลาที่เปิดร้าน)
ยาสมุนไพร ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ ยาสมุนไพรหลายชนิดเป็นยาอันตราย ซึ่งไม่อนุญาตให้ใช้ในตำรับยาแผนโบราณ ทั้งที่เป็นยาสมุนไพรที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาด และยาสมุนไพรที่ยกเว้นให้ใช้ในขนาดที่กำหนด ยาสมุนไพรที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาด เช่น เมล็ดมะกล่ำตาหนู เมล็ดสลอด น้ำมันสลอด
โฆษกกระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนไม่ควรปลูกสมุนไพรดองดึง ร่วมกับพืชผักสวนครัวที่กินใบ-ผลหรือยอดอ่อน เพื่อป้องกันการเก็บผิดพลาด เนื่องจากดองดึงมีสารหลายชนิดทั้งที่มีสรรพคุณเป็นยาและมีความเป็นพิษสูง ถึงขั้นเสียชีวิต พืชชนิดนี้ต้องใช้โดยผู้มีความรู้เท่านั้น โดยล่าสุดพบเสียชีวิตแล้ว 1 รายที่ จ.ศรีสะเกษ จากการกินผลดองดึงเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นผลของต้นสลิด แนะหากพบผู้ป่วยจากการกินลูกดองดึง ให้ช่วยชีวิตเบื้องต้นโดยให้กินไข่ขาวหรือดื่มนมทันทีเพื่อทำให้อาเจียนออกมาให้มากที่สุด เพื่อลดการดูดซึมพิษเข้าร่างกาย และรีบส่งไปโรงพยาบาลทันที http://www.thaigov.go.th/th/news-ministry/2012-08-15-09-44-34/item/81581