ท30209 วรรณกรรมปัจจุบัน
วรรณกรรมปัจจุบัน มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Contemporary Literature แล้ว อาจจะแปลมาจากคำว่า Modern Literary Works วรรณกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 10 - 20 ปี โดยการนับทวนถอยขึ้นไปจากปัจจุบัน
ศาสตราจารย์คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส ศาสตราจารย์คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส ศาสตราจารย์คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส อดีตรองคณบดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศาสตราจารย์คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านภาษาและวรรณกรรมไทยมาโดยตลอด ทั้งในการสอน การตรวจพิจารณาผลงานทางวิชาการด้านภาษาและวรรณกรรมไทย วิทยานิพนธ์ การจัดทำหลักสูตร คู่มือ ตำรา ตั้งแต่มัธยมศึกษา ถึงระดับปริญญาเอก ของกระทรวงศึกษาธิการและของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นผู้วางรากฐานการเขียนประวัติวรรณคดีแนวใหม่ เป็นผู้ที่บุกเบิกการวิจัยทางคติชนวิทยา
กุหลาบ มัลลิกะมาส (2517 : 1-2) ได้ให้ความหมายของคำว่าวรรณกรรมปัจจุบัน พร้อมทั้งยกตัวอย่างดังนี้คือ วรรณกรรมปัจจุบัน คือ วรรณกรรมที่มีลักษณะต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพราะรับอิทธิพลจากวรรณกรรมหรือแนวคิดของชาวตะวันตก มีขอบข่ายคลุมถึง - วรรณกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น สารคดี นวนิยาย เรื่องสั้น ร้อยกรอง บทละคร และบทวิจารณ์วรรณกรรม - กลวิธีในการแต่ง (เนื้อเรื่อง ทัศนะในการสร้างเค้าโครงเรื่อง การสร้างตัวละคร) - แนวคิด และปรัชญาในการแต่ง
ความแตกต่าง ระหว่างวรรณคดีและวรรณกรรม วรรณคดี คือ วรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่ามีความงามและมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ โดยวรรณคดีสโมสร วรรณคดี คือ วรรณกรรมที่มีอายุ ตั้งแต่อยุธยา – รัชกาลที่ ๖ หลังจากยุคสมัยรัชกาลที่ ๖ ผลงานการเขียนเรียกว่า “วรรณกรรม” ทั้งสิ้น
ตัวอย่าง วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน # วรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องให้ได้รับรางวัลซีไรต์ # รางวัลซีไรต์ (S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (Southeast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่กวีและนักเขียนใน 10 ประเทศรัฐสมาชิกแห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน
หนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์ของไทย ปี ๒๕๕๕ เรื่อง “คนแคระ” โดย วิภาส ศรีทอง (นวนิยาย)