งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การอ่านจับใจความเรื่องสั้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การอ่านจับใจความเรื่องสั้น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การอ่านจับใจความเรื่องสั้น

2 เรื่องสั้น (Short story) คืองานเขียนร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี (Fiction) ซึ่งเป็นเรื่องสมมติ และมุ่งให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นหลัก แม้ว่าผู้แต่งจะมีอิสระ ในการสร้างสรรค์ได้อย่างกว้างขวาง แต่สังเกตลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากงานเขียนบันเทิงคดีแบบอื่นได้ ดังนี้

3 ๑. มีขนาดสั้น และมุ่งเสนอแนวคิดสำคัญเพียงอย่างเดียว ๒
๑. มีขนาดสั้น และมุ่งเสนอแนวคิดสำคัญเพียงอย่างเดียว ๒. มีโครงเรื่องที่สนุก เร้าใจให้ติดตาม ๓. มีการดำเนินเรื่องในช่วงระยะเวลาอันสั้น ๔. มีตัวละครสำคัญน้อย ๕. มีการสร้างฉาก บรรยากาศ บทสนทนา และองค์ประกอบต่างๆ ด้วยภาษาและกลวิธีการแต่งที่กระชับรัดกุม และทำให้เรื่องสมจริง

4 กลวิธีการแต่งเรื่องสั้นให้สนุก คือการสร้างโครงเรื่องให้มี “ข้อขัดแย้ง” ที่เร้าใจน่าติดตาม แล้วคลี่คลายข้อขัดแย้งเหล่านั้นอย่างสมจริง และเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึง “จุดสุดยอด” (Climax) ของเรื่อง ซึ่งเป็นจุดจบของข้อขัดแย้ง ข้อขัดแย้งที่ใช้กันมากมีดังนี้

5 ๑. ข้อขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ คือความขัดแย้งหรือ การต่อสู้ของตัวละครที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน นับเป็น ข้อขัดแย้งที่นำมาแต่งเรื่องสั้นกันมากที่สุด ๒. ข้อขัดแย้งที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น การต่อสู้กับ ภัยธรรมชาติ สัตว์ ความยากจน ศาสนา ๓. ข้อขัดแย้งกับตนเอง เช่น ความปรารถนาที่จะกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดีต่อการกระทำนั้น

6 แนวทางในการอ่านจับใจความเรื่องสั้นให้ได้ถูกต้องแม่นยำอย่างรวดเร็ว มีดังนี้ ๑. ชื่อเรื่อง เป็นจุดชี้แนะหัวใจของเรื่องเป็นอันดับแรก เรื่องสั้นบางเรื่องตั้งชื่อให้เห็นแก่นเรื่องหรือใจความสำคัญได้ชัดเจน ๒. แก่นเรื่อง นับเป็นจุดซ่อนเร้นที่ผู้แต่งเรื่องสั้นจะไม่บอกโดยตรง แต่ผู้อ่านสามารถค้นหาด้วยวิธีการ ต่อไปนี้

7 ๒.๑ พิจารณาจากข้อขัดแย้งของเรื่องแล้วติดตามผลของข้อขัดแย้งเหล่านั้นว่า คลี่คลายขยายตัวและสิ้นสุดลงอย่างไร ๒.๒ พิจารณาจากจุดสุดยอดของเรื่อง ซึ่งมักจะอยู่ตอนท้ายๆ ใกล้จบเรื่อง จะมองเห็นแก่นเรื่องทันที ๒.๓ สรุปสาระสำคัญของเรื่องโดยการตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และทำไม

8 ๓. ภูมิหลัง การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมและเหตุการณ์ในเรื่อง จะช่วยให้จับใจความได้ง่ายยิ่งขึ้น ๔. น้ำเสียงหรือหางเสียง การจับน้ำเสียงหรือหางเสียงของผู้แต่งจะช่วยให้จับใจความของเรื่องได้. ๕. ไม่ควรอ่านแต่จะจับใจความเพียงอย่างเดียว ควรเก็บใจความประกอบของเรื่องไปพร้อมๆ กันเพื่อจะได้อรรถรส


ดาวน์โหลด ppt การอ่านจับใจความเรื่องสั้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google