การแพร่กระจายของประชากร (Dispersion)
ปัจจัยจำกัด (Limiting factor) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณของประชากรในแต่ละพื้นที่ ทำให้เกิดการแพร่กระจายของประชากร
1. ปัจจัยทางกายภาพ 1.1 ความสูงจากระดับน้ำทะเล มีผลต่อการแพร่กระจายของพืชบางชนิด ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 – 1,700 m จะพบสนสามใบมาก ความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 m จะพบสนสองใบขึ้นอยู่ทั่วไป
1.2 อุณหภูมิ พืชบางชนิดสามารถขึ้นอยู่ได้ในที่อุณหภูมิสูง เช่น กระบองเพชร
1.3 ความเป็นกรด - เบส
ค่า pH ที่เหมาะสมกับพืชบางชนิด ข้าว 4. 5-5. 4 มะเขือเทศ 6. 0-6
1.4 แสง แสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด เช่น พืชวันสั้น (short – day plant) ต้องการแสงแดดจัดในช่วงสั้น ๆ และอุณหภูมิสูงในการเจริญเติบโต
2. ปัจจัยทางชีวภาพ 2.1 ผู้ล่ากับเหยื่อ เช่น กวางกับสิงโต สิงโตเป็นปัจจัยจำกัดต่อการอยู่รอดของกวาง 2.2 การแข่งขันเพื่อความอยู่รอดในสังคม 2.4 การบุกรุกจากสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น (alien species)
"เอเลี่ยนสปีชีส์" หรือ "ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน" (Alien species or Invasive Species ) คือ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่สามารถตั้งถิ่นฐานและยึดครองจนเป็นชนิดพันธุ์เด่นในพื้นที่ และส่งผลกระทบต่อชนิดพันธุ์ท้องถิ่นเดิมจนอาจทำให้สูญพันธุ์ไป ทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสุขอนามัยของประชาชนด้วยหากไม่มีการควบคุมและจัดการที่เหมาะสม
Alien Species งาน 1 – 3 คน ให้นักเรียน ศึกษาเรื่องของ Alien species ในประเทศไทย หรือในต่างประเทศ และผลกระทบที่ตามมา ทำใส่กระดาษ A4 1 แผ่น ส่งภายในวันที่ 23 มกราคม 2554 http://www.oknation.net/blog/krasean/2009/06/01/entry-1
3. สิ่งขวางกั้นทางภูมิศาสตร์ สภาพทางภูมิศาสตร์มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร
รูปแบบการแพร่กระจายของประชากร การแพร่กระจายแบบสุ่ม (random distribution) การแพร่กระจายแบบรวมกลุ่ม (clumped distribution) การแพร่กระจายแบบสม่ำเสมอ (uniform distribution)
การแพร่กระจายแบบสุ่ม (random distribution) ประชากรอาศัยอยู่ในธรรมชาติ ที่สภาพแวดล้อมเหมือนกัน สภาพแวดล้อมไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก
การแพร่กระจายแบบสุ่ม (random distribution)
การแพร่กระจายแบบรวมกลุ่ม (clumped distribution) เป็นรูปแบบที่พบในธรรมชาติมากที่สุด สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ไส้เดือนอาศัยในที่ดินร่วนซุย ความชื้นสูง อินทรียวัตถุมาก การรวมกลุ่มเพื่อสืบพันธุ์
การแพร่กระจายแบบสม่ำเสมอ (uniform distribution) พบในบริเวณที่มีปัจจัยทางกายภาพจำกัด พฤติกรรมทางสังคมที่กำหนดอาณาเขตรอบ ๆ เพื่อหากิน สืบพันธุ์ หรือสร้างรัง พืชบางชนิดมีรากที่ผลิตสารพิษ เพื่อป้องกันการงอกของต้นกล้า