ศิลปกรรมที่เกิดขึ้นในอินเดีย
ศิลปะแบบอินเดีย ศิลปะคุปตะ ศิลปะทมิฬ ศิลปะปาลเสนะ
ศิลปะคุปตะ
เกิดในสมัยราชวงศ์คุปตะ พุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๓ ทางภาคเหนือของดินเดีย เป็นยุคที่มีความเจริญสูงสุดในทุกด้าน ปรัชญา ศาสนา วรรณคดี ดนตรี นาฏศิลป์ จิตรกรรม ประติมากรรม ในยุคนี้วรรณกรรมที่มีความสำคัญ มหากาพย์มหาภารตะ และ รามายณะ
ประติมากรรม ศิลปะสมัยคุปตะส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมรูปมนุษย์มิใช่รูปสัตว์ หรือรูปมนุษย์ที่อยู่กับธรรมชาติ หรือถ้ามีก็เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น ศิลปะคุปตะได้ถ่ายทอดสุนทรียภาพทางความงามออกมาให้ปรากฏ โดยการสร้างมนุษย์ให้มีความงาม สมบูรณ์แบบ เหมือนวัยหนุ่มสาว ประติมากรรมที่สร้างขึ้นจะเนียนเรียบ อาภรณ์ที่สวมใส่ก็แนบเนื้อ เหมือนผ้าที่เปียกน้ำ ทำให้แทบมองทะลุเข้าไปเนื้อในได้
ตัวอย่างปฏิมากรรมในสมัยคุปตะ
สถาปัตยกรรม ในสมัยคุปตะนี้มีความงดงามเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนๆเช่น ที่ถ้ำอชันตา ( Ajanta ) ได้เปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่รูปร่างของเสาที่กลายเป็นการประดับตกแต่งลวดลายต่างๆ อย่างมากมาย มีบัวหัวเสารูปร่างคล้ายผ้าโพกหัวแขก วงโค้งรูปเกือกม้าที่เรียกว่า กูฑุ มีขนาดเล็กลงไปอีก และกลายเป็นเครื่องประดับตกแต่งอย่างธรรมดา ผนังถ้ำประดับประดาไปด้วยเครื่องตกแต่ง พระพุทธรูป ในช่วงปลายของศิลปะคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๓) สถาปัตยกรรมของอินเดียก็ยังมีความงดงามอยู่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ เสาต่างๆเริ่มมีรูปร่างใหญ่ขึ้น และบางครั้งก็มีบัวหัวเสารูปผ้าโพกหัวแขกขนาดใหญ่ รวมทั้งฐานของเสาที่สูงขึ้นมากจนเกือบทำให้ลำตัวของเสาหายไป
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมในสมัยคุปตะ สไลด์ภาพถ้ำอซันตา สไลด์ภาพถ้ำไกรลาส
ศิลปะทมิฬ
ศิลปะแบบทมิฬแบบที่เก่าสุดมีประติมากรรมจากศิลา รูปสำริดและรูปสลักจากไม้ ประติมากรรมสำริดที่รู้จักกันดีคือ รูปพระศิวนาฏราชฟ้อนรำอยู่ในวงเปลวไฟ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่หลังคาสร้างเป็นหินซ้อนกันเป็นชั้นเช่น สถาปัตยกรรมที่เป็นเทวสถานใหญ่ชื่อลิงคราชที่เมืองภูวเนศวร
สมัยทมิฬ
ศิลปะปาลเสนะ
เกิดในภาคเหนือราชวงศ์ปาละ-เสนะ ในแคว้นเบงคอลและพิหารระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-18 พุทศาสนาลัทธิตันตระซึ่งกลายมาจากลัทธิมหายาน โดยผสมความเชื่อในลัทธิฮินดูเข้าไป ส่วนประติมากรรมมีทั้งภาพสลักจากศิลาและหล่อจากสำริดทั้งทางพุทธศาสนาและตามคติแบบฮินดู ประติมากรรมสลักจากศิลาในสมัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ยุคคือ ยุคแรกพุทธศตวรรรษที่ 14-15 มีพระโพธิสัตว์และพระพุทธรูปทรงเครื่อง ยุคสองพุทธศตวรรษที่ 16-17 พระพุทธรูปทรงเครื่องมากขึ้น สร้างตามคตินิยมลัทธิตันตระ ยุคที่สามยุคราชวงศ์เสนะ พุทธศตวรรษที่ 18 นับถือศาสนาฮินดูจึงเป็นยุคของประติมากรรมแบบฮินดู
สมัยปาละเสนะ
บาศกนิยม
เป็นความเคลื่อนไหวทางศิลปะอาวองการ์ด ในศตวรรษที่ 20 ริเริ่มโดย ปาโบล ปีกัสโซ (Pablo Picasso) และ จอร์จส์ บราค (Georges Braque) ได้เปลี่ยนรูปโฉมของจิตรกรรมและประติมากรรมสไตล์ยุโรป รวมไปถึงดนตรีและงานเขียนที่เกี่ยวข้อง ในผลงานศิลปะของบาศกนิยมนั้น วัตถุจะถูกทำให้แตกเป็นชิ้น วิเคราะห์ และประกอบกลับขึ้นมาใหม่ จิตรกรนั้นได้ถ่ายทอดวัตถุจากหลายแง่มุมเพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงวัตถุที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่กว้างขึ้น บ่อยครั้งนักที่ผืนราบดูเหมือนจะตัดกันในมุมที่เป็นไปโดยบังเอิญ ปราศจากความสอดคล้องของความลึก ส่วนพื้นหลังและผืนราบแทรกเข้าไปในระหว่างกันและกันเพื่อที่จะทำให้เกิดพื้นที่ที่ไม่ชัดเจนอย่างผิวเผิน ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะเฉพาะของบาศกนิยม
บาศกนิยมแบบวิเคราะห์ ได้ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1908 และ 1912 ได้วิเคราะห์รูปทรงธรรมชาติและลดทอนรูปทรงนั้นลงไปยังรูปทรงเรขาคณิตที่เรียบง่ายบนรูประนาบสองมิติ สีเกือบจะเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนเว้นแต่ว่าจะเป็นการใช้สีแบบโทนเดียวซึ่งส่วนใหญ่นั้นรวมไปถึงสีเทา สีน้ำเงิน และสีเหลืองอมน้ำตาล แทนที่จะเน้นการใช้สีนั้นนักบาศกนิยมแบบวิเคราะห์ได้ให้ความสนใจกับรูปทรงมากกว่าเช่น ทรงกระบอก ทรงกลม ทรงกรวย เพื่อที่จะอธิบายให้เห็นถึงโลกธรรมชาติ
ตัวอย่างภาพบาศกนิยม แบบวิเคราะห์
บาศกนิยมแบบสังเคราะห์ บาศกนิยมแบบสังเคราะห์เป็นความเคลื่อนไหวที่สำคัญลำดับที่สามของบาศกนิยมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยปีกัสโซ บราค ยวน กริซ และคนอื่นระหว่างปี 1912 และ 1919 บาศกนิยมแบบสังเคราะห์ถูกจำแนกคุณลักษณะโดยการริเริ่มของความแตกต่างในพื้นผิว ผิวหน้า องค์ประกอบที่ถูกปะติดปะต่อกัน กระดาษที่ถูกต่อกัน (papier colle) และความหลากหลายของการรวมกันของสสาร มันเป็นจุดเริ่มต้นของวัสดุที่ใช้ในการปะติดปะต่อกันที่ถือว่าเป็นส่วนผสมที่สำคัญของงานวิจิตรศิลป์
ตัวอย่างภาพบาศกนิยม แบบสังเคราะห์
บาศกนิยมแบบวิเคราะห์ที่เป็นการวิเคราะห์ของวัตถุ ที่แตกวัตถุออกมาในรูปของสองมิติ บาศกนิยมแบบสังเคราะห์นั้นเป็นเหมือนกับการดันวัตถุหลายชิ้นเข้าด้วยกัน
บาศกนิยมอีกมากมาย
THE END