งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พระพุทธศาสนาแห่งทวารวดี (พศต )

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พระพุทธศาสนาแห่งทวารวดี (พศต )"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พระพุทธศาสนาแห่งทวารวดี (พศต. 11-15)
1. อาณาจักรนี้ เจริญอย่างรวดเร็ว เพราะเคยเป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองแห่งแคว้นสุวรรณภูมิมาก่อน 2. บทบาทแห่งการเมือง ได้ปรากฎขึ้นมาราวพศต ส่วนศิลปะและวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อมาถึงอาณาจักรรุ่นหลังด้วย 3. ตามจดหมายเหตุของสมณะเฮี้ยนจัง เรียกว่า อาณาจักรตุยล้อกัวตี่ ตรงกับคำจารึกเรียกว่า ทวารกะเดย ( ชื่อเมืองหนึ่งในกัมพูชา ) 4. เชื่อกันว่าชนชาติแห่งอาณาจักรทวารวดีคงเป็นมอญ หรือกลุ่มชนที่มีลักษณะวัฒนธรรมคล้ายมอญโบราณ

2 5. การจัดการปกครองแห่งอาณาจักรนี้น่าจะประกอบด้วยรัฐเล็ก ๆ หลายรัฐรวมกัน และอาจมีศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองอู่ทอง นครปฐม สุพรรณบุรีหรืออยุธยา 6. ได้แผ่อิทธิพลไปยังเมืองครหิ (อ.ไชยา) เมืองละโว้ และเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) 7. อาณาจักรทวารวดีเสื่อมลง (พศต ) เพราะ - อาณาจักรศรีวิชัย - อาณาจักรละโว้ - กองทัพของพม่าสมัยอโนรธามังช่อ ซึ่งมีผลกระทบมาถึงภาคกลางของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

3 ความเป็นไปแห่งพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนายุคทวารวดีมีทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน แต่เถรวาทน่าจะมีอิทธิพลและบทบาทมากกว่ามหายาน ทวารวดีรักษาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท “แบบพระเจ้าอโศกมหาราช” ไว้อย่างเคร่งครัด ( โดยสืบมาจากพระมหากัสสปะที่ทำการสังคายนาครั้งที่ 1 ) พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในยุคนี้ได้แผ่อิทธิพลไปดินแดนอื่นๆ ได้ไกลกว่ายุคใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะภาคเหนือ อีสาน และภาคกลางของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้พบพุทธศิลป์ในยุคนี้มากมายทั้งภาคเหนือ ใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ได้แบบมาจากศิลปะคุปตะของอินเดีย

4 **พุทธศิลป์แบบคุปตะ : พุทธรูปนั้นจะมีลักษณะคือ จีวรไม่นิยมทำเป็นริ้วแต่ทำเป็นแนบพระวรกายเพื่อแสดงถึงความรู้สึกถึงอารมณ์ 5. หลักฐาน 1. พระพิมพ์ พบอยู่บริเวณเมืองอู่ทองเก่า นครปฐม นครชัยศรี ราชบุรี 2. พระพุทธรูปเสมาธรรมจักรทำด้วยศิลาในเมืองกนกนคร ส่วนใบเสมาหินพบทางภาคอีสานทั่ว ๆ ไป 3. สถูปที่วัดกู่กูด ณ เมืองลำพูน 4. ซากสถูปที่วัดพระเมรุ (อยุธยา)

5 5. พุทธรูปศิลาห้อยพระบาทขนาดใหญ่กว่าคนมี 4 องค์ อยู่ที่นครปฐม 1 องค์
อยู่ที่นครปฐม 1 องค์ อยู่ที่อยุธยา 3 องค์ พุทธรูปปางพระวรมุทระ อยู่ที่พิพิภัณฑ์สถานแห่งชาติ 6. ศิลาจารึกคาถา “ เย ธมฺมา ” ที่ถ้ำเขางู (ราชบุรี) ซึ่งเป็นภาษาบาลีอักษรคฤนถ์ 7. ในพศต. 12 พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทได้เผยแผ่ไปทางภาคเหนือของไทย โดยการนำของพระนางจามเทวี ผู้ซึ่งเป็นราชธิดาแห่งละโว้ 8. เชื่อว่าพระเครื่องสกุลลำพูนที่เรียกว่า พระรอด ก็เกิดในยุคนี้

6 สรุป 1. พระพุทธศาสนาในยุคนี้ ได้กลายเป็นรากฐานอันมั่นคงของรัฐพุทธ ได้ผสมผสานกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในยุคนี้ 2. พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปทั้งระดับรัฐและประชาชน 3. เกิดประเพณีต่าง ๆ ต่อเนื่องกันถึงปัจจุบัน เช่น การบวช การเผาศพ ฯลฯ

7 ศิลปะทวารวดีแบ่งออกเป็น 3 ยุค
1. ทวารวดีตอนต้น ส่วนใหญ่สร้างด้วยหินที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปแบบคุปตะอยู่มาก จีวรเรียบบางแนบติดกับองค์พระ พระอังสากว้าง พระพักตร์ค่อนข้างยาว และกลมกว่ารุ่นหลัง พระศกทำเป็นเม็ดขนาดใหญ่ พระเกตุมาลาเป็นต่อมลักษณะนูน และสั้นพระนลาฏแคบไม่เรียบเสมอกัน พระเนตรเหลือบต่ำลง หลังพระเนตรอูม จนได้ระดับกับพระนลาฏ พระขนงโก่งยาวและจรดกันที่สันกลางพระนาสิกที่เรียกว่า คิ้วต่อ พระนาสิกก้านใหญ่ ริมฝีพระโอษฐ์หนา ลักษณะทั่วไปกระด้าง ไม่สู้ได้สัดส่วนเท่าใดนัก มักทำพระหัตถ์และพระบาทใหญ่ ไม่สมกับองค์พระ ในส่วนพระเศียรเท่านั้นที่ยังรักษาศิลปะของคุปตะไว้

8 2. ทวารวดีตอนกลาง ฝีมือช่างประณีตขึ้นกว่ารุ่นแรก แสดงออกถึงอิทธิพลของชาวมอญ ห่างไกลจากฝีมือแบบคุปตะมากขึ้น เช่น พระพักตร์ลักษณะแบนกว้างและสั้น พระโอษฐ์กว้างและแบะ เห็นได้ชัด พระเนตรโปน ดูท่าเคร่งเครียด มีทั้งที่สร้างด้วยหินแข็งมีขนาดใหญ่โต ทั้งแบบลอยองค์และจำหลักนูน ส่วนที่เป็นสำริดจะมีขนาดเล็กประมาณครึ่งฟุตทั้งปางสมาธิ ปางมารวิชัย และพระสำริดยืน 3.  ทวารวดีตอนปลาย เป็นลักษณะผสมศิลปะศรีวิชัยและศิลปะอู่ทอง ไม่ค่อยปรากฏพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีรุ่นนี้มากนัก นอกจากทางภาคเหนือที่ลำพูน และเชียงใหม่

9 ศิลปะแบบทวารวดี ทำเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีรูปพระอินทร์เป่าสังข์ พระพรหมกั้นฉัตร (เป็นลักษณะแรกที่ค้นพบ โดยอาจจะหมายถึงตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ภายหลังเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาที่ดาวดึงส์ก็ได้ )

10 ศิลปะแบบทวารวดี


ดาวน์โหลด ppt พระพุทธศาสนาแห่งทวารวดี (พศต )

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google