กิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิต ใน 8 สาระการเรียนรู้ อุบลวรรณ แสนมหายักษ์
กิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะชีวิต มีสาระเรื่องราวสถาการณ์ คำถามคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงสู่การใช้ชีวิตผู้เรียน มีส่วนร่วม คิด พูด วิพากษ์วิจารณ์ ทำ สร้างสรรค์
คำถามที่เสริมสร้างทักษะชีวิต R = Reflect = สะท้อน C = Connect = เชื่อมโยง A = Apply = ปรับใช้
คำถาม R : Reflect : การสะท้อน ลักษณะคำถาม R – C – A คำถาม R : Reflect : การสะท้อน เป็นคำถามที่ให้ผู้เรียนได้สะท้อนความรู้สึกหรือมุมมองของตนเองที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติกิจกรรม เป็นการถามถึงสิ่งที่ผู้เรียนสังเกตเห็น มองเห็น สัมผัสได้ หรือถามถึงความรู้สึกของผู้เรียนที่เกิดขึ้นขณะร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ในกิจกรรมครั้งนั้น ๆ (ปัจจุบันนั้น)
ตัวอย่าง “ในขณะทำกิจกรรม มีคำพูดใดบ้างที่ทำให้นักเรียนสบายใจ ทำไมจึงรู้สึกอย่างนั้น” “ในขณะฟังข่าว เธอเชื่อทันทีหรือไม่ เพราะเหตุใด” “ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนวันนี้ เกิดจากสาเหตุใด” “มีความรู้สึกอย่างไรที่ได้รับมอบหมายจากเพื่อนให้ไปรายงานหน้าชั้นเรียน”
คำถาม C : Connect : เชื่อมโยง เป็นคำถามที่ให้ผู้เรียนได้นึกย้อนความรู้ ประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อน (ความรู้ / ประสบการณ์เดิม) แล้วนำมาเชื่อมโยงกับความรู้ ความคิด หรือประสบการณ์ ที่เกิดจากการเรียนรู้ในชั่วโมงเรียนนั้น
กิจกรรมที่ 2 สะท้อน : Reflect ประยุกต์ : Connect ปรับใช้ : Apply กลุ่มวิเคราะห์เพื่อจำแนกประเภทของคำถาม สะท้อน : Reflect ประยุกต์ : Connect ปรับใช้ : Apply
*ใช้คำถามการสนทนา “ชวนคิดชวนคุย” หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้คำถาม R-C-A *ใช้คำถามการสนทนา “ชวนคิดชวนคุย” หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมการเรียนรู้ *ประเด็นคำถามนำไปสู่การพัฒนา/สร้างทักษะชีวิต (พฤติกรรมทักษะชีวิต 4 องค์ประกอบ”
ประเด็นคำถามต้องถามต่อเนื่องสู่พฤติกรรมทักษะชีวิต พฤติกรรมใด พฤติกรรมหนึ่ง R : Reflect C : Connect A : Apply นักเรียนรู้สึกอย่างไรที่ถูกรบกวนในขณะทำงาน - ฟังเพลง - อ่านหนังสือ - จดบันทึก ฯลฯ ที่ผ่านๆ มา นักเรียนเคยทำงานไม่สำเร็จ เพราะถูกรบกวน/ มีสิ่งอื่นมารบกวนบ้างหรือไม่ ถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวกับนักเรียนอีก จะมีวิธีจัดการหรือแก้ไขปัญหาการถูกเพื่อนรบกวนนั้นอย่างไร (โดยไม่เสียสัมพันธภาพและงานของเราก็สำเร็จด้วย) การควบคุมตนเอง
ในระหว่างทำงาน นักเรียนรู้สึกว่ามีปัญหาระหว่างเพื่อนหรือไม่ R : Reflect C : Connect A : Apply ในระหว่างทำงาน นักเรียนรู้สึกว่ามีปัญหาระหว่างเพื่อนหรือไม่ ที่ผ่านมานักเรียนเคยมีปัญหาที่เกิดจากการไม่พอใจคำพูดของเพื่อนหรือไม่ คำพูดนั้นว่าอย่างไร ในโอกาสต่อไป ถ้ารู้ว่าเพื่อนน้อยใจ เสียใจจากคำพูดของเรา นักเรียนจะปฏิบัติต่อเพื่อนอย่างไร รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ในกลุ่มของนักเรียนมีวิธีการเลือกผู้นำกลุ่มอย่างไร R : Reflect C : Connect A : Apply ในกลุ่มของนักเรียนมีวิธีการเลือกผู้นำกลุ่มอย่างไร ที่ผ่านๆ มา นักเรียนเคยมีโอกาสเลือกผู้นำหรือไม่ เลือกอย่างไร ถ้านักเรียนมีโอกาสได้เป็นผู้นำ นักเรียนจะมีวิธีการทำงานอย่างไร การเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี การเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
ตัวอย่าง วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม 1.มาตรฐานการเรียนรู้ (ว.1.2) 2.ตัวชี้วัด อภิปรายโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีนและโครโมโซมและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
3.จุดประสงค์การเรียนรู้ 3.1 จำแนกและอธิบายความผิดปกติของพันธุกรรม/โครโมโซม 3.2 สืบค้นข้อมูลและยกตัวอย่างความผิดปกติ
4. สาระเนื้อหา 4.1 ความผิดปกติทางพันธุกรรม 4.2 โรคทางพันธุกรรม 5. ชิ้นงาน - แฟ้ม ความรู้เกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม
6. กิจกรรมการเรียนรู้ 6.1 สนทนา ทบทวนบทเรียนเรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม 6.2 แบ่งกลุ่มศึกษา สืบค้น เรื่องความผิดปกติ/โรคทางพันธุกรรม
6.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลจากการสืบค้น 6.4 นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติทางโรคโมโซมแบบต่าง ๆ กลุ่มละ 1 โรค (อาการ สาเหตุ การรักษา วิธีการที่ผู้ป่วยใช้ชีวิต ฯลฯ)
6.5 นำข้อมูลมาทำแฟ้มโรคทางพันธุกรรม รูปแบบต่าง ๆ (E – book, หนังสือ, รูปภาพประกอบบทความ ฯลฯ) 6.6 แบ่งปัน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ รูปแบบพื้นฐาน 6.7 สรุปความรู้ร่วมกัน
คำถาม R “นักเรียนรู้สึกกังวล เป็นทุกข์ ท้อในการสืบค้นข้อมูล บ้างหรือไม่” “ถ้าหากเราปล่อยให้เกิดทุกข์ใจบ่อย ๆ ท้อแท้บ่อย ๆ จะเกิดอะไร ขึ้นกับตัวเรา” C ในสถานการณ์ที่ผ่าน ๆ มา เคยมีเหตุการณ์อะไรบ้างที่ตนเองหรือบุคคล อื่นมีความสุข A ในโอกาสต่อไปถ้านักเรียนเป็นทุกข์ หรือรู้สึกเครียด จะมีวิธีคลายเครียด ให้กับตนเอง หรือสร้างสุขให้กับตนเองและคนรอบข้างอย่างไรบ้าง?
กิจกรรมที่ 3 ฝึกการตั้งคำถาม R – C – A ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
พฤติกรรมทักษะชีวิตเป็นอย่างไร? จะจัดกิจกรรมอย่างไร ใช้สื่ออะไร สร้างทักษะชีวิต? มีสิ่งใดที่บ่งบอกว่า “ผู้เรียน” มีทักษะชีวิต?
สวัสดีค่ะ